
ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง
ปลากัดหลวงพ่อน่วม วัดโพธิ์ศรีเจริญ จ.สุพรรณบุรี(เนื้อทองแดง)
ชื่อพระเครื่อง | ปลากัดหลวงพ่อน่วม วัดโพธิ์ศรีเจริญ จ.สุพรรณบุรี(เนื้อทองแดง) |
---|---|
รายละเอียด | วัดโพธิ์ศรีเจริญ เป็นวัดสร้างใหม่เมื่อประมาณ100ปีที่แล้ว เนื่องจากบริเวณดงตาหม่อมในอดีตชาวบ้านต้องเดินทางไปทำบุญไกลถึงวัดบ้านกร่างซึ่งเป็นวัดที่มีกรุขุนแผนวัดบ้านกร่างนั่นแหละ เมื่อถึงฤดูน้ำหลากก็ยากลำบากในการเดินทาง หลวงพ่อโต เป็นพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอาวุโสสูงที่วัดบ้านกร่าง เป็นรุ่นพี่ของพระเมธีธรรมสาร (ไสว) เจ้าอาวาสวัดบ้านกร่างองค์ก่อน ตัดสินใจมาสร้างวัดตามการนิมนต์ของชาวบ้านเมื่อปีกุน ที่แต่เดิมเรียกว่าดงตาหม่อมซึ่งอยู่ห่างไกลจากวัดบ้านกร่าง เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำบุญโดยไม่ต้องเดินทางไกลในสมัยนั้น หลวงพ่อโต ปุญญสิริ องค์นี้เป็นพระที่มีความรู้ความสามารถรอบด้านทั้งการพัฒนาและวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเวทวิทยาคม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และสหธรรมกับหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ ชำนิชำนาญทางแพทย์แผนโบราณ ช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านจนมีชื่อเสียงโด่งดัง สร้างวัดโพธิ์ศรีเจริญให้รุ่งเรืองเจริญสมชื่อ จวบจนมรณภาพในปลายปี พ.ศ.2494 ต่อมาพระอธิการเสงี่ยม ลูกศิษย์ได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา หลวงพ่อน่วม เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือนกันยายน ปีจอ ตรงกับ พ.ศ.2464 (ปัจจุบัน พ.ศ.2551 อายุ 87 ปี) บิดาชื่อ นายแหยม มารดาชื่อ แก้ว นามสกุล ผิวแดง ท่านเกิดที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ในอาชีพของครอบครัวทำการเกษตรกรรม ช่วยพ่อ-แม่ทำนาจนเติบใหญ่พอสมควร บิดาได้พาไปฝากเรียนอักษรขอมกับ อาจารย์หยัด วัดบ้านกร่าง ส่วนหนังสือไทยได้ค้นคว้าเล่าเรียนเอง จนวัยหนุ่มจึงเดินทางไปเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่อก๋ำ วัดประตูสาร จนอายุครบบวชในปี พ.ศ.2484 จึงอุปสมบทที่วัดบ้านกร่าง โดยมี พระเมธีธรรมสาร (ไสว) วัดบ้านกร่าง เป็นอุปัชฌาย์ พระปลัดทวี วัดบ้านกร่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาสวง วัดบ้านกร่าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอปุปสมบทได้ศึกษาธรรมกับพระเมธีธรรมสารจนแตกฉานในพรรษาแรก พรรษาที่สองและสามได้ศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อโต วัดโพธิ์ศรีเจริญ ระหว่างนั้นได้ให้คำสัตยาธิษฐานว่า ตลอด4ปีจะไม่กินอาหารเนื้อสัตว์ทุกชนิด และอาหารที่เป็นแป้งทุกชนิด เมื่อรับคำสัตย์แล้วจึงถ่ายทอดวิชาให้ทั้งหมด ท่านก็ได้รักษาคำสัตย์นั้นไว้ตลอด4ปี จนสามารถปฏิบัติวัตรพุทธาคมจากหลวงพ่อโตได้เชี่ยวชาญและแก่กล้า จากนั้นจึงลาสิกขามาครองเพศฆราวาส รักษาศีลอยู่เป็นนิตย์ มีครอบครัวจนอายุได้ 55 ปี ใน พ.