
หัวข้อ: เรียนถาม..ใครได้ยินสรรพากรเรียกเก็บเงินขายพระทางเน็ตแล้ว
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ

พอดีไปตลาดพระ มีคนห่วงใยบอกว่า ลูกค้าของเค้าที่เอาพระเค้าไปขายโดนสรรพากรเรียกเก็บเิงินย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2546 มาจนปัจจุบัน
ไม่เฉพาะพระอย่างเดียวนะครับ สินค้าทุกประเภทที่ขายทางเน็ตก็ต้องโดนเหมือนกัน ใครโดนหรือ มีความรู้ช่วยเฉลยให้หน่อยครับ อยากรู้
จะได้เตรียมตัวทันครับ ขอบคุณมากครับ
ไม่น่าเป็นไปได้ หรือ จะเก็บกันจริง น่าจะมีกันหนดอัตรา เท่าไรจ่าย เท่าไรไม่จ่าย หลักฐานหาจากไหน

การเก็บภาษีต้องเก็บจากรายได้ที่แน่นอนและมีใบกำกับภาษีหรือเช่น ภาษีบุคคลธรรมดา ก็ดูจากรายได้แน่นอนเช่นเงินเดือน ค้าขายก็ใบกำกับภาษี ซึ่งส่วนมากหัก ณ ที่จ่าย ภาษีป้าย โรงเรือนที่ดิน ล้วนแต่มีอัตราแน่นอน แต่ ขายเช่าพระไม่เห็นมีใบเสร็จซักที หรือสรรพากร จะเข้ามาเช็คในเวป ก็คงนั่งเช็คมือหงิก ผมว่ายังไม่เคยได้ยินว่ามีช่องให้เก็บตรงนี้เพราะการซื้อขายตรงนี้คงควบคุมลำบากครับ อย่าเพิ่งกังวลเลยครับ

คุณลองไปตลาดพระพญาไม้ ไปหาเจ้าของร้านขายพระที่เป็นผู้หญิงชื่อ เนี้ยว ที่ขายพระมาเกือบ 10 ปี ลูกค้าที่ขายพระทางเน็ตหลายคนก็ซื้อจากเค้าเพราะเค้าขายถูก และแท้ หากไม่เชื่อว่าผมพูดเป็นความจริงไปถามดูได้ครับ ส่วนรายละเอียดผมอยากจะทราบจากคนที่รับทราบข่าวมา หากในเวปนี้ไม่มีก็ดีครับ ผมจะได้สบายใจ หากเกิดขึ้นในเวป ผมจะได้ศึกษาไว้เพราะผมขายพระมาแล้ว 8 ปี หลายคนรู้จักผมดี เพราะผมเล่นมานาน แต่ผมก็เตือนไว้ก่อนเพราะ หากเกิดขึ้นจริงโดนเรียกไปอยากจะรู้ว่าจะต้องทำยังไงครับ.

ในทางปฎิบัติ คงยากครับ อันที่จริง มีความพยามกันมามาสำหรับสรรพากรในเรื่องนี้
เพราะ 1.ยังไม่มีกฎหมายรองรับ เหมือน ทองคำ และ อัญมณี
2.ไม่มีราคา อั่งเช้ง ที่แน่นอน ตายตัว กำหนด การซื้อเข้า ขายออก เช่นทองคำและอัญมณี
3.หากเป็นคดีความเกิดขึ้น ทางศาล และ อัยการ ไม่มีบุคลากร ทางด้านนี้ โดย นิตินัย
นี่ว่ากันอย่างเป็นทางการ
แต่ถ้าว่ากันแบบชาวบ้าน
1.เก็บภาษีคนขับแท็กซี่ ให้ได้ก่อน
2.พระทุกองค์ ซื้อมา ไม่ใช่ว่าจะขายได้ทุกองค์
3.พระทุกองค์ที่ซื้อมา ไม่ใช่ว่าจะแท้ทุกองค์
4.พระทุกองค์ที่ซื้อมา ถ้ากู้เงินมาซื้อ ร้อยล่ะ 3 ต่อเดือน ถ้าเกิดติดมืออยู่ สักปี ใครรับผิดชอบ
5.พระทุกองค์ที่ซื้อมา ถ้าเกิดขายขาดทุนใครรับผิดชอบ
หลายปีก่อน ผมเปิดร้านที่สีลมแกลเลอเรีย โดนมาแล้ว มานั่งเฝ้า นั่งดูสังเกตุการณ์ หลายวัน สุดท้าย ทำไรไม่ได้ เรียก กรมศิลป มา บังคับให้ขออนุญาติ ค้าของเก่า เสียเป็นรายปี ปีล่ะ 10000 บาท พร้อม บังคัญให้ลงบ /ช สินค้าทุกรายการ ติดป้ายแสดงราคา ฯลฯ ผลคือ ผมเลิกกิจการ คืนห้องกับทางห้างไปเลย ทั้งสรรพากร ทั้งกรมศิลป อด
มาเปิดใหม่ เดี๋ยวนี้ ใช้วิธี ประเมินคร่าวๆ เสียภาษี ราย 6 เดือน แบบเหมาจ่าย ตกปีล่ะประมาณ 1200 ยาท โอเค พอรับกันได้ กำไร ขาดทุน ไม่ต้องพูดถึง เพราะมันอยู่ในสถานะ ที่รับได้ มีใบเสร็จ จากสรรพากรพร้อม เป็นหลักฐาน ว่าร้านเราเสียภาษีแล้ว แต่บางที่ ยังคงต้องจดทะเบียน ค้าของเก่าอยู่ (ประเภท พระเครื่อง และ วัตถุมงคล) มีแบบ โบราณ วัตถุ และ ศิลปวัตถุ
โบราณวัตถุ คือ วัตถุมงคล หรือ พระเครื่อง พระบูชา ที่มีอายุ เกิน 100 ปี ค่าจดทะเบียน 10000 บาท
ศิลปวัตถุ คือ พระเครื่อง พระบูชา ที่มีอายุ ไม่เกิน 100 ปี ค่าจดทะเบียน 5000 บาท
ทั้งนี้และทั้งนั้น ไม่ต้องตกใจ เพราะมันเป็นไปได้ยาก ที่แน่ๆ ไปออกกฎหมาย มารองรับก่อน แล้วค่อยมาว่ากัน
โดยเฉพาะ มาตราที่ว่าด้วยการ ผลิต และ จำหน่าย พระเก๊ มีโทษ อย่างไร ให้ได้ก่อน
หรือท่านอื่นมีความเห็นว่าไง


pipeak08:
ในทางปฎิบัติ คงยากครับ อันที่จริง มีความพยามกันมามาสำหรับสรรพากรในเรื่องนี้
เพราะ 1.ยังไม่มีกฎหมายรองรับ เหมือน ทองคำ และ อัญมณี
2.ไม่มีราคา อั่งเช้ง ที่แน่นอน ตายตัว กำหนด การซื้อเข้า ขายออก เช่นทองคำและอัญมณี
3.หากเป็นคดีความเกิดขึ้น ทางศาล และ อัยการ ไม่มีบุคลากร ทางด้านนี้ โดย นิตินัย
นี่ว่ากันอย่างเป็นทางการ
แต่ถ้าว่ากันแบบชาวบ้าน
1.เก็บภาษีคนขับแท็กซี่ ให้ได้ก่อน
2.พระทุกองค์ ซื้อมา ไม่ใช่ว่าจะขายได้ทุกองค์
3.พระทุกองค์ที่ซื้อมา ไม่ใช่ว่าจะแท้ทุกองค์
4.พระทุกองค์ที่ซื้อมา ถ้ากู้เงินมาซื้อ ร้อยล่ะ 3 ต่อเดือน ถ้าเกิดติดมืออยู่ สักปี ใครรับผิดชอบ
5.พระทุกองค์ที่ซื้อมา ถ้าเกิดขายขาดทุนใครรับผิดชอบ
หลายปีก่อน ผมเปิดร้านที่สีลมแกลเลอเรีย โดนมาแล้ว มานั่งเฝ้า นั่งดูสังเกตุการณ์ หลายวัน สุดท้าย ทำไรไม่ได้ เรียก กรมศิลป มา บังคับให้ขออนุญาติ ค้าของเก่า เสียเป็นรายปี ปีล่ะ 10000 บาท พร้อม บังคัญให้ลงบ /ช สินค้าทุกรายการ ติดป้ายแสดงราคา ฯลฯ ผลคือ ผมเลิกกิจการ คืนห้องกับทางห้างไปเลย ทั้งสรรพากร ทั้งกรมศิลป อด
มาเปิดใหม่ เดี๋ยวนี้ ใช้วิธี ประเมินคร่าวๆ เสียภาษี ราย 6 เดือน แบบเหมาจ่าย ตกปีล่ะประมาณ 1200 ยาท โอเค พอรับกันได้ กำไร ขาดทุน ไม่ต้องพูดถึง เพราะมันอยู่ในสถานะ ที่รับได้ มีใบเสร็จ จากสรรพากรพร้อม เป็นหลักฐาน ว่าร้านเราเสียภาษีแล้ว แต่บางที่ ยังคงต้องจดทะเบียน ค้าของเก่าอยู่ (ประเภท พระเครื่อง และ วัตถุมงคล) มีแบบ โบราณ วัตถุ และ ศิลปวัตถุ
โบราณวัตถุ คือ วัตถุมงคล หรือ พระเครื่อง พระบูชา ที่มีอายุ เกิน 100 ปี ค่าจดทะเบียน 10000 บาท
ศิลปวัตถุ คือ พระเครื่อง พระบูชา ที่มีอายุ ไม่เกิน 100 ปี ค่าจดทะเบียน 5000 บาท
ทั้งนี้และทั้งนั้น ไม่ต้องตกใจ เพราะมันเป็นไปได้ยาก ที่แน่ๆ ไปออกกฎหมาย มารองรับก่อน แล้วค่อยมาว่ากัน
โดยเฉพาะ มาตราที่ว่าด้วยการ ผลิต และ จำหน่าย พระเก๊ มีโทษ อย่างไร ให้ได้ก่อน
หรือท่านอื่นมีความเห็นว่าไง
เป๊ะ เลยครับ อย่างพี่ต๋อย ว่า นั่นแหละ.........พวกนี้มันหาช่อง หารู มุดจะเอาให้ได้...
อย่างตอนนี้ผมก็กำลัง จวกกับสรรพากร อยู่เรื่องจะมาเก็บภาษีร้านค้า ท่านเล่นจะเก็บเป็นรายปี ปีละ 5,400 บาท ก่อนหน้านี้เก็บปีละ 800 บาท ( แบ่งเป็น 2 ครั้ง ๆ ละ 400 บาท ) พอมาปีนี้ ( ที่จริงเค้าเกริ่นไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ) ท่านเล่นบอกว่าดูง่าย ๆ วัน ๆ นึงขายของได้ประมาณ 3,000 บาท เรตภาษีใหม่ต้องเก็บเป็นปี ปีละ 5,400 บาท....โถ ๆ ๆ แม่งเอาอะไรคิด ขายได้วันละ 3,000 บาท....ของที่ขายออกไป ตูไปขอเค้ามารึไง ไม่มีต้นทุนรึไง ท่าน ๆ ที่ขายของชำจะทราบดี ว่ากำไรมันมีเท่าไรเชียว อย่างง่าย ๆ เบียร์ 1 ลังต้นทุน 540 บาท ขายปลีกได้กำไรลังละ 60 บาท ไหนจะค่าไฟ ค่าถุง ค่าเช่าร้าน ( เดือนละ 6000 บาท ) ฯลฯ บุหรี่ ห่อนึง 540 บาท กำไร 40 บาท ยิ่งขนมขบเคี้ยวไม่ต้องพูดถึง ซองนึงกำไร 75 สต. โดยเฉลี่ย การค้าของชำ กำไรอยู่ที่ ประมาณ 10 - 15 % เท่านั้น.........เดือน ๆ นึง หาเงินผ่อนค่ารถแทบไม่พอ หากไม่มีรายได้เสริมจากการนำพระมาให้เช่าบูชา .....ผมก็เลยฉะกะมันอยู่ บอกหากยืนยันจะเก็บ ตูจะเลิกขาย ...แล้วหันไปขายยาบ้าให้ลูกมันนั่นแหละเสพ ภาษีก็ไม่ต้องเสีย 555

