วิธีแยกบล๊อกและแยกชนิดของโลหะเหรียญหลวงพ่อเกษม รุ่นกองพันลำปาง2 - webpra

หัวข้อ: วิธีแยกบล๊อกและแยกชนิดของโลหะเหรียญหลวงพ่อเกษม รุ่นกองพันลำปาง2

กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ

วิธีแยกบล๊อกและแยกชนิดของโลหะเหรียญหลวงพ่อเกษม รุ่นกองพันลำปาง2
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
tromlampang
ตั้ง: 3 ตอบ: 0
คะแนน: 0
รายละเอียด

แนวทางแยกบล๊อกเหรียญกองพัน2

เหรียญกองพัน2 ได้มีการสร้างออกมาทั้งหมด 3 บล็อก(ในส่วนด้านหน้าของเหรียญจะเหมือนกันทั้งหมด ส่วนด้านหลังเหรียญจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละบล๊อก)

  1. บล็อกแรก (หรือบล๊อกธรรมดา) ที่หลังเหรียญจะไม่มีตำหนิใดๆเป็นพิเศษ
    กองพัน2บล๊อกแรก
  2. บล๊อกทองคำ ด้านหลังเหรียญ ด้านล่างสุดแถวๆเครื่องหมายดอกจัน จะมีติ่งแหลมยื่นออกมาเล็กน้อย  และให้พลิกดูที่ด้านหน้าเหรียญ ตรงคอเหรียญใต้หูห่วงจะมีก้อนเนื้อเกินขึ้นมา (เหตุผลที่เรียกบล็อกทองคำ เพราะว่าเกิดจากการเอาโลหะชนิดอื่นมาปั๊มในบล็อกที่ใช้ผลิตเหรียญทองคำ ซื่งกรณีถ้าเป็นเนื้อทองแดงบล๊อกทองคำราคาเช่าหา จะถูกกว่าบล๊อกรุ่นอื่น)
  3. บล็อกหลังแตก (ถ้าเป็นเนื้อทองแดงกับนวะ จะเป็นรุ่นนิยมราคาเช่าหาจะสูงกว่าแบบไม่นิยม) สำหรับสาเหตุที่หลังมีรอยแตกน่าจะมาจากการปั๊มพระเป็นจำนวนมาก ทำให้ช่วงท้ายๆบล็อกเริ่มแตกทำให้กลายเป็นของแรร์ไอเทมจุดสังเกตของบล๊อกหลังแตกมีดังนี้
    1) จะมีรอยแตกพาดผ่านจากกลางเหรียญผ่านตัวอักษร เม.ย พาดผ่านไปถึงขอบเหรียญด้านซ้ายมือที่ 8นาฬิกา(สังเกตุลูกศรสีแดงในภาพด้านล่าง)
    2) ที่ดาวกระจายด้านล่างของเหรียญ แถวขวามือจะมีจุดเล็กๆอยู่(สังเกตุวงกลมสีแดงในภาพด้านล่าง))
    3) คำว่าลำปางหลังง งู ก็จะมีจุดเล็กๆอยู่เช่นกัน(สังเกตุวงกลมสีแดงในภาพด้านล่าง)
    4) ตัวหนังสือของบล็อกหลังแตกจะมีความเรียวเล็กกว่าบล๊อกแบบอื่นๆ
    กองพันลำปาง2บล๊อกหลังแตก

เหรียญกองพัน 2 ลำปาง ทำจากโลหะชนิดใดบ้าง ?

เหรียญรุ่นนี้จะทำออกมา4เนื้อโลหะดังนี้

  1. เนื้อทองคำ ตอกโค๊ดกงจักรหมุนตามเข็มและมีตอกหมายเลขที่ด้านหน้าเหรียญฝั่งขวามือ จำนวนการสร้าง 99เหรียญ (ราคาบูชาเมื่อปี พ.ศ.2536=12000บาท) กล่องใส่ของเดิมจะเป็นสีแดง
  2. เนื้อเงิน ตอกโค๊ดกงจักรหมุนตามเข็ม(สังเกตุวงกลมสีแดงในภาพด้านล่าง) จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ(ราคาบูชาเมื่อปี พ.ศ.2536=500บาท)

    กล่องใส่ของเดิมสีน้ำเงิน เนื้อเงินถ้าหลังไม่แตกเป็นรุ่นนิยมและเนื้อเงินจะไม่มีบล๊อคทองคำ
  3. เนื้อนวะโลหะ(ทำจากโลหะ9ชนิดหลอมรวมกัน หนึ่งในนั้นมีทองผสมอยู่ด้วยทำให้สีบางช่วงของเหรียญคล้ายทอง) ตอกโค๊ดกงจักรหมุนตามเข็มนาฬิกา(สังเกตุวงกลมสีแดงในภาพด้านล่าง) จำนวนการสร้าง 5000 เหรียญ(ราคาบูชาเมื่อปี พ.ศ.2536=300บาท) กล่องใส่ของเดิมจะเป็นสีเหลือง

    เนื้อนวะสร้างน้อยราคาเลยสูง โดยเฉพาะบล็อกหลังแตกถือเป็นบล๊อคนิยม
  4. เนื้อทองแดง ตอกโค๊ดกงจักรหมุนทวนเข็มนาฬิกา(สังเกตุวงกลมสีแดงในภาพด้านล่าง) จำนวนการสร้าง 84,000 เหรียญ(ราคาบูชาเมื่อปี พ.ศ.2536=50บาท) กล่องเดิมสีเขียวกับสีฟ้า

ที่มา https://www.mongkolkasem.com/kong-pun2/

โพสต์เมื่อ ส. - 18 พ.ค. 2567 - 08:01.45
ยังไม่มีความคิดเห็น
Top