
หัวข้อ: พระกริ่งวัดช้าง นครนายก รุ่นช้างสามเศียร พระครูโสภณนาคกิจ พระอาจารย์เดช
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ
ประวัติและความเป็นมาของตำนานพระกริ่งวัดช้าง
พระกริ่งวัดช้าง ๒๔๘๔ ของ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนฯ ซึ่งได้ประกอบพิธีเททองหล่อ พร้อมกับ พระกริ่งพุทธนิมิต โดยในส่วนของพระกริ่งวัดช้างนั้น เป็น การขออนุญาตสร้างของ พระครูหนู (อาจารย์นิรันตร์ แดงวิจิตร) จำนวนสร้าง ๔๐๐ องค์ เพื่อให้ลูกศิษย์ ทำบุญนำปัจจัยที่ได้ถวายวัดช้างเพื่อนำรายได้ก่อสร้างโรงเรียนวัดช้าง อ.บ้านนา จ.นครนายก อันเป็นวัดบ้านเกิดของ พระครูหนู
** เป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของการสร้างพระกริ่ง ที่มักจะต้องมีการสร้างพระชัยวัฒน์ ควบคู่กัน ด้วยเสมอ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ให้ใช้ติดตัว ส่วนพระกริ่ง ให้เอาไว้บูชาที่บ้าน และไว้ทำน้ำพระพุทธมนต์ เมื่อถึงคราวจำเป็น แต่นักนิยมพระในทุกวันนี้ กลับนำ พระกริ่ง เลี่ยมขึ้นคอก็มี เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ (วันเพ็ญเดือน ๑๒) สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนฯ ได้ประกอบพิธีเททองหล่อ พระกริ่งพุทธนิมิต จำนวน ๓๐ องค์ พระครูหนู (อาจารย์นิรันตร์ แดงวิจิตร) เห็นว่า มีจำนวนสร้าง น้อยมาก ศิษย์วัดสุทัศนฯ อื่นๆ ที่อยากได้พระ ไว้บ้างก็อาจจะอดก็ได้ จึงได้ขอ อนุญาตเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ขอสร้าง พระกริ่ง ขึ้นมาอีกจำนวนหนึ่ง (๔๐๐ องค์) ในพิธีเดียวกันนี้ เพื่อให้ลูกศิษย์ ที่มีจิตศรัทธาสนใจได้ช่วยกันทำบุญ จะได้นำปัจจัยไปถวาย วัดช้าง อ.บ้านนา จ.นครนายก อันเป็นวัดบ้านเกิดของ พระครูหนู พระกริ่ง จำนวนนี้จึงเรียกกันว่า พระกริ่งวัดช้าง เป็นพระกริ่งหล่อ แบบใต้ฐานตัน แล้วเจาะรูทีหลัง เพื่อบรรจุ เม็ดกริ่ง และ ผงพุทธคุณ ที่พิเศษแปลกกว่า พระกริ่งรุ่นอื่นใดก็คือได้ บรรจุ เส้ น พระเกศา ของ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้ด้วย นับเป็นพระกริ่ง รุ่นแรกและรุ่นเดียวที่มีสิ่งอันเป็นสิริมงคลนี้........
ประวัติ
พระครูโสภณนาคกิจ พระอาจารย์เดช วัดช้าง บ้านนา นครนายก
นามเดิม ชื่อ เสนาะ นามสกุล หอมจันทร์
สมณศักดิ์ พระครูโสภณนาคกิจ (พระอาจารย์เดช) เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐ ฉายา อายุวฑฺฒโก อายุ ๔๐ พรรษา ๑๔
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดช้าง
ชาติภูมิ เกิดวันเสาร์ ที่ ๕ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๑๓ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีจอ
บิดาชื่อ แสวง มารดาชื่อ สำเนียง นามสกุล หอมจันทร์
บ้านเลขที่ ๓๗/๑ หมู่ที่ ๗ ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
บรรพชา-อุปสมบท
วันอังคารที่ ๒๔ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู วัดช้าง ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก พระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดธงชัย อติภทฺโท อดีตเจ้าอาวาสวัดช้าง พระกรรมวาจาจารย์ พระทองล้วน เขมฺปาโล เจ้าอาวาสวัดดอนเปร็ง พระอนุสาวนาจารย์ พระนิยม วชิโร วัดช้าง
พี่น้องร่วมบิดามารดา
1. นางรัชนีย์ หอมจันทร์
2. นางสำเนา หอมจันทร์
3. นายเสนาะ หอมจันทร์ ( พระครูโสภณนาคกิจ พระอาจารย์เดช เจ้าอาวาสวัดช้างรูปปัจจุบัน)
4. นายมาโนช หอมจันทร์
วิทยฐานะ
* พ.ศ. ๒๕๒๘ สำเร็จการศึกษาในระดับมัทยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านนา “ นายกพิทยากร” อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
* พ.ศ. ๒๕๔๘ สอบได้ น.ธ.เอก วัดช้าง ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ภาค ๑๒
* การศึกษาพิเศษ มีความชำนาญในด้าน อ่าน เขียน อักษรขอม ได้เป็นอย่างดี
* ความชำนาญคือ นวกรรม พิธีพุทธาภิเษก เทวาภิเษก ศาสนะพิธีต่าง ๆ
สมณศักดิ์
* พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดช้าง ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
* พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดช้าง ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
* พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดช้าง ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
* พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ วัดช้าง ตำบลพิกุลออก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
* พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์ ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมใน พระราชวิจิตรปฏิภาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหารเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระราชาคณะชั้นราช
* พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูปลัด ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมใน พระราชวิจิตรปฏิภาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหารเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระราชาคณะชั้นราช
* พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แต่งตั้ง เป็น พระครูสัญญาบัตรพัดยศชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูโสภณนาคกิจ (จร. ชอ.)
