
ประมูล หมวด:พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
กริ่งใหญ่ไฟดับ วัดตาล เพชรบูรณ์ ๒๕๑๖ หลวงพ่อทบเสก สวยแชมป์โลก



ชื่อพระเครื่อง | กริ่งใหญ่ไฟดับ วัดตาล เพชรบูรณ์ ๒๕๑๖ หลวงพ่อทบเสก สวยแชมป์โลก |
---|---|
รายละเอียด | สร้างและเททองกันที่วัด เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2516 มีเกจิอาจารย์มาร่วมพุทธาภิเษก จำนวน 16 องค์ เช่น หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง,หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม,หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน,หลวงพ่อทบวัดช้างเผือก,หลวงพ่อกวยฯลฯ(…รายนามพระเกจิเพิ่มเติม 1. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง 2. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม . 3 หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก 4. หลวงพ่อพริ่งวัดโบสถ์ ลพบุรี 5. หลวงพ่อถม วัดธรรมปัญญาราม 6. หลวงพ่อไซ่ วัดจูงนาง พิษณุโลก 7. หลวงพ่อละมัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ 8. หลวงพ่อเปรื่องวัดบางคลาน 9. หลวงปู่จันทร์ วัดลานเขื่อน อุบลราชธารี 10. หลวงพ่อทองรักษ์ วัดพระธาตุพนม นครพนม 11. หลวงพ่อชัย วัดพระธาตุสามหมื่น จังหวัดชัยภูมิ )พิธียิ่งใหญ่มาก โดยพระกริ่ง ชุดนี้ มี 2 พิมพ์คือพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก อีกทั้งวัตถุมงคลชุดนั้น ยังมี แหวน สมเด็จบรรจุกริ่ง แหนบและเหรียญขวัญถุง ซึ่งเป็นรูปแบบของหลวงพ่อใหญ่ ทั้งสิ้น…ข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณสุวรรณภูมิ ในนิตยสาร สนามพระ ปี ๒๕๓๒พระกริ่งใหญ่ สร้างจำนวน 1200 องค์ พระกริ่งเล็กสร้าง 2516 องค์ เท่าพ.ศ. พระกริ่งสร้างและเททองที่วัดตาล เหรียญสร้างโดยคุณแสวง พันธ์สังข์ ชาวนครสวรรค์ สร้างเหรียญขวัญถุงกลมใหญ่ทองแดงรมดำ จำนวน 10000 เหรียญขวัญถุงรูปไข่ทองแดงรมดำสร้าง จำนวน 10000 เหรียญ เหรียญเสมาทองแดงรมดำสร้าง 10000 เหรียญ เหรียญอาร์มทองฝาบาตรสร้าง 10000 เหรียญ รวมการสร้างของคุณแสวง พันธ์สังข์สร้าง4พิมพ์ 40000 เหรียญ และของชาวนครสวรรค์อีก1 คน ได้จัดสร้างเหรียญกลมเล็กกาไหล่ทอง 10000 เหรียญ เหรียญนี้มีเหรียญที่สมบูรณ์อยู่ประมาณ 5000 เหรียญเพราะบล็คที่ปั้มแตกเสียก่อนเหรียญกลมเล็กจึงพิมพ์บล็อคแตกอีกส่วน หนึ่ง และเหรียญรูปไข่เล็กกาไหล่ทองอีก 5000 เหรียญและทางจังหวัดได้จัดสร้างพระสมเด็จขึ้นอีกชุดหนึ่งประมาณ 10000 องค์ ด้านหลังเป็นยันต์เจ้าคุณนรฯสีขาวอมเหลือง นอกนั้นก็จะมีการสร้างแหวนมงคลเก้าอีก 3000 วง ในครั้งนั้น ทำพิธีพุทธาภิเศกที่วิหารหลวงพ่อใหญ่…. จำนวนการสร้าง น่าจะประมาณ 3,000 องค์ ส่วนที่ได้ชื่อว่า “กริ่งไฟดับ” นั้น น่าจะมาจากคำพูด ของหลวงพ่อ ที่พูดว่า “เออ! มึงคอยดู กูจะดับไฟไปสัก 3 ที” เท่านั้นแหละ พอพิธีพุทธาภิเษก ผ่านไปได้ประมาณ 5 นาที เท่านั้น ไฟฟ้าในพระอุโบสถที่ใช้จัดงานในครั้งนั้น ก็ดับวูบลง โดยไฟฟ้าดับเฉพาะภายในพระอุโบสถเท่านั้น ในบริเวณวัดส่วนอื่นๆตลอดจนนอกเขตวัดออกมาถึงบ้านของชาวบ้านรอบๆวัดกลับไม่ดับ ไฟดับได้สักครู่หนึ่ง จึงติดขึ้น ไฟดับครั้งที่2 และครั้งที่ 3 จะไม่ดับในทันทีทันใดเหมือนครั้งแรก คือ ไฟฟ้าค่อยๆหรี่ลงๆ แล้วจึงดับ พอถึงคราวที่ไฟฟ้าจะติดก็ค่อยๆ สว่างขึ้นๆ ทีละน้อย ไฟฟ้าดับและสว่างทั้งหมด ถึง 3 ครั้ง ช่างสมกับวาจาของท่าน ที่ได้กล่าวไว้ ก่อน พิธีพุทธาภิเษกเสียจริง ชาวบ้านจึงเรียกพระกริ่งรุ่นนี้ ว่า “กริ่งไฟดับ” ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในปัจจุบันนี้ ออกจะหาดูได้ยากแล้ว เพราะใครมีใครก็หวง เพราะว่าประสบการณ์ที่ชาวบ้านละแวกนั้น ได้เจอกับตัวเอง มาแล้ว นั่นเอง ………. |
ราคาเปิดประมูล | 5,000 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 6,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 500 บาท |
วันเปิดประมูล | ส. - 08 ต.ค. 2554 - 12:05.28 |
วันปิดประมูล |
ส. - 15 ต.ค. 2554 - 12:05.28 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 6,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 500 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...