
หัวข้อ: วิชาพระเหรียญ ขอความรู้คนละนิดนะครับพี่ๆเซียนทั้งหลาย
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ

พระเหรียญดูยังไงว่าแท้ หรือเก๊ เริ่มต้นตั้งแต่สนใจพระเครื่องผมโดนเหรียญถลุงเยอะสุด ปัจจุบันเหรียญปลอมทำได้ดีมากตามไม่ทันเลย ยิ่งเหรียญยุคใหม่ไม่มีประกันผมไม่กล้าซื้อเลย ส่วนตัวผมคิดว่าเล่นยากขึ้นครับ
ขอความอนุเคราะห์ความรู้เรื่องเหรียญจากพี่ๆทุกท่านพอเป็นพื้นฐานเป็นแนวทางในการเล่นหาสะสมครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
-ต้องมีเหรียญแท้ ๆ อยู่่ หรือเคยส่องเหรียญแท้ ๆ นั้น
-ต้องส่องจนขึ้นใจ.....หลับตาก็เห็นเหรียญนั้นได้ในความรู้สึก
-การจำตำหนินั้น........จำได้ไม่หมดหรอกครับ มีเป็นหมื่นเป็นแสนเหรียญ
-เซียนเหรียญเขาไม่จำตำหนิ.....แต่เขาจะจำจากประสบการณ์และความรู้สึกที่เคยได้ส่องสัมผัสเหรียญแท้
-เพราะหากเราจำตัวตัด......เหรียญเลี่ยมต่าง ๆ เราก็จะเช่าไม่ได้
-ให้นึกถึงเวลาเรามีเพื่อนอยู่คนหนึ่งสมัยเรียน.......เวลาผ่านมาหลายสิบปี
-หากเราเจอเพื่อนคนนั้น ถามว่าเราจำได้ไม๊......ถ้าจำได้ ลองนึกว่าเราใช้ประสาทใดบ้างในการจำเพื่อนคนนั้นได้
-เพื่อนที่เราเรียน แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนสภาพ ร่างกาย กายภาพไปเพียงใด....ทั้งรูปร่าง หน้าตา น้ำเสียง ทรงผม
-ทำไมเราพบเจอ หรือแม้เห็นแค่ข้างหลัง......เราก็ยังจำได้ เพราะอะไร
-เหรียญต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกันครับ......แม้จะสึก จะใช้มา ตำหนิหายไป แต่ก็ยังดูแท้-เก๊ได้
-ถ้ารู้ข้อมูลการสร้าง วิธีการปั๊ม แม่พิมพ์ ช่างแกะ รวมถึงของเสริมด้วย จะช่วยให้เราเล่นได้ง่ายขึ้น
-เหรียญปลอมสุดท้ายก็ได้แค่ไกล้เคียง.......ไม่มีทางเป็นแท้ได้
-สำคัญที่สุดคือต้องส่องเหรียญแท้ ๆ ให้มากที่สุด....จนภาพของเหรียญนั้นไปอยู่ในสมองเราให้ได้
-ขอให้โชคดีครับ

ศีตะปันย์:
-ต้องมีเหรียญแท้ ๆ อยู่่ หรือเคยส่องเหรียญแท้ ๆ นั้น
-ต้องส่องจนขึ้นใจ.....หลับตาก็เห็นเหรียญนั้นได้ในความรู้สึก
-การจำตำหนินั้น........จำได้ไม่หมดหรอกครับ มีเป็นหมื่นเป็นแสนเหรียญ
-เซียนเหรียญเขาไม่จำตำหนิ.....แต่เขาจะจำจากประสบการณ์และความรู้สึกที่เคยได้ส่องสัมผัสเหรียญแท้
-เพราะหากเราจำตัวตัด......เหรียญเลี่ยมต่าง ๆ เราก็จะเช่าไม่ได้
-ให้นึกถึงเวลาเรามีเพื่อนอยู่คนหนึ่งสมัยเรียน.......เวลาผ่านมาหลายสิบปี
-หากเราเจอเพื่อนคนนั้น ถามว่าเราจำได้ไม๊......ถ้าจำได้ ลองนึกว่าเราใช้ประสาทใดบ้างในการจำเพื่อนคนนั้นได้
-เพื่อนที่เราเรียน แม้ปัจจุบันจะเปลี่ยนสภาพ ร่างกาย กายภาพไปเพียงใด....ทั้งรูปร่าง หน้าตา น้ำเสียง ทรงผม
-ทำไมเราพบเจอ หรือแม้เห็นแค่ข้างหลัง......เราก็ยังจำได้ เพราะอะไร
-เหรียญต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกันครับ......แม้จะสึก จะใช้มา ตำหนิหายไป แต่ก็ยังดูแท้-เก๊ได้
-ถ้ารู้ข้อมูลการสร้าง วิธีการปั๊ม แม่พิมพ์ ช่างแกะ รวมถึงของเสริมด้วย จะช่วยให้เราเล่นได้ง่ายขึ้น
-เหรียญปลอมสุดท้ายก็ได้แค่ไกล้เคียง.......ไม่มีทางเป็นแท้ได้
-สำคัญที่สุดคือต้องส่องเหรียญแท้ ๆ ให้มากที่สุด....จนภาพของเหรียญนั้นไปอยู่ในสมองเราให้ได้
-ขอให้โชคดีครับ
....เอาไป +1...ชอบมากๆครับพี่ ..ผมก็รู้สึกแบบนี้แต่เขียนเป็นตัวหนังสือไม่เป็น......555


ขอบพระคุณพี่ศีตะปันต์มากครับ ความจริงผมชื่นชมพี่นานแล้วอยากเก่งเหมือนกับพี่ แน่นอนที่สุดต้องได้เห็นของแท้นะ ขอบคุณครับ

สมัยผมเก็บพระเหรียญใหม่ ๆ ........
เริ่มจากเดินหาเก็บเหรียญราคาถูก ( เหรียญเหมา ) โดยเก็บดะดูปีเก่าลึก ๆ จนถึงปัจจุบัน แต่ไม่เก็บเหรียญหลักเหรียญดังนะครับ
พอเก็บมาได้แล้วทีนี้ก็ศึกษา.....โดยดูลักษณะของเหรียญในยุคนั้น ๆ ขอย้ำนะครับว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเหรียญหลักเดี๋ยวจะเจอของปลอมเข้าซะก่อน
ดูว่าปี พ.ศ.นั้น ๆ ว่าเหรียญมีขอบตัดประมาณไหน โดยเทคโนโลยีในการผลิตในแต่ละยุคจะแตกต่างกัน
สำหรับกะหลั่ย...ก็จะเห็นความแตกต่างได้ว่าอายุเหรียญ 40 ปีขึ้นไป กะหลั่ยเป็นแบบไหน .... ต่ำกว่า 40 ปี กะหลั่ยเป็นอย่างไร
ผมหาข้อสังเกตุ กระทั่ง ห่วง ของเหรียญในแต่ละปี
ทีนี้หากท่านเข้าใจในธรรมชาติของโลหะ และเทคโนโลยี ในแต่ละยุคสมัยในการผลิตเหรียญ...มันก็จะเริ่มง่ายต่อการเก็บสะสมครับ
และหากเรามีเหรียญแท้ ๆ ของเกจิที่เราต้องการสะสมอยู่ในมือ ทีนี้ละ ง่ายต่อการเก็บสะสมครับ
แต่จำไว้อย่างนะครับ.......อย่าเล่นพระด้วยหู......ครับผม

ถ้าจะให้ดีต้องมีเหรียญแท้ไว้ดูก่อนครับ เพราะจะแยกได้ทันทีที่เห็นครับ พระเหรียญมีความแปลกเล็กน้อยครับตรงที่ถ้าไม่ได้ส่องนาน ๆ อาจทำให้เราสับสนได้ครับ ทางที่ดีควรมีของแท้และหมั่นส่องไว้เรื่อย ๆ ครับ จะได้ไม่ลืม และทีสำคัญพระใหม่ถ้าจะหารุ่นพิเศษใว้เพิ่มราคาควรเลือกที่มีประวัติการสร้างชัดเจนครับ เพราะเสี่ยงกับการโดนของเสริมครับ แล้วอีกอย่างครับของใหม่บล็อคคอมมันเนียนจริง ๆ ครับ ระวังด้วยนะครับ

