วิธีดูเหรียญปล้องอ้อย พิธีพุทธไชยศรี หลวงปู่เพิ่ม - webpra

หัวข้อ: วิธีดูเหรียญปล้องอ้อย พิธีพุทธไชยศรี หลวงปู่เพิ่ม

กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ

วิธีดูเหรียญปล้องอ้อย พิธีพุทธไชยศรี หลวงปู่เพิ่ม
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 3
I3adking
ตั้ง: 17 ตอบ: 85
คะแนน: 16
รายละเอียด

เหรียญปล้องอ้อย พิธีพุทธไชยศรี หลวงปู่เพิ่ม

ช่วงนี้เหรียญหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม กำลังแรงครับ เดินไปสนามพระที่ไหนก็จะได้ยินเสียงกล่าวถึงอยู่เสมอๆ ทั้งในเรื่องพุทธคุณ และแน่ๆคือ ราคาที่พุ่งทยานแบบกราฟ exponential วันนี้กระผมขอนำทุกๆท่านไปรู้จักเหรียญดี พิธีใหญ่ ราคายังพอเก็บได้แล้วกันนะครับ เหรียญที่ว่าคือ "เหรียญปล้องอ้อย"

ที่เรียกกันว่าเหรียญปล้องอ้อย ก็เนื่องมาจากรอบขอบเหรียญด้านหน้านั่นแหละครับ มีพุทธศิลป์ที่สวยงามคือ มีปล้องอ้อยล้อมรอบอยู่จึงเป็นที่มา ของชื่อเหรียญนี้ ด้านหลังเป็นยันต์นะโมพุทธายะ เหรียญนี้สร้างเนื่องในโอกาส หาทุนสร้างอาคารเรียน โรงเรียนเพิ่มวิทยา และเป็นวาระที่มูลนิธิเพิ่มวิทยา ครบรอบ 33 ปี งานนี้มี 5 พระสมเด็จ ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ(องค์ก่อน) สมเด็จพระญาณสังวร(สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระธีรญาณมุณี สมเด็จพระวันรัต และ 219 เกจิอาจารย์ชื่อดังในขณะนั้นมอบแผ่นทอง เพื่อหลอมเป็นทองชนวน สำหรับสร้างวัตถุมงคลนี้

มูลนิธิเพิ่มวิทยาจัดพิธีมหาพุทธาภิเษก 3 ครั้ง มีเกจิอาจารย์ทั้งหมด 108 องค์มาร่วมพิธี โดยครั้งแรกจัดตลอดคืนวันที่19 ตค 2517 ครั้งที่สองจัดพิธียิ่งใหญ่ 3 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 23-25 เมย 2518 ต่อด้วยการปลุกเสกเดียวโดยเกจิอาจารย์ที่มาร่วมงานอีก 5 วัน ส่วนในครั้งสุดท้ายจัดในคืนวันที่ 25 ธค 2518 พิธีทุกครั้งจัดอย่างถูกต้องตามโบราณราชประเพณี บรรยากาศเงียบ ขลัง ไม่มีการละเล่นมหสพและไม่มีคนพลุกพล่าน

เกจิอาจารย์ดังๆที่เดินทางมาร่วมพิธีเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่เขียว วัดหรงบน, หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อคลิ้ง หลวงพ่อนำ นครศรีธรรมราช, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน, หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นต้น

บล็อคต่างๆ ของเหรียญปล้องอ้อย

ปกติแล้วเวลาปั๊มเหรียญจะเริ่มปั๊มที่โลหะที่มีราคาก่อนเช่นเนื้อทองคำ เแล้วค่อยตามด้วยเนื้อเงิน นวะ ทองแดง แต่เหรียญปล้องอ้อยนี้แปลก จะเริ่มปั๊มที่เนื้อทองแดงก่อน จากนั้นเนื้อนวะแล้วตามด้วยเนื้อเงิน แล้วปั๊มเนื้อทองคำเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อเริ่มปั๊มใหม่ๆ บล็อคยังไม่มีปัญหา จะได้เหรียญสภาพสวยแบบนี้


จะเห็นว่ามีสามบล็อคใหญ่ๆ สังเกตจากไหล่ซ้ายของหลวงปู่(ด้านขวามือของเหรียญ) เหรียญแรกไหล่จะไม่ชิดคางจะนิยมเรียกว่าบล็อคแรก ในขณะที่เหรียญตรงกลาง จะมีเส้นเล็กๆข้างๆไหล่ทางขวาเป็นจุดแยกความแตกต่างกับบล็อคแรก ภายหลังเมื่อปั๊มไปแล้วบล็อคนี้จะชำรุด มากที่สุดโดยเฉพาะที่ไหล่ จึงเรียกว่าบล็อคไหล่แตก ส่วนบล็อคที่สามไหล่จะชิดคางมีขีดเล็กๆที่หัว เราจะเห็นว่า เหรียญที่ปั๊มใหม่ๆที่ไหล่ขวาของหลวงปู่ (ด้านซ้ายมือของเหรียญ)ยังไม่มีรอยแตก ต่อมาเมื่อปั๊มไปเรื่อยๆ บล็อคเริ่มชำรุด จึงเป็นที่มาของชื่อบล็อคต่างๆ โดยมีจุดสังเกตได้ดังนี้

