เหรียญเจ้าแม่นางพระยา วัดนางพระยา รุ่นแรก ปี 33 สวยแชมป์ครับ - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคใต้

เหรียญเจ้าแม่นางพระยา วัดนางพระยา รุ่นแรก ปี 33 สวยแชมป์ครับ

เหรียญเจ้าแม่นางพระยา วัดนางพระยา รุ่นแรก ปี 33 สวยแชมป์ครับ เหรียญเจ้าแม่นางพระยา วัดนางพระยา รุ่นแรก ปี 33 สวยแชมป์ครับ เหรียญเจ้าแม่นางพระยา วัดนางพระยา รุ่นแรก ปี 33 สวยแชมป์ครับ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเจ้าแม่นางพระยา วัดนางพระยา รุ่นแรก ปี 33 สวยแชมป์ครับ
รายละเอียดเหรียญเจ้าแม่นางพระยา วัดนางพระยา รุ่นแรก ปี 33 สวยแชมป์ครับ เมืองนครศรีธรรมราช สมัยเจ้าพระยานครพัฒน์ เป็นเจ้าเมืองได้ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กรุงธนบุรี ด้วยตนเอง ณ กรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบว่ามเหษีของเจ้าพระยานครพัฒน์สิ้นพระชนม์จึงพระราชทานพระมเหษีของพระองค์หนึ่งให้พระยานคพัฒน์ พระยานครพัฒน์มิได้คิดอาจเอื้อมขนาดนั้น แต่มิกล้าขัดพระทัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงน้อมรับนำกลับเมืองนครด้วยดี ทราบภายหลังจากพระนางว่าทรงพระครรภ์ อ่อนๆ อยู่ก่อนแล้ว จึงมิได้ปฎิบัติเยี่ยงมเหษีของพระองค์ แต่ทรงปฎิบัติอย่างดีเยี่ยงมเหษีของพระเจ้ากรุงธนบุรี ด้วยความจงรักษ์ จวบจบพระครรภ์ครบกำหนดทรงประสูติพระโอรส ต่อมาคือเจ้าพระยานครน้อยเจ้าเมืองนครผู้ปราดเปลื่องนั่นเอง
สมัยพระยานครพัฒน์ หัวเมือมาลายูยกทัพมาตีเมือง นครเป็นระยะ ยกทัพเข้ามาทางปากนคร ผ่านวัดนางพระยาเข้าไปถึงตัวเมือง ปิดล้อม ยิงถลม ทหารในเมืองตั้งรับเหนียวเเน่น เป็นบารมีของเมืองนคร ทุกคั้งข้าศึกจะหมดเสบียงและยกทัพกลับไปเอง ในการสู้รบหลายครั้งแม่ทัพคนสำคัญคือ พระยานครน้อย สิ้นสัมัยของพระยานครพัฒน์ พระยานครน้อยขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง อาศัยเคยสู้รบและทราบจุดออ่นข้าศึก จึงคิดแผนรบเชิงรุก แทนการตั้งรับในตัวเมือง ทรงสำรวจยุทธภูมิเตรียมการศึก พบที่การตั้งวัดนางพระยาปัจจุบัน เป็นทำเลที่เหมาะสม ทรงจัดตั้งเป็นฐานทัพเรือมีการต่อเรือรบออกลากตระเวน มีการฝึกซ้อมรบกลางทะเล มีกองเรือตรวจการณ์ปรากฎว่า ทีทัพหัวเมืองมลายูยกมา กองเรือลาดตระเวณตรวจพบ จึงรายงานทัพเรือที่วัดนางพระยา และกองทัพในตัวเมืองออกมาสู้รบ อาศัยความชำนาญ ของกองทัพพระยานครที่มีการเตรียมตัวอย่างดีจึงเอาชนะได้ทุกครั้ง การรุกรานจาก หัวเมือดังกล่าวจึงเงียบหาย และพระยานครน้อย สามารถขยายอาณาเขตเมืองนครไปถึงมลายู
เมือบ้านเมืองสงบ พระยานครน้อยจึงคิดหันมาบำรุงพระพุทธศาสนา ประกอบับมารดาเป็นผู้ที่มีความเลี่ยมใส่ศรัทธา ขอร้องให้สร้างวัดโดยพระนางกำหนดเอาสถานที่ที่เคยเป็นที่ตั้งกองทัพเป็นจุดสร้างวัด มีการปรับปรุงพัฒนาเดือนหนึ่งจึงเป็นวัด ได้ประชุมข้าราชบรภารคิดตั้งชือ โหราจารย์ ผู้รู้เสนอให้เลือกสามชือ คือ วัดนางพระยาชือหนึ่ง หรือวัดแม่เจ้าเมือง หรือวัดแม่เมืองนคร พระนางทรงเลือกให้ใช้ชือ วัดนางพระยา จึงเรียกนามวัดนางพระยาแต่นั้นมา
สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2310 และเป็นวัดที่พระนางเสด็จมาประทับบำเพ็ญพระราชกุศลทุกวันพระ สถานที่ประทับคือศาลเจ้าแม่นางพระยาปัจจุบัน
วัดนางพระยาอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำปากนคร ทางตะวันออกของตัวเมืองนครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีพระครูสันติพัฒนากร (สงบ จิตรปัญโญ )เป็นเจ้าอาวาส เป็นพระนักพัฒนาและศรัทธาอันแรงกล้า อีกทั้งเคารพศรัทธาในเจ้าแม่นางพระยาอย่างสูงสุด ประมาณ พ.ศ.2525 ท่านเจ้าอาวาสมีอาการป่วยหาสาเหตุไม่ได้ จึงไปหาพ่อท่านวัน ตอนนั้นท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดดอนป่าย่าง ต.ควนพัง อ.ร่อนพิบูลย์ (ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง) พ่อท่านวันนั่งสมาธิมองเห็นทางแก้บอกให้เจ้าอาวาสเปลี่ยนกฎิที่พักอาศัยจากที่เดิม เพราะตรงนั้นสมัยก่อนเป็นสระ อยู่หลังที่ประทับของเจ้าแม่นางพระยา เป็นที่ไม่เหมาะสม ถ้าไปอยู่ทางทิศอาคเนย์จะเสียเรืองผู้หญิง ให้ไปอยู่ทางทิศหรดีของโบสถ์หรือวิหาร จะอยู่เย็นเป็นหลักในการทำนุบำรุงวัดให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงอยู่ที่กุฎิในทิศดังกล่าวจวบจนปัจุบัน ในการนั้งสมาธิครั้งนั้นเจ้าแม่นางพระยาได้บอกคาถาอัญเชิญพระนางว่า " พุทธโอวาทัง เอหิโสภะคะวา สัพเพสัตตา กุมพันชรา ภูตผีสัจจา มะอะอุ อาคัจฉาหิ มานิมามา และเครื่องเซ่นสังเวยใช้ธูป เก้า เทียนเก้า ดอกไม้เก้า หมากพรูเก้า เงินสิบสองบาท ถ้าหากบนขอเวลาแก้บนให้ที่สิบสอง หมาก พรู ธูป เทียน ดอกไม้ เพิ่มเป็นอย่างละสิบสอง และคาถานี้แม่นางพระยาบอกว่าสามารถเชิญศักดิ์สิทธิ์ได้ทุกองค์ ท่านเจ้าอาวาสได้เคยจัดสร้างเหรียญเจ้าแม่นางพระยารุ่นที่หนึ่ง ซึ่งปรากฎประสบการณ์สูงมากทางด้านคงกระพันแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม การสร้างหลักเมืองรุ่นแรกได้นำมาปลุกเสกที่วัดนางพระยา ตามความเชื่อ พ.ต.อ.สรรเพ็ชร ธรรมาธิกุลและได้มอบพระที่ปลุกเสกแล้วให้ท่านเจ้าอาวาสไว้จำนวนหนึ่ง
ต่อมาท่านเจ้าอาวาสคิอสร้างรูปเหมือนเจ้าแม่นางพระยา พระกริ่ง และเหรียญเจ้าแม่นางพระยาอีก เพื่อหาเงินพัฒนาวัด จึงให้คุณเจิม ณ นคร เข้าทรงเชิญเจ้าแม่นางพระยามาประทับทรง โดยใช้คาถาที่พระนางบอกผ่านสมาธิของอารย์วัน พระนางบอกว่า " ฉันเป็นเทวดา จะสร้างพระให้เมื่อโบสถ์เสร็จ จะมาประทบทรงให้" ปรากฎว่าเมื่อโบสถ์เสร็จ ท่านเจ้าอาวาสจึงให้อาจารย์วิมล ดำศรี นำช่างศิลป์มาสเก็ตซ์ภาพเจ้าแม่นางพระยาจากรูปเก่าปูนปั้น ของเดิมซึ่งสร้างโดยฝีมือช่างชาวบ้าน เป็นรูปพระนางสมัยก่อนให้ช่างอำนาจ วานทิงคำ ปั้นและหล่อเป็นรูปสวยงามยิ่งดังที่เห็น และจัดสร้างพระกริ่งแม่เมืองนคร จำนวนหนึ่งกับเหรียญเจ้าแม่นางพระยา จำนวน 20,000 เหรียญ กำหนดเททองเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม 2547 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 14 คำ เดือน 6 โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ คือ อาจารย์สังข์ วัดดอนตรอ อาจารย์เนียม วัดบางไทร อาจารย์นวลวัดไสยหร้า เป็นผู้ปลุกเสก นับเป็นพระที่สมควรเก็บสะสม้ป็นอย่างยิ่ง เมื่อสร้างรูปปั้นเจ้าแม่นางพระยาเสร็จ เจ้าอาวาสคิดเอารูปเก่าของเจ้าแม่นางพระยามาไว้ในวิหาร เจ้าแม่นางพระยาบอกว่า "แม่เป็นเพียงเทวดาผู้หญิง อย่าเอาไปไว้รวมกับพระพุทธเจ้าเลย" จึงควรประดิษฐานรูปเก่าของเจ้าแม่เจ้าพระยาไว้ที่ห่อเจ้าแม่เคียงคู่กับรูปใหม่ดังที่เห็น
ต่อมาวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 ทางวัดได้เชิญเสด็จเจ้าแม่นางพระยาประทับบนห่อ ตามคำบอกของเจ้าแม่นางพระยาผ่านร่างทรง "ให้เชิญแม่เวลา 9.00 น.ดับที่สิบสองปิดทองสามร้อยแผ่น จะเกิดอัศจรรย์ทั้งลมทั้งฝน"ท่านเจ้าอาวาสได้ปฎิบัติตามนั้น และเกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์จริงๆทุกประการ
สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดนางพระยาที่ควรแก่สักการะ ได้แก่เจ้าแม่นางพระยา พ่อเมืองพ่อทอง(ตัวตลกของหนังจันทร์แก้ว นายหนังผู้มีชื่อเสียงระดับปรมาจารย์ของหนังตลุงปัจจุบัน ซึ่งเป็นโยมบิดาของท่านสงบเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน) ตาเมือง ทหารรักษาพระองค์ของเจ้าแม่นางพระยาคั้งอดีต พ่อทวดดำ ผู้ให้ไม้เท้ารักษาคนป่วยที่เขาบาท ด้วยความโกรธที่ลูกศิษย์โกงเงินวัดทำบุญไปเป็นส่วนตัว จึงมาอยู่ที่วัดนางพรระยาและได้ให้แก่นไม้จำปามาสร้างเป็นภูมิวัดดังกล่าวที่เห็นประดิษฐานอยู่ในศาลาภูมิวัดปัจจุบัน
ในวันที่ 30 สิงหาคม 2547 ท่านพระครูสันติพัฒนากรกำหนดจัดงานสมโภชน์เจ้าแม่นางพระยาและทอดผ้าป่า เพื่อหาเงินทำนุบำรุงวัดนางพระยาให้พัฒนา เป็นที่ประกอบบุญกุศลของชาวพุทธ และเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองนครต่อไป
คุณ กิติ อดีตนายอำเภอพิปูน และ คุณผ่อง ชาลี สนับสนุ่นเงินทุนในการพิมพ์เผยแพร่ โรงเรียนท่านรญาณวโรภาสอุทิศ โดยผู้อำนวยการสุพจน์ อภิศักดิ์มนตรี .... อนุเคราะห์จัดพิมพ์/รูปเล่ม และขอขอบพระคุณ พระครูสันติ พัฒนากร ผู้ให้ข้อมูล นาย น้อม อุปรมัย ผู้ศึกษารวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองนครและถ่ายทอดแก่พระครูสันติ พัฒนาการ เจ้าอาวาส วัดนางพระยา และผู้ที่มีส่วนพัฒนาวัดนางพระยาทุกท่าน
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลส. - 18 ก.ค. 2558 - 19:15.13
วันปิดประมูล ศ. - 07 ส.ค. 2558 - 19:15.13 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top