หลักๆ ก็ตามพี่คีตะปัน ครับ
แต่ขอเสริม นิดหน่อย ครับ
ถ้าอยากได้ขอแท้ ต้องรู้จักของเก๊ด้วยครับ
เดินดูตามสนามที่ มีของเก๊ ขายเยอะๆ แล้วจำครับ
ว่า รุ่นที่เราสนใจ เก๊เป็นแบบใหน ดูเป็นพื้นฐานครับ
เจอที่ใหนให้หลบครับ สังเกตุง่ายๆ ร้านใหนมีแต่ของหลักๆดีๆ แต่เจ้าของยังซำเหมา
เก๊ ชัวร์ครับ
ยิ่งได้เห็นของเก๊กับแท้ เทียบ กัน จะช่วยจำได้ง่ายครับ

เข้ามาอ่านครับ....

ด้วยคนนะครับ
ด้วยความเคารพ

การดูพระเหรียญ เขียนตามความเข้าใจนะครับ
ผมอาจเขียนมา ท่านอ่านแล้วรู้สึกงงๆ ก็ขออภัยด้วยนะครับ ช่วงนี้นอนเยอะไปหน่อย และไม่ค่อยได้เข้ามาครับ!
(เฉพาะเหรียญเก่านะครับ เหรียญใหม่ๆ ไม่ได้ดู ใจไม่ค่อยรักษ์ครับ)
- ดูพิมพ์เหรียญ / แยกบล็อคเหรียญ
หากไม่มีเหรียญแท้ให้ดู (แน่นอนที่ผมไม่มีแน่ๆ สำหรับเหรียญหลัก) ให้ดูรูปเหรียญแท้เพื่อเปรียบเทียบหลายๆ เหรียญ หลายๆ สภาพ จดจำใบหน้าหลวงพ่อให้แม่น ให้เหมือนดูหน้าเพื่อน/คนที่เรารู้จัก (ดังเช่น ท่านอาจารย์ศีตะปันย์ เขียนแนะนำใว้) เพราะว่าเหรียญเก๊ เหรียญผิดพิมพ์มีวางขายกันมหาศาล จะได้ไม่เสียเวลาไปกับเหรียญเก๊ที่ผิดพิมพ์
แต่ทั้งนี้ต้อง แยกบล็อคให้ออกด้วย บางเหรียญ บางรุ่น (ส่วนมาก) ใช้บล็อคด้านหน้าเพียงตัวเดียว แต่ใช้บล็อคด้านหลังหลายตัว
แล้วอาจจะมีผู้สงสัยต่อ ว่าทำไมบล็อคด้านหลังถึงมีหลายตัว? คำตอบ คือ เหรียญปั๊มยุคเก่า จะปั๊มเหรียญด้านหน้าก่อนแล้วจึงมาปั๊มเหรียญด้านหลัง ด้วยแรงปั๊มที่เป็นลูกตุ้มเหล็กทิ้งลงมาที่บล็อคด้วยแรงกระทำที่มากกว่า เพื่อให้เกิดความคมชัด ทำให้บล็อคด้านหลัง ที่สมัยก่อนเรียกว่า บล็อคตัวเมีย เกิดการชำรุดไปก่อนบล็อคตัวผู้ด้านหน้าเหรียญ ยกตัวอย่างเช่น เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ปี ๒๔๖๖ (บล็อค โมมีใส้/โมไม่มีใส้ เหรียญหลวงพ่อฉุย วัดคงคารามด้วย) เหรียญหลวงพ่อเดิม ปี ๒๔๘๒ (บล็อค ดอกจันตรง ดอกจันโค้ง ดอกจันแฉก) เป็นต้น
ดังนั้น แม่นพิมพ์ยังไม่พอ ต้องรู้จักบล็อคด้วย ไม่เช่นนั้นจะเสียโอกาส หรืออาจซื้อผิดราคาได้ เช่น บล็อคนิยม บล็อคไม่นิยม หรือนิยมน้อยกว่า / หรืออาจจะเป็นบล็อคที่ไม่ทันหลวงพ่อปลุกเสก เช่น เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ บล็อคหลังเสี้ยนตอง บล็อคหลังเรียบ หรือ สมัยก่อนก็มีเหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง บล็อคหลังยันต์ห้า เป็นต้น (แต่ทั้งนี้คนที่แยกแยะเหรียญแท้เหรียญเก๊ได้แล้ว เรื่องบล็อคเป็นของหมู จึงขออนุญาตแนะนำเรื่องบล็อคเฉพาะนักสะสมที่เริ่มศึกษาครับ)
