เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี ปี ๒๔๙๓ - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคตะวันตก

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี ปี ๒๔๙๓

เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี ปี ๒๔๙๓ เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี ปี ๒๔๙๓
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่ออินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี ปี ๒๔๙๓
รายละเอียดพระเทพวงศาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดยาง และเจ้าคณะจังหวัด เพชรบุรี นามเดิมอินทร์ ฉายา อินฺทโชโต สกุล พรหมโลก ถิ่นกำเนิดบ้านไร่คา ตำบลลาดโพธื์ อำเภอบ้านลาด จังหวัตเพชรบุรี ถือกำเนิดเมื่อวันอาทิตย์ทื่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ จนถึงวันมรณภาพ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ มีอายุได้ ๙๕ ปี ถ้านับเวลาตั้งแต่บรรพชา และอุปสมบทรวมกัน จะได้ ๘๒ พรรษา พระเทพวงศาจารย์ เป็นผู้ที่มีร่างกายสูงใหญ่แข็งแรง มีพลานามัยสมูรณ์ การเคลื่อนไหวแคล่วดล่องว่องไว ทั้งสติปัญญาและ ความคิดอ่านทันต่อเหตุการณ์ งานบริหารและปกครองคณะสงฆ์ ในความรับผิดชอบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และราบรื่นรวดเร็ว ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วย วัยวุฒิ คุณวุฒิ กอปรด้วยพรหมวิหารธรรมเป็นหลัก มีปรกติวิสัยสมเป็นสมณะโดยแท้ จึงเป็นที่เคารพสักการะ ของพระมหาเถระระดับชั้นปกครองตลอดมา


เมื่ออายุได้ ๑๐ ปี เริ่มเรียนหนังสือไทยกับพระอาจารย์เฉย ทื่วัดวังบัวซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน และเป็นสำนักเรียนใหญ่มีชื่อ เสียงมาก อาจารย์เฉยเป็นช่างเขียน ช่างปั้น ช่างแกะสลัก และ ช่างเงินทอง ท่านจึงได้เรียนหนังสือด้วย ฝึกวิชาช่างด้วยสลับกันไป ท่านเป็นศิษย์อยู่สำนักวัดวังบัวเป็นเวลา ๔ ปี บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๔๒ เมื่อบรรพชาแล้วได้เริ่มแปลพระธรรมบท กับพันนาทองอยู่ เป็นเวลา ๑ พรรษา จึงได้เดินทางเข้าศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ โดย พักอยู่กับพระมหาฤทธื์ ผู้เป็นญาติ ที่วัดอรุณราชวราราม เป็น เวลา ๖ ปี ต่อมาพระมหาฤทธิ์ แปลบาลีในสนามหลวงได้เปรียญ ๖ ประโยคและได้รับตราตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเมืองเพชรบุรี (เจ้าคณะจังหวัด)ได้เดินทางมาดำรงตำแหน่ง ณ วัด คงคาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี มีสมณศักดิ์ทื่พระพิศาลสมณกิจ


