เหรียญหลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ศรีราชา ชลบุรี ปี2516 รุ่นแรก - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคตะวันออก

เหรียญหลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ศรีราชา ชลบุรี ปี2516 รุ่นแรก

เหรียญหลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ศรีราชา ชลบุรี ปี2516 รุ่นแรก เหรียญหลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ศรีราชา ชลบุรี ปี2516 รุ่นแรก
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ศรีราชา ชลบุรี ปี2516 รุ่นแรก
รายละเอียดเหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อยงยุทธวัดเขาไม้แดงสร้างปี2516 เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์อีกเหรียญ ด้านหลังจะมี 2 ยันต์คือยันต์นะพรชัยดีทางเมตตามหานิยมและยันต์ประจุธาตุดีทางคงกระพัน เหรียญนี้มีประสบการร์มากในสงครามเวียดนาม พระครูธรรมกิจโกวิท (หลวงพ่อยงยุทธ ธมฺมโกสโล) ประวัติหลวงพ่อยงยุทธ หลวงพ่อยงยุทธ ท่านนามเดิมว่า “จำปี” นามสกุล แก้วไพรำ เมื่อวัยเด็กพ่อกับแม่ของท่านได้พาท่านไปฝากกับญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งซึ่งบวชเป็นพระและเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดวงษ์ภาศนาราม ซึ่งเปิดโรงเรียนขึ้นหลวงพ่อก็เลยได้รับการศึกษาแห่งนี้มาจนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2493 ขณะนั้นหลวงพ่ออายุได้ 23 ปี ท่านตัดสินใจบวช ณ พัทธสีมาวัดบ้านป่า โดยมีพระครูโกวิทนวการหรือหลวงปู่โห้ เจ้าอาวาสวัดวงษ์ภาศนารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิบูลสังฆกิจ เจ้าคณะอำเภอไชโยเป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระอธิการตี๋ เจ้าอาวาสวัดประสาทเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ธมฺมโกสโล” ครั้นพระภิกษุยงยุทธ ธมฺมโกสโล ก็อยู่กับหลวงปู่โห้ที่วัดบ้านป่า อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งตามหมายกำหนดการแล้วนั้นจะครองเพศบรรชิตอยู่เพียงแค่ 7 วันเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าเวลาทั้งหมดมีเพียงแค่ 15 วันซึ่งหลวงพ่อท่านลางานมา แต่ตอนนี้ใช้หมดไปแล้ว 8 วัน ก็เหลือเพียง 7 วัน พอบวชใกล้จะครบ 7 วันท่านก็เริ่มคิดว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้ว โยมพ่อโยมแม่ญาติพี่น้อง ตลอดจนชาวบ้านทั่วไปก็จะเรียกท่านว่า “ทิด” ซึ่งแปลมาจากคำว่า ”บัณฑิต” อันเรียกอีกในหนึ่งว่า “ผู้ทรงความรู้สูง” พอบวชได้ครบ 7 วันท่านก็หวนคิดว่า ที่บวชมานี้ได้อะไรบ้าง..? ไหว้พระสวดมนต์ก็ยังท่องไม่ได้ บทสวดอะไรต่างๆ ก็ยังไม่รู้ว่าเขาสวดเพื่ออะไร แล้วแปลว่าอะไรบ้างพอสึกออกไปญาติพี่น้องก็เรียกว่า “ทิด” ซึ่งแปลว่าผู้มีความรู้สูง แต่เราไม่มีความรู้เลยจึงตัดสินใจว่าจะบวชต่อไปอีกให้ได้สักพรรษาหนึ่ง เพื่อจะได้ใช้เวลานั้นศึกษาพระธรรมวินัยเรียนรู้และหาประสบการณ์ชีวิตบรรพชิตให้มากขึ้น จึงมุ่งมั่นนั่งกัมมัฏฐานพอใจเริ่มเป็นสมาธิก็บังเกิดความสุขอย่างแปลกประหลาดและไม่เคยมีความสุขอย่างนี้มาก่อน ครั้นพอได้พบกับความสุขสงบเท่านั้นท่านจึงเกิดแรงบันดาลใจนั่งสมาธิเรื่อยมา พรรษานั้น (พ.