พระพิราพ เนื้อสัมฤทธิ์โบราณ สนิมเขียว หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม-อาร์ท บารมีพระเครื่อง - webpra
ของจะแท้ แท้ที่ของ ไม่ใช่แท้ที่คน

หมวด หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน - หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม

พระพิราพ เนื้อสัมฤทธิ์โบราณ สนิมเขียว หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม

พระพิราพ เนื้อสัมฤทธิ์โบราณ สนิมเขียว หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม - 1พระพิราพ เนื้อสัมฤทธิ์โบราณ สนิมเขียว หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม - 2พระพิราพ เนื้อสัมฤทธิ์โบราณ สนิมเขียว หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม - 3
ชื่อร้านค้า อาร์ท บารมีพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระพิราพ เนื้อสัมฤทธิ์โบราณ สนิมเขียว หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดเขาแหลม
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน - หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 095-2456661
อีเมล์ติดต่อ artjatuphon@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 31 ส.ค. 2559 - 22:48.29
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 01 ต.ค. 2559 - 14:42.16
รายละเอียด
พระพิราพ (พระอิศวรภาคดุ)


เทพอสูรผู้เป็นบรมครูสูงสุดแห่งนาฏศิลป์ บรมครูผู้ประทานโชคลาภความสุข ความเจริญ ความร่มเย็นเป็นสุข และอำนาจ แห่งมหาเสน่ห์เมตตาชั้นสูงสุด เทพเจ้าผู้ประทานชีวิตและความตาย เจ้าแห่งพลังอำนาจการลบล้างคุณไสยมนต์ดำ ป้องกันและปราบปรามภูตผีปีศาจ และอาถรรพณ์ร้ายทุกชนิด


กฎข้อสำคัญของพระพิราพ ผู้ที่รับบูชาพระพิราพไปในคราวแรกจะต้องตั้งเครื่องสังเวยบูชาครูในวันพฤหัสแรกจึงจะเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเอง เครื่องสังเวยได้แก่ ไข่ดิบ 5 ฟอง, ข้าวตอก 1 ถ้วย, น้ำผึ้ง 1 ถ้วยชาเล็ก, ดอกไม้หรือพวงมาลัยรวามกันให้ได้ 3 สีขี้นไป วางตั้งลงบนพานบูชาเป็นการรับครูจุดธูป 5 ดอก เทียน 2 เล่ม

