หมวด พระเกจิภาคกลางตอนล่าง
รูปหล่อหลวงพ่อบุญชู วัดหัวว่าว รุ่นแรก อุดผงอิทธิเจ โชว์ครับ พร้อมกล่องเดิม




ชื่อร้านค้า | เอเมืองสิงห์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | รูปหล่อหลวงพ่อบุญชู วัดหัวว่าว รุ่นแรก อุดผงอิทธิเจ โชว์ครับ พร้อมกล่องเดิม |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคกลางตอนล่าง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 086-7915427 |
อีเมล์ติดต่อ | a.thanasan@yahoo.com |
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 06 ก.ย. 2558 - 17:20.35 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 22 ส.ค. 2559 - 11:27.24 |
รายละเอียด | |
---|---|
ประวัติหลวงพ่อบุญชู ประวัติพระครูวิชาญพัฒนกิจ (บุญชู ธมฺมรโต) อดิตเจ้าอาวาสวัดหัวว่าว ตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ชาติภูมิ นับแต่บรรพบุรุษ (รุ่นแรก) นับแต่กำนันทองก้อนเป็นต้นมาแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาโดยกำเนิดและสืบสานเรื่อยมา จนถึงรุ่นคุณปู่ย้อย เปรมปรี และ คุณย่าใคร (เทียนมงคล) เปรมปรี มีบุตร-ธิดา 5 คน โดยมีนาย ละเมียด เปรมปรี (ซึ่งเป็นโยมบิดา) เป็นบุตรชายคนโต คุณตาจาน บางขาม และ คุณยายสี บางขาม มีบุตร-ธิดา 7 คน โดยมี : นาง ละมูล (บางขาม) เปรมปรี (ซึ่งเป็นโยมมารดา) เป็นบุตรสาวคนโต นายละเมียด เปรมปรี ได้สมรสกับ นาง ละมูล (บางขาม) เปรมปรี มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 6 คน คือ 1 นาย บุญชู เปรมปรี (ท่านพระครูวิชาญพัฒนกิจ (บุญชู ธมฺมรโต)) 2 นาย ชั้น เปรมปรี 3 นายช้อน เปรมปรี 4 นางประนอม แจ่มกระจ่าง 5 นางสละ ตาระเกตุ 6 นายจันทร์ เปรมปรี พระครูวิชาญ พัฒนกิจ : (บุญชู ธมฺมรโต) นามเดิมบุญชู นามสกุล เปรมปรี ฉายาธมฺมรโต เกิดวันที่ 7 เมษายน 2480 ตรงกับ ปีฉลู ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 11 วันพุธ สถานที่เกิด ณ บ้านเลขที่ 36 หมู่ที่ 4 ตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี การศึกษา เมื่อเยาว์วัยได้เล่าเรียนอักษรสมัยภาษาไทยตามความนิยม ในสมัยนั้นจาก ปู่-ย่า ญาติ-ตลอดจนโยมบิดา-มารดาเป็นต้นจนอ่านออกเขียนได้พอประมาณ ต่อมาได้เข้าเรียนที่ชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหัวว่าว จนจบหลักสูตรชั้นประถมศึกษาบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2493 ในระหว่างเรียนสายสามัญอยู่นั้น ก็ได้มีความสนใจศรัทธา ทางธรรมะ และคลุกคลีอยู่กับพระภิกษุ-สามเณร มาตลอด บรรพชา จากที่ท่านเป็นผู้มีความสนใจ และเสื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เยาว์วัยนั้น ทางญาติ-โยม จึงได้ปรึกษาหารือกัน และเห็นว่ามีแววที่จะเป็นช้างเผือกในวงการศาสนาได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยก้าน-หน้าตา โดยมีเฉพาะเสียงที่ดังกังวาน น่าจะเป็นนักเทศน์ที่ดีได้ จึงตกลงให้การสนับสนุนและได้ถาม ความสมัครใจและในที่สุดจึงได้นำไปฝากหลวงพ่อทองอดีตเจ้าอาวาส ในขณะนั้น และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้เข้าศึกษา ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมและหลักสูตรการศึกษาพิเศษเรื่อยมา 4. อุปสมบท เมื่อวันที่ 24 เมษายน ปี พ.ศ. 2500 ท่านอายุครบ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดสังฆราชาวาส ตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระราชสิงหวรมุณี (ทรัพย์) อดีตเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เป็นอุปัฌชาย์ หลวงพ่อทอง วัดหัวว่าวเป็นพระกรรมวาจาจารย์พระครูสิทธิ์วรคุณ วัดสังฆราชาวาส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า “ธมฺมรโต” เมื่ออุปสมบทแล้ว ในระยะแรกได้ไปจำพรรษา ณ วัดเสาธงทอง เพื่อนเข้าศึกษาโรงเรียน ปริยัติธรรม หลักสูตรนักธรรม จนจบนักธรรมเอกในปะ พ.