
หัวข้อ: พระสมเด็จบางขุนพรหมอายุร้อยปีขึ้น/
กระทู้ และ ความคิดเห็นต่างๆ
เป็นไปได้มั๊ยครับที่พระสมเด็จเช็คทางวิทยาศาสตร์แล้วฟันธงอายุประมาณ140ปีขึ้นเป็นของปลอม?

การวัดคำนวณอายุของวัตถุโบราณทางวิทยาศาสตร์ก็คงจะใช้การปฏิบัติการณ์ C -14 หรือ Carbon 14 ซึ่งสิ่งของที่จะสามารถวัดอายุโดยที่มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ก็จะต้องมีอายุเกินกว่า 300 ปี ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60,000 ปี และมีจุดความคลาดเคลื่อนเผื่อเอาไว้ที่ 180 ปี - 200ปี ( Dr. Willard F. Libby ) โดยวัดจากธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในวัตถุนั้นๆ ( radiometric dating ) ซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบันก็ใช้ วิธี C-14 ตรวจดูอายุวัตถุโบราณเพียงวิธีเดียวเท่านั้น วิธีอื่นๆยังไม่เคยได้ยินข่าวทางการศึกษาหรือค้นคว้าว่ามี
ทีนี้จากกระทู้ที่ว่า "เป็นไปได้ไหม ที่พระสมเด็จเช็คทางวิทยาศาสตร์แล้วฟันธงอายุประมาณ 140 ปี ขึ้นเป็นของปลอม" ก็ต้องมาดูกันละครับว่า เช็คทางวิทยาศาสตร์น่ะ เช็คโดยวิธีไหน เพราะถ้าทาง C-14 เป็นไปไม่ได้เลย เพราะทฤษฏีได้กำหนดเอาไว้แล้วว่า C-14 มีข้อจำกัดที่จะวัดอายุของวัตถุโบราณที่มีอายุต่ำกว่า 300ปี ลงมาไม่ได้ แต่พระสมเด็จไม่ว่าจะเป็นของ วัดระฆัง หรือบางขุนพรหม ก็มีอายุที่ประมาณเอาไว้ว่าคงไม่เกิน 150 ปี เป็นอย่างสูง ก็คงปิดประตูสำหรับทฤษฎีนี้ไปโดยปริยาย ทีนี้ในทางปฏิบัติ ซึ่งก็คงจะไม่มีเจ้าของพระสมเด็จที่เป็นพระแท้ๆ ราคาองค์ละหลายๆแสน ถึงหลายๆล้าน หรือพระสมเด็จที่ดูว่าน่าจะแท้ ประสาทกลับนำพระไปทดลองทดสอบตรวจหาอายุพระเป็นแน่ เพราะการทดสอบหาอายุของวัตถุโบราณทางกรรมวิธีปฎิบัติการ C-14 นั้น เป็นการปฎิบัติในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในเมืองไทยก็คงมีไม่กี่ที่ ซึ่งแผนกโบราณคดีของกรมศิลปากร ไม่ทราบว่ามีใช้หรือยัง (ถ้ามีแล้ว ก็ขออภัยด้วย ครับผม) เพราะการทดลองที่ได้อ่านในตำรับตำรามา เขาจะนำวัตถุที่ต้องการตรวจหาอายุ นำมาทำความสะอาดเพื่อกำจัดสารที่เจือปนและสิ่งสกปรกออกจนหมด แล้วนำไปเผาที่อุณหภูมิประมาณ 1,000 องศาเซลเซียสในหลอดแก้ว ซึ่งความร้อนระดับนี้อย่าว่าแต่พระเนื้อผงเลยครับ โลหะเนื้อแข็งก็ละลาย แล้วเนื้อผงก็คงเป็นจุลไปหมด เมื่อเผาก็จะได้ก๊าซที่มีอะตอมของ C-14 ส่งผ่านไปยังอุปกรณ์วัดกัมมันตรังสีเพื่อวัดอายุต่อไป ดังนั้นตัดปัญหาเรื่องนำพระแท้ไปทดสอบได้เลยครับ ทีนี้ถ้าเป็นพระเก๊..ล่ะ..จะนำไปตรวจสอบไหม ถามว่า...ใครจะนำไปทดลอง เพราะการทดลอง ไม่เหมือนการการตรวจเยี่ยว...เอ๊ย..ทานโทษ..ครับ..ตรวจปัสสาวะ ที่นำเอาน้ำยามาหยดใส่ ก็รู้ผลแล้ว แต่ต้องเป็นการตรวจสอบในห้องทดลอง ถามว่า ค่าใช้จ่ายใครจะเป็นคนจ่าย เจ้าของพระเก๊ องค์ละไม่กี่ร้อยบาท น่ะ หรือจะเป็นคนจ่าย จึงเป็นไปไม่ได้หรอกครับ... ที่ตรวจเช็คทางวิทยาศาสตร์แล้วบอกว่าอายุ 140 ปี ขึ้น แล้วบอกว่าเป็นของปลอม ขอประทานโทษ...ผมว่า...โม้..มากกว่า... ครับผม..
ผมอยากส่งรูปพระองค์ที่ว่ามาให้ดูกันว่าแท้หรือปลอม เพราะมีคนจะปล่อยให้แต่ลงรูปไม่ได้ครับ ไม่ทราบว่าต้องทำไงครับ

ย่อภาพ ขนาดซัก 100 kb โพสได้แน่นอนครับ รอดูอยู่ครับ
องค์ที่2 รบกวนพี่ๆดูให้ทีนะครับว่าแท้มั๊ย/ราคาควรอยู่ที่เท่าไหร่ถึงควักกระเป๋าจ่ายได้ ขอบคุณครับ


องค์ที่2 รบกวนพี่ๆดูให้ทีนะครับว่าแท้มั๊ย/ราคาควรอยู่ที่เท่าไหร่ถึงควักกระเป๋าจ่ายได้ ขอบคุณครับ



รูปถ่าย ควรถ่ายด้านหน้าให้เห็นเต็มทั้งองค์ จะทำให้พิจารณาได้ถูกต้องแน่นอนมากขึ้น องค์แรกดูแล้วคงเป็นพิมพ์ใหญ่ เก๊ ครับ เป็นพระถอดพิมพ์มา ทำให้พิมพ์ตื้นเขิน ผิดพิมพ์เพี้ยนไปหลายจุด องค์ที่ 2 ภาพถ่ายไม่เห็นฐานล่าง เข้าใจว่าคงจะเป็นพิมพ์เส้นด้าย เก๊ อีกเหมือนกันครับ เป็นพระผิดพิมพ์ สรุป เก๊ ทั้ง 2 องค์ ทั้ง พิมพ์ เนื้อหา และคราบกรุ ยังห่างจากของจริงเยอะ ครับผม