ท่านได้เป็นสามเณรอนุจร ติดตามพระพิศาลสมณกิจ ผู้เป็นอาจารย์จากวัดอรุณฯ มาอยู่ ณ วัดคงคาราม เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๕๐ ซึ่งเป็นเวลาที่มีอายุครบอุปสมบทพอดี จึงเข้ารับการอุปสมบททื่วัดวังบัว ซึ่งเป็นสถานศึกษาดั้งเดิม โดยมีพระพิศาลสมณกิจ ผู้เป็นอาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครุสุวรรณมุณี (ฉุย) วัดคงคาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุชาติ
เมธาจารย์ (กุน) วัดพระพุทธไสยาสน์ และพระอธิการพลับวัดวังบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เรียนธรรมบทและมงคลทีปนีต่อในสำนักพระพิศาลสมณกิจ และอาจารย์แจ้ง วัดจันทราวาสด้วย วันหนื่งขณะแปลหนังสืออยู่นั้น กรมพระสมมติอมรพันธุ์และ กรมพระยาดำรงราชานุภาพภาพ (ซื่งโดยเสด็จมากับพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕) ครั้งแปรพระราชฐานมายังเมืองเพชรบุรี) ได้เสด็จชมวัดวาอารามต่าง ๆ รวมถึงวัดคงคารามด้วย จึงทรงสนับสนุนให้พระพิศาลสมณกิจ ส่งตัวท่านไปสอบไล่ในสนามหลวง ไม่ควรจะหวงเอาตัวท่านไว้ทำงาน ทรงรับรองว่า ต้องแปลได้ไม่ต่ำกว่าประโยค ๕ และจะทรงช่วยเหลือให้ความสะดวกต่างๆ ด้วย แต่ก็มีเหตุให้ท่านไม่ได้เป็นเปรียญ เนื่องจากหลังจากวันนั้นแล้วไม่นานพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จสวรรคต เหตุการณ์ต่างๆ ก็เปลื่ยนไป นอกจากนี้ท่านได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงสมณศักดิ์ ขณะที่มีอายุพรรษาได้เพียง ๒ พรรษาเท่านั้น กล่าวคือในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ -๒๔๕๓ เป็นพระสมุห์ และพระปลัด
ตามลำดับ ซึ่งเป็นฐานานุกรมในพระพิศาลสมณกิจ (ฤทธื้) ทำให้ท่านมีภาระหน้าทื่เพิ่มขื้น และยังจะต้องเป็นผู้บอกหนังสือ ให้พระภิกษุสามเณรอีกราว ๒๐ รูประหว่างเช้า-บ่าย นักเรียนรุ่นนั้นต่อมาได้เป็นเปรียญหลายรูป ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้เข้าเรียนนักธรรมทื่วัดเบญจมบพิตร พระนคร ซื่งขณะนั้นเพิ่งจะเริ่ม มีหลักสูตรการเรียน นักธรรมกัน ท่านสอบไล่ไนักธรรมประโยค ๑ ในสำนักนั้น ปฎิบัติงานและการพัฒนาวัด เมื่อกลับมาจากวัดเบญจมบพิตรแล้ว ได้สร้างหอไตรขื้นหลังหนื่ง ตั้งอยู่หน้าบริเวณพระอุโบสถวัดคงคาราม นับเป็นงานสถา ปัตยกรรมชิ้นแรกของท่าน นอกจากนี้ท่านยังได้เป็นหัวหน้าช่าง ทำกำแพงวัดคงคารามจนเสร็จเรียบร้อย ครั้น พ.ศ.๒๔๖๐ พรรษา ๑๑ จืงได้ย้ายสำนักจากวัด คงคารามมาอยู่ ณ สำนักวัดยาง (อยู่ตรงกันข้ามคนละฟากถนน) ที่วัดยางนี้ ท่านได้ทุ่ม เทชีวิตจิตใจอยู่ในเรื่องศิลปะการช่าง งานทื่ได้ทำส่วนมาก ก็มีธรรมาสน์เทศน์ เมรุเผาศพ ช่อฟ้าใบระกา หอระฆัง ศาลาและอุโบสถ เป็นต้น


ด้วยความรู้ความสามารถบริบูรณ์พร้อม ท่านจืงใด้ดำรง ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดยางสืบต่อมา ตั้งแต่ปี ๒๔๗๘ และนับ จากเวลาทื่ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นต้นมา วัดยางก็ เปรียบประดุจเป็นแหล่งเพาะช่างแห่งใหญ่ เป็นทื่รวมช่าง แห่งหนื่งของจังหวัดเพชรบุรี ท่านเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนการช่างขื้นที่วัดยาง นับเป็น โรงเรียนอาชีพแห่งแรกของจังหวัดเพชรบุรี มีชื่อเป็นการว่า "โรงเรียนช่างไม้วัดยาง" เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ใช้หลักสูตร กระทรวงศืกษาธิการ รับนักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เข้าเรียนต่อในชั้นประถม ๕-๖ มีนักเรียนประมาณ ๖๐ คน ต่อมาโอนไป สังกัดโรงเรียนรัฐบาล กรมอาชีวศืกษา เมื่อวันทื่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ และ เนื่องจากเนื้อที่วัดไม่เพียงพอขยายชั้นเรียน จึงได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ถนนบริพัตร ตำบลท่าราบ จนพัฒนามาเป็นวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ในปัจจุบันนี้ ในด้านการศืกษาพระภิกษุสามเณร ในสำนักของท่าน รูปใดสอบได้นักธรรมเปรียญ ท่านก็ให้การอุปถัมภ์ ์จัดส่งให้ไปเล่าเรียนต่อชั้นสูงในพระนคร จนจบเปรียญโท-เอก ไปหลายรูป ส่วนการศืกษาทางฝ่ายโลกท่านเ ก็อุปถัมภ์ศิษย์วัด ที่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในโรงเรียนต่าง ๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ คน ถึงขึ้น ต้องตั้งโรงครัวหุงขัาวด้วยกระทะเลี้ยงตลอดทั้งปี ซึ่งศิษย์เหล่านั้น ได้ไปมีตำแหน่งหน้าทื่การงาน และมีชื่อเสียงในวงราชการ และ สังคมทั่วไปมิใช่น้อย ภายหลังท่านได้ตั้งมูลนิธิขื้น เพื่อเก็บดอกผลบำรุงการศึกษา ของภิกษุสามเณร ตลอดจนศิษย์วัดดังกล่าวข้างต้นร่มโพธิ์-ร่มไทร พระเดชพระุคุณท่านเจ้าคุณพ่อ ท่านเป็นผู้ที่สร้างสมบารมี และคุณงามความดีมาเป็นอันมากและเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ได้รับการยกย่องจากวงการคณะสงฆ์ ดำรงอยู่ในฐานันดรศักดิ์ อันสูงของจังหวัดเพชรบุรี คือเป็นเจ้าคณะจังหวัด อันเป็นประหนึ่งสังฆบิดา ของพระสงฆ์ไนจังหวัดเพชรบุรีทั้หมด เจ้าคุณพ่อได้ชิ่อว่าเป็นปูชนียบุคคล ของชาวเมืองเพชรทั้งของบรรพชิต และชาวบ้านทั้งใกล้ไกล บุญบารมีของ พระเดชพระคุณท่านเป็นเหมือนหนึ่งต้นไม้ใหญ่ ที่ให้ร่มเงา ไพศาล อัธยาศัยของท่านเจ้าคุณพ่อในทางปกครอง นับเป็นนัก ปกครองทื่ยอตเยื่ยมมาก ปกครองศิษย์ทั้งพระเณรและเด็กวัด เป็นจำนวนมากกว่า ๑๐๐ ชีวิต ท่านทรงความยุติธรรมและ เมตตาธรรมอย่างน่าสรรเสริญ จตุปัจจัยที่ได้รับจากกิจนิมนต์ ทั้งหมด ถูกส่งเข้าบัญชีกองกลางของวัด เพื่อใช้สอยเป็นค่า อาหารเลี้ยงดูศิษย์ ซึ่งท่านภูมิใจในการเสียสละนี้