ศ.2504 และหลังจากนั้นได้ย้ายมาจำพรรษา ที่วัดหัวว่าว เพื่อมาปรนนิบัติหลวงพ่อทองเจ้าอาวาส ขณะนั้นซึ่งกำลังอาพาธอยู่ และต่อมาได้ถึงแก่มรณภาพลง จึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าอาวาสในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา การศึกษาพระปริยัติธรรม และการศึกษาพิเศษ ดังได้กล่าวแล้ว ท่านได้เข้าศึกษาโรงเรียนปริยัติธรรม หลักสูตรนักธรรมสำนักเรียนวัดเสาธงทอง มาตั้งแต่เริ่มอุปสมบทใหม่ ๆ และได้ศึกษาเพิ่มเติมหลักสูตรพิเศษอื่น ๆ พร้อมกันไปด้วย จนจบหลักสูตรและได้รับวุฒิบัตรดังนี้ พ.ศ. 2502 – สอบนักธรรมชั้นตรีได้ สำนักเรียนวัดเสาธงทอง พ.ศ. 2503 – สอบนักธรรมชั้นโทได้ สำนักเรียนวัดเสาธงทอง พ.ศ. 2504 – สอบนักธรรมเอกได้ สำนักเรียนวัดเสาธงทอง -ประกาศนียบัตร หลักสูตรพระอภิธรรมแผนกปรมัตถธรรม 2 สำนักเรียนวัดมหาธาตุวิทยาลัย (กทม.) ฃ วิทยฐานะ พ.ศ. 2493 – สำเร็จการศึกษา ชั้นประถมศึกษาบริบูรณ์จากโรงเรียนวัดหัวว่าว ตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี พ.ศ. 2504 – จบหลักสูตรนักธรรมเอก สำนักเรียนวัดเสาธงทอง อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี -ประกาศนียบัตรหลักสูตรพระอภิธรรมแผนกปรมัตถธรรม สำนักเรียนวัดมหาธาตุวิทยาลัย (กทม.) การศึกษาพิเศษ มีความชำนาญในด้าน นวกรรมการก่อสร้างโดยเฉพาะงานไม้ งานก่ออิฐถือปูนและงานโครงสร้างต่าง ๆ สมณศักดิ์ พ.ศ. 2512 –ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูประทวน สมณศักดิ์ ที่ “พระครูวิชาญพัฒนกิจ” พ.ศ. 2521 –ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้น ตรีที่ “พระครูวิชาญพัฒนกิจ” พ.ศ. 2527 –ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูวิชาญพัฒนกิจ เจ้านอาวาสราษฎร์ชั้น โทที่ “พระครูวิชาญัฒนกิจ” พ.ศ. 2540 –ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูวิชาญพัฒนกิจ (5 ธันวาคม 2540) เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอกที่ “พระครูวิชาญพัฒนกิจ” วาระสุดท้าย ด้วยความที่มีความมานะมุ่งมั่นในงานไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากไม่ห่วงใย สุขภาพนี้เอง ทำให้เป็นเหตุในระยะหลัง ๆ 3-4 ปีมานี้ ด้วยวัยอันสูงอายุท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคหลอดเลือดหรือไขมันในเลือดสูง ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อตรวจเช็คร่างกายบ่อยขึ้น ครั้นเมื่ออาการเป็นปกติออกจากโรงพยาบาลแล้ว ด้วยความรักงานและนิสัยเกรงใจ ก็ยังไม่งดกับกิจนิมนต์ ทุกอย่างกลับเหมือนเดิมปฏิบัติศาสนกิจต่อไปมิได้ขาด การพักผ่อนมีน้อย ในระยะหลังต้องเข้าโรงพยาบาลถี่ขึ้น กระทั้งในคืนวันที่ 6 อาการของโรคได้กำเริบขึ้นอย่างฉับพลัน มีอาการแน่นหน้าอก ไม่รู้สึกตัว จึงได้ช่วยกันนำส่งโรงพยาบาลเช่นเคย แพทย์และพยาบาล ได้พยายามช่วยชีวิตจนสุดความสามารถ อาการเริ่มทรุดโทรมจนไม่สามารถช่วยชีวิตไว้ได้ และได้มรณภาพลง ณ โรงพยาบาลสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ตรงกับปี มะเมีย เดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ วันศุกร์ สิริรวมอายุได้ 66 ปี 7 เดือน เจ้าอาวาสและอดีตเจ้าอาวาส นับตั้งแต่การสร้างเป็นต้นมา ได้มีเจ้าอาวาส ผู้ครองวัดหลายรูป ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่ามีเจ้าอาวาสครองวัดมาแล้วกี่รูป แต่เท่าที่ได้สอบถามผู้เฒ่าทั้งหลายและมีหลักฐานแน่ชัดนี้ หลวงพ่อฉายปัญญา (วิสน ปัญโญ) เป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงในด้านพระนักเทศน์เผยแพร่ธรรม