เหรียญหลวงปู่ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2530-อัปสรา อมิวเลท - webpra
VIP
  • พระฯแท้ในราคาไม่แรง
    ขายตามราคาที่ลงไว้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ราคาที่รับได้
    ผ่านเลยครับท่าน จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
  • ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ
    *** พระฯมาใหม่จะลงไว้ช่วงหน้าต้นๆ
    *** ค้นหาพระฯเฉพาะ เข้าดูตามหมวดหรือพิมพ์ชื่อที่ช่องค้นหา
  • Page 1
  • Page 2
ซื่อตรง คุณภาพ รับประกัน

หมวด พระเกจิภาคตะวันตก

เหรียญหลวงปู่ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2530

เหรียญหลวงปู่ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2530 - 1เหรียญหลวงปู่ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2530 - 2
ชื่อร้านค้า อัปสรา อมิวเลท - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงปู่ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ปี 2530
อายุพระเครื่อง 37 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคตะวันตก
ราคาเช่า 300 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0897673123
อีเมล์ติดต่อ tociii2003@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 29 พ.ย. 2565 - 20:53.43
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 29 พ.ย. 2565 - 20:53.43
รายละเอียด
+ ขนาดโดยประมาณ กว้าง 2.3 ซ.ม. สูง 3.6 ซ.ม.
+ ขายตามราคาที่ลงไว้พร้อมส่ง ปณ.ด่วน EMS
***กรุณาไม่ต้องลองต่อรองราคามา***
+ สภาพตามรูปที่ลงไว้ ไม่ถ่ายรูปสดเพิ่มเติม, ไม่ถ่ายพระฯกับบัตร ปชช./บช.ธนาคาร
(มีพระฯจำนวนมากจะนำพระฯออกมาเพื่อแพคส่งเท่านั้น)
+ ไม่มีแบบเก็บเงินปลายทาง,ไม่มีการนัดรับพระฯ (ยกเว้นพระฯราคาสูง)
***** หากเห็นว่ารับวิธีที่แจ้งไว้ข้างต้นไม่ได้ กรุณาผ่านได้เลย จะได้ไม่เสียเวลาทั้งสองฝ่าย
+++ การติดต่อ +++
LINE id : apsara888 (ไม่รับเชคพระ-ขออภัยด้วย)
facebook : พระเครื่องร้านอัปสรา อมิวเลท
(19.11.7.1)

