
หัวข้อ: อยากรู้ความเห็นพวกพี่เจ้าค่ะ..คิดว่าหลวงปู่ทวดวัดคอกหมู..ตอกโค๊ดก่อนหรือหลังอาจารย์ทิมปลุกเสกเจ้าค่ะ
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ

เช้านี้ตื่นมาไม่รู้เป็นไง..คิดถึงหลวงปู่ทวดวัดคอกหมูขึ้นมาอย่างไม่มีสาเหตุ..และมาเกิดคำถามว่า..โค๊ดหมูที่ตอกนั้นตอกก่อนนำมาให้หลวงปู่ทิมปลุกเสกหรือให้หลวงปู่ทิมปลุกเสกแล้วค่อยมาตอกทีหลัง...เอาเป็นเรื่องเบาๆนะเจ้าคะ..ไม่เครียดๆๆๆๆๆๆๆๆๆ.ไว้ช่วงเย็น..อิฉันค่อยเข้ามาออน...ช่วงนี้บริษัทเพิ่งเปิด..กำลังอบรมพนักงานที่เพิ่งรับเข้ามาเลยไม่มีเวลามาคุยกับพี่ๆเจ้าค่ะ..คิดถึงทุกท่าน..พี่หนุ่ย...พี่พระเอกพระเครื่อง..พี่ปู...พี่ไม้ธาตุไฟ..พี่ramin_sukimm..พี่1431jojo ..พี่ตั๊ม..พี่พลายชุมพลคนหล่อ..และอีกหลายๆพี่..ที่ยังนึกไม่ออก..เดี๋ยวขออาบน้ำไปบริษัทก่อนเย็นๆค่อยเข้ามาออนเจ้าค่ะ....อามิตตพุทธ

น้องนกเค้าแมวจ๋า เล่นบอกชื่อพี่ด้วยพี่ก็แย่สิ พี่ไม่ค่อยรู้เท่าไรนะเพราะไม่ใช่สายนี้ วัดคอกหมูมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ”วัดสิตาราม” พี่เคยไปเที่ยวมาเมื่อสมัยยังหนุ่มอยู่(รู้สึกเหมือนแก่ยังไงไม่รู้) บริเวณวัดนี้เมื่อก่อนชาวจีนได้มาเลี้ยงหมูจนร่ำรวยภายหลังได้ถวายที่ดิน ชื่อวัดแต่ดั้งเดิมจึงเรียกกันว่า วัดคอกหมูและต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อวัดสิตาราม..ละแวกวัดนี้ในอดีตมี ช่างหล่อและโรงหล่อของช่างอิน(บางท่านเรียกว่าช่างแสวง) นายอินผู้นี้คือช่างผู้หล่อพระกริ่งหน้าอินเดียให้กับวัดสุทัศน์ ต่อมาในปี2491 นายอินพาทีมช่างหล่อลงใต้ไปสงขลาเพื่อทำการหล่อพระกริ่งโภคทรัพย์ให้ พ่อท่านเส่ง วัดแหลมทราย(ถ้าจำไม่ผิดนะ ครูท่านเล่ามาอีกที)
ครั้นในปี2505 พระอาจารย์ทิม ได้สร้างหลวงปู่ทวดที่วัดช้างไห้ ปรากฎว่าเนื่องด้วยเวลาที่กระชั้นชิดช่างหล่อทำงานไม่ทันกำหนด จึงได้ให้ช่างอินในกรุงเทพฯ ช่วยหล่ออีกแรงหนึ่ง พิมพ์ที่ช่างอินทำการหล่อคือ หลวงปู่ทวดเตารีดใหญ่พิมพ์เอ พระของช่างอินที่หล่อจะแก่ทองเหลืองไม่ออกแดงอย่างที่หล่อพระหลวงปู่ทวดพิมพ์เตา รีดที่วัดช้างให้(อันนี้พี่แยกไม่ออกจริง ๆ ) ..ครั้นเมื่อช่างอินหล่อพระเสร็จแล้วก็จะคัดงานดีที่หล่อสวยแยกไว้ในลัง ส่วนงานพระที่หล่อติดไม่คมชัดหรือชำรุดหล่อติดแต่ไม่สวย ได้คัดแยกไว้ต่างหากและทำการตอกโค๊ตรูปหมูไว้ที่หลังองค์พระ จุดประสงค์เพื่อนำไปถวายวัดคอกหมู พระทั้งสองแบบได้ถูกนำส่งผ่านไปทางรถไฟเพื่อไปยังวัดช้างให้สำหรับเข้าใน พิธีปลุกเสกปี๒๕๐๕ ครั้นเมื่อ พระอาจารย์ทิมปลุกเสกในพิธีเสร็จแล้ว ท่านก็นำพระในส่วนที่ช่างอินคัดสวยให้เอาไปแจกญาติโยมที่วัดช้างให้ ส่วนอีกส่วนที่ช่างอินคัดไว้และตอกโค๊ตรูปหมูไว้ด้านหลัง ท่านก็ส่งกลับคืนมายังช่างอินที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ช่างอินนำไปถวายที่วัดคอกหมู นั้นหมายความว่า พระหลวงปู่ทวดหลังเตารีดที่แจกที่วัดคอกหมูนั้นเป็นพระเข้าในพิธีเดียวกับพระ หลวงปู่ทวดหลังเตารีดวัดช้างให้ พุทธคุณจึงเสมอเหมือนกันทุกประการ ...สำหรับโค๊ตรูปหมูที่ตอกไว้ด้านหลังนั้น มีปรากฏตั้งแต่๑ตัว ๒ตัว ๓ตัว ๔ตัว จนถึง๙ตัว ซึ่งราคาเช่าหาจะถูกหรือจะแพง ก็อยู่ทีความสูงและจำนวนตอกของโค๊ตหมูที่ด้านหลังองค์พระครับ ระวังการเช่าหาด้วยนะน้องเพราะมันมีคนหัวหมอเอาพระที่ออกวัคอกหมูมาลบโค๊ตรูปหมูออกแล้วยัดวัดเป็นวัดช้างไห้ด้วย เท่าที่ทราบก็มีเท่านี้นะครับ
ขอบคุณนะครับ.ที่ยังคิดถึงกัน..
เห็นน้องนกเงียบหายไปก็คิดว่า..งานที่ บ.คงกำลังยุ่งแน่ๆ (ต้องแช่ง..! ให้ยุ่งมากๆ.. งานมีเข้ามาเยอะๆ.. ทำไม่หวาดไม่ไหว?.. จนต้องขยายกิจการ.. เพิ่มสาขา.. รับคนเพิ่ม!... จนไม่รู้จะเอาเงินไปเก็บที่ไหน?.. ห้าม!..วันนี้..พรุ่งนี้..ไม่มีอะไร?..จะทำนะจ๊ะ...)
เรื่องที่ถามมา.. ยอมรับเลยครับ.ไม่ค่อยมีความรู้เลย..( ทั้งๆที่ อ.ผม เป็นคนนครศรีฯ แต่ ตัวผมไม่กระดิก!เลย..อิอิ!! ) เลยไม่กล้าออกความคิดเห็น!... (กลัว..จะปล่อยหมู.. เอ๊ย! ปล่อยไก่...)
ที่ท่าน ramin_sukimm เขียนมา.. ผมก็ว่าใช่ครับ. ข้อมูล!..ตรงกัน และ ละเอียดชัดเจน ( นี่แหล่ะครับ...เล่นและศึกษาฯ จากความเข้าใจ?... ใช้ประสพการณ์.. ความจำ!..จากคำบอกเล่าของคนที่เราเคารพนับถือ!.. ไม่ใช่!.เอ่ะ..อ่ะ..อะไร?..ก็...ใช้..???? )
เป๋..ไปอีกแล้ว!...ขอไป..เช็คศูนย์-ถ่วงล้อ ความคิดก่อนนะ มันชอบแว่บ..เรื่อยๆ..

