
ประมูล หมวด:พระพุทธชินราช ทุกรุ่น
**วัดใจ**เหรียญพระพุทธชินราช หลังตาปะขาวกำลังเททองหล่อพระพุทธชินราช วัดตาปะขาวหาย ปี ๒๕๒๑**
ชื่อพระเครื่อง | **วัดใจ**เหรียญพระพุทธชินราช หลังตาปะขาวกำลังเททองหล่อพระพุทธชินราช วัดตาปะขาวหาย ปี ๒๕๒๑** |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญพระพุทธชินราช หลังตาปะขาวกำลังเททองหล่อพระพุทธชินราช วัดตาปะขาวหาย ปี ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง พระเกจิดังๆ เก่งๆ แห่งยุค ร่วมอธิษฐานจิต ปลุกเสก มากมาย สวยๆ น่าบูชา สนใจหรือชอบเชิญบูชาครับ ยังมีอีกหลายรายการลองชมดูครับ ราคาเบาวัดใจทั้งนั้นครับ ประวัติ.. วัดตาปะขาวหาย พิษณุโลก .. วัดตาปะขาวหาย ตั้งอยู่เลขที่ ๔๖ หมู่ ๔ อำเภอหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดเตาไห” เพราะเป็นหมู่บ้านที่ปั้นเตาและไห ประวัติวัดตาปะขาวหาย เป็นตำนานสืบเนื่องมาจาการสร้างพระพุทธชินราชตามพงศาวดาร กล่าวว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกหรือมหาธรรมราชา พญาลิไท รัชกาลที่๔ ในราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัยนั่นเองที่เป็นผู้สร้างพระพุทธชินราช เมื่อราว พ.ศ.๑๙๐๐ โดยมีสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัย ได้ส่งช่างพราหมณ์ฝีมือดี ๕ นาย ชื่อบาอินทร์ บาพราหมณ์ บาพิษณุบาราชสิงห์และบาราชกุศลพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โปรดให้สร้างสวรรค์โลกช่างเชียงแสนและช่างหริภุญไชยสมทบกับช่างจากกรุงศรี สัชนาลัยช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้ง ๓ องค์ มีทรวดทรงสัญฐานคล้ายกัน คือ พระองค์ที่ ๑ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า “พระพุทธชินราช” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว มีเศียรสูง ๗ ศอก พระเกศสูง ๑๔ นิ้ว เป็นปรางมารวิชัย พระองค์ที่ ๒ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า “พระพุทธชินสีห์” มีขนาดหน้าตักว้าง ๕ กว้าง ๔ นิ้ว เป็นปรางมารวิชัย พระองค์ที่ ๓ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า “พระศรีศาสดา” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว เป็นปรางมารวิชัย จวบจนถึงวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ จุลศักราช ๗๑๗ ราว พ.ศ.๑๘๙๘ ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระ พุทธรูปทั้ง ๓ องค์และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้วกระทำการแกะพิมพ์ ออกปรากฏว่าพระองค์ที่ ๒ คือ พระพุทธชินสีห์ และองค์ที่ ๓ คือ พระศรีศาสดาองค์พระบริบูรณ์ดี มีน้ำทองแล่นติดตามเสมอกันสวยงาม ๒ องค์เท่ากัน ส่วนพระพุทธชินราชนั้นทองแล่นติดไม่เต็มองค์ไม่บริบูรณ์ นับว่าเป็นที่อัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีอันมาก ช่างได้ช่วยกันทำหุ่นและเททองหล่อ อีก ๓ ครั้งก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนักพระองค์จึงทรงตั้งสัตยาธิฐานเสี่ยงเอาบุญ บารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง อีกทั้งยังขอให้ทวยเทพยดาจึงด้วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จตามพระประสงค์ เถิดแล้วให้ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกหนึ่งในครั้งนี้ปรากฏว่ามี ”ตาปะขาว” คนหนึ่ง ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อใดมาจากที่ไหนได้เข้ามาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททอง ทำการงานอย่างแข็งแรง ทั้งกลางวันและกลางคืนจนเสร็จโดยไม่ยอมพูดจากับผู้ใด