พระสมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร หลังยันต์ ปี 11 เคาะเดียวแดงค่ะ - webpra

ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป

พระสมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร หลังยันต์ ปี 11 เคาะเดียวแดงค่ะ

พระสมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร หลังยันต์ ปี 11 เคาะเดียวแดงค่ะ พระสมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร หลังยันต์ ปี 11 เคาะเดียวแดงค่ะ พระสมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร หลังยันต์ ปี 11 เคาะเดียวแดงค่ะ พระสมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร หลังยันต์ ปี 11 เคาะเดียวแดงค่ะ พระสมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร หลังยันต์ ปี 11 เคาะเดียวแดงค่ะ
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร หลังยันต์ ปี 11 เคาะเดียวแดงค่ะ
รายละเอียดพระสมเด็จอรหัง วัดบวรนิเวศวิหาร หลังยันต์ ปี 11 ค่ะ

ในบรรดาพระเครื่องใต้ฟ้าเมืองไทยที่ได้รับการตอบรับและมีประสบการณ์สูงจากผู้ศรัทธา คงไม่มีใครปฏิเสธ “สมเด็จอรหัง” ซึ่งต้นตำรับและเป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวาง ก็คือ สมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุก ไก่เถื่อน) แห่งวัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษดิ์ ว่ากันว่าด้วยจริยวัตรอันงดงาม เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานสูงและเมตตามหานิยมสุดยอดของท่าน ถึงขั้นทำให้ไก่ป่า (ชาวบ้านจะเรียกว่า ไก่เถื่อน) ที่พานพบระหว่างท่านธุดงควัตรในป่าลึก ตามกลับมาอยู่กับท่านในในสมัยนั้นด้วย
ปัจจุบัน สมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระสังฆราชฯ (สุก ไถ่เถื่อน) เป็นที่หมายปองของ “นักนิยมพระ” และผู้ศรัทธา ซึ่งของแท้ ๆ และสภาพสวย ๆ หาชมได้ยากเย็นยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา
เมื่อหา สมเด็จอรหัง ต้นตำรับไม่ได้ก็ไม่เป็นไร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ก็เคยจัดสร้าง สมเด็จอรหัง ขึ้นเช่นกัน ด้วยจริยวัตรอันงดงามและความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาญาณของท่านไม่เป็นรองใคร ทำให้วัตถุมงคลทุกรุ่นทุกองค์ความเข้มขลังไม่แพ้พระเถรจารย์ยุคเก่า
พระสมเด็จอรหัง ของดีที่หายาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานอนุญาตให้จัดสร้างเมื่อ พ.ศ.2511 มีส่วนผสมของผงกรุสมเด็จบางขุนพรหม, วัดระฆัง และผงพุทธคุณของพระเกจิคณาจารย์เป็นจำนวนมาก ในกฐินกาล 2553 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประทานพระสมเด็จอรหังให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช มอบให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทอดกฐินประทาน ณ วัดเวฬุวัน อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ในวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2553
สำหรับประวัติพระสมเด็จอรหังนั้น นาวาโท กวี รัตนวโรภาสได้รวบรวมผงวิเศษ 5 ประการ ได้แก่ ผงอิทธิเจ, ผงปัตถมัง, ผงมหาราช, ผงพุทธคุณ, ผงตรีนิสิงเห, และเกสรดอกไม้ 108 ทำตามตำราการสร้างพระผงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เพราะเห็นว่าผงดังกล่าวเป็นนามที่เป็นสิริมงคล กล่าวคือ ความหมายประการแรก หมายถึง ความเป็นผู้ดีมีสกุล ประการที่สอง หมายถึง เป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ประการที่สาม หมายถึง ความมั่งมีศรีสุข และส่วนหนึ่งได้ผงกรุพระสมเด็จบางขุนพรหมจากหลวงพ่อโอภาสี ณ สวนพุทธบูชา บางมด กรุงเทพฯ มาจัดสร้างพระในครั้งนี้ หลังจากที่ได้รวบรวมมวลสารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นาวาโท กวี รัตนวโรภาสจึงไปจ้างช่างแกะพิมพ์พระสมเด็จอรหังด้วยหินลับมีดโกนที่ร้านช่างจำเนียร หน้าวัดมหรรณพฯ กรุงเทพฯ
ครั้นเมื่อถึงวันที่ 8 เมษายน 2511 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก ก็ได้ฤกษ์ประกอบพิธีสร้างพระสมเด็จอรหัง โดยมีหลวงปู่อ่อง ยโสธโร วัดใหม่พิเรนทร์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นาวาโท กวี รัตนวโภาส และนายอุดม รัมมะวาสน์ เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง แล้วนำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ มีพระเกจิคณาจารย์นั่งอธิษฐานจิตภาวนา จำนวน 147 รูป ในจำนวนพระเกจิคณาจารย์นั้นมีหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จังหวัดอยุธยาอยู่ด้วย นาวาโท กวี รัตนวโรภาสได้เก็บรักษา "พระสมเด็จอรหัง" ไว้เป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อนาวาโท กวี รัตนวโรภาสได้ป่วยและถึงแก่กรรม นางสาวทิพอาภา รัตนวโรภาส (ผู้เป็นธิดา) จึงได้นำพระผงสมเด็จอรหังดังกล่าวน้อมถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงรับพระสมเด็จอรหังไว้แล้ว โปรดให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 เวลา 15.19 น. ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงครามเป็นประธานจุดเทียนชัย
จากนั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงประทาน "พระสมเด็อรหัง" ให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อนำออกมามอบให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทอดกฐินประทานในครั้งนี้ "พระสมเด็จอรหัง" มีพุทธลักษณะพิมพ์ทรงเป็น "พระสมเด็จทรงเจดีย์" เนื้อผงผสมผงกรุบางขุนพรหมกรุเก่าและใหม่ ด้านหลังมียันต์อักขระขอม 3 ตัว อ่านว่า "อรหัง" จำนวนสร้าง 4,999 องค์
นับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ศรัทธาจะได้สุดยอดวัตถุมงคลไว้บูชา เพราะ สมเด็จอรหัง เป็นพระเก่าที่หายาก และในการนี้สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประทานให้เป็นกรณีพิเศษ
ข้อมูลดี ๆ จากคอลัมน์เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 21 ส.ค. 2553
============================
***พระราคาตั้งแต่ 600 บาทขึ้นไป จัดส่งแบบ EMS ต่ำกว่า 600บ. ส่งลงทะเบียน
***จัดส่งพระสภาพตรงตามรูปทุกองค์ รับประกันพระแท้ตลอดชีพ ตามกฏเว็บพระ คืนพระทุกกรณีหัก30% นับตั้งแต่วันที่ได้รับพระ พระต้องอยู่ในสภาพเดิม ไม่บิ่น ไม่หัก ไม่เปลี่ยนสภาพ
***ภาพพระสีอาจเพี้ยนไปจากองค์จริงบ้าง และขึ้นอยู่กับสีหน้าจอคอมพิวเตอร์ และ โทรศัพท์แต่รุ่น ของแต่ละท่าน
ราคาเปิดประมูล300 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ300 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 12 ม.ค. 2561 - 13:37.58
วันปิดประมูล อ. - 16 ม.ค. 2561 - 11:31.32 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ300 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 15 ม.ค. 2561 - 11:31.32
กำลังโหลด...
Top