เหรียญ ร.1 วัดพระเชตุพนฯ ปี2510 เนื้อเงิน ราคาเบาๆ(1) - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคล ร.5-ร.9

เหรียญ ร.1 วัดพระเชตุพนฯ ปี2510 เนื้อเงิน ราคาเบาๆ(1)

เหรียญ ร.1 วัดพระเชตุพนฯ ปี2510 เนื้อเงิน ราคาเบาๆ(1) เหรียญ ร.1 วัดพระเชตุพนฯ ปี2510 เนื้อเงิน ราคาเบาๆ(1) เหรียญ ร.1 วัดพระเชตุพนฯ ปี2510 เนื้อเงิน ราคาเบาๆ(1) เหรียญ ร.1 วัดพระเชตุพนฯ ปี2510 เนื้อเงิน ราคาเบาๆ(1)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ ร.1 วัดพระเชตุพนฯ ปี2510 เนื้อเงิน ราคาเบาๆ(1)
รายละเอียดเหรียญ ร.1 วัดพระเชตุพนฯ ปี2510 เนื้อเงิน วัดพระเชตุพนฯ สภาพยังสวยเดิมๆ ราคาเบาๆแบ่งกันไปใช้ องค์จริงตามรูป

***รับประกันตามกฎทุกประการ.***

“พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า”
สร้างขึ้นด้วยพิธีกรรม ที่เข้มขลัง “ดีทั้งนอก” และ “ดีทั้งใน” อีกทั้งโลหะที่นำมาสร้างก็สูงค่าเพราะเป็น “ทองคำ” ที่นำมาทำพิธี
“จารอักขระยันต์” พร้อมปลุกเสกซ้ำครบถ้วนตามตำราหล่อ
(((พระไชยของ “สมเด็จพระ พนรัตน์วัดป่าแก้ว” )))

โดยพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณทั้งสิ้นและ
หลังจาก “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงประกอบพิธีเททอง ครบตามจำนวนทุกองค์ แล้วจึงนำไปประกอบ พิธีพุทธาภิเษก อีกครั้ง
โดยนำ

(((( “ทองชนวน” ที่เหลือตลอดทั้ง “โลหะเงิน” และ “ทองแดง” ที่ผ่าน พิธีพุทธาภิเษกสวดภาณวาร ตลอดพรรษากาลของปี ๒๕๐๙ ))))
นำไปจัดสร้าง
“เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหา ราช”
โดยมอบหมายให้ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ รับไปจัดสร้างดังนี้
๑..“เหรียญทอง คำ” และ
๒...“เหรียญเงิน” มีรูปแบบเป็น “ใบเสมา”
ส่วน
๓... “เหรียญทองแดง” เป็น “รูปทรงกลม”

ด้านหน้า “พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ครึ่งพระองค์ทรงฉลองพระองค์ “จักรพรรดิบรมขัติยราชภูษิตาภรณ์”

ในลักษณะนูนต่ำสวยงามคมชัด

ส่วนด้านหลัง

เป็นตราสัญลักษณ์ “มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า” ที่ได้รับพระราชทานเป็นรูป
“พระมหาพิชัยมงกุฏ” ครอบตรา
“พระมหาจักรี”
แวดล้อมด้วย “ฉัตรเครื่องสูง ๗ ชั้น” และมี “อุณาโลม” ขนาบ ซ้ายขวาระหว่าง
“พระมหาพิชัยมงกุฏ”
และ “ฉัตรเครื่องสูง ๗ ชั้น”

ด้านบนมีอักษรความว่า “มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า ในพระบรมราชูปถัมภ์”
ด้านล่างมีอักษรข้อความว่า “วัดพระเชตุพน”

นอกจากนี้ยังได้สร้าง
“เหรียญพระพุทธรูปพระพุทธยอดฟ้า” หรือจะเรียกว่า “เหรียญพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า”

ก็ได้เพราะพุทธลักษณะเช่นเดียวกันกับ “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” และมี “ยันต์อุณาโลม” อยู่ด้านซ้ายขวาส่วนด้านหลังเป็นตรา “มูลนิธิฯ” ดังกล่าวข้างต้นสำหรับแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ไปในงานพระราชพิธีถวายผ้าพระ กฐิน

หลังจากการตกแต่ง “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า”
รวมทั้งกองกษาปณ์ส่งมอบ
“เหรียญพระบรมรูปสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า”
และ
“เหรียญพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า”
แล้ววัดพระเชตุพนฯ จึงประกอบพิธี พุทธาภิเษก และ มังคลาภิเษก อีกครั้ง
มื่อวันที่ ๕-๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่ง

วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นวันที่ระลึก “พระมหาจักรีบรมราชวงศ์” หรือ ที่รู้จักกันดีของชาวไทยว่า “วันจักรี” ปัจจุบันมี ชื่อเรียกขานอย่างเป็นทางการว่า “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” และ “วันที่ระลึกพระมหาจักรีบรมราชวงศ์”

ด้วยเหตุนี้วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๐ “วัดพระเชตุพนฯ” และ “มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า” จึงจัดให้มีการ ทอดผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ องค์ (กอง) และ

พิธีพุทธภิเษก-มังคลาภิเษก
“พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า,
เหรียญพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า,
เหรียญพระบรมรูปพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช”
ทั้งสองพิมพ์และทุกเนื้อ
ดย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช
และ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ
ทรง พระสุหร่ายและทรงเจิม
พร้อมทรงเป็นองค์ประธาน
ในการมีพระราชดำรัสกล่าวนำประชาชน ถวายผ้าป่าจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ (กอง)
และในการนี้ สถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ ของกรมประชาสัมพันธ์ ในสมัยนั้นได้จัดถ่ายทอดสด ให้ประชาชนได้ร่วมชื่นชม พระบารมีไปทั่วประเทศจึง

นับว่า “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” และ
“เหรียญพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” พร้อม
“เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า”

เป็นวัตถุมงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช
ทรงประกอบพิธีตั้งแต่เสด็จฯ
ทรง เททอง
และทรงพระสุหร่าย
พร้อมทรงเจิม
ตลอดทั้งทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้ใน พิธี พุทธาภิเษก-มังคลาภิเษก
ทุกประการ

๕. วันที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งนั้นเป็น วันอาทิตย์แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันดีที่ถือกันมาแต่โบราณกาลว่าเป็นวันอุดมมงคล

๖. และวันที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธี เททอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ทรงเครื่องยศใหญ่ที่เรียก ว่า
“ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรี”
ซึ่ง น้อยครั้งนักที่พระองค์จะทรงเครื่องยศใหญ่ในพิธีเช่นนี้

๗. วันที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททอง
พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร ต่างแต่งตัวเต็มยศไปเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ ณ วัดพระเชตุพนฯ พร้อมอยู่จนเสร็จสิ้นพิธี

๘. “พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า”
เป็นพระกริ่งรุ่นเดียวที่หล่อด้วยเนื้อ “ทองคำ” น้ำ หนักทององค์ละมากกว่า ๒ บาท
โดยนำโลหะธาตุชนิดอื่น ๆ มาเจือเพราะก่อนการเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททอง คณะกรรมการได้ให้ช่างทำการทดลองหล่อพระกริ่งเป็น “ตัวอย่าง” ด้วยทองคำบริสุทธิ์ปรากฏว่าองค์พระ “อ่อนนิ่ม” เวลาขัดแต่งองค์ทำให้รายละเอียดเช่น “พระขนง (คิ้ว), พระนาสิก (จมูก), พระโอษฐ์ (ปาก)” และอื่น ๆ ลบเลือนโดยง่ายจึงต้องนำไปเจือกับโลหะธาตุอื่น ๆ ที่ผ่านพิธีเข้มขลังมาก่อนแล้วเพื่อให้ “เนื้อพระ” มีความแข็งแกร่งขึ้น

๙. และในวันเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททอง
“พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า” ล้วนแต่เป็นวันที่อุดมไปด้วยมงคล

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นมงคลต่าง ๆ แล้วจึงจัดเป็น “พระกริ่ง” ที่น่าบูชาเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองยิ่ง

ดังนั้นจึงเชื่อมั่นได้ว่า
“พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า”
และ...“เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช”
อุดมไปด้วยสรรพมงคลต่าง ๆ ครบถ้วนบริบูรณ์โดยแท้จริง.
ราคาเปิดประมูล1,150 บาท
ราคาปัจจุบัน1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 15 ก.ย. 2559 - 11:27.01
วันปิดประมูล อา. - 02 ต.ค. 2559 - 19:38.27 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 089-4413396
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ส. - 01 ต.ค. 2559 - 19:38.27
กำลังโหลด...
Top