เหรียญรุ่นแรกครูบากฤษดา สุเมโธ พระโพธิญาณ วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ลำพูน ปี 57 เนื้อทองแดง #18 - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคเหนือ

เหรียญรุ่นแรกครูบากฤษดา สุเมโธ พระโพธิญาณ วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ลำพูน ปี 57 เนื้อทองแดง #18

เหรียญรุ่นแรกครูบากฤษดา สุเมโธ พระโพธิญาณ วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ลำพูน ปี 57 เนื้อทองแดง #18 เหรียญรุ่นแรกครูบากฤษดา สุเมโธ พระโพธิญาณ วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ลำพูน ปี 57 เนื้อทองแดง #18 เหรียญรุ่นแรกครูบากฤษดา สุเมโธ พระโพธิญาณ วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ลำพูน ปี 57 เนื้อทองแดง #18
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรุ่นแรกครูบากฤษดา สุเมโธ พระโพธิญาณ วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ลำพูน ปี 57 เนื้อทองแดง #18
รายละเอียดเหรียญรุ่นแรกครูบากฤษดา สุเมโธ พระโพธิญาณ

จัดสร้างขึ้นตามดำริของครูบากฤษดา สุเมโธ ในวาระที่ท่านอายุครบ 38 ปี ในปี พ.ศ. 2557 เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์ และกำแพงวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) โดยมอบหมายให้นายช่างประหยัด ลออพันธ์สกุล (ช่างอ็อด) เป็นผู้ออกแบบ แกะพิมพ์ และปั๊มเหรียญทั้งหมด ซึ่งเหรียญทั้งหมดจะตอกโค๊ด และตอกหมายหมายเลข ยกเว้นเหรียญเนื้อนวะเต็มสูตร ชนวนมงคลไร้ห่วง ฝาบาตร และทองแดงแจกทาน จะตอกเพียงโค๊ดอย่างเดียว โดยช่างได้ทำเหรียญสำรองเผื่อเสียไว้บางส่วน ซึ่งเหรียญสำรองเผื่อเสียนี้จะตอกโค๊ด แต่ไม่ได้ตอกหมายเลข เหรียญทั้งหมดเข้าพิธีปลุกเสกตลอดไตรมาส (3 เดือน) ในปี พ.ศ. 2557 มีรายละเอียดจำนวนการจัดสร้างอย่างเป็นทางการ ดังนี้

1. เนื้อทองคำ จำนวนสร้าง 39 เหรียญ และเหรียญทองคำหลังเรียบ 3 เหรียญ ไม่มีทำสำรองเผื่อเสีย
2. เนื้อชนวนมงคล จำนวนสร้าง 539 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 58 เหรียญ และเหรียญชนวนมงคลหลังเรียบ 3 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 3 เหรียญ
3. เนื้อเงินลงยา จำนวนสร้าง 539 เหรียญ โดยหมายเลข 1-199 สีแดง หมายเลข 200-369 สีนำ้เงิน หมายเลข 370-539 สีเขียว และเหรียญเงินลงยาหลังเรียบ 3 เหรียญ โดยหมายเลข 1 สีแดง หมายเลข 2 สีนำ้เงิน และหมายเลข 3 สีเขียว ไม่มีทำสำรองเผื่อเสีย
4. เนื้อเงินบริสุทธิ์ จำนวนสร้าง 539 เหรียญ ไม่มีทำสำรองเผื่อเสีย และเหรียญเงินบริสุทธิ์หลังเรียบ 3 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 5 เหรียญ
5. เนื้อตะกั่วนม จำนวนสร้าง 739 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 45 เหรียญ และเหรียญตะกั่วนมหลังเรียบ 3 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 8 เหรียญ
6. เนื้อนวะโลหะพิเศษ จำนวนสร้าง 1,039 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 3 เหรียญ และเหรียญนวะโลหะพิเศษหลังเรียบ 3 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 3 เหรียญ
7. เนื้อทองแดง จำนวนสร้าง 5,039 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 6 เหรียญ และเหรียญทองแดงหลังเรียบ 3 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 7 เหรียญ
8. เนื้อทองแดงแจกทาน จำนวนสร้าง 5,039 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 35 เหรียญ
9. เนื้อนวะเต็มสูตร จำนวนสร้าง 39 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 16 เหรียญ
10. เนื้อชนวนมงคลไร้ห่วง จำนวนสร้าง 100 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 13 เหรียญ
11. เนื้อฝาบาตร จำนวนสร้าง 100 เหรียญ ทำสำรองเผื่อเสีย 25 เหรียญ
12. แผ่นลองปั๊มต้นแบบเนื้อตะกั่ว ตะไบเป็นรูปดอกบัว จำนวนสร้าง 1 แผ่น
13. เหรียญลองพิมพ์มีปีกเนื้อตะกั่ว จำนวนสร้าง 3 เหรียญ
14. เหรียญฝาบาตรไร้ห่วง บร๊อคนวะเต็มสูตร จำนวนสร้าง 1 เหรียญ