ไม่น่าทำได้นะครับ ตัวแปรมากเหลือเกิน

ได้ยินเรื่องนี้มาเหมือนกันครับ แต่ผมถามพรรคพวกแล้วก็ยังไม่มีใครโดนนะครับ

พอดี ผอโรงเรียนที่รู้จักกัน เปิดร้านที่เว็ปตลาดพระ โดนเรียกเก็บภาษีไปแล้วครับ เพิ่งคุยกันวันนี้เอง เสียไปหมื่นกว่าบาท เรียกเก็บย้อนหลังด้วย
ไม่มีอะไรในโลกที่มนุษย์ทำไม่ได้.........กฏหมายมาตราๆต่างที่กำหนดไว้ควบคุมสังคม ก็มนุษย์อย่างเราๆท่านๆนี่หละ
ที่เสียภาษีแน่ๆก็ ภาษีมูลค่าเพิ่ม7% ที่เกี่ยวเนื่องกับวงการพระเครื่อง ก็ไม่ว่าจะเป็นกรอบพระต่างๆ กล้องส่องพระ ฯลฯ
ถ้าเข้าสู่ระบบสำนักงานประกันสังคม....ผู้มีรายได้ ผู้ประกอบการ ห้างร้าน บริษัท ข้าราชการ เอกชน พนักงาน ลูกจ้างฯลฯ
ล้วนแล้วต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้กับรัฐ.....เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ สร้างถนน สะพาน น้ำ ไฟฟ้า สาธารณุปโภค บริโภค ให้เราได้อยู่ดีกินดี
มีความปลอดภัย......โอ้ยาวครับ(เป็นเรื่องของส่วนรวมที่ต้องให้ความสำคัญ จัดลำดับความสำคัญก่อนและหลังครับ)