- แยกยุคสมัย แยกเทคโนโลยีการปั๊มเหรียญให้ออก
ร้านปั๊มเหรียญสมัยก่อนมีน้อยมาก และส่วนมากอยู่ในกรุงเทพฯ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมเหรียญบางเหรียญมีรูปแบบที่เหมือนกันมาก เพราะมาจากร้านเดียวกัน ช่างคนเดียวกัน และแต่ละช่วงปีจะนิยมปั๊มเหรียญในรูปแบบใด เช่น ช่วงปี ๒๔๖๐ นิยมสร้างเป็นเหรียญรูปทรงอาร์ม เช่น เหรียญพระพุทธโสธร เหรียญหลวงพ่อวัดไชโย เป็นต้น
(ยังไม่รวมถึงการพิจารณาจากรูปแบบของเหรียญที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละแขวง (จังหวัด) ที่มีการออกแบบเหรียญ/ยันต์ ที่เหมือนกันมากๆ เพียงดูนิดเดียวก็พอรู้ว่า เป็นเหรียญโซนจังหวัดใด เช่น เหรียญเกจิยุคเก่าของเมืองราชบุรี เป็นต้น และยังไม่รวมถึง "ฐานานุกรม" คือ คำต่อท้ายของ "พระครู" ที่แต่ละแขวง (จังหวัด) กำหนดไว้ไม่เหมือนกัน ถ้าใครแม่นตรงนี้ จะรู้ที่มาที่ไปของเหรียญได้เร็วกว่าคนอื่นมากครับ)
แต่ที่สำคัญที่สุดต้องรู้ว่าเหรียญแต่ละเหรียญมีลักษณะเฉพาะเช่นใด เป็นเหรียญข้างตัดด้วยเลื่อย หรือ ปั๊มแบบข้างกระบอก
เหรียญที่เป็นข้างตัดเลื่อย เช่น เหรียญพระพุทธโสธร ปี ๒๔๖๐ เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ปี ๒๔๖๗ จะเห็นว่าเหรียญที่ตัดข้างด้วยเลื่อยส่วนมากจะเป็นเหรียญอาร์ม/เสมา
ส่วนเหรียญปั๊มแบบข้างกระบอก ส่วนมากจะเป็นเหรียญทรงกลม รูปไข่ เช่น เหรียญหลวงปู่ศุข ปี ๒๔๖๖ เหรียญหลวงพ่อเดิม ปี ๒๔๘๒ ฯลฯ (มีเยอะ) ส่วนเหรียญปั๊มข้างกระบอกที่เป็นทรงเสมาก็มี แต่น้อยมาก เช่น เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เฉพาะพิมพ์ขอเบ็ด ปี ๒๔๖๙ เหรียญพระครูเดิม ปี ๒๔๗๐ เหรียญหลวงพ่อจง ปี ๒๔๘๕ (มีน้อยมากๆ) ทั้งนี้จะต้องแยกให้ออกว่าเหรียญทั้ง ๒ แบบ แตกต่างกันอย่างไร บางครั้งอาจต้องรู้ถึงยันต์ที่นิยมใช้ปั๊มเหรียญในยุคนั้นประกอบการพิจารณาด้วย เช่น ยันต์ตรีนิสิงเหแบบตัวเลข เป็นยันต์ที่นิยมใช้กับเหรียญในช่วง ปี ๒๔๖๓ ไม่เกิน ปี ๒๔๗๐ เพราะหลังจากนั้นนิยมปั๊มเป็นยันต์ตรีนิสิงเหแบบอักขระ หรือในบางครั้งเห็นกันว่า ทำไมเหรียญแท้บางเหรียญปั๊มยันต์ด้านหลังเขยื้อนหรือเอียง หรือดูรอยปลิ้นของหูเหรียญที่เกิดจากการเจาะต้องเป็นเช่นไร ก็ต้องสนใจด้วย บางคนบอกถึงขนาดเป็นจุดตาย (ว่างั้น) เช่น ด้านหลังเหรียญและรอยปลิ้นของหูเหรียญในเหรียญ พระพุทธชินราชหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เหรียญหลวงพอเงิน วัดดอนยายหอม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ผมคิดว่าควรศึกษาจดจำ จะได้ไม่เสียโอกาสครับ