ตั้งนโม 3 จบ สวดบูชาพระรัตนตรัย (อิติปิโส ถึงโลกัสสาติ) จากนั้นจึงสวดพระคาถาอัญเชิญพระพิราพรับเครื่องสังเวย ดังนี้
อิมัง สัจจะวาจัง อะธิษฐามิ ทุติยัมปิ อิมัง สัจจะวาจัง อะธิษฐามิ ตะติยัมปิอิมัง สัจจะวาจัง อะธิษฐามิ พุทธัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา ธัมมัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา สังฆัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา
พุทโธสิทธิฤทธิ์ ธัมโมสิทธิฤทธิ์ สังโฆสิทธิฤทธิ์ สุขะ สุขะ ชัยยะ ชยยะ ลาภะ ลาภะ สัพพะธัมมานัง ประสิทธิ เม ประสิทธิ เต พุทโธสวัสดีมีชัย ธัมโมสวัสดีมีชัย สังโฆสวัสดีมีชัย ปะติตัง สุรังคัธัง อะธิษฐามิ ทุติยัมปิ พุทธัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา ทุติยัมปิ ธัมมัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา ทุติยัมปิ สังฆัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา
พุทโธสิทธิฤทธิ์...................อะธิษฐามิ ตะติยัมปิ พุทธัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา ตะติยัมปิ ธัมมัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา ตะติยัมปิ สังฆัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา
พุทโธสิทธิฤทธิ์...................อธิษฐามิ
อิมัสสะมิง วันทามิ อาจาริยัง, สัพพะไสยยัง วินาสสันติ, สิทธิการะ อัปปะระปะชา อิมัสสะมิง สิทธิ ภะวะตุ สัพพะทา นมัสสิตะวา อาจาริยัง อิสิโลกะนาถัง พุทธะสะรามิ นะมัสสิตะวา อาจาริยัง อิสิ โลกะนาถัง ปะติปะติบูชา วันทิตะวา อสูรเทพานัง มหันตะพลัง อันตะรายัง วินาสสันติ สิทธิการิยะ พิราธาสูรยัง วิชาจาระณาสัมปันนัง นะมามิหัง
อัคคีพาหูบุปผัง อะหังวันทา อาจาริยัง สัพพะไสยยัง วินาศสันติ สิทธิปะระปะชา อิมัสสะมิง ภะวันตุ เม ทุติยัมปิ อัคคีพาหูบุปผัง.............ภะวันตุ เม ตะติยัมปิ อัคคีพาหูบุปผัง.............ภะวันตุ เม
จากนั้นกล่าวต่อว่า “ข้าพเจ้า (ชื่อ, นามสกุล) ขอฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกหลานเป็นลูกศิษย์แห่งพระองค์ท่านพระพิราพผู้เป็นบรมครู และขอได้โปรดให้ท่านมีเมตตาประทานพรประทานโชคลาภตามสมควรแก่ลูกด้วย” และถ้าหากตัองการอธิษฐานขอพรใด ๆ ก็กล่าวคำอธิษฐานตามแต่ปรารถนาเถิดพระคาถาข้างต้นนี้ใช้กล่าวสวดบูชา เฉพาะตอนที่ถวายเครื่องสังเวยเท่านั้น ส่วนพระคาถาที่ใช้สวดบูชาติดตัวทุกวันให้ใช้บทสวดที่จะกล่าวถึงต่อไป สำหรับการบูชานั้นจำเป็นอย่างยิ่งในครั้งแรกที่ได้รับพระพิราพไปสักการะบูชาจะเป็นผลที่ดีอย่างยิ่ง เพราะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า “พระพิราพ”ท่านมีฤทธิ์เดชแรงมาก ส่วนการบูชาในวันอื่นที่ต่อจากนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความศรัทธาโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องทำเป็นประจำ


พระคาถาและการบูชาพระพิราพ ท่องนะโม 3 จบ
“อิมัง พุทธัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา อิมัง ธัมมัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา อิมัง สังฆัง องค์พระพิราธัง ขอเอหิจงมา พุทโธ สิทธิฤทธิ์ ธัมโม สิทธิฤทธิ์ สังโฆ สิทธิฤทธิ์ สุขะ สุขะ ชัยยะ ลาภะ ลาภะ สัพพะธัมมานัง ประสิทธิเม ประสิทธิเต พุทโธ สวัสดีมีชัย ธัมโม สวัสดีมีชัย สังโฆ สวัสดีมีชัย” (ท่อง 3 จบ)
“ยักษะ สะวะรูปะ ชฏา ธะรายะ ปินากะ หัสสะตายะ สนาตะนายะทิวะยายะ เทวายะ ทิคัมพรายะ ตัสสะไม ยการายะ นมะศิวายะ”