โดยรายละเอียดที่ปรากฏบนเหรียญรุ่นแรกนี้ ครูบาท่านเมตตานำมงคลอันสูงสุดมาไว้ให้แก่เหล่าบรรดาลูกศิษย์และผู้ที่มีจิตศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นยันต์อักขระขอมทั้ง 4 แนว ที่ช่างอ๊อดได้จัดเรียงใหม่ให้อยู่บริเวณขอบด้านหลังเหรียญ ขั้นด้วยดอกบัว 4 ดอก ซึ่งดอกบัวนี้ก็เป็นสัญลักษณ์แห่งท่านพระอุปคุต และท่านครูบากฤษดา อักขระขอมทั้ง 4 แนว ที่ว่านี้ เป็นคาถาให้พร มีความหมายว่า

สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่านทั้งหลาย

นอกจากนี้ยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ก็เป็นพระยันต์อันสุดยอดของมหายันต์ต่างๆ “นะ โม พุท ธา ยะ” ที่ประกอบกันเป็นคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ หรือเรียกว่า แม่ธาตุใหญ่” ซึ่งมีพุทธคุณเหนือยันต์ทั้งปวง รวมทั้งความเชื่อสืบต่อกันว่า “ผู้ใดที่ท่องหรือบริกรรมพระคาถาบทนี้ด้วยจิตอันสงบและมั่นคงแล้ว จะมีพุทธคุณคุ้มครองครอบจักรวาล”

นะ หมายถึง พระกุกกุสันโธ ใช้เขียนแทน ธาตุน้ำ ซึ่งเรียกว่าอาโปธาตุ มีกำลัง 12
โม หมายถึง พระโกนาคม ใช้เขียนแทน ธาตุดิน ซึ่งเรียกว่า ปฐวีธาตุ มีกำลัง 21
พุท หมายถึง พระกัสสป ใช้เขียนแทน ธาตุไฟซึ่งเรียกว่า เดโชธาตุ มีกำลัง 6
ธา หมายถึง พระสมณะโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ใช้เขียนแทน ธาตุลม ซึ่งเรียกว่า วาโยธาตุ มีกำลัง 7
ยะ หมายถึง พระศรีอารยเมตไตรย (พระพุทธเจ้าองค์ถัดไป หลัง พ.ศ.5000) ใช้เขียนแทน อากาศธาตุ มีกำลัง 10

อีกทั้งครูบาท่านยังเมตตาให้เพิ่มยันต์ “ยันต์พระภควัม” หรือ “ยันต์น้ำเต้า” ใส่ซ้อนในยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ เพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ที่ท่านนับถือ ไม่ว่าจะเป็นพระคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมมวิตักโก ภิกขุ) หรือในอีกนามที่เรียกกันสั้นๆว่า "ท่านเจ้าคุณนร" และหลวงปู่พิศดู ที่จารึกยันต์นี้ไว้ในเหรียญรุ่นแรกของท่านไว้ด้วยเช่นกัน ยันต์น้ำเต้าประกอบด้วยอักขระขอม 6 ตัว บรรจุอยู่ภายในวงกรอบ เรียงซ้อนกันสามชั้น ลดหลั่นตามลำดับ เมื่อมองดูรูปทรงสัณฐานวงนอกแล้ว ก็จะเห็นคล้ายกับพระภควัมบดี หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “พระสังกัจจายน์” พระอรหันต์สาวกที่ยิ่งใหญ่องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล ตัวอักขระขอมทั้งหมด ที่บรรจุอยู่ใน “ยันต์พระภควัมบดี” นั้น แต่ละตัวมีความหมายพอจะกล่าวได้ดังต่อไปนี้