สำหรับตัวตัดจะมีมากในเหรียญช่วงปี ๒๔๙๐ ขึ้นมา - ปัจจุบัน เหรียญช่วงนี้จะเป็นการตัดแบบแผ่ว เส้นตัดจะไม่คมลึก และส่วนใหญ่จะมีตัวตัดเพียงตัวเดียว (ปัจจุบันมีมากกว่า ๒ ตัว) หากนักสะสมมือใหม่ที่ยังไม่เข้าใจในตัวตัด แนะนำให้หาเหรียญแท้ที่ค่านิยมไม่สูง มาส่อง พิจารณาเปรียญเทียบกัน ๒ เหรียญ จะเห็นความเหมือนของตัวตัด ที่เป็นตัวเดียวกันครับ
- ความคมชัด / สิ่งลี้ลับบนพื้นเหรียญ
ธรรมชาติของเหรียญปั๊มความคมชัดต้องมาก่อน เหรียญที่ผ่านการใช้จนสึกลบเลือน แต่ส่วนที่อยู่ลึกที่ไม่โดนสัมผัสก็ยังต้องคมชัดอยู่ (ปัจจุบันเหรียญเก๊ก็ทำมาหลายสภาพ) ด้านอักขระต่างๆ เหรียญปั๊ม ต้องคมชัดเป็นแท่งไม่มีล้ม (เหรียญเก๊ถอดพิมพ์จะดูง่าย) พื้นเหรียญต้องไม่บวม (เก๊ เหรียญบวมดูไม่ยาก ยกเว้นอยู่ในเลี่ยม จะดูยากหน่อย)
ส่วนตำหนิเหรียญ ไม่แนะนำให้จดจำมากครับ เพราะเหรียญคณาจารย์ยุคเก่าของเรามีเยอะมาก มัวไปจำตำหนิคงไม่ใหว และ อันตราย (เหรียญเก๊ตำหนิก็มีครบ ต้องดูส่วนอื่นประกอบด้วย)
สิ่งลี้ลับบนพื้นเหรียญ เกิดจากขั้นตอนการปั๊มเหรียญ คือ ต้องมีการรีดแผ่นโลหะให้เรียบ และทำให้โลหะอ่อนตัวลงโดยการให้ความร้อนก่อนปั๊มขึ้นรูปเหรียญ และเข้าเครื่องปั๊มด้วยแรงกระแทกมหาศาล ทำให้เกิดเส้นเล็กๆ บางๆ แต่คมชัด บนพื้นเหรียญ (ตรงนี้สามารถนำไปใช้ในการดูพระรูปเหมือนปั๊มได้ด้วย) ในขั้นตอนของการรีดแผ่นโลหะนี่เอง ที่บางครั้งรีดแผ่นโลหะได้ไม่เรียบในบางจุด ทำให้พื้นเหรียญบางเหรียญเป็นแอ่ง หรือมีสนิมขุม อยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน สรุปคือ ต้องเข้าใจธรรมชาติขั้นตอนการปั๊มเหรียญประกอบการพิจารณาด้วยครับ
- คุณค่าของเหรียญแต่ละเหรียญ
คือ ที่ผมคิดเอง ส่วนตัวมองว่า "คุณค่าของเหรียญ" มาก่อน "ค่านิยม" ครับ
เขียนมาตามความเข้าใจ หากผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ
ก็น่าจะพอเดินลุยหาเหรียญแท้ในสนามได้บ้างครับ ตรงนี้ผมมองว่าเป็นวิชาชีพของพวกเรานะ
(แต่ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับพระของเซียนนะครับ เพราะผมไม่ชอบเข้าหาเซียน และไม่ชอบไปงานประกวดด้วยครับ ผมเหม็นควันบุหรี่ ท่านใดเป็นเหมือนผมบ้าง 55+)
ขอบคุณเพื่อนสมาชิกและท่านเจ้าของกระทู้ที่เปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็นครับ

