เหรียญหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.2519-อัปสรา อมิวเลท - webpra
VIP
  • พระฯแท้ในราคาไม่แรง
    ขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
    ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
  • ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ
    *** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
    *** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
  • Page 1
  • Page 2
ซื่อตรง คุณภาพ รับประกัน

หมวด พระเกจิภาคกลางตอนล่าง

เหรียญหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.2519

เหรียญหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.2519 - 1เหรียญหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.2519 - 2เหรียญหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.2519 - 3เหรียญหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.2519 - 4
ชื่อร้านค้า อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.2519
อายุพระเครื่อง 48 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคกลางตอนล่าง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ tociii2003@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 13 ส.ค. 2560 - 20:05.19
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 06 ก.พ. 2561 - 14:39.12
รายละเอียด
+ เหรียญบล็อคกษาปณ์ ที่ระลึกครบรอบอายุ 72 ปี, สภาพเก่าเก็บ สวย
+++ การติดต่อ +++
โทร. : 089-7673123
facebook : เพจ พระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท
e-mail : tociii2003@yahoo.com
(16.4.60)

++ คัดลอกประวัติของวัดและหลวงปู่เทียมมาจาก คุณ opads, http://oknation.nationtv.tv/blog/OKopads/2013/03/14/entry-1
ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
“ + วัดกษัตราธิราช เป็นวัดของพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เจ้านายหลายพระองค์ ได้บูรณะตลอดมาจนถึงปัจจุบัน มีภาพจิตรกรรมเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ และทศชาติชาดกมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภาพประเพณีที่สำคัญและงานมหรสพต่างๆ ที่มีมาในสมัยโบราณอีกทั้งยังมีภาพที่แสดงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบไทยเดิมให้ได้ศึกษาเรื่อยมาจนจึงช่วงที่ไทยเริ่มได้รับอิทธิพลแบบตะวันตก
+ วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
วัดพระอารามหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นวัดสำคัญ
ทางประวัติศาสตร์ มีปูชนียสถาน และพระพุทธรูปฝีมือช่างสมัยอยุธยาหลายองค์
วัดกษัตราธิราชเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราปรากฏหลักฐานมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ
“วัดกระษัตรา” หรือ “วัดกษัตราราม” โดยความหมายของชื่อวัดสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ ในตำบลที่ตั้งป้อมจำปาพลพระนครฝั่งตะวันตก ส่วนด้านหลังวัดมีทุ่งกว้างเรียกว่า “ทุ่งประเชต” ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทัพพม่าในการเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 นั้น วัดกษัตราธิราชเป็นบริเวณที่กองทัพพม่าใช้เป็นสถานที่ตั้งมั่นในการเข้าตีพระนคร ภายหลังวัดถูกทำลายลงไปมากและทิ้งร้างไปในที่สุด
เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน) กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คงจะได้ทันทอดพระเนตรเห็นวัดกษัตราธิราช วัดสำคัญในสมัยนั้นถูกทำลายจนร้างไป จึงโปรดให้บูรณะโดยเริ่มบูรณะพร้อมกับวัดในกรุงเทพมหานคร เช่น วัดบพิตรภิมุขและวัดธรรมารามในอยุธยาด้วย ทำให้วัดกษัตราธิราชเป็นวัดที่มีพระสงฆ์กลับมาจำพรรษาตั้งแต่นั้นมา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ต้นราชสกุล อิศรางกูร ทรงมีศรัทธาปฏิสังขรณ์พระอารามตั้งแต่พระอุโบสถตลอดจนเสนาสนะทั้งปวงต่อเรื่อยมา
+ ประวัติหลวงปู่เทียม
พระวิสุทธาจารเถร นามเดิมชื่อ เทียม หาเรือนศรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2447 ขึ้น 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ณ ตำบลบ้านป้อม หมู่ 7 อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายสุ่น และนางเลียบ อาชีพทำนา เริ่มต้นการศึกษาภาษาไทยกับพระภิกษุมอญและอาจารย์ปิ่นที่วัดกษัตรานี่เอง ควบคู่ไปกับการเรียนวิชาช่างทั้งการเขียนและการแกะสลัก ต่อมาได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์จันทร์เพื่อเรียนภาษาขอม อายุ 15 จึงได้ลาไปช่วยบิดาทำนา แต่ด้วยเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงได้เรียนวิชาต่างๆ มากมาย โดยเริ่มเรียนวิชาไสยศาสตร์แบบลงผงลงยันต์กับลุงชื่ออาจารย์ทรัพย์ เรียนวิชาธาตุกสิณกับนายเงิน วิชาประดับตกแต่ง ก่อสร้าง กับนายชมและนายเชย วิชากระบี่กระบองกับบิดา การเป่าปี่ชวากับพี่ชาย จนสามารถออกแสดง ตามงานพิธีต่างๆ ควบคู่กับการรับจ้างเป็นช่างไม้ นอกจากนั้นได้หัดแกะ หนังใหญ่และแสดงได้
ต่อมาเมื่ออายุครบอุปสมบท พระครูวินยานุวัติคุณ เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ มีนามฉายาว่า “สิริปญฺโญ” ไปศึกษาปฏิบัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดประดู่ทรงธรรม และวิชาที่สำนักอื่นจนถึงพรรษาที่ 9 จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดกษัตราธิราช จนเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลงในช่วงปี พ.ศ. 2487 ในขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระใบฎิกา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสปกครองสงฆ์และสร้างความเจริญแก่วัดจวบจนสิ้นอายุขัย เมื่อ วันที่ 20 เดือนธันวาคม 2522 อายุ 75 ปี 55 พรรษา “

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top