1. อักษรตัวบนสุด อันนับเป็นแถวแรกนั้น ก็คือ “อะ” ย่อมาจากคำเต็มว่า “อรหัง” อันหมายถึง องค์สมเด็จพระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. อักษรแถวกลาง หรือแถวที่สองนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ตัว คือ “อุ” กับ “มะ”
“อุ” นั้น ย่อมาจากคำเต็มว่า “อุตตมธรรม” อันหมายถึง พระธรรมอันยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบ แล้วทรงนำมาเผยแผ่ให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก
ส่วน “มะ” นั้น ย่อมาจากคำเต็มว่า “มหาสังฆะ” ได้แก่ พระสงฆ์หมู่ใหญ่ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธองค์ เจริญรอยพระยุคลบาท ดำรงพระศาสนา สืบมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
3. ส่วนอักขระแถวล่างสุดคือแถวที่สาม ในยันต์นั้นมีอยู่ 3 ตัวด้วยกัน คือ “พะ” “ฆะ” และ “อะ”
“พะ” ย่อมาจากคำเต็มว่า “พุทธ”
“ฆะ” ย่อมาจากคำเต็มว่า “โฆษะ”
“อะ” ย่อมาจากคำเต็มว่า “อาจารย์”
เมื่อรวมอักขระแถวล่างสุดด้วยกันทั้งหมดแล้ว ก็จะเป็นคำเต็มที่ว่า “พุทธโฆษาจารย์” อันเป็นราชทินนามตามสมณศักดิ์ ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรฯ นั่นเอง

รวมความว่า “ยันต์พระภควัม” หรือ “ยันต์น้ำเต้า” นี้ ได้รวมเอาสัญลักษณ์ของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบองค์พระรัตนตรัย นอกจากนี้รูปพระภควัมบดีนั้นเป็นที่รวมไว้ซึ่งสิ่งอันประเสริฐสุด ทั้งยังเป็นเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นผู้โชคดี มีโชคลาภ และมีลาภเพิ่มพูนอุดมสมบูรณ์อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ครูบากฤษดา ท่านได้พิจารณาแล้วว่าเป็นมงคลอันประเสริฐสูงสุดที่จะมอบให้แก่เหล่าบรรดาลูกศิษย์สืบไป และพวกเราเหล่าบรรดาลูกศิษย์ขอให้ภาคภูมิใจเถอะว่า เหรียญรุ่นแรกพระโพธิญาณนี้ ครูบาท่านตั้งใจและคิดพิจารณาไว้อย่างดีครบถ้วนทุกประการแล้ว

หลังจากที่ได้รูปแบบเหรียญ และทราบถึงความหมายของอักขระแต่ละตัวบนเหรียญรุ่นแรกกันไปแล้ว ผมก็ขอเล่าถึงที่มาของคำว่า “พระโพธิญาณ” สักหน่อย เดิมทีนั้น เหรียญรุ่นแรก(พระโพธิญาณ) นี้ได้ถูกตั้งชื่อไว้มากมายหลายชื่อ ทั้งจากทางผม และลูกศิษย์ท่านอื่นๆ ซึ่งพวกเราล้วนแต่ตั้งชื่อตามกิเลสที่เรามีอยู่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นคำว่า รวย มั่นคง รุ่งเรือง โชคลาภ ปลอดภัย หรืออะไรทำนองนี้ ผมได้รวบรวมชื่อทั้งหมดให้ครูบาท่านพิจารณา ท่านตอบว่า “ชื่อทั้งหมดที่ตั้งกันมานี้ ไม่ใช่วิถีทางของเรา เราไม่อยากให้ผู้ใดงมงาย หรือยึดติดสิ่งเหล่านี้ มันไม่ใช่ธรรมะ แม้แต่คำว่ารุ่นแรก เราก็ไม่อยากใส่ไว้บนเหรียญ คนจะได้ไม่ยึดติด” ผมเรียนถามท่านต่อว่า “แล้วจะให้ชื่อว่าอะไรดีหละครับ” ท่านตอบว่า “เราขอตั้งชื่อเหรียญรุ่นแรกนี้ว่า “พระโพธิญาณ” เพราะนี่คือทางของเรา” ผมนิ่งไปชั่วขณะ อิ่มเอมใจอย่างบอกไม่ถูก

