รูปหล่อ หลวงพ่อใย วัดยาง หรือ วัดคุ้งยาง ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ปี 2539 - webpra

ประมูล หมวด:พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ปี 2521 ถึง 2540

รูปหล่อ หลวงพ่อใย วัดยาง หรือ วัดคุ้งยาง ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ปี 2539

รูปหล่อ หลวงพ่อใย วัดยาง หรือ วัดคุ้งยาง ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ปี 2539 รูปหล่อ หลวงพ่อใย วัดยาง หรือ วัดคุ้งยาง ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ปี 2539
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง รูปหล่อ หลวงพ่อใย วัดยาง หรือ วัดคุ้งยาง ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ปี 2539
รายละเอียดดยาง หรือ วัดคุ้งยาง ต.ไกรนอก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย วัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี มีหลวงพ่อฤทธิ์ไกร หรือ หลวงพ่อไกร เป็นพระพุทธรูปประจำวัด และมีอดีตเจ้าอาวาส นาม “หลวงพ่อใย” เป็นพระที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ มีชื่อเสียงร่ำลือในด้านการรักษาคนถูกงูพิษกัด มาปกครองพัฒนาวัด ระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2485 แม้เวลาจะล่วงเลยมาเกือบ 70 ปี หลวงพ่อใยก็ยังคง เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านเสมอมา

พระสำรวย คุณธรรมโม หรือหลวงตารวย อายุ 83 ปี รองเจ้าอาวาสวัดคุ้งยาง (ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นหลานของหลวงพ่อใย เล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อใย” เดิมชื่อนายใย มาดหมาย บ้านเกิดอยู่หมู่ 4 ต.ไกรนอก เป็นบุตรของนายมาดกับนางจิ๋ว มาดหมาย มีพี่น้องรวม 6 คน เรียงตามลำดับ คือ นายยอด , นายพรม , นายพราม , นายใย , นายน้อย และนายจิต มาดหมาย

“ตอนเป็นเด็ก หลวงพ่อใย ล่องเรือ 15 วัน 15 คืน ไปกรุงเทพฯ บวชเรียนอยู่ที่วัดอนงคาราม กระทั่งอายุ 20 ปี ก็กลับมาบ้านบวชเป็นพระ ครั้งเมื่ออายุได้ประมาณ 25 ปี ก็สึกไปแต่งงาน อยู่กินกับนางโกย คนบ้านสวน อ.เมืองสุโขทัย และทำมาค้าขายอยู่ในตลาดบ้านสวน ฐานะร่ำรวยขึ้นตามลำดับ มีร้านขายของ มีห้องให้เช่า 5 ห้อง มีเรือบรรทุกข้าวได้ 30 ตัน รวมทั้งเปิดโรงฝิ่น ขายฝิ่น และติดฝิ่นอย่างมาก”

จุดเปลี่ยนชีวิต ถูกเพื่อนโกงเหมือนชดใช้หนี้กรรม
“หลวงพ่อใย ท่านไม่มีลูก จึงรับลูกของน้องชายมาเลี้ยง 2 คน และในช่วงอายุประมาณ 50 กว่าๆ ได้ล่องเรือบรรทุกข้าวไปขายที่กรุงเทพฯ ไปถึงก็ให้เพื่อนที่เป็นคนจีน เป็นคนเอาข้าวไปขาย ส่วนตัวเองก็นอนสูบฝิ่นรอ ปรากฏว่าถูกเพื่อนคนนี้ ขโมยเงินหนีไปทั้งหมด รวมทั้งเรือด้วย ทีนี้ก็ไม่มีเงินกลับ จึงได้ไปอาศัยอยู่ที่วัดอนงคาราม ซึ่งเป็นวัดที่เคยบวชเรียนในวัยเด็ก และตัดสินใจเลิกสูบยาฝิ่น และบวชเป็นพระอีกครั้ง อยู่ที่นั่น 1 ปีเต็มๆ ญาติทางสุโขทัย ก็เข้าใจว่าตายไปแล้ว จึงได้ทำบุญตักบาตรไปให้”

ชีวิตถูกลิขิตให้ทำเพื่อพระพุทธศาสนา ยังถิ่นเกิด
หลวงตารวย บอกว่า หลัง 1 ปี ผ่านไป หลวงพ่อใยก็กลับมา จำพรรษาอยู่ที่วัดคุ้งยาง บ้านเกิด นางโกย ผู้เป็นภรรยา ก็เฝ้าแวะเวียนมาหา ขอร้องให้สึกจากพระ กลับไปอยู่บ้านด้วยกัน แต่เหมือนชีวิตของท่านถูกลิขิตไว้แล้ว ที่สุดก็ไม่ได้สึก แม้ใจอยากจะสึกตามคำร้องขอ ของภรรยาก็ตาม ภายหลังอยู่วัดบ้านเกิดได้ 5 ปี หลวงพ่อใยก็ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งยาง ต่อจากพระอาจารย์ทิพย์ และท่านอยู่พัฒนาวัดแห่งนี้ ได้อีก 15 ปีต่อมา ก็มรภาพ สิริอายุได้ประมาณ 76 ปี

“หลวงพ่อใยเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ มีวาจาน่านับถือ พูดอะไรใครก็เชื่อฟัง และท่านเป็นพระที่เทศน์เก่ง มีความรู้ด้านสมุนไพรไทย ด้านช่างไม้ และมีวิชาอาคม ทำน้ำมนต์รักษาโรคเจ็บป่วยต่างๆ ให้ชาวบ้านเป็นประจำ โดยเฉพาะคนถูกงูพิษกัด ถ้าไม่ได้ท่านช่วย คงตายกันไปหลายคนแล้ว”

สมัยนั้น ชาวบ้านไม่สะดวกที่จะไปโรงพยาบาล เพราะอยู่ห่างไกลมาก การเดินทางก็วันกับอีกคืนกว่าจะถึง ใครเจ็บป่วย หรือถูกงูพิษกัด ต่างก็ต้องมาหาหลวงพ่อใย ให้ท่านช่วยรักษาทั้งนั้น

หลวงตารวย เล่าต่อว่า หลวงตาเองก็เป็นศิษย์ นอนอยู่ในกุฏิเดียวกับหลวงพ่อใย ตอนท่านละสังขาร หลวงตาอายุได้ 16 ปีแล้ว และสิ่งที่หลวงพ่อใยได้สร้างบุญกุศลไว้ ระหว่างที่ท่านยังอยู่ นอกจากการช่วยเหลือชีวิตชาวบ้าน ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และพ้นตายจากการถูกงูพิษกัด ท่านยังได้สร้างหอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ (ปัจจุบันถูกรื้อทิ้งแล้ว) ทำกลองใหญ่ ขุดบ่อน้ำ และเตรียมที่จะก่อสร้างอาคารเรียนให้กับโรงเรียนวัดคุ้งยาง แต่ท่านก็มรณภาพเสียก่อน และงานก่อสร้างส่วนใหญ่ หลวงพ่อใยจะเป็นผู้ร่วมทำด้วย เพราะท่านมีความรู้ด้านช่างไม้ อยู่แล้ว

ครั้งเมื่อละสังขาร จึงได้มีการสร้างรูปจำลองหลวงพ่อใย เพื่อให้ชาวบ้านได้กราบไหว้ และรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีอยู่วันหนึ่ง เด็กชายคนหนึ่งในหมู่บ้าน (ปัจจุบันรับราชการทหาร) ได้เกิดความซุกซน ใช้เคียวเกี่ยวข้าว ไปเกี่ยวคอรูปจำลองหลวงพ่อใย จนทำให้กลายเป็นใบ้ พูดไม่ได้ในทันที ญาติของเด็กทราบเรื่อง จึงพากันมากราบไหว้ขอขมา และให้บวชเณรแก้บน เด็กน้อยดังกล่าว จึงสามารถพูดคุยได้ปกติเหมือนเดิม

จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็เล่ากันปากต่อปาก ทำให้มีผู้คนจากทั่วสารทิศ แห่กันมากราบไหว้ขอพรหลวงพ่อใย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่าเป็นเรื่องเจ็บป่วย ทุกข์ร้อนใจ อยากไปทำงานเมืองนอก หรือปรารถนาคู่ครองในชีวิต ต่างก็รำลึกถึงหลวงพ่อใย และพากันมาขอพรที่วัดคุ้งยาง แห่งนี้ อย่างไม่ขาดสาย

นายโฉม ฝ้ายเทศ อายุ 82 ปี อดีตสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) สุโขทัย 2 สมัย และเป็นพี่ชายคนโตของศิลปินแห่งชาติ “ชินกร ไกรลาศ” เล่าให้ฟังว่า พระที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านในยุคนั้น นอกจากหลวงพ่อใยแล้ว ก็ยังมีหลวงพ่อมา วัดป่าม่วง ต.ไกรใน กับหลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง ต.ไกรกลาง

“ตอนเป็นเด็กๆ เวลาเจ็บป่วย ตนเองก็จะมารักษากับหลวงพ่อใย เช่นกัน เพราะท่านเก่งในเรื่องรักษาโรค โดยใช้สมุนไพรไทย และที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงมากที่สุด ก็คงจะเป็นเรื่องของการรักษาคนถูกงูเห่ากัด จากที่ใกล้ตาย ก็ฟื้นขึ้นมากินข้าวต้ม ที่หลวงพ่อใยสั่งให้คนเตรียมไว้ สักพักก็ลุกขึ้นเดินกลับบ้าน หายเป็นปกติ”

สำหรับเจ้าอาวาสวัดคุ้งยาง ตามลำดับ มีดังนี้ (1) พระอาจารย์เฉย ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2350-2401 (2) เจ้าอธิการครุด 2401-2446 (3) พระอาจารย์เภา 2446-2453 (4) พระอาจารย์เพชร 2453-2460 (5) พระอาจารย์ทิพย์ 2460-2470 (6) เจ้าอธิการใย 2470-2485 (7) เจ้าอธิการน้อย 2485-2488 (8) เจ้าอธิการพราหม์ 2494-2509 (9) พระอธิการเฉลิมศักดิ์ 2518-2520 และ (10) พระมหาสถิตพงษ์ หรือ พระครูสุธรรมวโรทัย ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2521 ถึงปัจจุบัน

ด้าน นางแปลก ผ่องศรี อายุ 59 ปี อยู่ตำบลบ้านใหม่สุขเกษม อ.กงไกรลาศ บอกว่า ตนเองมากราบไหว้หลวงพ่อใยทุกเดือน เพื่อขอพรให้ลูกหลาน ที่ผ่านมาก็สมหวังแล้วหลายเรื่อง เช่น ลูกหลานได้ไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน และได้สามีอยู่ประเทศอิสราเอล ก่อนหน้านี้ก็ได้อธิฐานขอรถจักรยานยนต์ กับรถปิคอัพ และอีกหลายอย่าง ส่วนหลานอีกคน เคยขอหวยหลวงพ่อ ท่านก็ให้ถูก 3 ตัวตรงๆ จึงได้นำหัวหมู พวงมาลัย ผลไม้ และจ้างลิเก มาเล่นแก้บนถวายท่าน ตามสัญญา

นางแปลก บอกอีกว่า หลายคนมีเหรียญหลวงพ่อใยห้อยติดตัว และประสบอุบัติเหตุ แต่ก็รอดตายมาได้อย่างอัศจรรย์ เพราะบารมีของท่านคุ้มครอง ส่วนตัวแล้วนับถือและศรัทธาหลวงพ่อใย อย่างมาก เพราะมีประสบการณ์โดยตรงกับตัวเอง ในหลายๆ เรื่องที่เคยอธิฐานขอ

ทั้งนี้ “วัดคุ้งยาง” จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ โดยอ้างถึงบันทึกประวัติศาสตร์ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่า “ขุนไกร” เป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ ภายหลังสิ้นศึกกับ “อะแซหวุ่นกี้” แม่ทัพพม่า (อะแซหวุ่นกี้ ยกทัพใหญ่มาล้อมเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ.2318 และพระเจ้าตากสิน ได้ตั้งทัพรอที่บ้านไตร-ป่าแฝก ปัจจุบันคือ บ้านไกร-ป่าแฝก)

ส่วนหลวงพ่อฤทธิ์ไกร หรือ หลวงพ่อไกร พระพุทธรูปประจำวัดคุ้งยาง นั้น เริ่มสร้างพร้อมอุโบสถ เมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยนายเฮง ฟักแฟง หรือ หลวงตาเฮง , นายฉาย ฝ้ายเทศ บิดาของชินกร ไกรลาศ , นายทา ธูปเรือง , นายเปรื่อง ภาคภูมิ , นายโคน ไกรสีกาจ , นายวัน ทรัพย์ซ้อน , นายพร้อม และนายโดย เพชรี่ ครูใหญ่โรงเรียนวัดคุ้งยางขณะนั้น เป็นคณะผู้นำสร้าง พระประธานอุโบสถ และเสนอให้ชื่อ “หลวงพ่อฤทธิ์ไกร” แต่ชาวบ้านต่างเรียกกันจนติดปากว่า “หลวงพ่อไกร”

ขอขอบคุณ
ข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=497296
ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน70 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 18 ส.ค. 2560 - 15:37.23
วันปิดประมูล พ. - 23 ส.ค. 2560 - 23:17.31 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 70 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ20 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
70 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 22 ส.ค. 2560 - 23:17.31
กำลังโหลด...
Top