เริ่มต้นที่ ๒๐ บาทเหรียญหลวงพ่อเจริญ ปภาโส วัดธัญญวารี (วัดหนองนา) อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ปี ๓๐ - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิสายสุพรรณ

เริ่มต้นที่ ๒๐ บาทเหรียญหลวงพ่อเจริญ ปภาโส วัดธัญญวารี (วัดหนองนา) อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ปี ๓๐

 เริ่มต้นที่ ๒๐ บาทเหรียญหลวงพ่อเจริญ ปภาโส วัดธัญญวารี (วัดหนองนา) อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ปี ๓๐  เริ่มต้นที่ ๒๐ บาทเหรียญหลวงพ่อเจริญ ปภาโส วัดธัญญวารี (วัดหนองนา) อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ปี ๓๐  เริ่มต้นที่ ๒๐ บาทเหรียญหลวงพ่อเจริญ ปภาโส วัดธัญญวารี (วัดหนองนา) อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ปี ๓๐
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เริ่มต้นที่ ๒๐ บาทเหรียญหลวงพ่อเจริญ ปภาโส วัดธัญญวารี (วัดหนองนา) อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ปี ๓๐
รายละเอียดเหรียญสภาพน่ารักครับ
พระครูสุวรรณวิสุทธิ์ (หลวงพ่อเจริญ ปภาโส)
อดีตเจ้าคณะอำเภอดอนเจดีย์ เเละอดีตเจ้าอาวาสวัดธัญญวารี (วัดหนองนา)
ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
หลวงปู่เจริญ หรือ หลวงพ่อเจริญ วัดธัญญวารี ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิษย์มือซ้ายของหลวงปู่โต๊ะ วัดสองเขตสามัคคีธรรม ( วัดลาดตาล ) ส่วนศิษย์มือขวาของหลวงปู่โต๊ะคือ หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย ) หลวงพ่อเจริญท่านมีความสามารถเก่งในด้านอักขระขอม และช่างก่อสร้าง หลวงพ่อเจริญมีอุปลักษณะนิสัยดี หัวเราะเก่ง อารมณ์เย็น ไม่ดุด่าว่าใคร สมัยหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ผมเคยไปกราบนมัสการมาแล้ว นับว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตจริงๆที่ได้กราบไหว้พระอริยะสงฆ์ ซึ่งหาได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบันนี้
หลวงพ่อเจริญ ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีปฏิปทาน่าเคารพบูชา ท่านมีประวัติดีเด่นน่าศึกษาควรแก่การยกย่องก็คือ ท่านเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกในการสร้างวัดธัญญวารี เป็นรูปแรกแต่ชาวบ้านมักเรียกชื่อวัดตามชื่อของหมู่บ้านว่า “วัดหนองนา” ซึ่ง บริเวณพื้นที่ของหมู่บ้านนี้แต่เดิมกันดารมาก การเดินทางไปมาก็ไม่สะดวก แต่หลวงปู่เจริญท่านก็มีความอดทนอุตสาหะอย่างมากในการพัฒนาวัดให้เจริญก้าว หน้าจนกระทั่งในปัจจุบันนี้ แล้วท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก เป็นเจ้าคณะตำบลรูปแรก และเป็นเจ้าคณะอำเภอรูปแรกอีกด้วย นับว่าผลงานตำแหน่งหน้าที่เหล่านี้ของท่านควรแก่การศึกษาและยกย่องอย่างมาก
นามเดิม เจริญ นามสกุล เปรมรัตน์ เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2452 ปีระกา ณ.บ้านหลักแก้ว อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง โยมบิดาชื่อ เหลี่ยม โยมมารดาชื่อ ปาน อายุ 15 ปี พ.ศ.2467 ท่านได้เดินทางมาอยู่กับญาติยังเมืองสุพรรณ และบรรพชาเมื่ออายุ 17 ปี พ.ศ. 2468 ณ.วัดสำปะซิว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีพระอธิการเหย่ เจ้าอาวาสวัดสำปะซิว เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเดินทางกลับวิเศษไชยชาญเพื่อไปอุปสมบทยังวัดบ้านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2472 ณ. พัทธสีมาวัดลานช้าง ตำบลหลักแก้ว อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง โดยมี หลวงพ่อบุญ วัดสี่ร้อย เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อหิน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อจั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาทางธรรมว่า ปภาโส หลังจากอุปสมบทได้เดินทางกลับมาจำพรรษายังวัดสุวรรณภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ และในปี พ.ศ.2472 นี้เองท่านก็สามารถสอบได้นักธรรมเอกจากสำนักเรียนวัดสุวรรณภูมิ