และเป็นเกจิอาจารย์ ทางด้าย อิทธิ สีผึ้ง และเสน่ห์มหานิยม และเป็นผู้ริเริ่มโรงเรียนปริยัติยธรรมและโรงเรียนสามัญ จนถึงยุคปัจจุบัน หลวงพ่อทอง (โสภติสส) ซึ่งเป็นน้องชายของ หลวงพ่อฉาย ปัญญา ซึ่งก็เป็นเกจิอาจารย์ที่ทรงวิทยาคมอีกรูปหนึ่ง ชื่อเสียงโด่งดังมากจนเป็นที่เล่าลือไปยังจังหวัดและวัดต่าง ๆ จนมีศิษยานุศิษย์ เดินทางเข้ามาศึกษาพุทธคมอยู่ตลอดเวลาเช่นกันใจยุคนั้น หลวงพ่อบุญชู (พระครูวิชาญ พัฒนกิจ) หลังจากหลวงพ่อทองได้มรณภาพแล้ว หลวงพ่อบุญชู ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส สืบต่อมานับแต่ปี พ.ศ. 2507 เป็นต้นมาก จนถึงปี พ.ศ. 2546 นับเป็นเวลาเกือบ 40 ปี ซึ่งนับว่านานมาก ในระหว่างที่ได้ครองวัดเป็นเจ้าอาวาส อยู่นั้นได้มีผลงานมากมายทั้งงานด้านบริหารและการปกครอง งานบูรณปฏิสังขรณ์ งานเผยแพร่งานก่อสร้าง งานพัฒนาต่าง ๆ งานอบรม งานช่วยเหลือการสนับสนุนการศึกษา และยังเป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคมอีกรูปหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในด้าน “ผู้สร้างผงอิทธิเจ จากกระดูกผีเจ็ดป่าช้า” อีกด้วย ตามประวัติดังกล่าวไว้แล้ว พระสนิท นนทิโย เป็นพระที่มีพรรษาอาวุโสสูงสุดเมื่อท่านพระครูวิชาญพัฒนกิจอดีตเจ้าอาวาสได้ มรณภาพลง จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส มาตั้งแต่ วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ไปพลางก่อนจนหว่า จะประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระครูวิชาญ พัฒนกิจ (อดีตเจ้าอาวาส) แล้วเสร็จและจะได้มีการพิจารณาคัดเลือกและถามความสมัครใจในการจะเป็นอาวาส องค์ใหม่ต่อไป หลวงพ่อบุญชู มีลักษณะเฉพาะของท่านคือ พูดน้อย เอาจริงเอาจังและดุดัน จึงมีน้อยคนที่จะรู้จักและทราบประวัติความเป็นมาของท่าน ถึงท่านจะเก็บตัวเงียบสักเท่าใด ก็ปิดบังได้แต่คนธรรมดาเท่านั้นครับ แต่สำหรับสายตาอันเฉียบคมของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยกันนั้น ปิดยังไง ก็ไม่มิด ...เพราะเราจะสังเกตุเห็นว่า หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง พระสุปฏิปันโณ แห่งเมืองสิงห์ ยังมาขอผงของหลวงพ่อบุญชู ไปเป็นมวลสารในพระสมเด็จของท่านเลยครับ หนึ่งในพระเวทย์วิทยาคมที่ท่านชำนิชำนาญเป็นพิเศษ คือวิธีการทำผงอิทธิเจ แบบพิเศษ ที่ท่านลบผงเอง พร้อมทั้งใส่ผงเถ้ากระดูกผีเจ็ดป่าช้า ลงไปในผงอีกด้วย.. ว่ากันว่า วัดหัวว่าวเป็นวัดที่ผีดุที่สุดในสิงห์บุรี...แต่หลวงพ่อกลับเอากระดูกผี มาผสมผงฯ ด้วย..จึงนับเป็นของที่เหนือธรรมดาแน่นอน..ผงฯ ของท่าน จึงเข้มขลัง และแรง...ด้วยพุทธคุณ (สายขาวมิใช้สายพราย) ประสบการณ์มากมายครับ สำหรับคนในพื้นที่ ทั้งแคล้วคลาด ปลอดภัย ตีรันฟันแทง..โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเสน่ห์ มหานิยม....ที่ใช้แทน ผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ หรือ หลวงพ่อสงวน วัดไผ่พันมือ ได้อย่างสบายใจ หลวงพ่อบุญชู ไม่ต้อนรับการเข้ามาจัดสร้างวัตถุมงคลของศูนย์พระเครื่อง ศูนย์พระเครื่องหลายแห่งเข้ามาขออนุญาตจัดสร้างพระเครื่อง เพราะได้ยินเรื่องราวของท่าน แต่ท่านไม่ต้องการให้นำวัตถุมงคลของท่านไปขาย ใครเข้าไปถามหาเช่าวัตถุมงคลจากท่าน ท่านก็จะตอบทันทีว่า ที่นี่ ไม่มีขาย...มีแต่แจก แล้วท่านก็แจก ๆๆ อย่างถูกใจผู้ให้และถึงใจผู้รับ.. วัตถุมงคลของท่าน จึงไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายสักเท่าใด พระคาถาที่ท่านสอนลูกศิษย์เสมอๆ ..คือ นะโมตัสสะ ถอยหลัง..ท่านว่า สวดนะโมถอยหลัง 3 รอบ คลุมได้หมด |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...







อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments