เหรียญรัชกาลที่ ๖ กรมการรักษาดินแดน พ.ศ.๒๕๐๕-อัปสรา อมิวเลท - webpra
VIP
  • พระฯแท้ในราคาไม่แรง
    ขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
    ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
  • ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ
    *** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
    *** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
  • Page 1
  • Page 2
ซื่อตรง คุณภาพ รับประกัน
เหรียญรัชกาลที่ ๖ กรมการรักษาดินแดน พ.ศ.๒๕๐๕ - 1เหรียญรัชกาลที่ ๖ กรมการรักษาดินแดน พ.ศ.๒๕๐๕ - 2เหรียญรัชกาลที่ ๖ กรมการรักษาดินแดน พ.ศ.๒๕๐๕ - 3
ชื่อร้านค้า อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรัชกาลที่ ๖ กรมการรักษาดินแดน พ.ศ.๒๕๐๕
อายุพระเครื่อง 63 ปี
หมวดพระ วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ tociii2003@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 16 ธ.ค. 2561 - 17:23.01
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 08 พ.ย. 2562 - 16:44.15
รายละเอียด
+ พิมพ์กลาง ขนาด 3 ซ.ม.
เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่จัดอยู่ในทำเนียบวัตถุมงคลของท่านเจ้าคุณนร ฯ
+++ การติดต่อ +++
โทร. : 089-7673123
facebook : พระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท
e-mail : tociii2003@yahoo.com
line id : @bgy1415d
(10.10.4.1)

++ คัดลอกประวัติการจัดสร้างพระเครื่องฯรุ่นนี้มาจาก คุณ อำพล เจน, โพสท์ใน สวนขลังดอทคอม โดย เบญริสา
เมื่อวันที่ Apr 22 2009, คัดลอกบางส่วนมาจาก www.dharma-gateway.com
ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
“ ... เหรียญ ร.6 ของกรมการรักษาดินแดน ปี 2505 นี่แหละครับของดีราคาถูกที่ผมพูดอย่างผึ่งผายได้ ไม่กลัวว่าจะผิดธรรมเนียมแต่อย่างใด ค่าที่เป็นของดีอย่างแท้จริงและมีราคาถูกจริง ๆ
เหรียญ ร.6 ของกรมการรักษาดินแดน ปี 2505 นี้ได้ถูกจัดเข้าอยู่ในทำเนียบวัตถุมงคลของพระภิกษุธมฺมวิตกฺโก พระยานรรัตน์ราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) วัดเทพศิรินทราวาส แม้ว่าท่านจะมิได้เป็นพระภิกษุรูปเดียวที่ได้ปลุกเสกอธิษฐานจิตเหรียญ ร.6 นี้ก็ตาม คือหมายความว่าเหรียญรุ่นนี้ได้ผ่านพิธีพุทธาภิเษกหมู่โดยคณาจารย์หลายองค์ แต่คนทั่วไปก็ยกเหรียญ ร.6 ให้เป็นเครดิตของท่านไป
ทำนองเดียวกับพระเครื่องที่ปลุกเสกในพระอุโบสถวัดบวรฯ แม้เป็นพิธีหมู่คือมีครูบาอาจารย์ทั่วประเทศเข้าร่วมนั่งปรก คนทั้งหลายก็ยกให้เป็นพระเครื่องของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าไปทั้งหมดเหมือนกัน
เหรียญพระบรมรูปของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 กรมการรักษาดินแดนจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกพระอนุสรณ์อนุสาวรีย์ ที่ประดิษฐานอยู่หน้าสวนลุมพินี โดยทำขึ้นหลายแบบทั้งกลมใหญ่ กลมเล็ก และใบเสมา จำนวนสร้างคาดว่าถึงหลักแสน เมื่อสร้างสำเร็จแล้ว ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกขึ้นในวันที่ 17 พ.ย. 2505 มีคณาจารย์รับนิมนต์มานั่งปรกปลุกเสกหลายองค์ เช่น หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร หลวงปู่อาคม วัดสุทัศน์ฯ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี หลวงพ่อนาค วัดระฆัง พระสุธรรมธีรคุณ วัดสระเกศ พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม และหลวงพ่อจง วัดหน้าด่างนอก ในพิธียังได้มีการอัญเชิญดวงพระวิญญาณของอดีตพระมหากษัตริย์ไทย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ ร.1-ร.8 มาประทับทรงในร่างของนายทหารและนายตำรวจ เพื่อทรงเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีปลุกเสกด้วย
คุณท.สิริปัญโญ ได้กล่าวถึงเหรียญ ร.6 ไว้ในหนังสือทำเนียบประวัติของท่านเจ้าคุณนรฯ ว่า
“ในสมัยนั้นข้าพเจ้ายังรุ่นหนุ่ม ยังได้ดูเขาทำพิธีกันเห็นมีอาสนะว่างอยู่ 2 ที่ เท่าที่จำได้มีพระเกจิอาจารย์จากวัดต่าง ๆ มานั่งปรกกันเป็นจำนวนมาก และมีพระครูประกาศสมาธิคุณ สำนักวัดมหาธาตุเป็นผู้บรรยาย (โฆษก) ฝ่ายสงฆ์ในสมัยนั้น พอเสร็จพิธีได้มีหลวงพ่ออยู่องค์หนึ่งท่านนั่งปรกอยู่ข้างอาสนะที่ว่าง ท่านได้สอบถามเจ้ากรมรักษาดินแดนว่าเป็นพระรูปใดที่มานั่งปรกอาสนะข้างท่าน ท่านเจ้ากรมจึงกราบเรียนว่าเป็นอาสนะของท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านบอกว่าเห็นมานั่งปรกอยู่เสร็จแล้วก็ได้หายไปเฉย ๆ ยังความแปลกใจให้กับทุกคนที่ได้ยินและได้ฟัง เพราะต่างเห็นว่าว่างเปล่า ไม่เห็นมีใครมานั่งอยู่บนอาสนะนั้น”
เรื่องที่อาสนะของท่านเจ้าคุณนรฯ ว่างเปล่า จนเป็นเหตุอัศจรรย์ว่ามีหลวงพ่อองค์ที่นั่งใกล้อาสนะว่างนั้น เกิดนิมิตเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งมานั่งปรกปลุกเสกด้วย คือมานั่งเดี๋ยวเดียวก็หายตัวไปนั้นมีอยู่ว่า ในการกระทำพิธีพุทธาภิเษกเหรียญ ร.6 ครั้งนั้น คณะกรรมการทุกคนจำเป็นต้องระลึกถึงท่านเจ้าคุณนรฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่จงรักภักดีต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 จนปวารณาตัวบวชไม่สึก และล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ก็ทรงไปโปรดปรานท่านเจ้าคุณนรฯ เป็นอย่างยิ่ง เมื่อระลึกถึงท่านเจ้าคุณนรฯ ได้อย่างนี้แล้ว ก็ไปกราบอาราธนาท่านเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย แต่ท่านได้ปฏิเสธและบอกว่า
“อาตมาจะขอนั่งปรกปลุกเสกอยู่ในกุฏินี้ เพื่อส่งกระแสจิตไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วยจนกว่าจะเสร็จ”
และท่านยังได้สั่งให้จัดอาสนะสำหรับท่านไว้ในพิธีนั้นด้วย
คณะกรรมการสร้างเหรียญ ร.6 ชุดนั้นได้นำชื่อของท่านเจ้าคุณนรฯ ออกประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบว่าท่านจะได้ส่งกระแสจิตเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ด้วย แม้ว่าท่านจะไม่มา จนกระทั่งเกิดเป็นเรื่องฮือฮา ถึงกับมีการจองเหรียญ ร.6 นี้เป็นจำนวนมาก ชั่วเวลาไม่ถึงสิบ เป็นแค่คำสรรเสริญเยินยอไปตามธรรมเนียม แต่ท่านเป็นได้อย่างที่กล่าวสรรเสริญจริง ๆ ดังจะเห็นได้ว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงถึงกับมีรับสั่งกับคนใกล้ชิดว่า
“สำหรับพระยานรรัตน์ฯ ฉันขอใครอย่าไปรบกวนแกเป็นอันขาด เพราะแกตั้งใจปฏิบัติรับใช้ฉันแต่ผู้เดียว” ...
... ครั้นล้นเกล้าฯ เสด็จสวรรคตแล้ว พระยานรรัตน์ฯ ได้อุปสมบทหน้าพระเพลิง หรือพูดแบบชาวบ้านก็ว่าบวชหน้าไฟ บวชแล้วก็เลยมีอันไม่สึกจนตลอดชีวิต นับวันคืนเดือนปีได้ 45 พรรษาในเพศสมณะ
คณะการมการจัดสร้างเหรียญพระบรมรูป ร.6 ได้ทำวันก่อนพิธี ปรากฏว่ามีการจองเหรียญกันแล้วไม่น้อยกว่า 4 หมื่นเหรียญ นี่ก็เห็นจะเป็นเพราะคำประกาศที่ว่าท่านเจ้าคุณนรฯ จะส่งกระแสจิตเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกนั่นเอง
เรียกว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่ไม่มีใครคิดว่าจะได้ยิน แต่ว่าในที่สุดก็มีเหตุแปลกประหลาดยิ่งกว่าเกิดขึ้น เมื่อหลวงพ่อองค์หนึ่ง (เสียดายที่ไม่ทราบชื่อของท่าน) ได้เกิดมีอันเห็นพระรูปหนึ่งที่ท่านเองไม่เคยรู้จัก มานั่งบนอาสนะว่างของเจ้าคณนรฯ ในระหว่างที่พิธีปลุกเสกกำลังดำเนินอยู่ จึงทำให้ทุกคนเชื่อว่านั้นต้องเป็นภาพที่เกิดด้วยอำนาจการส่งกระแสจิตของท่านเจ้าคุณนรฯ อย่างไม่ต้องสงสัย จะเรียกว่ากายทิพย์หรือเรียกอย่างไรก็สุดแล้วแต่ศรัทธา
สาเหตุที่ท่านเจ้าคุณนรฯ ไม่ได้มาร่วมพิธีปลุกเสกเหรียญ ร.6 นั้นก็เพราะว่าท่านได้อธิษฐานการไม่ออกจากวัดเอาไว้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้สงครามจะเกิดถึงขั้นมีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดใส่วัด ท่านก็ไม่หนีไปไหน ยังคงนั่งภาวนาแผ่เมตตาให้นักบินข้าศึกอยู่ในกุฏิของท่านตามลำพัง คนอื่น ๆ พากันทิ้งวัดหมด แต่ท่านไม่ทิ้ง เพราะว่าได้อธิษฐานไว้อย่างนั้นแล้ว
คราวภิกษุผู้เป็นบิดาของท่านมรณภาพลงที่วัดโสมนัสวิหาร ท่านก็ยังไม่ออกจากวัดไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลศพหรืองานพระราชทานเพลิงศพภิกษุบิดาท่านแต่อย่างใด เพราะสัจจะที่ตังไว้มั่นคงว่าจะไม่ออกจากวัดจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ซึ่งท่านก็ทำได้ตามนั้นจนกระทั่งถึงวันหมดลมหายใจไปจริง ๆ
เห็นจะต้องเล่าถึงข้อที่ว่าท่านเจ้าคุณนรฯ ได้เป็นที่ทรงโปรดปรานจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ด้วยนั้นไม่ใช่จะชอบที่สุดแล้ว ที่ได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก จนหลังจากนั้นมาท่านก็ได้ปรากฏชื่อเสียงขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นที่รู้จักศรัทธาของคนไทยทั้งประเทศไปในที่สุด
เรื่องของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ มีเล่าอยู่มาก ทั้งโจษขานในอภินิหารของท่านและเชิดชูกตัญญูที่ท่านมีต่อผู้มีพระคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ท่านเป็นตัวอย่างของผู้มีความซื่อสัตย์ กตัญญู และเคร่งครัด ในภาคปฏิบัติแห่งชีวิตสมณะและเป็นยอดของ
นักถ่อมตัว ...”

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top