พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รุ่นแรก วัดโพธิ์ ปี 2510 เนื้อทองคำ -กบ พระทองคำ - webpra
VIP
พระแท้ พระสวย รับประกันตลอดชีพ โทรสอบถาม พูดคุยได้ ค่ะ โทร.0996399936

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รุ่นแรก วัดโพธิ์ ปี 2510 เนื้อทองคำ

พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รุ่นแรก วัดโพธิ์ ปี 2510 เนื้อทองคำ  - 1พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รุ่นแรก วัดโพธิ์ ปี 2510 เนื้อทองคำ  - 2พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รุ่นแรก วัดโพธิ์ ปี 2510 เนื้อทองคำ  - 3พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รุ่นแรก วัดโพธิ์ ปี 2510 เนื้อทองคำ  - 4
ชื่อร้านค้า กบ พระทองคำ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รุ่นแรก วัดโพธิ์ ปี 2510 เนื้อทองคำ
อายุพระเครื่อง 57 ปี
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ cointhai.aw@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 24 ม.ค. 2566 - 20:28.51
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 24 ม.ค. 2566 - 20:28.51
รายละเอียด
พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รุ่นแรก วัดโพธิ์ ปี 2510 เนื้อทองคำหนัก 35.30 กรัม พิธีใหญ่ รุ่นนิยมมาก
สร้างเฉพาะเนื้อทองคำ ร.9 เสด็จเททองหล่อพระกริ่งพุทธยอดฟ้าครบทุกช่อและได้พระกริ่งครบตามจำนวน 1,250 องค์และเสด็จฯทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมวัตถุมงคลในพิธีพิธีพุทธาภิเษกและ มังคลาภิเษก
พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรุ่นแรก เนื้อทองคำ ปี2510 อีกหนึ่งยอดวัตถุวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน)
วัดพระเชตุพนวิมนมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ท่าเตียน นับเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหารแต่เดิมชื่อ “วัดโพธาราม” เป็นวัดโบราณที่มีมานานแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเคียงคู่กับ”วัดสลัก” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ทรงย้ายราชธานีมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่หลังจากที่ทรงสร้างพระบรมมหาราชวัง สำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว เนื่องจากพระอารามทั้งสองแห่งแทบจะร้างอยู่แล้ว โดยทรงแบ่งกับ “สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช”ปฏิสังขรณ์ใหญ่พระ องค์ละวัดคือ “สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ” ทรงรับราชภาระปฏิสังขรณ์ “วัดโพธาราม” ที่ตั้งอยู่ฝั่งทิศใต้ ส่วน “สมเด็จพระอนุชาธิราช” ทรงรับพระภาระปฏิสังขรณ์ “วัดสลัก” พร้อมพระราชทานนามวัดสองแห่งนี้ใหม่ว่า ”วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม”และ”วัดนิพพานาราม” ซึ่งต่อมา “วัดนิพพานาราม”ได้รับพระราชทานนามใหม่อีกคือ “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์” โดยการบูรณปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้นนับเป็นการสร้างปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุสถาน จากวัดเล็กๆกลายเป็นวัดโอ่งโถงใหญ่โตมโหฬารกว่าเดิมมากดังปรากฎความใน “ศิลาจารึก” ในวิหาร “พระโลกนาถศาสดาจารย์ “ ด้านทิศตะวันตกของอุโบสถ
ในปี ๒๕๐๘-๒๕๐๙ เจ้าอาวาสในชณะนั้น คือ สมเด็จพระวันรัต ซึ่งต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ” (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถร) ทรงทราบความจำเป็นที่ต้องหาทุนมาสนับสนุนการบูรณะพระอาราม จึงทรงมีพระดำริจัดตั้ง”มูลนิธิ” ขึ้นเพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าบูรณะพระอารามต่อไปจึงดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาติและพระราชทานนามมูลนิธิว่า มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า พร้อมทั้งทรงรับไว้ในพระบรมราชูถัมภ์อีกด้วย สมเด็จพระวันรัต จึงจัดการประชุมหลายฝ่ายถึงเรื่องระดมทุนมาจัดตั้งเป็นกองทุนมูลนิธิ ผลการประชุมมีมติให้จัดงาน ทอดผ้าป่ามหากุศล ๘๔,๐๐๐ องค์ (กอง) พร้อมมีการจัดทำของที่ระลึก สมนาคุณแก่ผู้บริจาค เพราะจะทำให้มีรายได้เข้ากองทุนมากขึ้นโดยการสร้างวัตถุมงคล คือ พระกริ่ง และ เหรียญ