ครั้งได้มหามงคลฤกษ์ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง นับเวลาห่างจากครั้งแรกเป็นเวลา ๒ ปี นพศก จุลศักราช ๗๑๙ ก็ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชคราวนี้ทองก็แล่นเต็มบริบูรณ์ ตลอดทั้งองค์พระ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรง ปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่งจึงตรัสให้หา “ตาปะขาว” ผู้มาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททองนั้น แต่มิได้พบปรากฏว่าเมือหล่อพรพะเสร็จก็เดินออกทางประตูเมืองข้างทิศเหนือ เมือพอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายไปไม่มีใครเห็นอีก จึงพากันเข้าใจว่า “ตาปะขาว” ผู้นั้นคือเทวดาแปลงกายลงมาหล่อพระพุทธชินราชอันเป็นเหตุทำให้เลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธชินราชองค์นี้ยิ่งขึ้น หมู่บ้านที่ “ตาปะขาว” หายไปนั้นได้ชื่อว่าบ้านตาปะขาวหาย ต่อมาถึงทุกวันนี้ ส่วนวัดตรงที่ “ตาปะขาว” หายไปนั้นเดิมเป็นวัดเก่าๆ และบัดนี้ได้พังลงแม่น้ำน่านไปแล้ว วัดเก่าชื่ออะไรไม่ปรากฏแน่นอน แต่มีชื่อหนึ่งคือ “วัดเตาไห” และหมู่บ้านเตาไหบ้านหม้อ สันนิษฐานว่าเป็นบ้านที่ปั้นไหแล้วส่งมาเผาที่บ้านเตาไหเพราะหลังชาว ออสเตรเลียได้สำรวจพบว่าที่วัดตาปะขาวหาย ปัจจุบันมีเตาเก่ารุ่นก่อนชะเลียงของสุโขทัย พบว่ามีประมาณ ๕๐ เตาเรียงเป็นแถวยาว บางเตาก็มีลักษณะซ้อนกัน แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนที่ของผิวโลกซึ่งต้องอาศัยเวลาอันยาวนาน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้มีผู้พบพระทองคำขนาดต่างๆ หน้าตักตั้งแต่ ๓ – ๕ นิ้ว จำนวน ๒๐ กว่าองค์ ซึ่งไหลออกมาจากริ่มตลิ่งแม่น้ำน่านบริเวณที่เป็นโบสถ์เก่าภายหลังวัดที่ “ตาปะขาว” หายไปนั้นได้ชื่อว่า “วัดตาปะขาวหาย” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาแล้วจากวัดตาปะขาวหายขึ้นไปทางทิศเหนือ ๘๐๐ เมตรได้ปรากฏหลักฐานสำคัญที่ทำให้เชื่อว่า “ตาปะขาว” ได้หายไปจริงเพราะมีผู้พบเห็นว่าท้องฟ้าเป็นช่องขึ้นไปและชาวบ้านได้สร้าง ศาลาขึ้นไว้เรียกว่า ศาลาช่องฟ้า มาจนถึงปัจจุบันนี้และ ณ ที่นั่นยังบ่อน้ำใสสะอาด ซึ่งชาวบ้านใช้ดื่มกินกันมาโดยตลอดตราบเท่าทุกวันนี้ เพราะเป็นที่ระลึกถึงเทพเจ้า “ตาปะขาว” ทางวัดตาปะขาวหายโดยท่านเจ้าอาวาส พระครูนิวิฐบุญสาร (บุญจันทร์ อุชุโก) ได้ให้พระบุญทิว บูรณเขตต์ อดีตช่างปั้นฝีมือดีของจังวัดพิษณุโลกสร้างรูปปั้น “เทพตาปะขาว” ด้วยปูนพลาสเตอร์เป็นรูปแรกและต่อมาได้สร้างด้วยทองสำฤทธิ์ “เทพตาปะขาว” ประดิษฐานไว้ที่ศาล เทพตาปะขาว ณ วัดตาปะขาวหาย และได้เคยแสดงอภินิหารให้ปรากฏหลายครั้งหลายหนจนเป็นที่เคารพและศรัทธาของ ชาวบ้านและบุคคลทั่วไปเป็นอันมากจนถึงทุกวันนี้ ลองชมรายการอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกนะครับ แล้วค่อยโอนทีเดียวก็ได้ครับ วัดใจเคาะเดียวแดงทุกรายการ http://www.web-pra.com/AuctionReport/Items?username=MOMON โอนเงินแล้วรบกวนโทรแจ้งหรือ Mail My Box เพื่อการจัดส่งที่รวดเร็ว หรือแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการจัดส่งด้วยครับ ขอบคุณมากครับ |
ราคาเปิดประมูล | 80 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 100 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 20 บาท |
วันเปิดประมูล | ส. - 14 ต.ค. 2560 - 01:18.35 |
วันปิดประมูล |
อา. - 15 ต.ค. 2560 - 10:07.58 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
เบอร์ติดต่อ | 0836336667 |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...