
หัวข้อ: สมเด็จองค์นี้เป็นไงบ้างครับ ท่านผู้รู้แนะนำหน่อย
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ

ถ้าตีเป็นของสมเด็จโต ผิดพิมพ์ เนื้อแข็งกระด้าง ไม่หนึกนุ่ม ไม่ดีครับ

องค์เนื้อหาเร้าใจดีครับ
ส่วนตัวผมชอบนะ
แม้จะไม่รู้วัดเหมือนกันก็เหอะ
...เก่าดีแท้

พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆษิตาราม " พิมพ์เกศบัวตูม " องค์นี้ พิมพ์ทรงชัดเจนดีครับเพราะปรากฏรายละเอียดให้พิจารณาได้ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเกศอันเป็นที่มาของชื่อของพระสมเด็จฯ
พิมพ์นี้,พระกรรณทั้ง 2 ข้าง,ร่องสังฆาฏิ,เส้นพระบาทซ้ายใต้พระเพลาขวา,เส้นซุ้มอวบใหญ่ สรุปตามความคิดเห็นส่วนตัวของผม พระสมเด็จฯวัดระฆังฯ " พิมพ์เกศบัวตูม " ของคุณ
orngnoi แท้,ดูง่ายครับ(หายากกว่าพิมพ์ใหญ่ครับ เพราะมีจำนวนหมุนเวียนน้อยกว่า)

ผมเป็นเพียงนักสะสมฯธรรมดาๆ คนหนึ่ง เท่านั้นครับ คุณ notino สิครับ " มืออาชีพ "
หากคุณมีความสนใจที่จะศึกษา,เรียนรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จฯร่วมกัน ขอเชิญเข้าชมพระสมเด็จฯพิมพ์ต่างๆในกระดานพระสวยฯ นะครับ มีสุภาษิตโบราณทางเหนือบทหนึ่งกล่าวว่า " อ้ายฮู้หนึ่ง น้องฮู้สอง " ( อ้าย=พี่ , ฮู้=รู้ ) ความหมายก็คือ " ไม่มีใคร? รู้อะไร? หมด หากแบ่งปันความรู้ให้แก่กันความรู้นั้นจะมีมากขึ้นจนกลายเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป "
ไม่มีใคร? เป็นผู้รับหรือผู้ให้ตลอดกาลหรอกครับ สักวันหนึ่งผู้รับหรือผู้ให้ต้องสลับบทบาทกันครับ
...ถ้าศิษย์ไร้ครูดี(ผู้แนะนำ)ย่อมไม่มีทางที่จะเก่งครับ เหมือนที่ท่านสมเด็จหรือเกจิดังๆทั้งหลายเดินทางเพื่อนไปเรียนกับพระอาจารย์ผู้รู้ ขอบคุณครับ
อยากเรียนถามทานอีกซักหน่อยครับเพื่อประดับความรู้
ที่เค้าบอกสีเขียวเหมือนก้านดอกกุหลาบนี่มันเกิดขึ้นได้ยังไงครับขอวิชาการก็ได้ครับ ขอบคุณครับ

พระสมเด็จฯวัดระฆังโฆษิตารามพอจะแบ่งแยกได้ 5 วรรณะดังนี้
1.) วรรณะอมเหลือง
2.) วรรณะอมน้ำตาล
3.) วรรณะอมเทา
4.) วรรณะอมเขียว เ้ช่น วรรณะเขียวก้านมะลิ ส่วนสีเขียวเหมือนก้านดอกกุหลาบ ผมไม่เคยทราบมาก่อนครับ
5.) วรรณะขาวหม่น

ขอเพิ่มเติมครับ วรรณะ หมายถึง วรรณะพื้นผิวพระเท่านั้นเพราะ เนื้อในล้วนขาวเหมือนกันทั้งสิ้น
วรรณะที่ต่างกันตามความเข้าใจส่วนตัวของผมน่าจะเกิดจากส่วนผสม,มวลสารต่างๆที่นำมาสร้างพระสมเด็จฯ
ว่า แก่,อ่อน อะไร? บ้าง รวมทั้งน้ำมันตังอิ๊วซึ่งเป็นตัวประสานเนื้อพระไม่ให้แตกร้าวด้วยนะครับ

ด้วยความยินดีครับ