สำหรับ พระกริ่ง ที่ประชุมยังมีมติอีกว่าควรจัดสร้างด้วยเนื้อทองคำ น้ำหนักไม่ต่ำกว่า ๒ บาท สำหรับสมนาคุณผู้ที่บริจาค ตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาท) ขึ้นไป และควรสร้างจำนวนจำกัด คือ ๑,๒๕๐ องค์ อันเป็นจำนวนเท่ากับ พระวิสุทธิสงฆ์ องค์อรหันต์ที่มาประชุมพร้อมกันเป็นมหาสันติบาตรในวันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือนสามซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต โดยขอบารมีธรรม ของพระอรหันต์เหล่านั้นมารวมไว้ที่พระกริ่ง อันเป็นปฏิมาของพระพุทธเจ้า โดยตกลงกันว่าควรถวายพระนามว่า พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ด้วยมูลเหตุที่มูลนิธินี้ได้รับพระราชทานนามว่า มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า ดังนั้นเพื่อให้สมพระนามจึงต้องสร้างด้วยเนื้อทองคำเพียงเนื้อเดียว
ครั้นตกลงกันเป็นมติเอกฉันท์จึงจัดหาทองคำนำมารีดเป็นแผ่นบาง ๑๐๘ แผ่น สำหรับลงอักขระ ยันต์ ๑๐๘ และอีก ๑๔ แผ่น สำหรับลงอักขระ นะปถมัง ๑๔ นะ ตามตำราของ สำเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วกลางกรุง ที่ตกทอดมายัง สมเด็จพระพนรัตน์ ปฐมอธิบดีสงฆ์องค์แรกของ วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ผู้เป็นพระอาจารย์เจ้าใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และหลังจากแผ่นทองคำทั้งหมดทำการลงอักขระยันต์แล้วจึงมารวมกับทองคำอื่นๆที่ประชาชนร่วมบริจาคเพื่อหล่อพระไว้ในพระอุโบสถ ที่มีการจัดตั้ง ราชวัตรฉัตรธง โดยมีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ตลอดเวลา ๓ เดือนแห่งการเข้าพรรษา ซึ่งท่านเจ้าคุณ พระเทพวรมุนี (ฟุ้ง ปุณณโก) เป็นหัวหน้าในการนำสวดพระพุทธมนต์บทต่างๆ อาทิ ชินบัญชรคาถา ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร โพชฌงค์ปริตร เจ็ดตำนาน มงคลจักรวาล ฯลฯ จนกระทั่งถึงวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ อันเป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีพระราชทานถวายผ้าพระกฐิน และทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งพุทธยอดฟ้า ทรงประกอบพิธีเททองครบทุกช่อและได้พระกริ่งครบตามจำนวน ๑๒๕๐ องค์ จึงเสด็จกลับ โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ นั่งปรกปลุกเสก ประกอบด้วย หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ฯลฯ เป็นต้น
พุทธลักษณะพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ถอดแบบมาจากพระกริ่งของจอมพลประภาส จารุเสถียร ที่แจ้งกับทางวัดว่ามีผู้นำมาให้โดยไม่คาดฝันมาก่อนพร้อมระบุว่าเป็นพระกริ่งวังหลวง ซึ่งต่อมาก็มีการยอมรับว่าพระกริ่งที่เป็นต้นแบบ คือ พระกริ่งจุฬาลงกรณ์ เพราะสร้างขึ้นในสมัยที่พระองค์ทรงครองราชย์
จากบันทึกของสมเด็จพระสังฆราช ปุ่น ปุณณะสิริมหาเถระ ได้บันทึกความเป็นสิริมงคลของพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า สรุปได้ดังนี้
๑.มีการนำพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มาเป็นพระนามของพระกริ่ง จึงอุดมด้วยสรรพสิริมงคลอย่างสูง
๒.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐและยิ่งใหญ่แก่ชาวไทย
๓.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็นนักรบผู้เกรียงไกร หากเสด็จสู่สมรภูมิครั้งใดทรงนำชัยชนะกลับมาทุกครั้ง โดยเฉพาะสงคราม ๙ ทัพ ซึ่งเป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชสมัยของพระองค์ โดยชัยชนะศึกครั้งนั้นทำให้พม่าไม่กล้ามารุกรานแผ่นดินไทย
๔.พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า จัดสร้างด้วยพิธีกรรมอันเข้มขลังดีทั้งนอกและดีทั้งในพร้อมสูงค่าด้วยโลหะทองคำ และมีการลงอักขระเลขยันต์มงคล พร้อมบรรจุพระพุทธคุณโดยพุทธาภิเษกตลอด ๓ เดือน รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองและทำการตกแต่งพร้อมบรรจุเม็ดกริ่ง แล้วก็ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้ง พร้อมกับนำทองฉนวนที่เหลือมารวมกับทองอีกจำนวนหนึ่ง นำไปจัดสร้าง เหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมอบให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ รับไปดำเนินการ