การศึกษาพุทธาคม
พระอาจารย์เดช ท่านเป็นศิษย์เอกสายตรงก้นกุฏิ “พระครูธวัชภัทราภรณ์ หรือ พระอาจารย์ต๊ะ” อดีตเจ้าอาวาสวัดช้าง ซึ่งเป็นผู้สืบทอดตำนานการสร้าง “พระกริ่งใหญ่ วัดช้าง” อันลือลั่น เป็นที่รู้จักกันดีในวงการผู้ที่นิยมพระกริ่งในเมืองไทย ทั้งนี้พระกริ่งวัดช้างถือเป็นพระกริ่งที่มีความเป็นมาเกี่ยวพันกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์เทพวราราม ท่านยังศึกษาวิชาตำราต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจากอดีตเจ้าอาวาส พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงปู่ภู) ภทฺทญาโน ศิษย์เอกก้นกุฏิหลวงพ่อเกิด วัดสะพาน พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงปู่ภู) ภทฺทญาโน ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ของพระครูธวัชภัทราภรณ์ (พระอาจารย์ต๊ะ) และพระอาจารย์เดชท่านยังได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ จังหวัดราชบุรี เกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง หลวงพ่อฟ้าลิขิต วัดโสภณวนาราม จังหวัดลพบุรี หลวงพ่อรวย วัดตะโก จังหวัด พระนครศรีอยุธยา และท่านยังเป็นศิษย์ของพระอาจารย์สารท (โม่ง) ธรรมโชติ วัดขนอนเหนือ ศิษย์เอกและเป็นพระหลานชายแท้ ๆ ของหลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา และปัจจุบันนี้ท่านยังศึกษาวิชาต่าง ๆ จากพระเกจิอาจารย์อื่น ๆ อีกมากมาย
ปฏิปทาศีลวัตร
พระอาจารย์เดช วัดช้าง เป็นพระที่มีอัธยาศัยไมตรีเปี่ยมด้วยเมตตา ถือสัจบารมีเป็นที่ตั้ง ปฏิปทาศีลวัตรงดงามบริสุทธิ์
เสมือนทองทั้งแท่ง ท่านใฝ่ใจในเรื่องที่เป็นวัฏสงสาร การเกิดแก่เจ็บตาย บุญกรรมสิ่งลี้ลับ ธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องเวทมนต์ถาถาอาคมอักขระเลขยันต์เป็นพิเศษ ซึ่งมีอุปนิสัยใจคอมาตั้งแต่วัยเด็ก จึงเป็นแรงจูงใจให้ใฝ่ศึกษาเล่าเรียนรู้แล้วปฏิบัติให้เข้าถึงรู้แจ้งเห็นจริง ศิษย์ผู้ใกล้ชิดของท่านพระอาจารย์เดช หรือแม้แต่บุคคลทั่วไปที่เคารพนับถือท่านต่างรู้กันเป็นอย่างดีว่า ท่านเป็นพระอริยะสงฆ์ผู้มากด้วยเมตตาเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านไม่ว่าจะเป็นรุ่นใด ลูกศิษย์ของท่านก็มักจะนิยมเก็บกันทั้งสิ้นเพราะเนื่องจาก ได้นำไปใช้กันแล้วยังมีประสบการณ์ให้กับลูกศิษย์ลูกหาของท่านมากมาย และเป็นที่ชื่นชอบของชาวกรุงเทพ ที่มากับทัวร์ ขสมก ไหว้พระ 9 วัด ลูกศิษย์เขตประเวศ ลูกศิษย์ชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสระบุรี อยุธยา สมุทรปราการ และที่อื่นอีกมากมายทั่วทุกสารทิศ ท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้านศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น พิธีจัดพุทธาพิเษกวัตถุมงคล พิธีโยงสายสินจ์ตรีนิสิงเหภายในพระอุโบสถ พิธีวางศิลาฤกษ์ วิชาเด่นของท่านคือวิชาดูบาตรของหาย (ท่านไม่ได้ดูให้ทั่วไปนะครับจะดูให้ก็เฉพาะเมื่อครั้งที่จำเป็นเท่านั้น) และอื่น ๆ
วัตถุมงคลของท่านมักจะถูกเก็บก่อนจากศิษย์สายตรงหรือคนใกล้ชิด ผู้ที่มีต่างก็หวงแหนกันไม่ปล่อยออกไปกันง่าย ๆ และปัจจุบันก็เริ่มที่จะหายากมากขึ้น พระอาจารย์เดชท่านใจดีและเมตตาสูง ไม่เลือกที่จะแบ่งชนชั้น ยากดีมีจนท่านต้อนรับทั้งสิ้น ชาวบ้านในแถบอำเภอบ้านนา หรือในจังหวัดใกล้เคียง ต่างรู้กันดีว่าท่านเมตตาเป็นอย่างมาก ท่านตั้งใจและมุ่งมั่นในการจัดสร้างเสนาสนะบูรณะซ่อมแซมทุกสิ่งทุกอย่างไป แม้แต่บางครั้งปัจจัยในการจัดสร้างไม่เพียงพอแต่ท่านก็ยังดำเนินการต่อไปเรื่อย ๆ จนสำเร็จไปได้ด้วยดีตลอดมา ปัจจุบันนี้ท่านก็ยังเป็นพระผู้มากด้วยเมตตาอยู่เสมอใครเดือดร้อน หรือเป็นทุกข์ประการใดเข้าไปหาไปกราบท่าน ท่านก็จะชี้แนะและช่วยเหลือ หรือแม้แต่วัดวาอารามต่าง ๆ ที่ขอความช่วยเหลือมาถ้าท่านช่วยได้ก็ช่วยเหลือกันไป ท่านมีแต่สงเคราะห์ช่วยเหลือแผ่เมตตาบารมี ผลงานการสร้างเสนาสนะสงฆ์ตลอดทั้งถาวรวัตถุต่างๆ ปรากฎเป็นรูปธรรมมากมาย เช่น วิหารหลวงพ่อดำ ศาลาการเปรียญ ศาลา บำเพ็ญกุศล หอระฆัง ซุ้มประตูทางเข้าวัด หอไตรปิฎก 3 กุฏิสงฆ์ ฌาปนสถาน ถนนหนทาง กำแพงวัด ฯลฯ