พระพิราพนับเป็นบรมครูองค์สำคัญพระองค์หนึ่งที่หมู่นาฏศิลปินทั้งหลายให้ความเคารพในฐานะบรมครูผู้ศักดิ์สิทธิ์ ทรงฤทธิ์แรงครูชั้นสูง ทั้งนี้คติในการนับถือพระพิราพว่าเป็นบรมครูนั้นสืบเนื่องจากประเพณีการนับถือ พระไภราวะ ของชาวอินเดียและเนปาล โดยพระไภราวะนั้นคือ ภาคหนึ่งของพระอิศวรที่แสงรูปกายออกมาเป้นยักษ์ทีทรงอิทธิฤทธิ์ ตามคติตำนานแต่โบราณกล่าวว่า พระไภราวะนี้มีฤทธิ์ในการปราบภูตผีปีศาจ ในสมัยก่อนเมื่อเกิดโรคระบาดคร่าชีวิตผู้คนทั้งหลาย ขาดที่พึ่งจึงได้ระลึกถึงพระไภราวะผู้ประทานชีวิตและความตายอันเป็นภาคมหาปราบภาคหนึ่งของพระศิวะเจ้า เมื่อคนทั้งหลายต่างพากันบูชาพระไภราวะแล้ว โรคร้ายทั้งหลายทั้งปวงก็หายไป บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุขขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นการนับถือพระไภราวะนี้จึงมีคติที่นับถือกันว่าผู้ใดก็ตามที่นับถือบูชาแล้ว ผู้นั้นจะปราศจากภยันอันตราย อาถรรพณ์ร้ายทั้งปวง ทั้งยังช่วยให้เกิดสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย
คติการนับถือพระไภราวะนี้เข้ามาในไทยพร้อมกับวิชานาฏศิลป์ คำว่าพระพิราพนั้นก็มาจากคำว่า “ไภราวะ” หรือ “ไภรวะ” แล้วภายหลังเพี้ยนมาเป็น “พระไภราพ” จนที่สุดก็กลายมาเป็นคำว่า “พระพิราพ” ในคติของชาวนาฏศิลป์ที่นับถือพระพิราพนั้นก็เนื่องจากเชื่อถือกันว่า พระพิราพนี้เป็นบรมครูทางฝ่ายยักษ์ผู้สูงสุดและยังถือว่าพระพิราพนี้เป็น พระผู้ประทานโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม อุดมด้วยทรัพย์สมบัติ ผู้ที่เคารพบูชาพระองค์จะเป็นที่เมตตามหานิยมแก่คนทั้งหลาย บังเกิดความเจริญสูงสุดในชีวิตทุก ๆ ด้าน ทั้งเรื่องการงาน การเงิน และจะมีความร่มเย็นเป็นสุขห่างไกลจากโชคร้ายภยันอันตรายทั้งหลายอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่าจะต้องประสบเคราะห์หามยามร้ายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี หากมีพระพิราพบูชามีบารมีแห่งพระองค์คุ้มหัวคุ้มเกล้าแล้วไซร้ ย่อมปลอดภัย ผ่อนหนักเป็นเบา แคล้วคลาดไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้นว่าบ้านใดมีผู้เจ็บป่วยเรื้อรังมานานหรือญาติมิตรทั้งหลายเจ็บป่วยขาดที่พึ่ง เกรงว่าจะรักษามิได้ ก็ให้ระลึกถึงคุณบรมครูพระพิราพ จุดธูปเทียนสักการะตั้งจิตอธิษฐานถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และคุณบรมครูอสุรเทพพระพิราพเอาเถิดจะเกิดผลดีเป็นแน่แท้ อำนาจแรงครูจะช่วยปัดเป่าโรคร้ายเสนียดจัญไรทั้งหลายให้บำราศไปเอง

