พระร่วงหลังรางปืนฐานสูง(หลังตื้นแก้มปะ)สนิมแดง กรุวัดพระศรีมหาธาตุ - webpra

หัวข้อ: พระร่วงหลังรางปืนฐานสูง(หลังตื้นแก้มปะ)สนิมแดง กรุวัดพระศรีมหาธาตุ

กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ

พระร่วงหลังรางปืนฐานสูง(หลังตื้นแก้มปะ)สนิมแดง กรุวัดพระศรีมหาธาตุ
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
บายศรีพระเครื่อง
ตั้ง: 28 ตอบ: 174
คะแนน: 17
รายละเอียด

       พระร่วงหลังรางปืน เป็นพระเครื่องที่มีลักษณะประติมากรรมที่งดงาม  สร้างขึ้นในสมัยขอมเป็นราชธานี นักนิยมพระเครื่องได้ให้ความสนใจพระร่วงหลังรางปืนนี้ไม่แพ้พระเครื่องชุด "องค์ไตรภาคี" เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดยาว คือพิมพ์ใหญ่ พระพุทธลักษณะ เป็นพระยืนประทานพร  บริเวณด้านหลังขององค์พระมีลักษณะเป็นร่องจากฐานถึงบริเวณพระอังสะ (ไหล่)  คนในสมัยก่อนคงเห็นร่องคล้ายกับลูกปืน จึงนิยมเรียกกันว่า "หลังรางปืน" ด้านหน้าองค์พระสวม "หมวกชีโบ" องค์พระจะมีสนิมที่เรียกกันว่า "สนิมแดง"จับอยู่ทั่วไปมีใขขาวมากน้อยไม่เท่ากันสว่นสีของสนิมก็ต่างกัน แดงแบบ ลูกหว้า คือแดงเข้มเกือบๆดำ สนิมแดง เลือดนก สนิมแดงส้ม   พระร่วงหลังรางปืน สร้างด้วยเนื้อตะกั่วเป็นส่วนใหญ่  (ผิวขององค์พระจะมีสีแดงเข้ม บางองค์ออกสีลูกหว้า) ลักษณะที่น่าสังเกตคือ(จะมีไขคลุมอีกชั้นหนึ่งและมีมากกว่าพระร่วงกรุอื่นๆ ) ในสว่นตัวของผมแบ่งได้ ๒ พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่ และ พิมเล็ก เพื่อความจดจำจะง่ายขึ้นและในพิมพ์ใหญ่มี ฐานสูง ฐานเตี้ย แก้มปะ หน้าหนุ่ม หลังเรียบกาบหมาก หลังตื้น หลังลึก และพิมพ์เล็ก  พระร่วงหลังรางปืน  จะต้องมีคราบไขขาวเกาะกันแน่นเป็นหย่อมๆ มีมากน้อยไม่เสมอไป บางองค์สนิมมีแตก ลายงาที่บางคนเรียกว่า แตกแบบใยแมงมุม 
      สถานที่ขุดพบได้บริเวณเจดีย์โบราณ ณ วัดพระปรางค์ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง) อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย  พระร่วงหลังรางปืน เป็นศิลปะเขมรยุคบายน มีพุทธลักษณะเป็นพระยืนปางประทานพรอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ยอดซุ้มเป็นลายกนกแบบซุ้มกระจังเรือนแก้ว ด้านหลังมีลักษณะพิเศษคือ มีร่องกดลึกลงไปเป็นแนวยาว สมัยก่อนมักเรียกว่า " หลังรางปืน" ด้านหลังนั้นเกิดจากการกดพิมพ์พระมิได้เกิดจากการยุบตัวของตะกั่วอย่างที่หลายคนเข้าใจ.   พระร่วงหลังรางปืน เป็นพระที่มีศิลปะสมัยลพบุรี มีหลังรางปืนเป็นเอกลักษณ์ประจำองค์พระ   ในพระทุกองค์์ด้านหลัง จะตอ้งมีเส้นวิ่งตามแนวยาวขององค์พระเรียกว่า กาบหมาก ในองค์พระที่มีสนิมแบบแห้ง หรือสนิมแบบรัดตัวมีใขน้อยจะเห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น  ฐานสูง ฐานเตี้ย แก้มปะ หน้าหนุ่ม หลังเรียบกาบหมาก หลังตื้น หลังลึก จะเห็นชัดเจน  อีกทั้งทำให้ง่ายต่อการ เรียกขานเป็นอย่างมาก ถ้าไม่มีรางปืนหรือกาบหมาก หลังเรียบหรือหลังลายผ้ากด เขาเรียกพระร่วงลพบุรี  สำหรับการเรียกขานชื่อพระนั้นโดยมากจะตั้งชื่อตามกรุที่ขุดพบแต่ละที่ แต่ละแห่ง หรือนำเอาลักษะขององค์พระนำมาตั้งชื่อ
        พระร่วงหลังรางปืน ขุดพบ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ(วัดพระปรางค์) อยู่เมืองสวรรคโลก  ซึ่งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เป็นเมืองเก่า ก่อนเกิดกรุงสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่ บนฝั่งขวาแม่น้ำยม ตรงแก่งหลวง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสวรรคโลก หรือเมืองเชลียง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย
  บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีซากโบราณสถานมากมายหลายแห่ง ขอกกล่าวเพียง ๓ แห่งเพื่อไม่ให้สับสนคือ วัดเจ้าจันทร์ วัดชมชื่น และวัดพระปรางค์หรือวัดพระศรีมหาธาตุ คือเมืองเชลียงเดิมได้ขุดค้นพบโบราณสถานแบบลวปุระ ศิลปะลพบุรีน่าจะเป็นศาสนสถานของขออมมาก่อน ส่วนบริเวณเมืองให่มนั้นคือ วัดสุวรรณคีรี  วัดเขาพนมเพลิง วัดเขาใหญ่ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดนางพญา วัดอุดมป่าสัก เรียกว่า เมืองศรีสัชนาลัย  จากตัวเมืองทางตะวันตก12กม. ก็จะถึงบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย เคยเป็นชุมชนโบราณก่อนการสร้างเมืองสุโขทัย คือ วัดศรีสวายและศาลผาแดงและวัดพระพายหลวง มีโบราณวัตถุแบบเดียวกับของลพบุรีหรือละโว้น่าจะมีสายสำพันธืกับขอมหรือไม่ก็อยู่ในการปกครองของขอมกอ่นการเกิดเมืองสุโขทัยโดยการนำของ "ขุนศรีนาวนำถุม"  เพื่อการศึกษาต่อไป                                                                                                                 

พระร่วงหลังรางปืนฐานสูง(หลังตื้นแก้มปะ)สนิมแดง กรุวัดพระศรีมหาธาตุ พระร่วงหลังรางปืนฐานสูง(หลังตื้นแก้มปะ)สนิมแดง กรุวัดพระศรีมหาธาตุ
โพสต์เมื่อ ส. - 25 ธ.ค. 2553 - 00:15.44
ยังไม่มีความคิดเห็น
Top