กิตติคุณ
เป็นพระสุปฏิปันโน ผู้บริสุทธิ์ ด้วยไตรสิกขาเปี่ยมด้วยเมตตาบารมีธรรม ถือสัจจะเป็นที่ตั้ง อัธยาศัยไมตรียิ้มแย้มแจ่มใส ต้อนรับการปฏิสันถารญาติโยมด้วยความเป็นกันเอง นับแต่ พระครูโสภณนาคกิจ ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดช้าง ท่านได้ประพฤติปฏิบัติวางตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคม ระเบียบแบบแผนของทางราชการ ได้จัดทำผังวางแผนพัฒนาวัดในด้านต่างๆ ร่วมกับคณะกรรมการวัด ญาติโยมสาธุชนทำให้คณะสงฆ์ และญาติโยมผู้อุปการะวัดมีความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรง ร่วมใจ ให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ – สามเณร และช่วยเหลือกิจศาสนามาด้วยดี จึงสามารถพัฒนาสิ่งปลูกสร้าง เสนาสนะภายในวัดหลายอย่าง เช่น วิหารหลวงพ่อดำ ศาลาการเปรียญ ศาลา บำเพ็ญกุศล หอระฆัง ซุ้มประตูทางเข้าวัด หอไตรปิฎก 3 กุฏิสงฆ์ ฌาปนสถาน ถนนหนทาง กำแพงวัด และอื่นๆอีกมากมาย จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
นอกจากนั้นท่านยังให้การสนับสนุนการศึกษาปริยัติธรรมของพระสงฆ์ - สามเณร
และท่านยังมอบทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน ของเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดช้างเป็นประจำในทุก ๆ ปี อีกด้วย
วัตถุมงคลของท่านที่เด่นมากที่ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาท่านรู้จักมากและชื่อเสียงขจรขจายไปไกลที่นอกเหนือจากพระกริ่งรุ่นแรก รุ่นช้างสามเศียรแล้ว วัตถุมงคลเด่นที่ออกไปทางแนวเครื่องรางของท่าน นั่นคือ ช้างมงคลหล่อโบราณ ตะกรุดโทนเนื้อเงินรุ่นแรก จารมือ เป็นเครื่องรางที่มากด้วยประสบการณ์ ลูกศิษย์ท่านส่วนใหญ่นิยมช้างมงคล มาถึงวัดช้างครั้งใดลูกศิษย์ลูกหาของท่านก็มักจะมีคำถามว่า ช้างมงคลมีให้เช่าบูชาหรือไม่หมดหรือยัง เป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก และตะกรุดโทนของท่านเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะมีน้อยมากที่ในแต่ละครั้งท่านจะสร้างตะกรุดขึ้นมาสักครั้งนึง ท่านมิได้สร้างออกมาบ่อยนัก และที่สำคัญสร้างค่อนข้างน้อย และปัจจุบันนี้ถึงจะเป็นเครื่องรางที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ แต่ก็ได้รับความนิยมจากลูกศิษย์ท่านแทบทั้งสิ้น สร้างมาครั้งใดก็หมดจากวัดอย่างรวดเร็ว ถูกเก็บหมดจากศิษย์สายตรงไม่มีหลุดออกมาในสนามพระให้เห็น เพราะลูกศิษย์ลูกหาท่านเคารพและศรัทธาในตัวท่านเป็นอย่างมาก ไม่อยากให้ของที่ท่านให้มากับมือหลุดออกไปได้ง่าย ๆ ไม่ว่าท่านจะสร้างเครื่องรางออกมาสักกี่ครั้งเวลาเพียงไม่นานของท่านก็หมดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช้างมงคลรุ่นแรก สร้างมาน้อย เมื่อครั้งที่ท่านสร้างขึ้นมาเสร็จแล้ว ของท่านส่วนใหญ่ท่านก็จะเสกเดี่ยวของท่านด้วยตัวเอง และเมื่อครั้งที่ได้รับฎีกาอาราธนาไปนั่งปรกที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ได้นำไปเสกด้วยโดยใส่ย่ามติดไปด้วย ในวัน เสาร์ที่ 16 กรกฏาคม ปี 2548 ในพิธีพระพุทธชินราชหมื่นยันต์ ในวันนั้นมีพระเถระคณาจารย์มากมายจากทั่วทุกสารทิศ นั่งปรกเต็มพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม หลังจากที่ท่านนั่งปรกมาเป็นเวลาไปหลายชั่วโมง ท่านเดินลงมาจากภายในพระอุโบสถเพียงเวลาชั่วครู่ก็มีประชาชนที่เข้าร่วมพิธีในพระอุโบสถในวันนั้นเป็นจำนวนมาก พอเห็นท่านเดินลงมาต่างวิ่ง-เข้ามาเพื่อขอวัตถุมงคลของท่าน ในวันนั้นท่านเกือบต้องแย่แน่ถ้าศิษย์ของท่านหรือเจ้าหน้าที่ ๆ เกี่ยวข้องไม่ออกมากั้นหรือจัดระเบียบใหม่ ลูกศิษย์ลูกหาท่านเบียดเสียดกันเยอะมากต่างก็อยากได้มีไว้ครอบครองกันแทบทั้งสิ้น บางท่านอายุมากแล้วแต่ก็ยังฝืนเบียดเสียดแย่งเข้ามาเพื่อขอช้างมงคล รุ่นแรกนี้ให้ได้แรงศรัทธาของลูกศิษย์ท่านดีมากครับ และปัจจุบันนี้ก็ถูกแสวงหากันค่อนข้างมากจากในกรุงเทพและปริมณฑล หรือจังหวัดอื่น ๆ ใกล้เคียง ที่เคารพนับถือท่าน ในเรื่องของเครื่องรางที่ท่านจัดสร้างขึ้นมา ส่วนใหญ่ท่านก็จะแจกอย่างเดียว แล้วแต่ญาติโยมที่จะทำบุญ ใครที่ผ่านมาแวะเข้ามากราบท่าน ไม่ว่ายากดีมีจน ท่านก็แจกให้หมดทุกคน เป็นว่าถ้ามาวัดช้างเมื่อรัยต้องได้รับช้างมงคลติดมือกลับกันไปแทบทั้งสิ้น และปัจจุบันนี้ ช้างมงคลถูกสร้างขึ้นมาถึง 6 รุ่นแล้วเนื่องจากไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกศิษย์ท่าน ที่มาจากต่างจังหวัด ท่านใดผ่านมาก็ขอเชิญแวะมากราบท่านและอย่าลืมขอช้างมงคลท่านกันนะครับ.......
ปัจจุบันนี้ ตำราวิชาต่าง ๆ มีอยู่มากมายที่ตกทอดกันมายาวนาน และที่เป็นตำราหลักของวัดช้างนั่นก็คือ ตำราการจัดสร้างพระกริ่ง หรือที่เราเคยได้ยินมาบ้างว่า (ตำราเล่มดำ) ของคุณตานิรันดร์ แดงวิจิตร หรือที่เรารู้จักท่านในนามว่า (พระครูหนู)
มีบันทึกที่สำคัญของคุณตาท่านเขียนไว้ให้ได้ศึกษาโดยหนังสือพระกริ่ง ๕ วาระ ในสมัยเจ้าประคุณพระอริยวงคตญาณ [แพ ติสสเทวมหาเถร] โดย นิรันดร์ แดงวิจิตร ที่ระลึกในงานฉลองพระตำหนัก คณะ ๖ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
** เขียนจากบันทึกความทรงจำในอดีต ในฐานะที่เป็นศิษย์อยู่ในวัดสุทัศน์มาตั้งแต่เด็ก
** อุปสมบทจนเป็นพิธีกรรม
** รับใช้ใกล้ชิดในเจ้าประคุณสมเด็จพระองค์นั้น
** เป็นพระครูฐานานุกรมในเจ้าประคุณสมเด็จที่ พระครูพิศาลสรคุณ , พระครูญาณวิสุทธิ , พระครูวินัยกรโสภณ
** เคยร่วมจัดพิธีการต่าง ๆ โดยใกล้ชิด
** สนใจและศึกษาในเรื่องพิธีการตลอดจนการช่าง
** มีฝีมือในการตกแต่งพระกริ่งสำนักวัดสุทัศน์โดยเฉพาะ
** นักนิยมพระกริ่งพากันเรียกว่า "พระครูหนู"
และปัจจุบันนี้ตำรานั้นก็ได้ถูกสืบทอดมาโดยตรงจากคุณตานิรันดร์ แดงวิจิตร มอบสู่ พระครูธวัชภัทราภรณ์ (พระอาจารย์ต๊ะ) ท่านมีศักดิ์เป็น พระหลานชายคุณตา และเมื่อพระอาจารย์ต๊ะท่านมรณภาพไปแล้วคุณตาก็ได้มอบหนังสือตำรานั้นให้กับ พระครูโสภณนาคกิจ (พระอาจารย์เดช) ได้สืบทอดเจตนารมณ์ในการจัดสร้างพระกริ่งต่อไปมิให้สูญหายไปจากตำนาน พระกริ่งวัดสุทัศน์ และในการนั้นคุณตานิรันดร์ แดงวิจิตร เมื่อสมัยที่ท่านยังแข็งแรงดีท่านยังเมตตาได้มอบชนวนมวรสารเก่าแก่ตั้งแต่ในสมัยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช แพ ทั้งหมด เป็นจำนวนมากให้กับท่านพระครูโสภณนาคกิจ วัดช้าง และเบ้าหลอมเททองหล่อพระกริ่ง แม่พิมพ์หรือต้นพิมพ์พระกริ่งให้กับพระอาจารย์เดช วัดช้าง เพื่อให้ท่านได้เก็บรักษาไว้และจะได้นำมาเป็นส่วนผสมในการจัดสร้างพระกริ่งของวัดช้างในครั้งต่อ ๆ ไปในอนาคต
ด้านวัตถุมงคลหลัก ๆ ของท่าน
1. พระกริ่งรุ่นแรก รุ่น ช้างสามเศียรสร้าง 108 องค์ พระพุทธชินราชรุ่นแรก สร้าง 1 ช่อ 19 องค์ และเมฆพัตร 1 ช่อ 19 องค์ ปี 2546 เทวันวิสาขบูชา สร้างและเสกเดี่ยวไตรมาสแจกกรรมการวัดและศิษย์ไกล้ชิด หรือผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างวิหารหลวงพ่อดำ กุฎิสงฆ์ เสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด
2. ตะกรุดโทนเนื้อเงินรุ่นแรกจารมือ ปี 2546 จัดสร้าง 9 ดอก ลงยันต์ไตรสรณคมน์ และโสฬสมหามงคล
ตะกรุดโทนเนื้อทองแดงรุ่นแรกจารมือ ปี 2546 จัดสร้าง 19 ดอก ลงยันต์ไตรสรณคมน์ และโสฬสมหามงคล
3. พระกริ่งรุ่นสอง รุ่น ภัทรกิจโกศล (ภู) สร้าง 2547 องค์ ปี 2547 เททองหล่อที่วัดและจัดพิธีพุทธาพิเษกใหญ่ พระเกจิอาจารย์นั่งปรกทั่วประเทศ 39 รูป มีเนื้อทองคำตามจำนวนจอง และเนื้อเงิน 1 ช่อ 7 องค์ เนื้อนวะโลหะ สร้าง 2547 องค์ แบ่งเป็นก้นถ้วย 678 องค์ ก้นเรียบ 1869 องค์ พิมพ์กรรมการ 278 องค์ พระกริ่งบูชา 3 นิ้ว 39 องค์
4. ช้างมงคลรุ่นแรก มีพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ สร้าง 1500 เชือก พิมพ์เล็ก ๑๐๐๐ เชือก พิมพ์ใหญ่ 500 เชือก ท่านเสกเดี่ยวและนำติดย่ามไปนั่งปรกที่วัดสุทัศน์พิธีพระชินราชหมื่นยันต์ เมื่อเสาร์ที่ 16 กรกฏาคม ปี 2548
5. พระกริ่งจันทร์เพ็ญปี 2550 วันเพ็ญเดือน 12 วันลอยกระทง รุ่นนี้จัดสร้างทั้งหมดมี 2 พิมพ์ พิมพ์ละ 900 องค์ และมีพระชัยวัฒน์อีก 1 พิมพ์ แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ กะไหร่ทอง กะไหร่เงิน และนวะโลหะ
6. พระกริ่ง นครนายก จัดสร้าง 980 องค์ ปี 2550 สร้างเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อปภร บ้านนา
7. พระกริ่ง ๙ ฤกษ์ ปี 2551 สมทบทุนสร้างอาคารเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านนาวัดช้าง และเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด
8. ตะกรุดหนังเสือรุ่นแรก จารมือ ไตรมาส 2552 สร้าง 499 ดอก
9. หลวงพ่อทวด รุ่น ๑ วัดช้าง เสาร์ ๕ วันที่ 20-23 มีนาคม พ.ศ 2553 สมทบทุนสร้างอาคารเรียนโรงเรียนอนุบาลบ้านนาวัดช้าง หอไตรปิฏก 3 ชั้น และเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด
10. พระกริ่งฉลองสมณศักดิ์ พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก สร้าง 559 องค์ 2553 สมทบทุนสร้างหอไตรปิฏก 3 ชั้น และเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด

พระกริ่งวัดช้าง "รุ่นช้างสามเศียร" พระกริ่งรุ่นแรก-สร้างโดย "พระอาจารย์เดช"(พระครูโสภณนาคกิจ )วัดช้าง พ.ศ. ๒๕๔๖ เนื้อ นวโลหะ-มีจาร อ.บ้านนา จ.นครนายก
พระอาจารย์เดช "พระครูโสภณนาคกิจ"ท่านเป็นศิษย์เอก "พระอาจารย์ต๊ะ"(พระครูธวัชภัทราภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดช้าง ผู้สืบสานตำนานพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ฯอันลือลั่น)ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ พระอาจารย์เดช ท่านได้จัดสร้างพระกริ่ง "รุ่นช้างสามเศียร"รุ่นนี้ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นวัตถุมงคล รุ่นแรกของท่านอาจารย์ และจัดสร้างเพียง ๑๐๘ องค์ สร้างเพื่อ"บูชาพระคุณครูบาอาจารย์"
ทำพิธีเททองหล่อพระกริ่งที่วัดช้าง ในฤกษ์ วันวิสาขบูชา สร้างและเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส แจกกรรมการวัดและศิษย์ใกล้ชิด พระกริ่งทุกองค์แต่งเป็นก้นถ้วย และพระอาจารย์เดช ได้จารใต้ฐานพระกริ่งเป็นฉายาของพระอาจารย์เดชเอง คือ "อายุวฑฺฒโก" กำกับอยู่ใต้ฐานทุกองค์ ทำการแต่งพระกริ่งโดย"ช่างอ้วน"หรือ คุณเสน่ห์ เจริญพร ซึ่งได้รับการถ่ายทอดการแต่งพระกริ่ง มาจาก อ.นิรันด์ แดงวิจิตร (อ.หนู ปรมาจารย์พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สายสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ) ซึ่งช่างอ้วน ได้แต่งเฉพาะส่วนฐานก้นถ้วย ส่วนใหญ่คงสภาพเดิมๆของการหล่อโบราณไว้ ผิวออกมาจึงดูขรุขระ เดิมๆ สวยตามธรรมชาติพระหล่อโบราณ ดูมีเอกลักษณ์ เข้มขลังน่าบูชาจริงๆ..)
