พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุท - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิสายนครปฐม

พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุท

พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุท พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุท พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุท พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุท
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุท
รายละเอียด**รหัส ศ.ร.๕๐๓๖
พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุทธกาล สุดยอดมวลสาร และพิธีปลุกเสก พิมพ์สี่เหลี่ยม พิมพ์ตื้น


พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม
• มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุทธกาล ได้ชื่อว่าเป็นพิธีของพระเครื่องไทยที่ยิ่งใหญ่สุดขีด
• หลวงพ่อหลวงปู่รูปใดมีชื่อว่าเฮี้ยนว่าขลังแม้อยู่ในป่าเขาก็ไปรับเอาตัวออกร่วมพิธีจนได้ทั้งหมด
• ได้ยินว่าจะต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ก็ใช้ทันที
• เพราะว่ารัฐบาลเป็นคนจัดแจงทุกอย่าง
• พิธี 25 พุทธศตวรรษทำขึ้น 2 ครั้ง คือที่วัดสุทัศน์ฯ ครั้งหนึ่ง วัดพระแก้วอีกครั้งหนึ่ง มีคณาจารย์นับร้อยกว่ารูปเข้าร่วมสมโภช
• สมัยโน้นอยู่กันครบถ้วน
• หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ,หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก,หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา,หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ,หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ,หลวงพ่อลี วัดอโศการาม,หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง,หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง,หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้,หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย,หลวงพ่อถิร วัดป่าเลย์ไลยก์,หลวงพ่อเงิน วัดดอ

พระพุทธฤาชา ก็เป็นหนึ่งในบรรดาพระร่วมพิธี หรือจะเรียกว่าพระฝากพิธีก็ได้
หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นผู้สร้างพระพุทธฤาชา โดยสร้างขึ้น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์สี่เหลี่ยม กับพิมพ์สามเหลี่ยมยอดมน ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธเจ้าที่เป็นพุทธศิลป์อย่างเดียวกัน ด้านหลังประทับยันต์จมลึก ตัว ?นะฤาชา? เหมือนกันทุกองค์ ส่วนเนื้อมีลักษณะเป็นดินเผา มีทั้งสีดำ และแดง ถ้าจับแว่นขยายดูจะไม่เห็นว่ามีมวลสารอะไรน่าสนใจ แต่แท้จริงแล้วมวลสารในองค์พระทั้งหมดเป็นเลิศ พอเอามาเผาแล้วก็กลืนเป็นเนื้อเดียวกันหมด ลักษณะอันนี้ปรากฏในพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดินเผาทุกองค์
ศิษย์ของหลวงพ่อสำเนียงได้บันทึกรายละเอียดของมวลสารเอาไว้ตั้งแต่ ปี 2500 ว่ามีทั้งหมด 82 รายการ
ลองไล่ ๆ ดู
ผงใบลานจารึกอักษรสันสกฤต,ผงใบลานพระศรีมหาโพธิ,ผงอิทธิเจ, ผงปัทมัง,ผงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ,ผงอิติปิโสตรึงไตรภพ,ผงรัตนมาลา,ผงมงกุฏพระพุทธเจ้า,ผงเกราะเพชร,ผงมหานิยมใหญ่,ผงพระฉิมพลี,ผงอิติปิโสแปดทิศ,ผงพระเจ้าเปิดโลก,ผงพระยาม้า, ผงเกสรดอกบัวหลวง,ผงเกสรดอกไม้ร้อยแปดชนิด,ผงยาอายุวัฒนะ,ผงผลไม้นานาชนิด,ผงผ้ากาสาวพัสตร์เนื้อบริสุทธิ์,ผงนิล,ผงพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต),ผงทำพระรอดเชียงใหม่,ผงพระเครื่องกรุพระแท่นดงรัง,ผงธูปในอุโบสถ วัดบ้านแหลม,ผงธูปพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์,ผงพระกรุวัดไก่เตี้ย,ผงดินป่าลุมพินีที่พระพุทธเจ้าประสูติ,ผงดินพุทธคยา,ผงดินพาราณสี,ผงดินตำบลสาลวัน แขวงเมืองกุสินารา,ผงดินใจกลางวัดต่าง ๆ 99 แห่ง,ผงดินกลางใจไร่ 99 แห่ง,ผงดินกลางใจสวน 99 แห่ง,ผงดินวัดไทรตั้ง ปีนัง,ผงดินมหาสมุทรแปซิฟิคที่เกาะเวกค์,ผงดินวัดเมยี ญี่ปุ่น,ผงดินซานฟรานซิสโก,ผงดินกรุงวอชิงตัน,ผงดินเมืองเดมเลอร์,ผงดินเกาะฮอโนลูลู, ผงดินเมืองเซนต์หลุยส์,ผงดินเมืองชิคาโก,ผงดินเมือง ดีทรอยส์,ผงดินกรุงลอนดอน,ผงดินกรุงปารีส,ผงดินกรุงโรม,ผงดินประเทศกัมพูชา, ผงดินพม่า,ผงดินอาหรับ,ผงดินจอมปลวก,ผงดินโป่ง,ผงดินท่า,ผงดินป่า,ผงดินเขา,ผงทรายปาโจ นราธิวาส, ผงทรายขาว สงขลา, ผงทรายขาว ท่าหิน,ผงทรายชะอำ,ผงทรายสระแก้ว ลพบุรี,ผงอิฐ ยอดเขาสารพัดดี,ผงอิฐพระวิหาร พนมวัน,ผงอิฐวัดดอนเจดีย์,ผงอิฐพระ-เจดีย์ศรีสุริโยทัย,ผงอิฐพระสมุทรเจดีย์ น้ำพุเย็น อ.ฝาง,น้ำพุร้อน อ.ศรีราชา,น้ำตกแม่กลาง, น้ำตก ผาเลียบ,น้ำตกปาโจ,น้ำพระพุทธมนต์หล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์ วัดพระเชตุพน,น้ำพระพุทธมนต์ในรอยพระพุทธบาทเขาสารพัดดี น้ำพระพุทธมนต์ในรอยพระพุทธมนต์พิธพุทธาภิเษกต่าง ๆ น้ำพระพุทธมนต์สรงพระธาตุจอมทอง,น้ำพระพุทธมนต์พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร,แก้วแกลบ,ข้าวเหนียวดำ,หัวเผือกมันกลอย,ลิ้นทะเล,แร่พลวง,เศษเหล็กในพระวิหารวัดพระธาตุ อำเภอสรรค์, เม็ด พระศรีมหาโพธิจากพุทธคยา อินเดีย ฯลฯ

ที่นำมาลงให้เห็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่แสดงความอุตสาหวิริยะของผู้สร้างอย่างแท้จริง เป็นมวลสารที่มาจากทั่วโลก ทำนองจะเป็นเคล็ดให้พระเครื่องมีอานุภาพสากล คือไปที่ไหนในโลกก็ได้

ข้อเขียน โดย...อำพล เจน
ราคาเปิดประมูล250 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 07 พ.ค. 2560 - 19:47.16
วันปิดประมูล ศ. - 19 พ.ค. 2560 - 00:53.22 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 18 พ.ค. 2560 - 00:53.22
กำลังโหลด...
Top