
ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานเหนือ
เหรียญเจ้าพ่อพญาแล พระยาภักดีชุมพล (แล) จ.ชัยภูมิ ๒๕๓๐



ชื่อพระเครื่อง | เหรียญเจ้าพ่อพญาแล พระยาภักดีชุมพล (แล) จ.ชัยภูมิ ๒๕๓๐ |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญเจ้าพ่อพญาแล พระยาภักดีชุมพล (แล) จ.ชัยภูมิ ๒๕๓๐ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิปรากฏในทำเนียบเมืองแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่าเป็นเมืองที่ขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แตต่อมาผู้คนได้อพยพไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น ปล่อยเมืองชัยภูมิให้เป็นเมืองร้าง เมืองชัยภูมิกลับมาปรากฏชื่ออีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ราวปี พ.ศ.2360 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองขึ้นของไทย มีการส่งเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ ให้แก่ไทย นายแล ซึ่งมีตำแหน่งเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรในราชสำนักของ พระเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ ได้ลาออกจากราชสำนัก และพา นางบุญมี ซึ่งเป็นภรรยา อพยพครอบครัวพร้อมทั้งสมัครพรรคพวกรวมร้อยครอบครัวเศษ เดินทางข้ามแม่น้ำโขงจนกระทั่งมาถึง หนองบัวลำภู และพำนัก ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลาหนึ่งเดือน นายแลเห็นว่าหนองบัวลำภูเป็นสถานที่ไม่เหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐาน จึงได้พาสมัครพรรคพวกออกเดินทางต่อไปจนถึง บ้านน้ำขุ่น หนองอีจาง ลำตะคอง ซึ่งอยู่ในบริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน ณ ที่แห่งนี้นายแลได้ตั้งรกรากทำมาหากินเพราะเห็นว่ามีน้ำอุดมสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2362 การทำมาหากินที่บ้านน้ำขุ่น หนองอีจาง ลำตะคอง เริ่มฝืดเคือง นายแลได้เสาะแสวงหาทำเลใหม่ ปรากฏว่าได้ไปพบบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้อพยพครอบครัวและสมัครพรรคพวกไปตั้งถิ่นฐานแห่งใหม่ที่ บ้านโนนน้ำอ้อม ปัจจุบันคือ บ้านชีลอง การปกครองของนายแลต่อราษฎรนั้น นายแลได้ใช้การปกครองในลักษณะพี่ปกครองน้อง สั่งสอนให้ราษฎรมีความสามัคคีปรองดองกัน ต้องช่วยกันทำมาหากินโดยให้เหตุผลแก่ราษฎรว่าการสร้างเมืองนั้น ราษฎรจะต้องมีอยู่มีกินและเป็นสุขแล้วการสร้างเมืองก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ฝ่ายนางบุญมีซึ่งเป็นภรรยาของนายแลก็มิได้นิ่งดูดาย พยายามที่จะอบรมฝึกสอนหญิงชาวบ้านให้รู้จักการทอผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้าขาว ผ้าดำ ทอซิ่นหมี่ ชาวบ้านก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขเรื่อยมา ต่อมาเมื่อนายแลเห็นว่าราษฎรของตนอยูดีมีสุขแล้ว ก็มิได้เคยลืมบุญคุณของเจ้านายเดิม จึงได้นำเครื่องบรรณาการไปถวายเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์เห็นความดีของนายแลจึงด้แต่งตั้งให้นายแลเป็นขุนภักดีชุมพล (แล) ต่อมาขุนภักดีชุมพล (แล) เห็นว่าบ้านโนนน้ำอ้อมเริ่มแออัดและขาดแคลนน้ำ จึงจำต้องหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ ปรากฏว่าอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับบ้านโนนน้ำอ้อม ดังนั้นในปี พ.ศ.2365 ขุนภักดีชุมพล (แล) จึงได้อพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่ บ้านหลวง ซึ่งอยู่ในบริเวณ บ้านหนองหลอด และ บ้านหนองปลาเฒ่า ในปัจจุบัน และไม่ยอมส่งส่วนให้เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์อีก เพราะขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ขุนภักดีชุมพลจึงได้เข้าหาเจ้าพระยานครราชสีมาแทน เจ้าเมืองนครราชสีมารับอาสาส่งส่วยให้สยามแล้วทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพระองค์โปรดเกล้าฯ ยกให้บ้านหลวงเป็นเมืองชัยภูมิ และตั้งขุนภักดีชุมพลเป็น พระยาภักดีชุมพล เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ในปี พ.ศ.2369 ได้เกิดศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ยกทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมา พระยาภักดีชุมพล (แล) และเจ้าเมืองสี่มุม (อ.จัตตุรัส จ.ชัยภูมิ ในปัจจุบัน) ได้ยกทัพไปช่วยคุณหญิงโมตีกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไป แต่ในขณะที่ทัพเจ้าอนุวงศ์กำลังแตกพ่ายนั้น เจ้าอนุวงศ์ได้สั่งให้ เจ้าสุทธิสาร (โป๋) ผู้เป็นบุตร ยกกองทัพส่วนหนึ่งไปยึดเมืองชัยภูมิและเมืองภูเขียว (อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายไว้เป็นกำลังต่อต้านกองทัพจากกรุงเทพฯ เจ้าสุทธิสารหลังจากที่ยกทัพถึงเมืองชัยภูมิแล้วนั้น ได้เกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นพวก แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม ด้วยยังจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้พวกเจ้าอนุวงศ์โกรธมาก จึงฆ่าพระยาภักดีชุมพลเสียที่บ้านหนองปลาเฒ่า ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้ระลึกถึงพระคุณท่านจึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น บัดนี้ทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทย ชื่อว่า ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล) มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายในเป็นที่เคารพกราบไหว้ ถือว่าเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ อยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลางจังหวัดประมาณ 3 ก.ม. วีรกรรมครั้งนั้นจึงเป็นที่เคารพยกย่องท่านเป็น เจ้าพ่อพญาแล มาจนกระทั่งปัจจุบัน |
ราคาเปิดประมูล | 10 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | ศ. - 25 พ.ย. 2554 - 13:09.06 |
วันปิดประมูล |
ส. - 26 พ.ย. 2554 - 20:05.13 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...