ชนวนพระกริ่ง ส่วนใหญ่จะเอาชนวนเก่าที่สร้างพระกริ่งของวัดช้างที่ตกทอดสืบต่อกันมายาวนาน อีกพร้อมทั้งตะกรุดเก่าอาจารย์ต๊ะ, ตะกรุดหลวงพ่อภู วัดช้าง,ตะกรุดและชนวนเก่าของหลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือเป็นต้น
พระกริ่งทุกองค์เนื้อจะแก่เงินออกกระแสเงินค่อนข้างมาก เพราะพระอาจารย์เดช ท่านใส่เงินพดด้วงลงไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งทองคำ,และชนวนมวลสารทั้งเก้าชนิด นำมาหล่อเป็นพระกริ่งรุ่นนี้ ซึ่งรวมเรียกว่า
"เนื้อ นวโลหะ-หล่อโบราณ" พระอาจารย์เดชท่านได้สร้างตามตำราเดิมของวัดช้างทุกอย่าง คือที่เรียกว่า "เทดินไทยหล่อโบราณ กริ่งในตัว"หล่อเป็นพระกริ่ง"รุ่นช้างสามเศียร"รุ่นแรก...
พระกริ่งรุ่นนี้ เป็นที่เสาะแสวงหาของศิษย์สายตรงและบุคคลทั่วไปครับ (ใครมีก็เก็บเงียบ..เพราะสร้างน้อย..หายากครับ)
ดังคำที่ท่านอาจารย์ท่านเคยบอกว่าพระกริ่งเป็นของสูงที่เราควรสักการะบูชา พุทธคุณเด่นครอบจักรวาล ดีทั้งนอกและใน แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตาโชคลาภ
และนอกจากพระกริ่งช้างสามเศียร รุนแรกแล้วในพิธีเททองหล่อพิธีเดียวกันที่นับได้ว่าเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของท่านคือ พระพุทธชินราช นวโลหะหล่อโบราณ เททองหล่อพร้อมกัน มีทั้งหมด 2 เนื้อ
เนื้อนวโลหะหล่อโบราณ สร้าง 1 ช่อ 19 องค์ เนื้อเมฆพัตรหล่อโบราณ สร้าง 1 ช่อ 19 องค์เช่นกัน
ทุกองค์จะถูกกำกับใต้ฐานด้านล่างขององค์พระด้วยฉายาของท่าน ทุกองค์ ว่า "อายุวฑฺฒโก" จารมือ.........
ลักษณะของพระกริ่งช้างสามเศียรรุ่นนี้ ถ้าได้เห็นองค์จริงก็จะรู้ว่าเนื้อจะออกมาเป็นกระแสเงินจัดทั้งองค์ ด้านหลังขององค์พระจะมีรูปช้างสามเศียรอยู่ครับ จึงเป็นที่มาของรุ่นว่า รุ่นช้างสามเศียร ท่านสร้างรุ่นนี้เป็นรุ่นแรก บูชาพระคุณพระอาจารย์ ผิวเดิมขรุขระเพราะยังมิได้แต่งหรือปอกผิวให้สวยสมบูรณ์ ทุกอย่างยังคงสภาพเดิมเพราะหลาย ๆ คนมองไปในทางเดียวกันว่า ผิวเดิมนี้สวยดีตามธรรมชาติไม่ต้องแต่งแล้วก็ดูเข้มขลังน่าบูชายิ่งนัก ทุกองค์จะถูกแต่งเฉพาะฐานขององค์พระเท่านั้นแต่งให้เป็นลักษณะก้นถ้วยลึกลงไปคมชัดและที่สำคัญต้องมีรอยจารเท่านั้น มิได้ตอกโค๊ตหรือเลขเบอร์ในแต่ละองค์ มีแค่รอยจารเท่านั้น ถ้าท่านใดพบเห็นที่ใหนที่มิไช่ลักษณะดังกล่าวก็คิดไปได้เลยครับว่าคงไม่มีแน่นอนครับผม นอกเสียจากว่าท่านที่มีที่ไม่ไช่แบบนี้แต่รับมากับมือท่านโดยตรงก็ไม่ต้องตกใจไปครับ บางทีอาจเป็นเพราะว่าจำนวนพระมีเกินแต่ไม่ได้บอกว่าเสริมนะครับไม่มีแน่นอน มีมากว่า 108 องค์ การเทพระกริ่งก็ต้องเผื่อเสียบ้างครับ แต่ก็เกินไม่มากหรอกครับรับประกันได้ อาจารย์ท่านอาจจะไม่ได้แต่งให้เป็นก้นถ้วยท่านอาจจะจารแบบก้นเรียบแบบนั้นเลยก็มีและให้ไปแต่ก็คงจะน้อยมาก ๆ ครับหรือไม่มีเลยก็เป็นได้ บอกเผื่อไว้น่ะครับเดี๋ยวบางท่านที่รับมากับมืออาจจะไม่เป็นลักษณะที่บอกมาดังกล่าวครับผม.....


