เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.๒๕๑๙-อัปสรา อมิวเลท - webpra
VIP
  • พระฯแท้ในราคาไม่แรง
    ขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
    ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
  • ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ
    *** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
    *** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
  • Page 1
  • Page 2
ซื่อตรง คุณภาพ รับประกัน

หมวด พระเกจิภาคกลางตอนล่าง

เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.๒๕๑๙

เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.๒๕๑๙ - 1เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.๒๕๑๙ - 2เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.๒๕๑๙ - 3เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.๒๕๑๙ - 4เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.๒๕๑๙ - 5
ชื่อร้านค้า อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา พ.ศ.๒๕๑๙
อายุพระเครื่อง 48 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคกลางตอนล่าง
ราคาเช่า 600 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0897673123
อีเมล์ติดต่อ tociii2003@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 11 พ.ค. 2562 - 21:03.36
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 11 พ.ค. 2562 - 21:03.36
รายละเอียด
+ สูงกว่า 4 ซ.ม. สภาพเก่าเก็บ สวย
+++ การติดต่อ +++
โทร. : 089-7673123
facebook : พระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท
e-mail : tociii2003@yahoo.com
line id : @bgy1415d
(15.2.62)

++ คัดลอกประวัติการจัดสร้างพระเครื่องฯรุ่นนี้มาจาก คุณ นาจา8, www.guaranteepra.com
ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
“ ... พระพุทธกษัตราภิมงคล
... พิธีเททองหล่อและพิธีมหาพุทธาภิเษก "พระพุทธกษัตราภิมงคล" วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเททองหล่อทั้ง “ขนาดบูชา” และ “ขนาดห้อยคอ” เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และพระราชทานถวายพระนามพระพุทธรูปลีลาจำลองที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองดังกล่าวว่า “พระพุทธกษัตราภิมงคล” ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล ๐๐๐๒/๙๗๔๑ ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๙
“วัตถุมงคล” ที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ พร้อมเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีพุทธาภิเษกอย่างเป็น “ทางการ” โดยมีบันทึกของทางวัดชัดเจนก็คือ “พระพุทธกษัตราภิมงคล” ที่สร้างเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 หลายรูปแบบประกอบด้วย “พระพุทธรูปบูชา, พระพุทธรูปขนาดเล็ก (ห้อยคอ) และ “เหรียญพระพุทธกษัตราภิมงคล” ที่จำลองมาจาก “พระพุทธรูปปางลีลา” องค์ใหญ่ที่ประดิษฐาน ณ หน้าพระอุโบสถวัดกษัตราธิราช โดยคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดสร้างขึ้นเมื่อคราวมีงานฉลองอายุครบ 6 รอบ 72 ปี ของ “หลวงปู่เทียม” ในปี 2517 ซึ่งต่อมาทางวัดได้จัดสร้าง “พระพุทธรูปลีลาจำลอง” ขึ้นอีกพร้อมขอพระราชทานพระนามซึ่งก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานว่า “พระพุทธกษัตราภิมงคล” มีความหมายว่า “พระพุทธรูปอันเป็นสิริมงคลที่ยิ่งใหญ่แห่งวัดกษัตราธิราช” โดยคำว่า “กษัตรา” ก็คือพระนามของ “พระอาราม” ส่วนพระนามของ “พระพุทธรูป” ก็มีความหมายถึง “พระมหากษัตริย์” เมื่อรวมกันแล้วจึงหมายถึง “ความยิ่งใหญ่หรือพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์” ... “

