เหรียญปล้องอ้อย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ไหล่แตก(บล็อคเนื้อเงิน) ปี 2518 เนื้อทองแดง-ปูอ้วน - webpra
  • เหรียญเจ้าสัว วัดกลางบางแก้ว
    คำว่า เจ้าสัว เป็นภาษาจีน มีความหมายถึงคหบดีผู้มีฐานะความร่ำรวยกว่าชาวบ้านทั่วๆ ไป และเป็นผู้มีฐานะร่ำรวยกว่าคำว่า เถ้าแก่ หลายเท่านัก ด้วยเหตุนี้คำว่าเจ้าสัว จึงเป็นมงคลนามที่ชาวจีนนิยมชมชอบกันมาก
  • สมเด็จตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    สุดยอดเกจิ แห่งเมืองสุพรรณ ผู้แก่กล้าวิชา ผู้ชำนาญด้านไสยศาสตร์ มีความรู้ความชำนาญคาถาอาคมมากมาย ตั้งแต่สมัยเก่าก่อนจนถึงปัจจุบัน และหนึ่งในนั้นก็คือ หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิตฺโต (พระครูสุวรรณวุฒาจารย์) วัดดอนไร่ อ.สามชุก ด้วยความที่ท่านมีอายุยืนยาวถึง ๘๕ ปี จึงได้รับการขนานนามว่า “พระเกจิอาจารย์ผู้มีอายุยืนยาว ๕ แผ่นดิน”
  • Page 1
  • Page 2
ยินดีต้อนรับทุกท่าน สนใจสอบถามได้ตลอดเวลา ขอบพระคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมครับ

หมวด หลวงปู่บุญ – หลวงปู่เพิ่ม – หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว

เหรียญปล้องอ้อย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ไหล่แตก(บล็อคเนื้อเงิน) ปี 2518 เนื้อทองแดง

เหรียญปล้องอ้อย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ไหล่แตก(บล็อคเนื้อเงิน) ปี 2518 เนื้อทองแดง - 1เหรียญปล้องอ้อย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ไหล่แตก(บล็อคเนื้อเงิน) ปี 2518 เนื้อทองแดง - 2
ชื่อร้านค้า ปูอ้วน - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญปล้องอ้อย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ไหล่แตก(บล็อคเนื้อเงิน) ปี 2518 เนื้อทองแดง
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ หลวงปู่บุญ – หลวงปู่เพิ่ม – หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ Poozeed@gmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 26 ก.ย. 2559 - 20:35.14
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 26 ก.ย. 2559 - 20:39.48
รายละเอียด
เหรียญปล้องอ้อย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ไหล่แตก(บล็อคเนื้อเงิน) หลัง 2 ขีด นิยมหายากสุดๆ ปี 2518 เนื้อทองแดง

สร้างเนื่องในโอกาส หาทุนสร้างอาคารเรียน โรงเรียนเพิ่มวิทยา และเป็นวาระที่มูลนิธิเพิ่มวิทยา ครบรอบ 33 ปี งานนี้มี 5 พระสมเด็จ ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ(องค์ก่อน) สมเด็จพระญาณสังวร(สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระธีรญาณมุณี สมเด็จพระวันรัต และ 219 เกจิอาจารย์ชื่อดังในขณะนั้นมอบแผ่นทอง เพื่อหลอมเป็นทองชนวน สำหรับสร้างวัตถุมงคลนี้

มูลนิธิเพิ่มวิทยาจัดพิธีมหาพุทธาภิเษก 3 ครั้ง มีเกจิอาจารย์ทั้งหมด 108 องค์มาร่วมพิธี โดยครั้งแรกจัดตลอดคืนวันที่19 ตค 2517 ครั้งที่สองจัดพิธียิ่งใหญ่ 3 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 23-25 เมย 2518 ต่อด้วยการปลุกเสกเดียวโดยเกจิอาจารย์ที่มาร่วมงานอีก 5 วัน ส่วนในครั้งสุดท้ายจัดในคืนวันที่ 25 ธค 2518 พิธีทุกครั้งจัดอย่างถูกต้องตามโบราณราชประเพณี บรรยากาศเงียบ ขลัง ไม่มีการละเล่นมหสพและไม่มีคนพลุกพล่าน

เกจิอาจารย์ดังๆที่เดินทางมาร่วมพิธีเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่เขียว วัดหรงบน, หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อคลิ้ง หลวงพ่อนำ นครศรีธรรมราช, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน, หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นต้น

ปกติแล้วเวลาปั๊มเหรียญจะเริ่มปั๊มที่โลหะที่มีราคาก่อนเช่นเนื้อทองคำ เแล้วค่อยตามด้วยเนื้อเงิน นวะ ทองแดง แต่เหรียญปล้องอ้อยนี้แปลก จะเริ่มปั๊มที่เนื้อทองแดงก่อน จากนั้นเนื้อนวะแล้วตามด้วยเนื้อเงิน แล้วปั๊มเนื้อทองคำเป็นลำดับสุดท้าย

จะเห็นว่ามีสามบล็อคใหญ่ๆ สังเกตจากไหล่ซ้ายของหลวงปู่(ด้านขวามือของเหรียญ) เหรียญแรกไหล่จะไม่ชิดคางจะนิยมเรียกว่าบล็อคแรก ในขณะที่เหรียญตรงกลาง จะมีเส้นเล็กๆข้างๆไหล่ทางขวาเป็นจุดแยกความแตกต่างกับบล็อคแรก ภายหลังเมื่อปั๊มไปแล้วบล็อคนี้จะชำรุด มากที่สุดโดยเฉพาะที่ไหล่ จึงเรียกว่าบล็อคไหล่แตก ส่วนบล็อคที่สามไหล่จะชิดคางมีขีดเล็กๆที่หัว เราจะเห็นว่า เหรียญที่ปั๊มใหม่ๆที่ไหล่ขวาของหลวงปู่ (ด้านซ้ายมือของเหรียญ)ยังไม่มีรอยแตก ต่อมาเมื่อปั๊มไปเรื่อยๆ บล็อคเริ่มชำรุด จึงเป็นที่มาของชื่อบล็อคต่างๆ โดยมีจุดสังเกตได้ดังนี้

1 บล็อคแรก
2 บล็อคไหล่แตก (บล็อคเงิน)
3 บล็อคนวะ(หัวขีด)
4 บล็อคกลากเล็กและใหญ่
5 บล็อคไหล่จุด
6 บล็อคสองขีด

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top