Making Merit, Making Art: A Thai Temple in Wimbledon - webpra

ประมูล หมวด:พุทธศิลป์ ท่านอาจารย์เฉลิมชัย

Making Merit, Making Art: A Thai Temple in Wimbledon

Making Merit, Making Art: A Thai Temple in Wimbledon Making Merit, Making Art: A Thai Temple in Wimbledon Making Merit, Making Art: A Thai Temple in Wimbledon Making Merit, Making Art: A Thai Temple in Wimbledon Making Merit, Making Art: A Thai Temple in Wimbledon
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง Making Merit, Making Art: A Thai Temple in Wimbledon
รายละเอียดหนังสือที่ได้รวบรวมเรื่องราวประวัติความเป็นมาในการก่อสร้าง วัดพุทธปทีป ตลอดจนรวบรวมภาพถ่าย ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับการรังสรรค์โดยศิลปินชื่อดังหลายท่าน อาทิ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ อันงดงามและล้ำค่า

พระพุทธศาสนา (Buddhism) เข้าสู่อังกฤษครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘
โดย J.R. Jackson เป็นผู้ก่อตั้งพุทธสมาคมในอังกฤษ และ Charls Henry Allen Bernett ผู้ซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุในพม่า มีฉายาว่า "อานันทเมตเตยยะ" เป็นพระภิกษุชาวอังกฤษคนแรก คณะสงฆ์ไทยส่งคณะพระธรรมทูตไปเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗
และได้สร้างวัดไทยชื่อ วัดพุทธปทีป ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

สำหรับประวัติการตั้งวัดนั้น เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา พระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.๙) และ พระมหาวิจิตร ติสฺสทตฺโต วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ได้รับอาราธนาให้เดินทางไปทำการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ พุทธวิหารแฮมสเตท กรุงลอนดอน โดยสังฆสมาคมแห่งประเทศอังกฤษ
เป็นฝ่ายดำเนินการ และครั้งนั้นนับเป็นโอกาสทอง และเป็นประวัติศาสตร์ที่พระพุทธศาสนาสายปฏิบัติ ได้ถูกนำไปประดิษฐานในโลกตะวันตกเป็นครั้งแรก ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ได้มีการประชุมกลุ่มคนไทยและนักเรียนไทยในกรุงลอนดอน เพื่อปรึกษาหาแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มั่นคงยั่งยืน ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ เรื่องจัดตั้งวัดไทยขึ้นที่กรุงลอนดอน โดยต่อมามหาเถรสมาคมและรัฐบาลไทยเห็นด้วยในหลักการ จึงได้ระดมทุนทรัพย์จัดสร้างวัดไทยในกรุงลอนดอนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงในประเทศอังกฤษ
เพื่อสงเคราะห์คนไทยในทางศาสนกิจ
เพื่อเผยแผ่เกียรติคุณของคณะสงฆ์ไทยและประเทศไทย

เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธีเปิดป้ายวัดและพระราชทานพระพุทธรูปโบราณปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย ประดิษฐานไว้เป็นพระประธานประจำที่วัด และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า พระราชทานนามพระอารามแห่งนี้ว่า “วัดพุทธปทีป” ดังมีกระแสพระราชดำรัสว่า “น่าอนุโมทนายินดีอย่างยิ่ง ที่คนไทยมีศรัทธาและความพร้อมแรงพร้อมใจกันมาสร้างวัดขึ้นในประเทศอังกฤษได้สำเร็จเป็นปึกแผ่น วัดพุทธปทีปนี้จึงมีความสำคัญมาก คือนอกจากจะเป็นที่ศึกษาปฏิบัติและเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นนิมิตหมายของชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทยที่เป็นเมืองพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง ควรอย่างยิ่งที่ทุกคนทุกฝ่ายจะตั้งใจถนอมรักษาไว้และทำนุบำรุงให้ถาวรวัฒนายั่งยืนไป พร้อมทั้งพยายามปฏิบัติตัว ปฏิบัติใจให้สุจริตเป็นธรรมตามแบบแผนของพุทธมามกะ เพราะพระพุทธศาสนาช่วยให้ผู้ปฏิบัติตามเกิดความสุขสงบร่มเย็น เมื่อบุคคลในชาติมีความสุขสงบร่มเย็น ก็จะทำให้อนาคตของชาติสว่างแจ่มใสและเจริญมั่นคงอย่างแท้จริง”