++ คัดลอกประวัติของท่านบางส่วนมาจาก facebook.com/พระเครื่อง สุทธินันท์
ขออนุญาตเผยแพร่และขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
“ ... ประวัติหลวงปู่ฟัก อินทร์โส ชาตะ ๑๒ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๔๔
มรณภาพ ๓ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๓๑ สิริอายุ ๘๖ พรรษา ๖ เดือน
ประวัติวัดนิคมประชาสรรค์ (วังไทรติ่ง)
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ก่อนเข้าพรรษา หลวงปู่ฟักท่านได้เดินธุดงค์มาจากอยุธยาเรื่อยมา จนถึงบ้านวังไทรติ่งในปัจจุบันในสมัยนั้น
ยังไม่เป็นหมู่บ้านยังเป็นแค่ป่ารกเป็นยุคที่ทางการได้จัดสรรให้คนปั่นสามล้อเข้ามาบุกเบิกที่ทางเพื่อจับจองปลูกที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ส่วนหลวงปู่นั้นเมื่อเดินธุดงค์มาถึง ท่านก็ได้ทำการปักกรดอยู่ที่ชายเขา และได้มีกลุ่มชาวบ้านมานิมนต์ขอให้ท่าน
จำพรรษา ณ หมู่บ้านแห่งนี้ ส่วนตัวท่านเองก็ได้ตกลงและได้ดูที่ทางเพื่อสร้างเป็นกฎิหลังเล็กๆ มุงด้วยจากเชิงเขาด้านหลังวัด
ในปัจจุบัน โดยสมัยนั้นมีต้นไทรใหญ่และวังน้ำอยู่ด้านหน้ากุฎิของท่าน จึงได้เรียกกันว่า “วังไทรติ่ง” มาจนถึงปัจจุบันและต่อมาไม่นานประมาณ พ.ศ.๒๕๑๑ ผู้ปกครองนิคมสมัยนั้น คือ นายสำเภา ได้กราบขอให้หลวงปู่มาสร้างวัด โดย ทางการได้จัดสรรที่ให้ประมาณ ๑๕ ไร่ เพื่อสร้างวัด โดยถัดขึ้นมาทางเหนือจากที่เดิมประมาณครึ่งกิโลเมตร มีญาติโยมมาลงแรง ช่วยกันบุกเบิกถากถางป่า ไผ่และป่าหนามจนเป็นที่ว่างพอก็ได้สร้างกุฎิขึ้นมา ๓หลัง เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๑๕ ก็ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นวัดและตั้งชื่อใหม่ว่า... "วัดนิคประชาสรรค์” จนมาถึงปัจจุบัน ในสมัยนั้นก็มีภิกษุบวชจำพรรษาอยู่ปีละ ๔-๕ รูป หลวงปู่มีความวิริยะอุตสาหะ ด้วยศรัทธาจากชาวบ้าน และญาติโยมจากต่างถิ่นที่ได้นำทั้งแรงกายและปัจจัยได้เข้ามาช่วยเหลือท่าน
ทั้งช่วยกันไปตัดไม้จากป่า เลื่อยไม้ ถากเสา จนได้ฤกษ์งามยามดี จึงได้กราบอาราธนาเจ้าคณะอำเภอมาเป็นประธานยกเสาเอกเพื่อสร้างกุฎิหอฉันขึ้นเป็นหลังแรกหลวงปู่เองท่านเป็นพระปฏิบัติที่มีจิตใจอันใสสะอาด คอยอบรม ดูแล พระภิกษุ สามเณร และญาติโยมทั้งหลายอยู่เสมอ ท่านได้จัดให้พระภิกษุ สามเณร ได้เรียนพระปริยัติและปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของทางวัด โดยผิวเผินอาจจะดูว่าท่านนั้นเป็นพระที่ดุ ปากร้าย แต่จริงแล้วท่านคอยอบรมให้ลูกศิษย์เป็นคนดี จนท่านได้สร้างกุฎิ
หอฉันเสร็จตามมุ่งหวังของท่านอย่างสมบูรณ์ และในสมัยนั้นท่านได้ร่ำเรียนวิชามาจากอาจารย์ของท่านซึ่งมีอยู่๕องค์ด้วยกันก็มีหลวงพ่อทองสุข (วัดโตนดหลวง) หลวงพ่อเหลือ (วัดสาวชะโงก) ท่านได้ศึกษาทั้งด้านวิชาอาคม ของขลังและตำรารักษาโรค
ในด้านเครื่องรางที่ขึ้นชื่อของท่านก็มีปลัดขิกที่เป็นที่เรื่องลือไปไกลจนมีผู้คนรู้จักกันมาก ในด้านแคล้วคลาด ปลอดภัย จนทำให้มีญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้นำทั้งกฐินและผ้าป่ามาช่วยเหลือเพื่อสร้างวัดทั้งที่ในสมัยนั้นถนนหนทางก็ลำบากเป็นทางลูกรังแต่มีญาติโยมเดินทางเข้ามาช่วยเหลือทางวัดอยู่เสมอจนมาถึง พ.ศ. ๒๕๒๗ หลวงปู่ และลูกศิษย์ และญาติโยมในหมู่บ้านช่วยกันวางรากฐานพระอุโบสถท่านก็ได้อาศัยแรงจากชาวบ้าน และญาติโยม ที่ให้ความช่วยเหลือในทั้งร่างกายและเงินทุนในการก่อสร้างพระอุโบสถจากญาติโยม โดยอาศัยเครื่องรางขลังของท่าน ใครที่อยากบูชาวัตถุมงคลของท่านต้องร่วมกันสร้าง
พระอุโบสถโดยท่านได้ให้ปลัดขิก ๑ ตัวแลกกับการเป็นเจ้าภาพปูน ๑ ตัน หรือว่าเหล็ก ๑๐ เส้น ในสมัยนั้นหลวงปู่ก็เป็นที่รู้จัก เคารพและศรัทธากันอย่างทั่วหลาย จึงทำให้ท่านสามารถสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ ในปีพ.ศ.๒๕๓๐ โดยท่านใช้ระยะเวลาในการสร้างพระอุโบสถ ๓ ปีเต็ม ณ เวลานั้นอายุของท่านก็เข้าไป ๘๔ ปี ร่างกายของท่านเริ่มชราภาพพอสมควรแต่ท่านเองก็ยังมุ่งหวังที่จะทำการปิดทองฝังลูกนิมิตแต่ก็ยังไม่ทันที่จะได้ดำเนินการเพราะสังขารของท่านไม่ไหวอีกด้วยมีโรคภัยเข้ามาเบียดเบียนไม่มีเรี่ยวแรงที่จะต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บในครั้งนี้ไปได้ จนมาเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๑ เวลาประมาณ ๒๑.๓๐ น. ท่านก็ได้ทำการละสังขาร รวมอายุของท่านในตอนนั้นได้ ๘๖ ปี กับอีก ๖ เดือน ญาติโยมและลูกศิษย์ที่ได้รู้ข่าวว่าท่านมรณภาพต่างก็เสียใจเป็นอย่างมาก ซึ่งความมุ่งหวังของท่านที่จะปิดทองฝังลูกนิมิตยังไม่บรรลุเป็นผลสำเร็จ ชาวบ้านและบรรดาลูกศิษย์ของท่านจึงประชุมกันและได้ข้อตกลงกันว่าจะขอเก็บร่างของท่านไว้ให้ชนรุ่นหลังและผู้คนที่ผ่านไปมาได้เข้า กราบสักการะท่าน ... “

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top