หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม. ปี 2529 เนื้อผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์ - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525

หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม. ปี 2529 เนื้อผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์

หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม. ปี 2529 เนื้อผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์ หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม. ปี 2529 เนื้อผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์ หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม. ปี 2529 เนื้อผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์ หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม. ปี 2529 เนื้อผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์ หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม. ปี 2529 เนื้อผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม. ปี 2529 เนื้อผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์
รายละเอียดหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม บางกอกน้อย กทม. ปี 2529 เนื้อผงกระเบื้องหลังคาโบสถ์ พร้อมกล่องเดิมจากวัด

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

หลวงพ่อวัดโบสถ์น้อย หรือวัดอมรินทราราม (วัดบางว้าน้อย) กรุงเทพฯ ข้างโรงพยาบาลศิริราช เป็นที่รับรู้กันทั่วถึงความศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธา

ตามประวัติหลวงพ่อวัดโบสถ์น้อย ไม่ปรากฏหลักฐานความเป็นมาแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด

แต่จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมหลวงพ่อโบสถ์น้อยเป็นพระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองสำริด มีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่จะมีขนาดเท่าใดและเป็นพระพุทธรูปสมัยใดนั้นระบุชัดเจนไม่ได้ ได้แต่สันนิษฐานว่าหลวงพ่อโบสถ์น้อยคงจะเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านจึงมีความเลื่อมใสศรัทธาและอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ

และด้วยเหตุที่องค์พระพุทธรูปมีขนาดเล็ก ไม่สมกับพระอุโบสถที่มีความกว้างขวางใหญ่โต ดังนั้นชาวบ้านจึงได้คิดหากลอุบายด้วยการปั้นปูนพอกทับอำพรางองค์จริงของพระพุทธรูปเอาไว้ เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสมกับพระอุโบสถ ซึ่งขณะนั้นมีความยาวถึง 4 ห้อง

ต่อมาถึง พ.ศ.2441 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตัดเส้นทางรถไฟสายใต้ เริ่มจากปากคลองบางกอกน้อยไปทางนครปฐม มีผลให้พื้นที่ด้านหน้าวัดอมรินทราราม ตรงปากคลองบางกอกน้อยถูกตัดตอนเป็นทางรถไฟ วางรางรถไฟเฉียดผ่านพระอุโบสถของวัดจนถึงกับต้องรื้อด้านหน้าของพระอุโบสถออกไปเสียห้องหนึ่ง เหลือเพียง 3 ห้องเท่านั้น

ทำให้พระอุโบสถมีขนาดเล็กลง ชาวบ้านจึงเรียกว่า "โบสถ์น้อย" และคงจะเรียกชื่อพระประธานในพระอุโบสถโดยอนุโลมว่า "หลวงพ่อโบสถ์น้อย" ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเรื่องเล่ากันถึงความมหัศจรรย์ของหลวงพ่อโบสถ์น้อยที่ได้แสดงปาฏิหาริย์ให้ประจักษ์แก่ประชาชนโดยทั่วไป กล่าวคือ เมื่อครั้งที่นายช่างฝรั่งมาส่องกล้องเพื่อดำเนินการตัดทางสำหรับวางรางรถไฟนั้น เมื่อส่องกล้องแล้ว พบว่าเส้นทางนั้นจะต้องถูกพระอุโบสถและองค์พระพุทธรูปพอดี

ในคราวนั้นกล่าวกันว่า ได้เกิดอาเพศเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น จนนายช่างฝรั่งไม่สามารถตัดเส้นทางให้เป็นแนวตรงได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางใหม่เป็นแนวอ้อมโค้งเช่นในปัจจุบัน

เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เครื่องบินข้าศึกทิ้งระเบิดเพลิงเพื่อทำลายสถานีรถไฟธนบุรี ภายในวัดอมรินทรารามถูกไฟเผาทำลายเป็นส่วนมาก แม้แต่พระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโบสถ์น้อยก็ได้รับความเสียหาย ดังปรากฏว่ามีหลุมระเบิดอยู่รอบๆ พระอุโบสถ

ในส่วนของเชิงชายพระอุโบสถก็ถูกไฟไหม้ แต่ในที่สุดไฟก็ดับได้เองเหมือนปาฏิหาริย์

เมื่อสงครามยุติลง วัดอมรินทรารามอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก ทางวัดจึงดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ ให้กลับมีสภาพดีดังเดิม ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าอยู่ในสภาพเสียหายมาก จึงก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนใน พ.ศ.2504

พระอุโบสถหลังเก่า "โบสถ์น้อย" นั้น ยังคงเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโบสถ์น้อยดังเดิม และในส่วนการซ่อมแซมองค์พระพุทธรูป พระเศียรของหลวงพ่อแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่ จึงตกลงที่จะปั้นพระเศียรของหลวงพ่อขึ้นใหม่ โดยให้คงเค้าพระพักตร์เดิมไว้

เล่ากันว่าครั้งนั้นทางวัดได้เชิญบรรดาท่านผู้เฒ่าในบ้านช่างหล่อมาปรึกษาหารือการปั้นขึ้นใหม่ ในที่สุดจึงให้ นายช่างโต ขำเดช เป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเคยอุปสมบทในวัดอมรินทรารามมาหลายพรรษา จึงมีความคุ้นเคยในเค้าพระพักตร์หลวงพ่อโบสถ์น้อยมากกว่าผู้ใด

พ.ศ.2523 ได้ทำการฉาบปูนลงรักปิดทองพระพุทธรูปใหม่หมดทั้งองค์ และบูรณะพระอุโบสถเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา เสร็จแล้วจึงมีการเฉลิมฉลองสมโภชเป็นประเพณี งานนมัสการหลวงพ่อโบสถ์น้อยจะจัดในเดือนเมษายนของทุกปี แต่ปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 29 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันนมัสการประจำปีหลวงพ่อโบสถ์น้อย

เพื่อระลึกว่าในวันดังกล่าวมีเหตุการณ์สำคัญที่หลวงพ่อโบสถ์น้อยถูกภัยทางอากาศ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2

(ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลครับ)
ราคาเปิดประมูล90 บาท
ราคาปัจจุบัน110 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 05 ก.ค. 2559 - 09:30.17
วันปิดประมูล จ. - 11 ก.ค. 2559 - 00:53.31 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 110 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ20 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
DMWK (530) (-3) 110.168.104.193
110 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อา. - 10 ก.ค. 2559 - 00:53.31
กำลังโหลด...
Top