บล็อคแรก

บล็อคนี้ใช้ปั๊มเหรียญเนี้อทองแดง ทองแดงรมดำ เป็นหลักครับ เหรียญที่ปั๊มด้วยบล็อคนี้ ตัวเหรียญจะหนากว่าบล็อคอื่นนิดนึง นอกจากนี้บล็อคนี้ถึงแม้ว่าปั๊มไปนานๆที่ไหล่จะมีรอยแตกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 

 

บล็อคไหล่แตก (บล็อคเงิน)

บางครั้งเรียกบล็อคนิยม เนื่องจากดูง่าย บางคนก็ชอบเพราะดูแล้วขลังดี จะมีเส้นพาดจากไหล่ขวาของหลวงปู่ ลงมาถึงบริเวณจีวร ถ้าพูดถึงเหรียญ เนื้อเงิน และเนื้อทองคำจะมีแต่บล็อคไหล่แตกเท่านั้นนะครับ


 

บล็อคนวะ(หัวขีด)

พิจรณาที่บริเวณศีรษะของหลวงปู่จะมีขีดเล็กๆปรากฎอยู่ บล็อคนี้จะใช้ปั๊มเนื้อทองแดง ทองแดงรมดำ และที่สำึคัญเนื้อนวะส่วนใหญ่ จะถูกปั๊มด้วยบล็อคนี้ จึงเรียกว่าบล็อคนวะ สังเกตดีๆนะครับ เนื้อนวะสีจะออกแดงๆ อย่างที่เห็นนี้แหละครับ ถ้าสีออกม่วงๆจะไม่ใช่เป็นเหรียญที่ถูกช็อตผิวมา


ดังนั้นถึงแม้เหรียญของคุณ จะเป็นเหรียญทองแดง แต่ก็สามารถไปอวดได้ว่า เป็นทองแดง บล็อคนวะ ส่วนราคาก็แน่นอนแพงขึ้น เพราะมีขีดนี่แหละครับ

 

บล็อคกลากเล็กและใหญ่

จุดตำหนิอีกจุดหนึ่งที่นิยมนำมาเรียกชื่อบล็อคคือพิจรณาที่บริเวณจีวรตรงกลางเหรียญ จะพบตำหนิจากการที่บล็อคนวะแตกเป็นปื้นเล็กและใหญ่เลยถูกตั้งชื่อว่า บล็อคกลากใหญ่ ดังรูป

 

บล็อคไหล่จุด

มีการพิจรณาว่าด้านบนบริเวณหัวไหล่ขวาของหลวงปู่ ถ้ามีจุดอยู่บนเนื้อ เหรียญตามลูกศรชี้เห็นได้ชัดดังรูป จะเรียกตามจุดตำหนินี้ว่าไหล่จุดครับ

 

บล็อคสองขีด

หลังจากพิจรณาด้านหน้ามาแล้ว ลองมาดูด้านหลังบ้าง ด้านหลังมีจุดตำหนิที่ นิยมนำมาเรียกชื่ออีกตำแหน่งหนึ่งคือที่บริเวณใต้เลข ๒ ของปี พศ ๒๕๑๘ จะมีเส้นขีดเฉียงๆอยู่ข้างใต้ บล็อคนี้เลยถูกเรียกว่าบล็อคสองขีด ดังรูป

ปล้องอ้อยหน้าตรง

เป็นเหรียญปล้องอ้อยเหมือนกันครับ แต่หลวงปู่จะหันหน้าตรงไม่หันข้างเหมือนเหรียญอื่นๆ รูปหน้าตรงเอามาจากบล็อคเหรียญเททองปี 17 มีจำนวนการสร้างน้อยประมาณร้อยเหรียญ ดังรูป

ทีนี้เรามาลองฝึกเรียกชื่อเหรียญกันดีกว่านะครับ

เหรียญแรกเรียกว่า ปล้องอ้อยเนื้อเงิน สี่จาร ครับ ไม่ต้องมีคำว่าไหล่แตก เพราะว่าถ้าเป็นเนื้อเงินยังไงไหล่ต้องแตกอยู่แล้วครับ ราคาตอนนี้ฮอตมาก เมื่อวานผมไปเดินที่สนามพระ เจอคนที่เอามาปล่อยให้ผมเช่า เขาบอกว่าให้ผมลืมไปเลยว่าเคยเช่ามาเท่าไร แล้วให้เปิดราคามาเลยไม่ต้องเกรงใจ เขาอยากได้กลับ