เวลาต่อมาผมได้นำชื่อเหรียญรุ่นแรกนี้แจ้งให้นายช่างประหยัด หรือช่างอ็อดทราบ เพื่อที่จะได้เพิ่มคำว่า “พระโพธิญาณ” ลงบนเหรียญ และหลังจากที่ผมได้แจ้งช่างอ็อดแล้ว ช่างอ็อดพูดในวินาทีนั้นว่า “ผมขนลุกไปหมดเลย คุณเชื่อไหม ตลอดชีวิตการทำงานของผม ผมยังไม่เคยแกะคำว่า พระโพธิญาณ ให้กับหลวงพ่อท่านไหนเลย คำนี้เป็นคำที่สูงมากนะครับ ถ้าจะให้ผมแกะคำนี้ ผมขอใส่ไว้ด้านหน้าเหรียญนะครับ” เวลานั้นผมรู้สึกได้ว่าช่างอ็อดมีอาการนิ่งไปชั่วขณะ อิ่มเอมใจ ซึ่งเป็นอาการเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับผมมาแล้ว

หลังจากนั้นมา ผมได้พบกับช่างอ็อดอีกหลายครั้ง และปรึกษาหารือกับครูบาท่านอีกหลายหน เพื่อหาสรุปเกี่ยวกับเนื้อหา มวลสาร และโลหะที่จะใช้ในการสร้างเหรียญรุ่นแรก “พระโพธิญาณ” ในขณะเดียวกันก็รอวาระที่ช่างอ็อด จะเริ่มแกะแม่พิมพ์เหรียญรุ่นแรกนี้ ซึ่งสรุปสุดท้ายมีเนื้อหาของเหรียญรุ่นแรก ดังต่อไปนี้