รอยจารใต้ฐานขององค์พระรุ่นนี้ครับ


และในงานเททองหล่อในพิธีเดียวกัน ยังมีพระพุทธชินราชหล่อโบราณ อีกอย่างละ 19 องค์ เท่านั้น ที่เป็นรุ่นแรกของท่าน
เนื้อนวโลหะหล่อโบราณ 1 ช่อ 19 องค์ เนื้อเมฆพัตรหล่อโบราณ
เนื้อเมฆพัตรจำนวนสร้างไม่แน่ใจครับน่าจะมีจำนวน 1 ช่อ 19 องค์เหมือนกัน โลหะที่ได้จากการเล่นแร่แปรธาตุตามตำราของไทยโบราณ เชื่อว่าเป็นธาตุกายสิทธิ์มีฤทธานุภาพในตัวเอง "เมฆพัตร" นั้น ตำราทางไสยศาสตร์เรียกว่า "โลหะธาตุกายสิทธิ์"


โค๊ดใต้ฐานขององค์พระพุทธชินราช จารคำว่า "อายุวฑฺฒโก" เป็นฉายาของท่านครับ

มาชมเครื่องรางยอดนิยมของท่านกันครับ ช้างมงคล ยอดปราถนาของสายนี้ครับ
ช้างมงคลรุ่น 1 มี 2 พิมพ์ พิมพ์เล็ก 1000 เชือก พิมพ์ใหญ่ 500 เชือก


ช้างมงคลรุ่น 2 เนื้อนวโลหะ สร้าง 3000 เชือก
อ้อและให้ชมแบบเลี่ยมเงินสวย ๆ ไปด้วยครับ


ช้างมงคลรุ่น 3 เนื้อทอง สร้าง 1000 เชือก และ
ช้างมงคลรุ่น 4 แจกให้กับศิษย์ยานุศิษย์ที่มาร่วมงานฉลองรับแต่งตั้ง พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ที่พระครูโสภณนาคกิจ


ช้างมงคลรุ่น 5 พระอาจารย์เดชจัดสร้าง 300 เชือก สร้างถวายวัดบางอ้อใน ตำบลบางอ้อ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

ช้างมงคลรุ่น 6 รุ่นนี้จัดสร้าง 10000 เชือก
ในเร็ว ๆ นี้ ขอเชิญศิษย์ยานุศิษย์วัดช้างนะครับ ท่านใดที่ยังไม่ได้มีไว้ครอบครองช้างมงคล ผ่านไปทางนครนายกก็อย่าลืมแวะไปกราบท่านกันนะครับท่านใจดี อ้อและก็อย่าคุยเพลินจนลืมขอช้างมงคลท่านนะครับ ท่านสร้างมาแจก รับรองเลยว่าถ้ามีอยู่ใกล้ตัวท่าน ๆ ก็แจกให้ทุกคนเลยครับ ส่วนท่านใดอยากทำบุญสร้างหอไตรกับท่านก็ทำบุญกับท่านไปได้เลยครับ ตอนนี้ก็ได้ เกินกว่า 60 % แล้วครับสำหรับหอไตร 3 ชั้น ทรงไทย

ตะกรุดโทนเนื้อเงินรุ่นแรกจารมือ ปี 2546 จัดสร้าง 9 ดอก ลงยันต์ไตรสรณคมน์ และโสฬสมหามงคล
ตะกรุดโทนเนื้อทองแดงรุ่นแรกจารมือ ปี 2546 จัดสร้าง 19 ดอก ลงยันต์ไตรสรณคมน์ และโสฬสมหามงคล


พระกริ่งรุ่นสอง รุ่น ภัทรกิจโกศล (หลวงปู่ภู) รุ่นนี้จัดสร้าง 5 มีนาคม 2547 หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อมาเป็นประธานเททองหล่อและนั่งปรกเบ้าครับ รุ่นนี้จัดสร้าง 2547 องค์
มีเนื้อทองคำตามจำนวนสั่งจอง
เนื้อเงิน 7 องค์
เนื้อนวโลหะ 2547 องค์ แบ่งเป็นก้นถ้วย 678 องค์ ก้นเรียบ 1869 องค์ มีโค๊ดตอกด้วยกันดังนี้โค๊ดช้างสามเศียร โค๊ดเลข 1-678 ก้นถ้วย เลข 679 - 2547 ก้นเรียบ โค๊ดเม็ดงาคำว่า ภู และโค๊ดคำว่า ช้าง
พิมพ์กรรมการอีก 278 องค์ก้นเรียบทั้งหมด มีโค๊ดตอกด้วยกันดังนี้ โค๊ดช้างสามเศียร โค๊ดเลข 1-278 โค๊ดเม็ดงาคำว่า ภู และโค๊ดคำว่า ช้าง
พระกริ่งบูชา 3 นิ้วอีก 39 องค์ มีโค๊ดตอกด้วยกันดังนี้ โค๊ดช้างสามเศียร โค๊ดเลข 1- 39 โค๊ดเม็ดงาคำว่า ภู และโค๊ดคำว่า ช้าง
มีพระเกจิอาจารย์นั่งปรก 39 รูป ทั่วประเทศ พิธีใหญ่และท่านตั้งใจจัดสร้างเอง รายชื่อพระคณาจารย์ที่มานั่งปรกในสมัยนั้น ขออภันนะครับที่รวบรวมรายชื่อไม่หมดเนื่องจากจำไม่ได้แล้วครับ เอกสารสูญหายไปหมดเลยรวบรวมได้แค่นี้ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ
1. หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ ราชบุรี 2. หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ อยุธยา 3. หลวงพ่อเกิด วัดโพธิ์แทน นครนายก 4. หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกรินกฐิน ลพบุรี
5. หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา 6. พระอาจารย์สารท (โม่ง) วัดขนอนเหนือ อยุธยา 7. หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี 8. หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา 9. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม อยุธยา 10. หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม 11. หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน นนทบุรี 12. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว อยุธยา 13. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน 14. หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร 15. หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ 16. หลวงพ่อศุข วัดทางกระบือ 17. หลวงพ่อสารันดร์ วัดดงน้อย ลพบุรี 18. หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง เพ็ชรบุรี 19. หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาส 20. หลวงพ่อบุญมี วัดสุตธรรมมาราม นครนายก 21. หลวงพ่อไข วัดโพธินายก 22. หลวงพ่อชม วัดท่าทราย นครนายก 23. พระครูภัทรวิริยคุณ (หลวงพ่อถนอม) วัดสุทัศน์ กทม. 24. พระมหาประดิษฐ์ ถิรธมโม วัดสุทัศน์ กทม. 25. หลวงพ่ออุดมทรัพย์ วัดประสิทธิเวช นครนายก 26. พระเทพวรนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครนาก 27. พระอาจารย์ชาญณรงค์ วัดเลา
และในงานนั้นได้รับเมตตาจากปรมาจารย์พระกริ่งแห่งเมืองไทย ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์เทพวราราม คุณตานิรันดร์ แดงวิจิตร (พระครูหนู) มาเป็นประธานฝ่ายฆารวาสเป็นประธานบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบูรพาจารย์ที่เคารพนับถือ และร่วมเททองหล่อพระกริ่ง ในการจัดสร้างพระกริ่งรุ่น ภัทรกิจโกศล(ภู)
วัตถุประสงค์ เพื่อนำปัจจัยมาก่อสร้างวิหารหลวงพ่อดำ วัดช้าง และสร้างเขื่อนแนวกั้นน้ำตลิ่งลำคลอง


และภาพนี้จะเป็นภาพประวัติศาสตร์ต่อไปที่ยาวนาน ปรมาจารย์พระกริ่งแห่งเมืองไทย ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์เทพวราราม คุณตานิรันดร์ แดงวิจิตร (พระครูหนู) ท่านเมตตามอบชนวนมวรสารต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของท่านให้กับพระอาจารย์เดช วัดช้าง และยังมอบตำราการจัดสร้างพระกริ่ง หรือที่เราเคยได้ยินมาว่า ตำราเล่มดำ เป็นตำราการจัดสร้างพระกริ่ง ในสมัยเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์เทพวราราม ครั้งแรกท่านมอบให้กับพระครูธวัชภัทราภรณ์ อ.ต๊ะ พระหลานชายของคุณตานิรันดร์ แดงวิจิตร และเมื่อ พระอาจารย์ต๊ะ มรณภาพไปแล้วคุณตาหนูท่านก็มีเมตตาส่งมอบให้กับพระอาจารย์เดชสืบต่อไป เพื่อที่จะสืบสานตำนานพระกริ่งสายวัดสุทัศน์สืบต่อไปในอนาคต .......


ในภาพก็จะเป็น หลาน ๆ คุณตาหนูครับที่ไปรับมอบชนวนที่บ้านคุณตาครับ ส่วนการจัดสร้างพระกริ่งของวัดช้างนั้น ได้ถูกสืบทอดการเททองหล่อพระกริ่งและแต่งองค์พระกริ่ง โดยคุณ เสน่ห์ เจริญพระ หรือช่างอ้วน เหลนคุณตานิรันดร์ แดงวิจิตร เป็นผู้ที่ได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาวิชาการแต่งพระกริ่งกับคุณตาและเป็นช่างเททองหล่อพระกริ่งและแต่งพระกริ่ง ประจำวัดช้างในขณะนี้