++ คัดลอกประวัติของวัดและหลวงปู่เทียมมาจาก คุณ opads, http://oknation.nationtv.tv/blog/OKopads/2013/03/14/entry-1
ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
“ + วัดกษัตราธิราช เป็นวัดของพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เจ้านายหลายพระองค์ ได้บูรณะตลอดมาจนถึงปัจจุบัน มีภาพจิตรกรรมเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ และทศชาติชาดกมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะภาพประเพณีที่สำคัญและงานมหรสพต่างๆ ที่มีมาในสมัยโบราณอีกทั้งยังมีภาพที่แสดงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบไทยเดิมให้ได้ศึกษาเรื่อยมาจนจึงช่วงที่ไทยเริ่มได้รับอิทธิพลแบบตะวันตก
+ วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
วัดพระอารามหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นวัดสำคัญ
ทางประวัติศาสตร์ มีปูชนียสถาน และพระพุทธรูปฝีมือช่างสมัยอยุธยาหลายองค์
วัดกษัตราธิราชเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราปรากฏหลักฐานมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ
“วัดกระษัตรา” หรือ “วัดกษัตราราม” โดยความหมายของชื่อวัดสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ ในตำบลที่ตั้งป้อมจำปาพลพระนครฝั่งตะวันตก ส่วนด้านหลังวัดมีทุ่งกว้างเรียกว่า “ทุ่งประเชต” ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทัพพม่าในการเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 นั้น วัดกษัตราธิราชเป็นบริเวณที่กองทัพพม่าใช้เป็นสถานที่ตั้งมั่นในการเข้าตีพระนคร ภายหลังวัดถูกทำลายลงไปมากและทิ้งร้างไปในที่สุด
เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ในสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (ทองอิน) กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คงจะได้ทันทอดพระเนตรเห็นวัดกษัตราธิราช วัดสำคัญในสมัยนั้นถูกทำลายจนร้างไป จึงโปรดให้บูรณะโดยเริ่มบูรณะพร้อมกับวัดในกรุงเทพมหานคร เช่น วัดบพิตรภิมุขและวัดธรรมารามในอยุธยาด้วย ทำให้วัดกษัตราธิราชเป็นวัดที่มีพระสงฆ์กลับมาจำพรรษาตั้งแต่นั้นมา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ต้นราชสกุล อิศรางกูร ทรงมีศรัทธาปฏิสังขรณ์พระอารามตั้งแต่พระอุโบสถตลอดจนเสนาสนะทั้งปวงต่อเรื่อยมา
ประวัติหลวงปู่เทียม
พระวิสุทธาจารเถร นามเดิมชื่อ เทียม หาเรือนศรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2447 ขึ้น 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ณ ตำบลบ้านป้อม หมู่ 7 อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายสุ่น และนางเลียบ อาชีพทำนา เริ่มต้นการศึกษาภาษาไทยกับพระภิกษุมอญและอาจารย์ปิ่นที่วัดกษัตรานี่เอง ควบคู่ไปกับการเรียนวิชาช่างทั้งการเขียนและการแกะสลัก ต่อมาได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์จันทร์เพื่อเรียนภาษาขอม อายุ 15 จึงได้ลาไปช่วยบิดาทำนา แต่ด้วยเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้จึงได้เรียนวิชาต่างๆ มากมาย โดยเริ่มเรียนวิชาไสยศาสตร์แบบลงผงลงยันต์กับลุงชื่ออาจารย์ทรัพย์ เรียนวิชาธาตุกสิณกับนายเงิน วิชาประดับตกแต่ง ก่อสร้าง กับนายชมและนายเชย วิชากระบี่กระบองกับบิดา การเป่าปี่ชวากับพี่ชาย จนสามารถออกแสดง ตามงานพิธีต่างๆ ควบคู่กับการรับจ้างเป็นช่างไม้ นอกจากนั้นได้หัดแกะ หนังใหญ่และแสดงได้
ต่อมาเมื่ออายุครบอุปสมบท พระครูวินยานุวัติคุณ เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ มีนามฉายาว่า “สิริปญฺโญ” ไปศึกษาปฏิบัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดประดู่ทรงธรรม และวิชาที่สำนักอื่นจนถึงพรรษาที่ 9 จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดกษัตราธิราช จนเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลงในช่วงปี พ.ศ. 2487 ในขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระใบฎิกา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสปกครองสงฆ์และสร้างความเจริญแก่วัดจวบจนสิ้นอายุขัย เมื่อ วันที่ 20 เดือนธันวาคม 2522 อายุ 75 ปี 55 พรรษา “

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top