การดำรงสมณศักดิ์ และผลงานด้านการปกครอง พระเทพวงศาจารย์เป็นูผู้มีเกียรติประวัติ และความดีเป็นอเนกประการ ได้สงเคราะห์ประชาชนและเพื่อนพรหมจรรย์ได้อเนกปริยายได้เป็นครูอุปัชฌาย์อาจารย์ แก่มหาชนเป็นอันมาก จึงมีศิษยานุศิษย์แลูะผู้เคารพนับถือแพร่หลาย ไพศาลด้วยคุณธรรมท่านจืงดำรงฐานานุศักดิ์ สูงขื้นเป็นลำดับดังนี้
พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นพระครูปลัด ฐานานุกรมในพระราชเวที (สมเด็จพระสังฆราชอุฎฐายีมหาเถร)
พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นพระครูพิศาลสมณกิจ
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นพระราชาคณะสามัญ ทื่พระพิศาลสมณกิจ
พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ทื่พระราชวชิราภรณ์
พ.ศ. ๒๕๑๒ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ทื่พระเทพวงศาจารย์
พระเทพวงศาจารย์เจริญอายุมาได้ ๙๕ ปี ๗๔ พรรษา ท่านได้ เกิดอาพาธลงด้วยความชรา ความเจ็บไข้ของท่าน ได้ทราบถึงท่านเจ้า ประคุณสมเด็จพระญาณสังวร จืงมีบัญชามาให้นำท่านเจ้าคุณพระเทพวงศาจารย์ เข้ารับการตรวจรักษา ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พร้อมทั้งนำ ความขื้นกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงทราบ และด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ทรงโปรดฯ ให้รับไว้เป็นคนไข้ของหลวง ในพระบรมราขานุเคราะห์ ตั้งแต่ต้น ท่านรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นเวลา ๒๒ วัน อาการไม่ดีขึ้น มีแต่ทรงกับทรุด ทุกฝ่ายจึงมีความเห็นพ้องกันว่า ควรนำท่านกลับไปพักผ่อนที่วัด ครั้นถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ เวลา ๒๑ นาฬิกาเศษ เมื่อวาระสุดท้ายมาถีง ท่านได้ยกมือทั้งสอง ขึ้นประนมระหว่างอก พร้อมกับค่อยๆ ปิดเปลือกตาลงอย่างสงบ คณะศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศล แล้วเก็บศพท่านไว้เป็นเวลา ๖ ปี จึงได้บำเพ็ญกุศลพระราชทานเพลิง ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระ องค์ในการพระราชทานเพลิงศพ พระเทพวงศาจารย์ ณ เมรุลอยวัดยาง อ.เมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๐













ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน3,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 13 พ.ย. 2558 - 08:31.44
วันปิดประมูล ศ. - 13 พ.ย. 2558 - 08:32.46 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 3,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดก่อนกำหนดโดยผู้ตั้งประมูล
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
2,000 บาท ส. - 13 มิ.ย. 2558 - 11:41.26
3,000 บาท อา. - 05 ก.ค. 2558 - 11:17.07
กำลังโหลด...
Top