ในปี 2550 นี้ อันเป็นปีมหามงคลอีกวาระหนึ่ง ทางคณะศิษย์หลวงปู่กาหลงจึงได้ดำเนินการจัดสร้างพระพิราพเต็มองค์ บรมครูสูงสุดแห่งนาฏศิลป์ บรมครูสูงสุดทางฝ่ายยักษ์ อันมีฐานะเป็นมหาอวตารภาคหนึ่งของพระศิวะ โดยในสมัยโบราณบางท่านจะเรียกว่า “พระอิศวรภาคดุ” หรือ พระศิวะภาคดำ การสร้างพระพิราพเต็มองค์ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการสร้างที่หาผู้ทำได้ยากยิ่งเพราะเป็นที่รู้กันดีว่าการสร้างพระพิราพนั้นเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน ด้วยว่าหากสร้างโดยไม่รู้ขาดความพิถีพิถันอันควรแล้วย่อมเกิดอาถรรพณ์แก่ผู้สร้างได้ ดังนั้นการสร้างพระพิราพในครั้งนี้จึงเต็มไปด้วยพิธีการตามแบบโบราณสืบสานคติความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี เต็มไปด้วยความระมัดระวังและความเคารพในองค์ครูอย่างสูงสุด และเป็นที่แน่นอนว่าการสร้างบรมครูพระพิราพในครั้งนี้ย่อมถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ในการสรรค์สร้างผลงานวัตถุมงคลอันล้ำค่า ที่เต็มไปด้วยความวิจิตรศิลป์ สืบสานคุณค่าแห่งความเป็นไทย ทั้งยังเปี่ยมด้วยอิทธิฤทธิ์อานุภาพแห่งแรงครูการสร้างบรมครูพระพิราพในในปี 2550 นี้นับเป็นการสร้างเพื่อบูชาครูโดยแท้ เป็นการรำลึกถึงครูชิตอันเป็นครูทางนาฏศิลป์โขนละครท่านสำคัญที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาพระลักษณ์หน้าทองแก่หลวงปู่กาหลง จนกลายเป็นตำนานพระลักษณ์หน้าทองตราบมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นการระลึกถึงบรมครูผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่เป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์
ดังนั้นในการไหว้ครูปี 2550 นี้ จึงได้มีการจัดตั้งเครื่องสังเวยบูชาครูทั้งฝ่ายเทพและฝ่ายยักษ์โดยพร้อมเพรียง ผู้ที่รับครอบครูในปีนี้จึงเท่ากับว่าได้ร่วมบูชาทั้งครูทั้งครูเทพ ครูฤาษี ครูยักษ์ และครูที่เป็นอธิวิญญาณผู้วิเศษ รวมทั้งพระเดช พระคุณหลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว พระเถราจารย์ผู้ได้รับการยกย่องยอมรับว่าเป็นครูผู้เป็นตัวแทนแห่งครูทั้งหลาย ทั้งนี้เป็นที่เชื่อมั่นว่าผู้ที่ได้รับบูชาพระพิราพไปก็ดี ได้รับการครอบครูในปี 2550 ก็ดี ย่อมเป็นผู้ที่จะเจริญด้วยลาภยศสรรเสริญ เสน่ห์เมตตามหานิยม และด้วยอำนาจแรงครูทั้งหลาย มีพระฤาษีสิงห์สมิงพราย พระลักษณ์หน้าทอง พระพิราพ แลพระเดช พระคุณหลวงปู่กาหลงเป็นที่สูดนั้นย่อมทำให้ท่านเป็นผู้ปราศจากสิ่งอัปมงคลทั้งหลาย ปลอดโรคปลอดภัย เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ พร้อมด้วยปฏิภาณ คิดหวังสิ่งใดย่อมสมปรารถนา ในสิ่งนั้นทั้งปวง
พิธีกรรมการปลุกเสกพระพิราพนี้นับว่ายาวนานมาก เพราะเน้นความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ถูกต้องตามตำราจริง ซึ่งได้จัดสร้างตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2549 แต่มาเปิดให้บูชาปลายปี 2550 นี้ จึงได้ผ่านพิธีกรรมากมาย
1.พิธีเทวาภิเษก ณ วักบุญรอด พระโขนง กทม. วันอาทิตย์ 25 ก.พ. 50 โดยหลวงปู่กาหลง เป็นประธานพร้อมพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรวม 9 รูป
2.พิธีพุทธาพิษก เสาร์ 5 ณ วัดสุทัศน์ กทม.
3.พิธีสุริยคราสสุริยัน-จันทรา วันพฤหัสที่ 29 มี.ค. 50
