เหรียญเจ้าพ่อพญาแล จ.ชัยภูมิ พ.ศ.๒๕๒๑-อัปสรา อมิวเลท - webpra
VIP
  • พระฯแท้ในราคาไม่แรง
    ขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
    ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
  • ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ
    *** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
    *** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
  • Page 1
  • Page 2
ซื่อตรง คุณภาพ รับประกัน

หมวด พระเกจิภาคอีสานใต้

เหรียญเจ้าพ่อพญาแล จ.ชัยภูมิ พ.ศ.๒๕๒๑

เหรียญเจ้าพ่อพญาแล จ.ชัยภูมิ พ.ศ.๒๕๒๑ - 1เหรียญเจ้าพ่อพญาแล จ.ชัยภูมิ พ.ศ.๒๕๒๑ - 2เหรียญเจ้าพ่อพญาแล จ.ชัยภูมิ พ.ศ.๒๕๒๑ - 3
ชื่อร้านค้า อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเจ้าพ่อพญาแล จ.ชัยภูมิ พ.ศ.๒๕๒๑
อายุพระเครื่อง 46 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานใต้
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ tociii2003@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 05 ม.ค. 2564 - 20:29.08
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 05 ม.ค. 2564 - 20:29.08
รายละเอียด
+ เหรียญนี้ตอกโค๊ดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
+ ขายตามราคาที่ลงไว้
+ สภาพตามรูปที่ลงไว้ไม่ถ่ายรูปสด ไม่ถ่ายพระกับบัตร/บช.ธ. (มีพระฯจำนวนมากรื้อค้นลำบาก)
+ พร้อมส่ง ปณ.ลงทะเบียน, รายการที่ราคาถึง 500 บาท ส่งด่วน EMS
+++ การติดต่อ +++
LINE id : apsara888
facebook : พระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท
โทร. : 089-7673123
(26.10.3)

++ คัดลอกประวัติของท่านมาจาก http://khim-yuencheevee.blogspot.com
ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ประวัติเจ้าพ่อพญาแล