พ.ศ.2476 หลวงพ่อเจริญ ในวัย 24 ปี 4 พรรษา นักธรรมเอกสำนักวัดสุวรรณภูมิ ได้เดินทางมาเยี่ยมญาติที่บ้านหนองนา แล้วได้เห็นพื้นที่หมู่บ้านหนองนามีทำเลเหมาะแก่การสร้างวัด ประกอบกับบ้านหนองนามีจำนวนประชากรมาก เวลาจะบำเพ็ญกุศลกันทีต้องเดินทางไปยังวัดที่อยู่หมู่บ้านอื่นซึ่งไกลกันมาก ไม่สะดวก ท่านจึงปรึกษากับชาวบ้าน ชาวบ้านก็เห็นดีด้วย แล้วชาวบ้านก็ได้ร่วมกันถวายที่ดินให้สร้างวัดตามประสงค์
ตอนแรกเมื่อ พ.ศ.2476 ได้ ติดต่อขออนุญาตทางราชการเพื่อจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ชาวบ้านหนองนาจึงได้เดินทางไปยังวัดสุวรรณภูมิ ได้ขออนุญาตพระครูโต๊ะ ( หลวงปู่โต๊ะ วัดลาดตาล ) ซึ่งสมัยนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดสุวรรณภูมิและเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเจริญ เพื่อติดต่อขอหลวงพ่อเจริญ มาดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักสงฆ์ทิพยวารี (ชื่อ เดิมของวัดสมัยแรกเริ่มตั้ง) และชาวบ้านยังได้ไปอาราธนาพระอธิการแต้ม วัดสำปะซิว ( ภายหลังดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระลอย ) มาร่วมช่วยกันก่อสร้างและพัฒนาวัดนี้ขึ้นด้วย
ในปีแรก พ.ศ.2477 นับเป็นพรรษาแรกมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ทั้งหมด 8 รูป หลวงพ่อแต้ม หลวงพ่อเจริญ และพระที่อยู่จำพรรษาด้วยกัน พร้อมด้วยชาวบ้านได้เริ่มก่อสร้างวัดขึ้น มี กุฏิ สระน้ำ หอประชุม โดยหลวงพ่อเจริญและหลวงพ่อแต้มได้ใช้ความรู้ในเรื่องการก่อสร้าง (ช่างก่อสร้าง) ที่เรียนมาจากหลวงปู่โต๊ะ แล้วหลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อแต้ม ก็กลับไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสำปะซิวดังเดิม
พ.ศ.2480 พระ วิบูลเมธาจารย์ วัดปราสาททอง (เจ้าคณะจังหวัดสมัยนั้น) ได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อเจริญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทิพยวารี (ชื่อเดิม) อย่างเป็นทางการ ซึ่งนับว่าเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดนี้
หลัง จากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแล้วหลวงพ่อเจริญท่านก็ได้สร้าง เสนาสนะและถาวรวัตถุ ที่ทำสังฆกรรมสงฆ์ และสิ่งก่อสร้างต่างๆอย่างมากมาย
พ.ศ. 2481 หลวงพ่อเจริญได้ปรึกษากับศิษย์ว่า การที่ทางวัดเปิดสอนหนังสือแก่เด็กนั้น (โดย แรกเริ่มหลวงพ่อเจริญนั้นเป็นผู้สอนเอง ภายหลังภาระการก่อสร้างวัดมากขึ้น จึงต้องจ้างครูมาสอนแทน) มีเด็กอีกมากมายที่ยังไม่มีความรู้ ไม่มีวิชาติดตัว เห็นทีสมควรจะจัดตั้งเป็นโรงเรียนและมีครูสอน อย่างมาตรฐาน จึงทำเรื่องขออนุญาตทางราชการเปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้น
พ.ศ.2482 ทาง ราชการก็ได้อนุญาตให้ทางวัดจัดตั้งโรงเรียนขึ้น แต่มีความเห็นว่า ชื่อของวัดทิพยวารียังไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นชื่อโรงเรียนเพราะว่าไม่สอด คล้องกับชื่อของหมู่บ้าน(หนองนา) จึงขอให้ทางวัดและโรงเรียนใช้ชื่อว่า ธัญญวารี อันมีความหมายสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน หนองนา ดังนั้นหลวงพ่อเจริญจึงส่งเรื่องถึงคณะสงฆ์ขอเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดธัญญวารี
พ.ศ.2483 ทางวัดได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อทางราชการ จวบจน พ.ศ.2486 ได้ทำพิธีปักเขตวิสุงคามสีมา
วัดธัญญวารี ได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2477 จวบจนปัจจุบัน (พ.ศ.2550) เป็นเวลา73 ปี ได้รับให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นวัดดีเด่น ก็ด้วยเพราะหลวงพ่อเจริญและความร่วมมือของผู้มีส่วนร่วมทุกๆท่าน จวบจนปัจจุบันเป็นวัดที่ใหญ่วัดหนึ่งในเมืองสุพรรณ
หลวงพ่อเจริญมรณภาพด้วยชราภาพในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2545 สิริอายุ 92 ปี 72 พรรษา
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 05 ธ.ค. 2560 - 17:55.44
วันปิดประมูล อ. - 12 ธ.ค. 2560 - 10:15.03 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 0874486470
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 11 ธ.ค. 2560 - 10:15.03
กำลังโหลด...
Top