4.พิธีไหว้ครู-ครอบครูมหาพุทธภิเษกใหญ่ ณ วัดสุทัศน์ วันที่ 19 พ.ค. 50 โดยมี หลวงปู่กาหลงเป็นประธานพร้อมด้วย ลพ.อั้น วัดธรรมโฆษก, ลพ.เพิ่ม วัดป้อมแก้ว, ลพ.พูน วัดบ้านแพน, ลพ.เอียด วัดไผ่ล้อม, ลพ.สิริ วัดตาล, ลพ.เจือ วัดกลางบางแก้ว, ลพ.เพียน วัดตุ๊กตา, ลพ.เขียน วัดเขาศิชฌกูฎ ฯลฯ
5.พิธีไหว้ครู-ครอบครู พระพิราพ-นาฏศิลป์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี วันพฤหัสที่ 10 พ.ค. 50 โดยอาจารย์ไพบูลย์
6.พิธีมหาพุทธาภิเษก 9 วัน 9 คืน ณ วัดบุญรอด พระโขนง กทม. วันที่ 16-24 มิ.ย. 50 โดยมีหลวงปู่กาหลงเป็นประธานพร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังกว่า 32 รูป อาทิ ลพ.เพียน วัดเกริ่นกฐิน, ลพ.อั้น วัดธรรมโฆษก, ลพ.แย้ม วัดสามง่าม, ลพ.สิริ วัดตาล, ลพ.สารันต์ วัดดงน้อย, ลพ.เพิ่ม วัดป้อมแก้ว, ลพ.เจือ วัดกลางบางแก้ว, ลพ.หล่ำ วัดสามัคคีธรรม, ลป.ศรี วัดหน้าพระลาน, ลพ.เอียด วัดไผ่ล้อม, ลป.ทิม วัดพระขาว ฯลฯ
7.พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดหนองดง อ.โพทะเล จ.พิจิตร วันที่ 30 ส.ค. 50 โดยพระเกจิอาจารย์กว่า 80 รูป อาทิ ลพ.เพียน วัดเกริ่มกฐิน, ลพ.พูน วัดบ้านแพน, ลป.นะ วัดหนองบัว, ลพ.อั้พ วัดท้องไทร, ลพ.ฟู วัดบางสมัคร, ลพ.เสาร์ วัดดอนย่านาง, ลพ.ปรีชา วัดเขาอิติสุโต และพระเกจิมากมาย
8.พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดประดู่ อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา วันที่ 15 ก.ย. 50 โดย ลพ.สวัสดิ์ วัดศาลาปูน, ลพ.พูน วัดบ้านแพน, ลพ.เอียด วัดไผ่ล้อม
9.พิธีเททองและพิธีพุทธาภิเษก ณ มณฑลพิธีวัดเขาแหลม จ.สระแก้ว วันเสาร์ 13 ต.ค. 50 โดยมีหลวงปู่กาหลงเป็นประธาน พร้อมด้วย ลพ.สนธ์ วัดทุ่งพระ สระแก้ว, ลพ.มา วัดหัวกุญแจ สระแก้ว, ลพ.แผน วัดหนองติม สระแก้ว, ลพ.รวย วัดหนองรี ฉะเชิงเทรา, ลพ.ดำ วัดเขาพลูทอง จันทบุรี, ลพ.วีระ วัดป่าสาละวัน โคราช, ลพ.เจิน วัดหลวงครู นครศรีธรรมราช , ลพ.เฉลิม วัดพวงนิมิต สระแก้ว
10.พิธีมหาพุทธาพิเษก ณ วัดสุทัศน์ เสาชิงช้า กทม. วันเสาร์ที่ 20 ต.ค. 50 โดยหลวงปู่กาหลง เป็นประธาน พร้อมด้วย หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม, หลวงพ่อเจือ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่ออั๊พ วัดท้องไทร, หลวงพ่อเพียน วัดตุ๊กตา, หลวงพ่ออั้น วัดธรรมโฆษก, หลวงพ่อสิริ วัดตาล, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์, หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อสมพงษ์ วัดใหม่ปิ่นเหลียว, ครูบาสมชาย วัดพนมชัย, หลวงพ่อช้าง วัดหนองยายเม้า โคราช
11.พิธีพุทธาภิเษกวันเพ็ญเดือน 12 ณ วัดสุทัศน์ กทม. โดยหลวงปู่กาหลง
12.พิธีพุทธาภิเษก ณ วัดสุทัศน์ กทม. วันพฤหัสที่ 20 ธ.ค. 50 โดยหลวงปู่กาหลงเป็นประธาน พร้อมด้วย ลพ.แย้ม วัดสามง่าม, ลพ.เจือ วัดกลางบางแก้ว, ลพ.อั๊พ วัดท้องไทร, ลพ.สิริ วัดตาล, ลพ.สำอางค์ วัดบางพระ, ลพ.เพียน วัดตุ๊กตา, ลพ.ติ๋ว วัดมณีชลขันธ์
13.พิธีไหว้ครู-ครอบเศียรพระลักษณ์หน้าทอง ณ วัดสุทัศน์ กทม. วันเสาร์ที่ 22 ธ.ค. 50 มีพราหมณ์ บวงสรวงเครื่องสังเวย พิธีใหญ่ พร้อมด้วยหลวงปู่กาหลงเป็นประธาน และลพ.อั้น วัดธรรมโฆษก
14.หลวงปู่กาหลง อธิษฐานจิตประจุพุทธาคมปลุกเสกเดี่ยวตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงธันวาคม เป็นเวลากว่า 11 เดือนเต็ม ๆ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top