เหรียญที่สองอยากเรียกเต็มยศเลยต้องเรียกว่า ปล้องอ้อยเนื้อนวะหัวขีด กลากเล็ก ใหล่จุด หลังสองขีด เป็นไงละครับมันส์จริงๆ

ยังมีลักษณะพิเคษอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เหรียญมีราคาแพงขึ้นนั่นคือผิวเหรียญมี เลื่อมพรายเหมือนสีปีกแมงทับ น่าจะเกิดจากผิวเหรียญทำปฎิกริยา กับอากาศจนเกิดออกไซด์ขึ้น อย่างไรรอภาึึึึึควิชาเคมีมาอธิบายเพิ่มเติมแล้วกันนะครับ ถ้าเจอผิวอย่างนี้ราคาจะถูกอัพขึ้นทันทีครับ ดังรูป


เหรียญทองแดงรมดำบล็อคธรรมดา บล็อคแตก บล็อคนวะ ยังพอซื้อหากันได้ ใครสนใจยังไงลองเมลล์ติดต่อมาคุยกับอ.ธิติคมเป็นการส่วนตัวแล้วกันนะครับ sctpw@mahidol.ac.th ยังพอจะช่วยหาให้ได้ครับ เพราะจำนวนสร้างประมาณ 20000 เหรียญ

ทีนี้ทดสอบความไวครับ รูปจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ลองดูนะครับว่าเรียกชื่อเรียกบล็อคได้ทันหรือปล่าว

จุดสังเกตุูเหรียญแท้เหรียญปลอม


ข้างซ้ายของยันต์นโมพุทธายะ จะมีรอยขีดๆเรียกว่ารอยขนแมว อันนี้ก็สามรถช่วยยีนยันว่าเหรียญแท้ ดังรูป

ในการพิจรณาจุดตายจริงๆของการส่องเหรียญอยู่ที่รอยตัดที่ขอบเหรียญครับ จะเห็นว่าเซียนพระบางครั้งไม่ได้ส่องที่ตัวเหรียญเลย แต่ส่องที่ขอบเหรียญนี่แหละครับ เพราะเป็นส่วนเดียวที่การทำบล็อคคอมพิวเตอร์ไม่สามารถปลอมได้ รอยตัดของ เหรียญรุ่นประมาณปี17 จะเป็นลักษณะการลงมีดดังนี้ ||||||||||||| คือจะมี ลักษณะรอยหนักๆรอยหนึ่งแล้วเว้นช่วงเป็นรอยมีดเบาๆสามสี่รอยแล้วมีรอยหนักๆ อีกครั้งหนึ่ง ดังรูปแสดงขอบของเหรียญปล้องอ้อยทั้งสองด้าน ซึ่งถ้านำเป็นเหรียญที่ปั๊มช่วงหลังจะเป็นรอยมีดตัดด้วยน้ำหนักเท่ากันหมด ||||||||||||||||||

รอยจารต่างๆที่พบบนเหรียญ

หลังการปลุกเสกได้ออกให้บูชา เนื้อทองแดงราคา 10 บาท เนื้อนวะ 15 บาท เนื้อเงิน20 บาท และทองคำทำตามจำนวนสั่งจอง และที่สำคัญเหรียญรุ่นนี้ไม่มีเหรียญใดที่ดีรับการจารเลยในพิธีสักเหรียญ เพราะเหรียญนี้จะถูกบรรจุอยู่ในซองพลาสติคซีลทั้งหมด และเมื่อปี2520 เหรียญรุ่นนี้ยังตกค้างอยู่ที่วัดทางคณะกรรมการวัดจึงนำมาเปิดให้บูชาอีก ครั้ง และในคราวนี้ ทางคณะกรรมการบ้างประชาชนบ้าง ได้นำเอาเหรียญที่เหลืออยู่ไปให้หลวงปู่เพิ่มจาร เพื่อจะนำไปให้บูชาแล้วนำเงินเข้า มูลนิธิเพิ่มวิทยา ดังนั้นเหรียญที่มีจารจึงตกอยู่กับ คณะกรรมการและประชาชนที่ไปวัดเมื่อปี2520 เสียโดยมาก ถ้าเราเทียบลักษณะความแข็งของเนื้อเหรียญ  จะพบว่าเหรียญเนื้อเงินและทองคำ เนื้อโลหะจะอ่อนกว่าเนื้อทองแดงและนวะ ดังนั้นรอยจารที่หลวงปู่จารจะได้รอยที่ลึก และคมชัดกว่า รอยจารที่ท่านนิยมจารทั่วไปจะเหมือนหลวงปู่บุญ ประกอบด้วย เฑาะว์มหาพรหม, เฑาะว์มหาอุด, อัง, มิ เป็นต้น เพราะหลวงปู่บุญและสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์นั้นท่านให้ความเคารพกันมาก ดังนั้นตำราของท่านทั้งสองจึงเหมือนกัน มาดูกันทีละจารดีกว่าครับ