ความโดดเด่นของวัดแห่งนี้ คือ พระอุโบสถทรงไทยหลังแรกในทวีปยุโรป ลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขแบบกึ่งตรีมุขตามอย่างศิลปะสถาปัตยกรรมไทย ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๙ เมตร และมีกำแพงแก้วรอบอุโบสถ มีห้องใต้ดินเป็นโถงใหญ่สำหรับใช้เป็นห้องสมุด และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การออกแบบอาคาร สถาปนิกได้คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศและกฎหมายการก่อสร้างอาคารของประเทศอังกฤษ เช่น หน้าต่างออกแบบโดยใช้รูปแบบวิมานเพื่อขยายพื้นที่รับแสง ที่สะท้อนงานศิลป์ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อชาวต่างชาติ เริ่มก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดัง นายประเวศ ลิมปรังษี ใช้งบประมาณราว ๔๐ ล้านบาท สร้างเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ ภายในพระอุโบสถตระการตาไปด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังอันทรงคุณค่า ที่หาได้ยากยิ่งในภาคพื้นยุโรป โดยการรังสรรค์ผลงานของจิตรกรชื่อดังอาทิ “เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, ปัญญา วิจินธนสาร, สมภพ บุตรราช, ปาง ชินสาย” เป็นต้น ทำให้สื่อหลายแขนงในอังกฤษ ได้ติดต่อขอถ่ายทำสารคดีเชิงพุทธศิลป์กันอย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ตามแต่เดิมนั้น วัดพุทธปทีป มีอาคารคือบ้านหลังใหญ่สำหรับทำเป็นที่พักสงฆ์ ๑ หลัง และบ้านหลังเล็กอีก ๑ หลัง มีบริเวณคลอบคลุมพื้นที่ ๑๐ ไร่เศษ มีสระน้ำ มีป่าไม้สำหรับทำเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมในฤดูร้อน ครั้นต่อมาทางวัดได้จัดให้มีกิจกรรมหลายประการ โดยเฉพาะการจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาไทย และวัฒนธรรมไทย ให้แก่เยาวชนไทยที่เติบโตในประเทศอังกฤษ คณะพระธรรมทูตเห็นว่ามีเยาวชนให้ความสนใจมากขึ้น จึงได้จัดตั้ง “โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพุทธปทีป” ขึ้น โดยมีอาคาร ๒ หลัง จำนวน ๙ ห้อง ปัจจุบันมีนักเรียนจำนวน ๑๕๐ คน วัดพุทธปทีป เปรียบเสมือนประทีปธรรมดวงแรกเริ่ม ที่ได้ปักลงไว้ในกรุงลอนดอน นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ เป็นต้นมา ปัจจุบันมีอายุครบ ๔๐ ปีเต็ม (๒๕๔๙) มีพระสงฆ์จำพรรษาจำนวน ๖ รูป ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ คณะพระธรรมทูตได้จัดตั้งวัดขึ้นอีก โดยให้ชื่อว่า “วัดธรรมปทีป กรุงเอดินเบอระ” เป็นประทีปธรรมดวงที่สองที่ถูกปักลงที่กรุงเอดินเบอระ สก๊อตแลนด์ มีพระสงฆ์ ๓ รูป อยู่จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจสงเคราะห์ชุมชนชาวไทยและชาวสก๊อตแลนด์ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ทางวัดพุทธปทีป ได้ขยายสาขาออกไปสู่แคว้นเวลส์ โดยให้ชื่อว่า "วัดสังฆปทีป" เป็นประทีปดวงที่สาม มีพระสงฆ์จำพรรษา ๒ รูป จนปัจจุบัน

(ข้อมูลจาก http://www.padipa.org/bpp1_aboutus.html)

หนังสือมีสภาพสุดสมบูรณ์
หน้าปกเป็นปกแข็ง มีแผ่นรองปกเป็นกระดาษอาร์ตมันหนา
ภายในเป็นกระดาษอาร์ตมัน
ภาษาอังกฤษ

ราคาเปิดประมูล1,900 บาท
ราคาปัจจุบัน1,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 28 มี.ค. 2560 - 14:06.19
วันปิดประมูล จ. - 17 เม.ย. 2560 - 14:06.19 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,900 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
ยังไม่มีผู้ประมูล
กำลังโหลด...
Top