เหรียญที่ระลึก ประจำจังหวัดภูเก็ต บล็อกกองกษาปณ์ - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร

เหรียญที่ระลึก ประจำจังหวัดภูเก็ต บล็อกกองกษาปณ์

เหรียญที่ระลึก ประจำจังหวัดภูเก็ต บล็อกกองกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ประจำจังหวัดภูเก็ต บล็อกกองกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ประจำจังหวัดภูเก็ต บล็อกกองกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ประจำจังหวัดภูเก็ต บล็อกกองกษาปณ์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญที่ระลึก ประจำจังหวัดภูเก็ต บล็อกกองกษาปณ์
รายละเอียดเหรียญที่ระลึก ประจำจังหวัดภูเก็ต บล็อกกองกษาปณ์ ขนาด 2.5 ซม. สวยไม่ผ่านการใช้ น่าสะสมครับ

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย

จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่

ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ต ทางทิศใต้และตะวันออก

การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา

โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศ โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ

คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

คำขวัญประจำจังหวัด : ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม

ต้นไม้ประจำจังหวัด : ประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus)

ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกเฟื่องฟ้า (Bougainvillea)

สัตว์น้ำประจำจังหวัด : หอยมุกจานหรือหอยมุกขอบทอง (Pinctada maxima)

ประวัติ

เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม

ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือ ที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี

เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิ ลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นั่นเอง

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง

เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า

ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้

เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม

ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 104 หมู่บ้าน

อำเภอเมือง อำเภอกระทู้ อำเภอถลาง

ประชากร

ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลเซีย ฯลฯ

จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต

ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่า เป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู

โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้น ทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327

ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"

ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง

โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง)

ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต

รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน

ประชากรส่วนใหญ่ในภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73, ศาสนาอิสลามร้อยละ 25, ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2

ขอบคุณข้อมูล วิกิพีเดีย
ราคาเปิดประมูล90 บาท
ราคาปัจจุบัน100 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลส. - 19 ส.ค. 2560 - 08:42.16
วันปิดประมูล พฤ. - 31 ส.ค. 2560 - 01:40.59 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 100 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
100 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 30 ส.ค. 2560 - 01:40.59
กำลังโหลด...
Top