เฑาะว์มหาพรหม

 

เฑาะว์มหาอุด

อัง

มิ

 

เคดิด:http://salaya.sc.mahidol.ac.th/putthasilp/plongoyy.html

 

โพสต์เมื่อ อ. - 23 ต.ค. 2555 - 12:50.04
ความคิดเห็นที่ 1:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 1
chanvitmuk
ตั้ง: 60 ตอบ: 70
คะแนน: 11
ร้านค้า:
รายละเอียด

สุดยอดได้ความรู้เยอะเลยครับ ขอบคุณครับ

โพสต์เมื่อ ศ. - 26 ต.ค. 2555 - 18:38.19
ความคิดเห็นที่ 2:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
tavin99
ตั้ง: 69 ตอบ: 243
คะแนน: 7
ร้านค้า:
รายละเอียด

สุดยอดเลยครับพี่ชาย เป็นแนวทางได้เป็นอย่างดี

+1ให้เป็นกำลังใจกันสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้ จากใจจริงเลยครับพี่ชาย

 

ขอบคุณครับ..

โพสต์เมื่อ อา. - 04 พ.ย. 2555 - 14:49.31
ความคิดเห็นที่ 3:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
กามคลองสาม
ตั้ง: 23 ตอบ: 65
คะแนน: 2
ร้านค้า:
รายละเอียด

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ แจ่มเลยจะได้สบายใจ 100% ผมมีเนื้อนวะ 1 องค์ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆๆครับ

 

โพสต์เมื่อ อา. - 04 พ.ย. 2555 - 22:15.40
ความคิดเห็นที่ 4:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
I3adking
ตั้ง: 17 ตอบ: 85
คะแนน: 16
รายละเอียด

ข้อนี้สำคัญครับ เจ็บมาเยอะ อิอิ 

นการพิจรณาจุดตายจริงๆของการส่องเหรียญอยู่ที่รอยตัดที่ขอบเหรียญครับ จะเห็นว่าเซียนพระบางครั้งไม่ได้ส่องที่ตัวเหรียญเลย แต่ส่องที่ขอบเหรียญนี่แหละครับ เพราะเป็นส่วนเดียวที่การทำบล็อคคอมพิวเตอร์ไม่สามารถปลอมได้ รอยตัดของ เหรียญรุ่นประมาณปี17 จะเป็นลักษณะการลงมีดดังนี้ ||||||||||||| คือจะมี ลักษณะรอยหนักๆรอยหนึ่งแล้วเว้นช่วงเป็นรอยมีดเบาๆสามสี่รอยแล้วมีรอยหนักๆ อีกครั้งหนึ่ง ดังรูปแสดงขอบของเหรียญปล้องอ้อยทั้งสองด้าน ซึ่งถ้านำเป็นเหรียญที่ปั๊มช่วงหลังจะเป็นรอยมีดตัดด้วยน้ำหนักเท่ากันหมด ||||||||||||||||||

โพสต์เมื่อ จ. - 05 พ.ย. 2555 - 19:16.49
ความคิดเห็นที่ 5:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
seaw2009
ตั้ง: 19 ตอบ: 215
คะแนน: 7
ร้านค้า:
รายละเอียด

ขอบคุณครับ

โพสต์เมื่อ อา. - 11 พ.ย. 2555 - 20:58.14
ความคิดเห็นที่ 6:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
จือท่าพระ
ตั้ง: 2 ตอบ: 3
คะแนน: 0
รายละเอียด

ชี้ตำหนิได้ดีมากทำให้ได้ความขึ้นมากขอชื่นชมครับ

โพสต์เมื่อ ศ. - 22 ก.พ. 2556 - 10:40.50
ความคิดเห็นที่ 7:
คะแนน ความคิดเห็นที่มีประโยชน์: 0
khonpra
ตั้ง: 14 ตอบ: 8
คะแนน: 0
ร้านค้า:
รายละเอียด

ขอบคุณครับสำหรับวิทยาทาน อยากทราบว่ารอบขอบตัดเมื่อตัดไปนานๆตอนท้ายๆรอยจะยังเหมือนเดิมหรือไม่ ใครทราบช่วยตอบที ขอบคุณครับ...

โพสต์เมื่อ พฤ. - 10 ต.ค. 2556 - 05:52.38
Top