ศ.2519 มีความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส ภาระทางครอบครัวก็หมดลงแล้ว ท่านจึงตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่วัดบ้านกร่าง โดยมี พระครูอาภัสศีลคุณ (ทวี) วัดบ้านกร่าง เป็นพระอุปัชฌาย์ (พระอาจารย์ทวีองค์นี้เมื่อคราวที่ท่านบวชครั้งแรกเป็นพระกรรมวาจาจารย์ , และท่านยังเป็นหลานหลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่อีกด้วย) พระปลัดเสวย วัดบ้านกร่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเสงี่ยม เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีเจริญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “นาถสีโล” เมื่ออุปสมบทแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ศรีเจริญได้เพียงพรรษาเดียว พระอธิการเสงี่ยม เจ้าอาวาสก็มรณภาพ พระภิกษุในวัดและชาวบ้านก็ลงมติเลือก หลวงพ่อน่วม ให้รักษาการแทนเจ้าอาวาส จนได้ 3 พรรษา คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีเจริญตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา มรณะภาพ แล้วฟื้น หลังจากได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีเจริญแล้ว ท่านก็ได้มุ่งมั่นพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น จนในปี พ.ศ.2539 อายุ 75 ปี ท่านป่วยด้วยโรคหัวใจอย่างหนัก ลูกศิษย์ลูกหาพากันส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลทรวงอก นนทบุรี เพียงไม่กี่วันท่านก็สิ้นลมหายใจ เวลา 17.00 น. แพทย์มาตรวจดูบอกว่าท่านมรณภาพแล้ว แต่บรรดาลูกศิษย์ไม่เชื่อเพราะตัวยังอุ่นอยู่ จึงไม่ยอมให้ฉีดยากันเน่า ปล่อยไว้หนึ่งวัน เวลา 17.00น.ของอีกวันหนึ่งท่านก็ฟื้นขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ สร้างความตื่นตกใจให้บรรดาแพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลทรวงอก นนทบุรี เหตุการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ.2544 ท่านได้ไปสิ้นลมที่โรงพยาบาลทรวงอก นนทบุรี ที่เดิม ตอนนี้บรรดาแพทย์ พยาบาล รู้ดี ปล่อยท่านไว้หนึ่งวัน โดยบรรดาลูกศิษย์เฝ้าดูอยู่ พอครบหนึ่งวันท่านก็กลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง ระหว่างสิ้นลมไปหนึ่งวันท่านเล่าว่ามีคนมารับไปดูโลกในอีกมิติหนึ่งซึ่งน่าสนใจมาก ใครอยากรู้ต้องไปฟังท่านเล่าเอง เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อเฉพาะบุคคล ต้องฟังกับหูจึงจะรู้ว่าเป็นอย่างไร หลังจากหลวงพ่อก่อสร้างสิ่งต่างๆในวัดแล้วก็ได้สร้างวัตถุมงคลแจกผู้ร่วมทำบุญ ในครั้งแรกท่านสร้างปลัดขิก และตะกรุดสาลิกา แจกชาวบ้านที่ร่วมทำบุญ หลังจากนั้นชาวบ้านบางคนที่เป็นผู้หญิง ติว่าไม่ชอบ ปลัดขิก ท่านจึงได้เปลี่ยนความคิดใหม่มาจัดทำปลากัด โดยใช้ไม้โลดทะนง และไม้กาหลง มาแกะเป็นรูปปลากัด และลงจารอักขระกำกับก่อนปลุกเสก แจกแก่ชาวบ้านที่มาร่วมทำบุญ ผู้ที่ได้ไปต่างมีประสบการณ์ทางเมตตาค้าขาย แคล้วคลาดและคงกระพันเป็นที่เลื่องลือ มีคนมาขอเป็นจำนวนมากจนแกะไม่ทัน ต่อมาได้แกะด้วยไม้งิ้วดำ งาช้าง แต่ก็แกะไม่ทันความต้องการของชาวบ้าน จึงต้องให้หล่อด้วยโลหะจนถึงปัจจุบัน ปลากัดของหลวงพ่อน่วมได้รับความนิยมแพร่หลายมาก หล่อหลายครั้งหลายหนก็หมดลงในเวลาอันรวดเร็ว |
ราคาเปิดประมูล | 150 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 11 ส.ค. 2554 - 00:08.21 |
วันปิดประมูล |
ศ. - 26 ส.ค. 2554 - 00:08.21 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 50 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...