เพิ่มเติม
อย่า เชื่อ ตำหนิใน หนังสือและ ใช้ เป็นจุดตายตัดสิน เก๊แท้
เพราะไอ้ พวก ทำ เก๊ มัน ก็ อ่านหนังสือออก มันแกะบล๊อกเก๊ ตาม ใน หนังสือ นั้นแ
หล่ะ
พระ ที่ ลง หนังสือไม่จำเป็นว่า จะ แท้ ทุก องค์
มันทำ เป็นขบวนการ ทำหนังสือเก๊ ออกมาเพื่อหลอกให้คน ไขว้เขว แล้ว ขาย ของ เก๊ เป็น ของแท้ก็มีครับ

ในนามผู้กระทู้ ต้องขอกราบขอบพระคุณพี่ๆเซียนผู้มีประการณ์ทุกท่านที่ได้แบ่งปันประสบการณ์มา ณ ที่นี้ ผมเชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใฝ่รู้และคงไปหาอ่านที่ไหนได้ยาก(จริงๆ) ส่วนตัวผมการได้อ่านได้ฟังเรื่องแบบนี้ไม่รู้สึกเบื่อเลย อ่านได้เรื่อยๆฟังได้เรื่อยๆ
อีกครั้งในนามผู้ตั้งกระทู้ต้องขอกราบขอบพระคุณ พี่บอย พิจิตร เป็นพิเศษไว้ ณ ที่นี้ด้วย ครับ

กระทู้นี้ถือว่ามีประโยชน์มากครับ ผมในฐานะอาศัยบ้านหลังนี้ก็ขอแบ่งแนวทางของผม เผื่อเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ
พระเหรียญนั้น เกิดจากการปั้มหรือการขึ้นรูปโลหะ (Pressing Process) ซึ่งเครื่องจักรประเภทนี้เข้ามาเมืองไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 มีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
องค์ประกอบสำคัญของการขึ้นรูปโลหะคือ
1.แม่พิมพ์หรือ Die (Man)
2.เครื่องจักรหรือเครื่องขึ้นรูปโลหะ (Machine)
3.วิธีการ (Method)
4.วัสดุ (Material)
ซึ่งทั้งสี่หัวข้อนี้มีความสำคัญและสอดคล้องสัมพันธ์ในกระบวนการผลิตทั้งสิ้น
ผมขอแบ่งปัน หัวข้อสนทนาไว้เท่านี้ครับผม
ขอบคุณครับ

ขอผ่านเหนือจากการพิจารณาขั้นพื้นฐานนะครับ อันนั้นมันเด็กๆ
ถ้ามีพระแท้จริงๆ
จงมองหน้าพระคิดซะว่าให้เป็นหน้าคน แล้วซึมซับอารมณ์ที่หน้าพระในเหรียญแสดงออกมาครับ
จดใจให้ได้ พูดไปเหมือนง่ายนะครับ แต่จริงๆ มันก็อยู่ที่เรามีพรสวรรค์รึเปล่า