วัตถุมงคลทั้งหมดที่จัดสร้างขึ้น ได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษกและ มังคลาภิเษก อีกครั้ง ในวันที่ ๕ และ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชมหาราชและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯเสด็จฯทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมวัตถุมงคล พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า จึงครบเครื่องทั้ง”พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และพระกษัตริยาธิคุณ” อันเอกอุ
๕.วันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททอง เป็นวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป๋นวันที่โบราณกาลนิยมว่าเป็น วันอุดมมงคล ที่เหมาะกับการที่จะประกอบพิธีการต่างๆให้เจริญก้าวหน้า
๖.และในวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททอง ทรงเครื่องยศใหญ่ “ทรงเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรี” และพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดทั้งข้าราชบริพาร ต่างก็แต่งเต็มยศเพื่อเฝ้ารับเสด็จโดยพร้อมเพรียง ทั้งนี้การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯจะทรงเครื่องยศใหญ่นั้นหาโอกาสได้น้อย
๗.พระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า สร้างด้วยทองคำแท้ธรรมชาติน้ำหนักองค์ละไม่ต่ำกว่า ๒ บาท โดยมีการเจือโลหะธาตุที่ผ่านพิธีพุทธาภิเษกแล้ว เพื่อให้เนื้อทองคำแข็งตัว ที่เมื่อหล่อเป็นพระกริ่งแล้วจะมีความคมชัดสวยงาม
ความสำคัญทั้ง ๗ ประการ จากการบันทึกของวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม นั้นทำให้ทราบถึงความสำคัญของวัตถุมงคลที่สร้างในครั้งนั้นว่าเป็นพิธีสร้างที่สมบูรณ์ครบถ้วนแห่งการจัดสร้างโดยแท้จริง เพราะพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า มีจำนวนการจัดสร้างเพียง ๑,๒๕๐ องค์ ปัจจุบันจึงหาได้ยาก เนื่องจากช่วงเวลาที่จัดสร้าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาค ตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาทขึ้นไป สมทบเป็นกองทุน มูลนิธิทุนพระพุทธยอดฟ้า เพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณปฏิสังขรณ์ ปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน และโบราณสถานทั้งหมดของวัดพระเชตุพลฯ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ทราบถึงความสำคัญ โดยเฉพาะบรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ คหบดี เศรษฐี และผู้มีอันจะกินในสมัยนั้น จึงเข้าร่วมกันบริจาค เพื่อเข้ารับพระราชทานจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ บุคคลที่รับพระราชทานในครั้งนั้น ล้วนเป็นผู้ที่ไม่เดือดร้อนด้านการเงิน และต่างอาราธนาเป็นสมบัติประจำตระกูล จึงไม่ค่อยพบเห็นในตลาด
พุทธคุณของพระกริ่งพระพุทธยอดฟ้า ยอดเยี่ยมด้านป้องกันภัยภิบัติ มหาอำนาจก็เป็นเอก ที่สำคัญมีความมั่นคง ก้าวหน้าในชีวิต มีความมั่นคงก้าวหน้าในฐานะ มีความมั่นคงก้าวหน้าในกิจการ
ซึ่งเท่าที่วัดพระชตุพนฯทำการบันทึกไว้บุคคลที่ได้รับพระราชทานครั้งนั้นล้วนกลายเป็น ตระกูลดัง มีชื่อเสียงขจรขจายในสังคม ขอยกตัวอย่าง พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ซึ่งหากผู้ใดเป็นศิษย์ใกล้ชิดสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่คงทราบดี แสดงว่าวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นในครั้งนั้นได้รับความสนใจจากผู้ที่ทราบความสำคัญอันยิ่งยวดนี้ ทำให้มีรายได้ตั้งเป็นกองทุนใช้จ่ายภายในวัด โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐบาลเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือมหามงคลแห่งแผ่นดิน โดยอดุลย์นันท์ทัต กิจไชยพร พฤศจิกายน ๒๕๕๑
💥รับประกันพระแท้ทองแท้
💥โอนชื่อ บช. อุไรวรรณ สุจริยา เท่านั้น
ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่
💥เฟส: อุไรวรรณ สุจริยา
💥เว็ปท่าพระจันทร์:กบ พระทองคำ
https://www.thaprachan.com/%E0%B8%81%E0%B8%9A-%E0%B8%9E...
💥Line ID =0996399936
รหัสสินค้า P-748
🔴🔴สนใจต่อรอง ทักมาพูดคุยได้เลยนะคะ🔴🔴
🟣🟣ขนาดพระ 1.9x3.2 ซม.🟣🟣

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top