
ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา พิมพ์ใหญ่ 2519 ในหลวงเสด็จ และเกจิ ปลุกเสก7วัน7คืนครับ อนาคตจะหาไม่มี


ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา พิมพ์ใหญ่ 2519 ในหลวงเสด็จ และเกจิ ปลุกเสก7วัน7คืนครับ อนาคตจะหาไม่มี |
---|---|
รายละเอียด | #พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา ย้อนกลับไปดูข้อมูลที่เขียนลงมติชนสุดสัปดาห์ พระพิมพ์สามเหลี่ยม ปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักสะสม เพราะขนาดกะทัดรัดเลี่ยมห้อยคอเหมาะกับทุกเพศทุกวัย ประเภท “ชายก็ได้-หญิงก็ดี” ทุกวันนี้ที่นิยมสุดๆ กระแสแรงติดลมบนไปแล้ว “พระนางพญา” และ “พระสมเด็จจิตรลดา” ซึ่งว่ากันว่ากลายเป็นพระในฝัน เพราะสนนราคาไปไกลสุดที่ใจจะใฝ่คว้ามาครอบครอง นักสะสมหลายคนจึงหันมามองรุ่นนี้ “พระสมเด็จนางพญา สก.” และ “สมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตรลดา” จัดเป็นอีกของดี สิ่งมงคลที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2519 โดยสร้างจากมวลสารผงศักดิ์สิทธิ์ของพระเกจิอาจารย์ดังในอดีต และผงศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่สำคัญๆมากมาย อีกทั้งจัดพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ มีพระเกจิคณาจารย์ดังทั้งสายกรรมฐาน และสายพุทธาคมได้รับการอาราธนานิมนต์มานั่งปรกอธิษฐานจิต ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ถึง 7 วัน 7 คืน ระหว่างวันที่ 5-12 กรกฎาคม 2519 โดยเฉพาะ “หลวงปู่โต๊ะ” วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร ได้มาร่วมปลุกเสกถึง 5 วันด้วยกัน พระรุ่นนี้จัดสร้างขึ้นโดย มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อหารายได้สมทบทุนการก่อสร้างอาคารเรียนสำหรับพระสงฆ์สามเณรภายในวิทยาลัยสงฆ์วังน้อย ซึ่งต่อมาได้ขอตั้งเป็นวัดชื่อ “วัดชูจิตธรรมาราม” และ “มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย” ตามลำดับ โดยมูลนิธิได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ “ส.ก.” มาประดิษฐานไว้ด้านหนึ่งของพระผงสมเด็จพระนางพญานี้ พร้อมทั้งพระราชทานผงดอกไม้และผงธูปที่ทรงบูชาพระพุทธมา เพื่อผสมกับผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ รวม 199 ชนิด เป็นผงสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก. และพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา ซึ่งคงยากที่จะนำมากล่าวถึงให้ครบ เอาแต่เพียงมวลสารที่สำคัญยิ่ง อาทิ ผงดอกไม้พระราชทาน เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2517 ผงธูปพระราชทาน ผงดอกไม้ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ ในเทศกาลเข้าพรรษา เมื่อปี 2517 ดอกไม้ที่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ในคราวเสด็จแปรพระราชฐานทักษิณนิเวศน์ เมื่อปี 2517 ผงธูปและดอกไม้ หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี, พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร, พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร, หลวงปู่สาม วัดไตรวิเวการาม จังหวัดสุรินทร์, พระอาจารย์แว่น วัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร, ผงธูปและดอกไม้จากพระอุโบสถ วัดราชบพิธ,วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดเทพศิรินทรวาส วัดพระเชตุพน และวัดอัมพวา, ผงดอกไม้ ผงธูปบูชาในพระปฐมเจดีย์มันดุท อินโดนีเซีย, ผงพระสมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม, ผงปูนกะเทาะจากองค์พระทอง วัดไตรมิตรวิทยาราม, ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม, ผงสมเด็จวัดสามปลื้ม, ผงพระหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, ผงธูป-ทอง หลวงพ่อโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น พระเกจิอาจารย์ดังที่เข้าร่วมปลุกเสกในยุคนั้น แต่ละท่านล้วนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา และมีวิชาอาคมขลังเช่น พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่ พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดเลย พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จังหวัดนครราชสีมา พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จังหวัดอุดรธานี พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จังหวัดเลย พระอาจารย์เปลื้อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จังหวัดพัทลุง พระสังวรวิมลเถร (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร พระโพธิสังวรคุณ (หลวงพ่อไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพมหานคร พระครูสารธรรมนิเทศ (หลวงพ่อมา) วัดวิเวกอาศรม จังหวัดร้อยเอ็ด พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม พระราชธรรมานุวัตร (หลวงพ่ออ่อน) วัดประชานิคม จังหวัดกาฬสินธุ์ พระครูศีลขันธสังวร (หลวงพ่ออ่อนสี) วัดพระงาม จังหวัดหนองคาย พระครูทัศนปรีชา (หลวงพ่อขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จังหวัดสุรินทร์ พระครูญาณปรีชา (หลวงพ่อเหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จังหวัดหนองคาย หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จังหวัดหนองคาย พระชินวงศาจารย์ (หลวงพ่อพุธ) วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (หลวงพ่อโชติ) วัดภูเขาแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี พระครูวินิตวัฒนคุณ วัดบ้านนาเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์สมชาย วัดราษฎร์บุรณคุณาคาม (เขาสุกิม) จังหวัดจันทบุรี พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลยก์ฯ จังหวัดสุพรรณบุรี พระศีลขันธโสภณ (หลวงพ่อสนิท) วัดศีลขันธาราม พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม พระญาณจักษุ (หลวงพ่อผ่อง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร พระครูโสภณกัลยาณวัตร (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพมหานคร พระราชธรรมวิจารณ์ (หลวงพ่อธูป) วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) กรุงเทพมหานคร พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร หลวงพ่อซ่วน วัดพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต จังหวัดขอนแก่น พระอาจารย์ไสว สุวโร วัดป่าสิริสาลวัน จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่จันทร์ วัดป่ามะขาม เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ “พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา” ซึ่งได้ถอดแบบมาจาก “พระสมเด็จจิตรลดา” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงสร้างขึ้น ปัจจุบันนักสะสมนิยมเล่นหา สนนราคาบางองค์อยู่ที่หลักล้านขึ้น สำหรับ “พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา” รุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะบัวสองชั้น ในทรงกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วคล้ายพระสมเด็จจิตรลดา แต่เพิ่มรายละเอียดในองค์พระปฏิมากรให้ชัดเจนขึ้น และเพิ่มยันต์อุณาโลมที่ด้านหลังองค์พระ พร้อมกับมีอักขระจารึกว่า “เอตังสะติง พะมะนะอะกะสะนะทะอะ สะ อะ” เป็น 3 บรรทัด อักษรจมลงไปในเนื้อพระด้านหลัง ขนาดพระมีสองพิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่สูง 3 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร หนา 0.5 เซนติเมตร ส่วนพิมพ์เล็กสูง 2.5 เซนติเมตร กว้าง 1.7 เซนติเมตร หนา 0.4 เซนติเมตร |
ราคาเปิดประมูล | 400 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 450 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 03 พ.ย. 2559 - 20:41.55 |
วันปิดประมูล |
ส. - 05 พ.ย. 2559 - 16:40.12 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...