มีรูปให้ชมเป็นวิทยาทานไหมครับ
ไม่เป็นเหมือนกันครับ ตั้งใจว่าจะเข้ามาฟังอย่างเดียว แต่พอดีไปเจออีกข้อมูลที่่ขัดกันอยู่กับของท่านramin_sukimm ในเรื่องของกระแสเนื้อก็เลยยกมาให้พิจารณาหาข้อสรุปกันครับ
ทำไมค่านิยมในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดปี05 พิมพ์ใหญ่ เนื้อแดงกับเนื้อเหลืองถึงไม่เท่ากัน???
พระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ ในปัจจุบันนี้ซึ่งวงการพระฯ ยอมรับ มีทั้งเนื้อทองคำ นวะโลหะ(องค์พระจะบางกว่าเนื้ออื่นๆ) และโลหะผสมมี 2 วรรณะ คือ พระฯ เนื้อวรรณะแดงหล่อโดยโรงหล่อแถววัดคอกหมู และพระฯ เนื้อวรรณะเหลืองหล่อที่วัด ในวันนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ เนื้อโลหะผสมที่มีเนื้อ 2 วรรณะก่อน คือ "พระฯ เนื้อวรรณะแดง และวรรณะเหลือง” เนื่องจากมีการจัดสร้างขึ้น 2 สถานที่
ทำไมค่านิยมในพระหลวงพ่อทวด รุ่นหลังเตารีดปี05 พิมพ์ใหญ่ เนื้อแดงกับเนื้อเหลืองถึงไม่เท่ากัน???
เนื้อวรรณะแดงนั้น ทางวัดได้จ้างโรงหล่อแถววัดคอกหมูสร้างให้ ส่วนเนื้อวรรณะเหลืองทางวัดจัดสร้างขึ้นเอง โดยมีการหล่อพระฯขึ้นที่วัดช้างให้ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวการสร้างพระฯ คนที่มีความศรัทธาได้ถอดสร้อยคอทองคำบ้าง สร้อยคอนากบ้าง สร้อยคอเงินบ้าง และนำขัน ช้อน ทัพพีที่เป็นทองเหลือง หรือของใช้ในบ้านที่เป็นโลหะมาใส่ลงไปในเบ้าหลอมโลหะของทางวัด ในวันหล่อพระหลวงพ่อทวดรุ่นหลังเตารีด จึงทำให้พระฯ ที่หล่อมาได้ มีเนื้อโลหะผสมที่มีความหลากหลายมาก เช่น แก่ทองบ้าง แก่ทองเหลืองบ้าง บางองค์มีทองเป็นจ้ำๆในองค์พระฯ องค์ที่แก่เงินจะมีสีออกดำ พระฯ รุ่นนี้เมื่อทิ้งไว้นานก็จะมีเนื้อกลับดำคล้ำ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “เตารีดเนื้อกลับ” บางองค์เป็นทองคำทั้งองค์ (นัยว่ามีแค่ 2 องค์ ข้อมูลจาก คุณภิยวัฒน์ วัฒนายากร ที่ได้สัมภาษณ์คุณมานพ คณานุรักษ์ ลูกชายคนโตของนายอนันต์ คณานุรักษ์ และนายอนันต์ คณานุรักษ์เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการจัดสร้างพระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน 2497 อันโด่งดังทั่วฟ้าเมืองไทย)



เล่มเดียวกับผมเลย