พระยาภักดีชุมพล เดิมชื่อ "แล" เป็นชาวนครเวียงจันทน์ เคยรับราชการเป็นพี่เลี้ยงราชบุตรในเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้าง (ขณะนั้นเป็นประเทศราชของไทย) ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2360 นายแลได้อพยพไพร่พลข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านน้ำขุ่นหนองอีจาน (อยู่ในเขตอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ต่อมาได้ย้ายไปตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง (อยู่ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ) และได้ทำราชการส่งส่วยต่อเจ้าอนุวงศ์ เจ้าอนุวงศ์จึงตั้งให้นายแลเป็นที่ขุนภักดีชุมพลนายกองนอก
ใน พ.ศ. 2365 ขุนภักดีชุมพลได้ย้ายชุมชนมาอยู่ที่บ้านหลวง ซึ่งอยู่ระหว่างบ้านหนองหลอดกับบ้านหนองปลาเฒ่า ในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมเริ่มคับแคบ ไม่พอกับจำนวนพลเมืองที่เพิ่มขึ้น
พ.ศ. 2367 ได้ที่การพบบ่อทองที่บริเวณลำห้วยชาด นอกเขตบ้านหลวง ขุนภักดีชุมพลจึงได้นำทองในบ่อนี้ไปส่วยแก่เจ้าอนุวงศ์และขอยกฐานะบ้านหลวงขึ้นเป็นเมือง เจ้าอนุวงศ์จึงประทานชื่อเมืองแก่ขุนภักดีชุมพลว่า เมืองไชยภูมิ และเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระภักดีชุมพล ทว่าต่อมาพระภักดีชุมพลได้ขอเอาเมืองไชยภูมิขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยแก่กรุงเทพมหานครแทน ไม่ขึ้นแก่เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์อีกต่อไป[ต้องการอ้างอิง] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหลวง(เมืองไชยภูมิ)เป็นเมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งพระภักดีชุมพล (แล) เป็นพระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก สร้างความไม่พอใจแก่ทางฝ่ายเวียงจันทน์อย่างมาก
ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏต่อกรุงเทพเพื่อแยกตัวเป็นเอกราช โดยยกทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา แต่เห็นว่าจะทำการต่อไปได้ไม่ตลอด จึงเผาเมืองนครราชสีมาทิ้ง และถอนทัพกลับไปตั้งรับที่เวียงจันทน์ ระหว่างทางกองทัพเจ้าอนุวงศ์เกิดความปั่นป่วนจากการลุกฮือของครัวเรือนที่กวาดต้อนไปเวียงจันทน์ ขณะพักทัพอยู่ที่ทุ่งสำริด พระยาภักดีชุมพล (แล) ได้ยกทัพไปสมทบกับคุณหญิงโมและครัวเรือนชาวเมืองนครราชสีมา ทำการตีกระหนาบกองทัพของเจ้าอนุวงศ์จนแตกพ่าย เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นที่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอมให้ความร่วมมือกับฝ่ายลาว ซ้ำยังยกทัพมาช่วยฝ่ายไทยตีกระหนาบทัพลาวอีกด้วย จึงย้อนกลับมาเมืองชัยภูมิ จับตัวพระยาภักดีชุมพล (แล) ประหารชีวิต ที่บริเวณใต้ต้นมะขามริมหนองปลาเฒ่า
การเสียชีวิตของพระยาภักดีชุมพล (แล) ในครั้งนั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ชาวเมืองชัยภูมิจดจำตลอดมา และระลึกถึงว่าเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญของท่าน[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาชาวเมืองชัยภูมิจึงเรียกขานท่านด้วยความเคารพว่า "เจ้าพ่อพญาแล" และได้มีการสร้างศาลไว้ตรงสถานที่ที่พระยาภักดีชุมพล (แล) ถูกประหารชีวิต ที่บ้านหนองปลาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชัยภูมิ - บ้านเขว้า) ต่อมาใน พ.ศ. 2511 ทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่ ให้ชื่อว่า "ศาลพระยาภักดีชุมพล (แล)" และจัดให้มีงานสักการะเจ้าพ่อพญาแลทุกปี โดยเริ่มจากวันพุธ แรกของเดือน 6 เป็นเวลา 7 วัน เรียกว่า "งานเทศกาลบุญเดือนหก ระลึกถึงความดีของ เจ้าพ่อพญาแล" ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวชัยภูมิ และใน พ.ศ. 2518 ทางราชการร่วมกับพ่อค้าและประชาชนชาวชัยภูมิ สร้างอนุสาวรีย์ของพระยาภักดีชุมพล (แล) ประดิษฐานอยู่ตรงวงเวียนศูนย์ราชการ ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ
ลูกหลานของพระยาภักดีชุมพล (แล) ที่ได้รับราชการเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อๆ มา ล้วนได้รับยศและบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาภักดีชุมพลทุกคน รวมทั้งสิ้น 5 คน ส่วนเจ้าพ่อพญาแลได้เป็นพระยาภักดีชุมพลได้ 4 ปี เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิถึง 10 ปี

ยศที่ท่านได้รับ
ท่านได้รับพระราชทานยศดังนี้
- พระพี่เลี้ยงราชบุตร ยศนี้ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
- ขุนภักดีชุมพล ยศนี้ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
- พระภักดีชุมพล ยศนี้ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
- พระยาภักดีชุมพล (แล) ได้รับจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
- พระยาภักดีชุมพล (แล)เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก ได้รับจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ผู้ที่ได้รับยศพระยาภักดีชุมพลต่อจากท่านนั้นมีดังนี้
พระยาภักดีชุมพล ( เกตุ )
พระยาภักดีชุมพล ( เบี้ยว )
พระยาภักดีชุมพล ( ที )
พระยาภักดีชุมพล ( บุญจันทร์ )
พระยาภักดีชุมพล ( แสง )
จากสมัยของพระยาภักดีชุมพล (แสง) เสียชีวิตเป็นต้นมา ยศเจ้าเมืองก็เปลี่ยนกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิในปัจจุบันนี้

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top