ศ. 2502) ท่านตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะสร้างวัดที่เขาให้ได้ จึงได้อยู่ประจำที่นั่นและเริ่มลงมือพัฒนาภูเขาแห่งนั้นให้เป็นวัด โดยแรกเริ่มก็ได้สร้างศาสนสถานชั่วคราว โดยสร้างง่ายๆ คือทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นกุฏีที่พักสงฆ์ หรือศาลาโรงธรรมอื่นๆ จะทำด้วยไม้และมุงด้วยจาก จนกระทั่งมีพวกนักศึกษาที่ออกค่ายมาพักแรมที่วัด และได้นำเรื่องราวความเป็นอยู่ของเขาไม้แดง ไปพูดกันความทราบไปถึง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เกิดความสนใจคิดจะสนับสนุนส่งเสริม จึงให้ทหารจำนวนหนึ่งไปดูสถานที่เพื่อถ่ายรูปและทำรายงานมาเสนออย่างละเอียด เมื่อตัดสินใจได้แล้ว ก็ได้ส่งข่าวไปให้ท่านอาจารย์ทราบ แต่เนื่องจากตอนนั้นงานบ้านเมืองมีมากไม่สามารถปลีกตัวเข้าไปได้ ภายหลังได้รับข่าวดีแล้วเวลาผ่านไป 3 เดือน จอมพลสฤษดิ์ ยังไม่ทันได้ลงมือทำอะไรกับวัดเขาไม้แดงเลย ท่านเกิดป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมาอย่างกะทันหัน ทำให้แผนพัฒนาวัดตามนโยบายของจอมพลสฤษดิ์นั้นเงียบหายไปด้วย แต่นโยบายของหลวงพ่อยังดำเนินต่อไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2513 พลเรือเอกกฤษณ์ สีวรา ได้รับปากจะเข้ามาสานต่อทางด้านพัฒนาอาคาร โดยจะนำกฐินมาทอดให้ทุกปีจนกว่าทุกอย่างในวัดจะสำเร็จลงในยุคของพลเรือ เอกกฤษณ์ให้การอุปถัมภ์เจริญรุดหน้าเป็นอย่างดี แล้วทุกอย่างก็ต้องหยุดชะงักอีกทีใน พ.ศ. 2516 เนื่องจากหัวเรือใหญ่ในการพัฒนา คือพลเรือเอกกฤษณ์ได้เสียชีวิตลง และในปี พ.ศ. 2519 พลเรือสงัด ชลออยู่ ก็ได้อาสามาพัฒนาวัดไม้แดงต่อไป โดยจัดกฐินทอดให้ทุกปี แต่เหตุการณ์ดำเนินมาเพียง 3 ปีก็ได้ก็ต้องชลอลงอีกครั้งเนื่องจากผู้อุปถัมภ์ใหญ่ คือพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้เสียชีวิตลงไม่เพียงแต่สิ่งก่อสร้างทุกอย่างหยุดชะงักยังแถมภาระหนี้สินอีกหลายแสนบาท แต่หลวงพ่อยงยุทธก็ไม่ท้อเดินหน้าสร้างสิ่งก่อสร้างต่อไป และต่อมาก็มีท่านนาย พลเรือโทยุธยา เชิดบุญเมือง มาช่วยพัฒนาต่อจากท่านพลเรือเอกสงัด ทำให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี หมดสิ้นหนี้สินและวัดก็เจริญรุ่งเรืองมาจนกระทั่งปัจจุบัน สำหรับงานทางด้านการพัฒนาวัดเขาไม้แดงภายใต้การดูแลของพระอาจารย์ยงยุทธนั้น “ชุตินธโรภิกขุ” ศิษย์ใกล้ชิดรูปหนึ่งของท่านได้เขียนไว้ในหนังสืออนุสรณ์ครบรอบอายุ 63 ปี ของพระครูโกวิท เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2533 ตอนหนึ่งว่า “ปี พ.ศ. 2502-2507 ท่าน (หมายถึงพระอาจารย์ยงยุทธ) ได้เริ่มปรับปรุงสถานที่จากป่าให้ราบเรียบเพื่อสร้างกุฏิ โดยทำถนนตามเชิงเขา 3 สาย เพื่อเชื่อมต่อกันซึ่งให้รถสามารถวิ่งได้ตลอดถึงยอดเขา ต่อมาท่านได้ก่อสร้างกุฏิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้มีกุฏิประมาณ 20 กว่าหลัง โดยได้สร้างไว้รอบๆ เขาทุกขั้น” ในปี พ.ศ. 2507-2509 สร้างบันไดขึ้นยอดเขารวม 142 ขั้น, ปี พ.ศ. 2512 สร้างอ่างเก็บน้ำ, ปี พ.ศ. 2521-2522 เริ่มก่อสร้างอุโบสถจตุรมุข บนยอดเขา ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดชลบุรีเห็นว่าท่านมีพรรษาอาวุโสมากแล้ว สร้างความดีความชอบให้กับวงการสงฆ์มากมายมีวัตรปฏิบัติเป็นที่ไว้วางใจ ท่านเจ้าคณะจังหวัดจึงได้ทำเรื่องขอพระราชทานสมณะศักดิ์ชั้นพระครูสัญญาบัตรให้กับท่าน และได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศเป็น “พระครูธรรมโกวิท” หลังจากได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศแล้ว ชีวิตของพระครูธรรมโกวิทก็ยังคงดำเนินไปตามปกติ จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่วัยชรากล่าวคือ อายุได้ 75 ปีแล้วแลท่านก็มีโรคประจำตัว คือ โรคหัวใจแต่ท่านก็ยังไม่ท้อยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามที่เคยได้ดำเนินมาต่อไปจนท่านละสังขารไปอย่างสงบในเวลาต่อมา
ราคาเปิดประมูล1,500 บาท
ราคาปัจจุบัน1,550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 22 พ.ย. 2554 - 16:58.46
วันปิดประมูล พ. - 23 พ.ย. 2554 - 20:05.19 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 22 พ.ย. 2554 - 20:05.19
กำลังโหลด...
Top