- เหรียญเนื้อทองคำ ใช้ทองคำบริสุทธิ์ 96.5% แบ่งแผ่นโลหะทองคำบริสุทธิ์ 9 แผ่นผสม ซึ่งจารและอธิฐานจิตโดยพระเกจิ 9 ท่าน ที่ครูบาท่านได้เลือก
- เหรียญเนื้อเงินลงยา ใช้เม็ดเงินบริสุทธิ์ 99.99% แบ่งแผ่นโลหะเงินบริสุทธิ์ 9 แผ่นผสม ซึ่งจารและอธิฐานจิตโดยพระเกจิทั้ง 9 ท่าน ที่ครูบาท่านได้เลือก ลงยาสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว
- เหรียญเนื้อเงินบริสุทธิ์ ใช้เม็ดเงินบริสุทธิ์ 99.99% แบ่งแผ่นโลหะเงินบริสุทธิ์ 9 แผ่นผสม ซึ่งจารและอธิฐานจิตโดยพระเกจิทั้ง 9 ท่าน ที่ครูบาท่านได้เลือก
- เนื้อชนวนมงคล ใช้ชนวนที่สะสมมาตั้งแต่อดีต และชนวนเหลือจากการสร้างวัตถุมงคล เช่น ก้านพระกริ่งและชนวนรุ่น 3 รอบ ชนวนหล่อพระปัจเจก รวมถึงชนวนใหม่ที่ครูบาท่านเห็นสมควร แบ่งแผ่นโลหะเงินบริสุทธิ์ 9 แผ่นผสม ซึ่งจารและอธิฐานจิตโดยพระเกจิทั้ง 9 ท่าน ที่ครูบาท่านได้เลือก เนื้อชนวนนี้ครูบาท่านได้กำชับว่าห้ามผสมโลหะอย่างอื่นเด็ดขาด ในกรณีที่รีดแผ่นแล้วเนื้อมีความแข็งและไม่สามารถปั้มได้ ให้ใส่เงินบริสุทธิ์ผสมได้เท่านั้น ครูบาท่านว่าก้อนชนวนที่หลอมเก็บไว้เพื่อจะใช้ปั้มเหรียญเนื้อชนวนมงคลนี้ มีส่วนผสมของทองคำเป็นจำนวนมาก
- เหรียญเนื้อนวะโลหะพิเศษ ใช้โลหะครบทั้ง 9 ชนิดตามสูตรโบราณที่ปฏิบัติกันมา คือ ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัว บริสุทธิ์ ปรอท สังกะสี ทองแดง เงิน และทองคำ ห้ามขาดแม้แต่เนื้อเดียว สัดส่วนนั้นให้เป็นไปตามช่างเห็นสมควร แบ่งแผ่นโลหะทองคำบริสุทธิ์ 9 แผ่นผสม ซึ่งจารและอธิฐานจิตโดยพระเกจิ 9 ท่าน ที่ครูบาท่านได้เลือก นอกจากนี้ครูบาท่านยังให้แบ่งก้อนชนวนมงคลหลอมรวมในเนื้อนวะโลหะพิเศษตามสัดส่วนที่ช่างเห็นสมควร
- เหรียญเนื้อตะกั่วนม ใช้ชนวนตะกั่วนมซึ่งมีอายุหลายร้อยปี ผสมด้วยตะกั่วใหม่เพื่อให้โลหะเกาะตัวและปั้มเหรียญได้ ผสมด้วยแผ่นโลหะตะกั่ว 9 แผ่น ซึ่งจารและอธิฐานจิตโดยพระเกจิ 9 ท่าน ที่ครูบาท่านได้เลือก ทั้งนี้ช่างอ็อดยังได้ขอถวายชนวนตะกั่วนม ที่ได้เก็บสะสมมานานเพื่อหลอมปั้มเหรียญรุ่นแรก (พระโพธิญาณ) เนื้อตะกั่วนมนี้ด้วย อีกทั้งช่างอ็อดขอใช้สูตรผสมเล่นแร่แปรธาตุในเนื้อตะกั่วนี้ เพื่อให้เหรียญเนื้อตะกั่วนี้มีความแข็งมากกว่าปกติ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
- เหรียญเนื้อทองแดง ใช้ทองแดงบริสุทธ ิ์ ผสมแผ่นโลหะทองแดง 9 แผ่น ซึ่งจารและอธิฐานจิตโดยพระเกจิ 9 ท่าน ที่ครูบาท่านได้เลือก ครูบาท่านยังให้ผสมก้อนชนวนมงคลเพิ่มเติมเข้าไปอีกด้วย

พระเกจิที่ครูบาท่านได้ให้อธิฐานจิต และจารแผ่นโลหะชนวน ทั้ง 9 ท่าน ประกอบด้วย
1. หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารย์ตื้อ
2. ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน
3. ครูบาครอง วัดท่ามะเกว๋น
4. หลวงปู่ลี วัดภูผาแดง
5. หลวงปู่สนั่น วัดป่าคลองกุ้ง
6. หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน
7. หลวงพ่อสิริ วัดตาล
8. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
9. หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน)

อ้างอิงจาก
http://www.watpayang.com/index.aspx?pid=f86442f6-96d3-4a01-8feb-3a0ee4f55798&ctid=c5a1ff41-992b-427e-894d-167dfa4253c2

เหรียญนี้เป็นเหรียญเนื้อทองแดง ตอกโค๊ต และ หมายเลข 2930 สภาพสวยเดิมในกล่อง หายากมากแล้วครับ สุดยอดวัตถุมงคลที่เป็นเหรียญรูปเหมื่อนรุ่นแรกของท่านครูบากฤษดา ต่อไปเป็นตำนานแน่นอนครับผม ^^ โชคลาภไหลมาเทมาครับ ^^
ราคาเปิดประมูล3,340 บาท
ราคาปัจจุบัน3,390 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 11 เม.ย. 2559 - 00:01.35
วันปิดประมูล ศ. - 22 เม.ย. 2559 - 00:07.02 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 081-3551050
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 3,390 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เนื่องด้วยเจ้าของรายการประมูลนี้ ได้ทำผิดกฎ หรือ ถูกลดสิทธิ์ในการตั้งรายการประมูล ดังนั้นรายการประมูลทั้งหมดของเจ้าของรายการประมูลนี้จะถูกระงับชั่วคราว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
Egjaz (72) 124.122.245.237
3,390 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 21 เม.ย. 2559 - 00:07.02
กำลังโหลด...
Top