ผมขออนุญาตเพิ่มเติมอีกหน่อยครับ ผมเป็นมือใหม่เพิ่งหัดศึกษาครับ ยังไงก็ขอฝากตัวกับพี่ๆ ด้วยครับ
สมัยผมเริ่มศึกษาใหม่ๆ
อันดับแรก ผมก็เริ่มจากศึกษาพื้นฐานเบื้องต้น (วิทยาศาสตร์(รูปธรรม)+โบราณคดี+ไสยศาสตร์(นามธรรม)+นิทานพื้นบ้าน) ควบคู่กันไป
อันดับสอง เป็นภาคปฏิบัติ เริ่มต้องหาของแท้ (เอาละหว่า หาของแท้ที่ไหน) ยิ่งถ้าเป็นพระหลักยอดนิยม นี่คือปัญหาใหญ่ (สมมุตว่าเจอของแท้) ก็โชคดีไม่หลงทาง
อันดับสาม เมื่อดูของแท้บ่อยๆ ก็นำมาวิเคราะห์ (วนกลับไปพื้นฐาน) เพื่อหาจุดยืนของตัวเอง ปรึกษาอาจารย์บ้างอะไรบ้างเพื่อเพิ่มความรู้
อันดับสี่ พอเีิ้ริ่มเป็นทีนี้ก็เริ่ม เช่า-บูชาเอง โดยนำจุดยืนของตัวเองเป็นพื้นฐานการวิเคราะห์ พอเช่ามาแล้วไม่แน่ใจ ก็อาจส่งเข้างานประกวดหรือให้ผู้ที่มีความชำนาญตรวจการบ้าน เพื่อเพิ่มความมั่นใจ (แท้โชคดี หรือ เก๊เจ็บตัว) แต่ไม่เป็นไร เป็นประสบการณ์แล้วจะจำแม่น
อันดับห้า ที่นี้ก็เริ่มวน อันดับ (สาม+สี่) ซ้ำไปซ้ำมาระยะเวลาไม่แน่นอนเอาเป็นว่าบ่อยๆๆๆ จนเกิดเป็นประสบการณ์ความชำนาญ อายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเป็นผู้รู้ผู้ชำนาญท่านหนึ่ง (ย้ำว่าต้องไม่หลงทางนะครับ)
อันดับสุดท้าย พอมีของเยอะแยกเป็นสองแบบ (ศึกษาเพื่อสะสม + ศึกษาเพื่อธุระกิจ)
หมายเหตุ
ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง ขำๆ นะครับ แฟนผมไม่ค่อยสนใจพระเครื่อง แต่เห็นผมสะสมไว้เยอะ วันดีคืนบอก เลือกพระที่มีอยู่ให้สักองค์สิ เอาละทีนี้ ก็เลือกอยู่นาน ดูวันเดือนปีเกิด เยอะแยะไปหมด พอได้ก็เอาไปให้ มีคำถามตามมา
ถาม ทำไมถึงเลือกองค์นี้ให้
ตอบ (นึกในใจที่นี้เป็นที่ของผมละ) อาศัยความรู้ที่มีทั้งหมดอธิบาย นิทานพื้นบ้าน + ไสยศาสตร์ ล้วนๆ ครับ ที่ผมใช้อธิบายแฟนผม เห็นสายตาและความภูมิใจที่ได้พระไป แค่นี้ผมมีความสุขแล้วครับ
เป็นพี่ๆ จะเลือกอธิบายแบบไหนครับ
โชคดีทุกท่าน สวัสดีครับ
ปล ยอดธงรุ่นหนึ่งหลวงพ่อคูณปริสุทโธ เนื้อทองคำ (รุ่นทูลเกล้าถวาย) องค์นี้แหละครับ นิทานพื้นบ้าน + ไสยศาสตร์ ล้วนๆ



ขอบคุณที่ชมครับ
ทั้งตัวและหัวใจ ผมก็ให้ไปหมดแล้วครับ คุณ หนุ่มเหนือ

***ภูมิใจแทนคุณ อ๊อฟ จริง ๆ พระสวยมากครับ เลี่ยมทองฝังเพชรด้วย
**สำหรับผม แชร์เคล็ดลับง่าย เหรียญที่จะเป็นของแท้ นั้น ต้อง คม ชัด ลึก ธรรมชาติบนพื้นผิว ต้องได้ ดูแล้วไม่สงสัย
**ตัวอย่างเหรียญนี้ที่ได้มา(ด้วยความภาคภูมิใจ) เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ. บุรีรัมภ์ สร้างปี 2513 จำนวน 1000 เหรียญ มีเนื้อทองแดงชนิดเดียวเท่านั้น เป้นเหรียญที่ค่อนข้างหายาก สนนราคาค่านิยมหลักหมื่นปลาย ปัจจุบัน จะหาเหรียญที่มีสภาพเช่นนี้นั้นโอกาสยากมาก

