พระกรุท้ายตลาด พิมพ์พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร-โช ฉัตรแก้ว - webpra
ขอน้อมความซื่อสัตย์ และ ความจริงใจแด่ทุกๆ ท่านค่ะ

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระกรุท้ายตลาด พิมพ์พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร

พระกรุท้ายตลาด พิมพ์พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร - 1พระกรุท้ายตลาด พิมพ์พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร - 2พระกรุท้ายตลาด พิมพ์พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร - 3พระกรุท้ายตลาด พิมพ์พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร - 4พระกรุท้ายตลาด พิมพ์พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร - 5
ชื่อร้านค้า โช ฉัตรแก้ว - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระกรุท้ายตลาด พิมพ์พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ cho.chatkaew@gmail.com
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 19 พ.ย. 2557 - 15:56.19
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 19 พ.ย. 2557 - 15:56.19
รายละเอียด
พระกรุท้ายตลาด พิมพ์พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร

"พระวัดท้ายตลาด มีการค้นพบเมื่อครั้งกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฎพระพิมพ์เนื้อผง จำนวนมากมายถึง 89,000 องค์ "

พระวัดท้ายตลาด เป็นพระเนื้อผงผสมผงใบลานเผา เนื้อหาเหมือนพระสมเด็จปิลันทน์ พุทธคุณก็เด่นในทางโชคลาภ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดปลอดภัย

วัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำเลที่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ หลังพระราชวังเดิม ในอดีตสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี บริเวณดังกล่าวนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า “ท้ายตลาด” หรือ “ท้ายพระราชวังเดิม” จึงนิยมเรียกขานวัดนี้กันว่า "วัดท้ายตลาด" และในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องทุกยุคทุกสมัยก็มักเรียกพระเครื่องจากกรุพระเจดีย์วัดนี้กันติดปากว่า "พระวัดท้ายตลาด" เช่นกัน

ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาศรี วัดราชสิทธิ์ เป็นพระเทพโมลี แล้วให้มาครองวัดนี้ ต่อมาจึงได้เลื่อนเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ต่อมาในรัชกาลที่ 2 ทรงเปลี่ยนนามพระอารามเป็น "วัดพุทไธศวรรยาวาส" ถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอารามโดยตลอด พร้อมกับพระอารามอื่นๆ อีก และทรงเปลี่ยนนามเป็น "วัดโมลีโลกยาราม" มาจนทุกวันนี้

ณ วัดท้ายตลาดแห่งนี้ยังเคยเป็นสถานศึกษาของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ขุน สมัยเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ก็เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของรัชกาลที่ 3 และถวายพระอักษร รัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ขุน มรณภาพลง รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดฯ ให้หล่อรูปประดิษฐานไว้ในหอที่ทรงสร้างไว้ในวัดเรียกกันว่า "หอสมเด็จ" (ทรงโปรดฯ ให้หล่อพร้อมกับพระรูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร สุก ไก่เถื่อน ที่วัดราชสิทธาราม)

ผู้ที่สร้างพระวัดท้ายตลาดนี้ ท่านอาจารย์ตรียัมปวายได้บันทึกไว้ว่า สร้างโดยพระวิเชียรมุนีอดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ท่านเจ้าคุณสนิท พร้อมกับหลวงพ่อแย้มและหลวงพ่อกลิ่น พระอาจารย์สายกัมมัฏฐานผู้ทรงกิตติคุณของพระอารามนี้ พระกรุวัดท้ายตลาดได้สร้างไว้ในปี พ.ศ. 2431

การเปิดกรุนั้น วัดท้ายตลาดได้ถูกคนร้ายลักลอบเจาะมาช้านานแล้ว และทางวัดก็ได้ซ่อมแซมอยู่เสมอ ครั้นต่อมาใน พ.ศ. 2485 คราวกรณีพิพาทอินโดจีน ฝรั่งเศส ทางราชการกระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือขอพระเครื่องมายังวัดนี้ด้วย เพื่อมอบให้แก่ทหารและตำรวจสนามเช่นเดียวกับที่ขอไปยังวัดต่างๆ พระประสิทธิสีลคุณ เจ้าอาวาสในสมัยนั้นจึงได้ดำริให้ขุดกรุพระเจดีย์รายในวัด และได้พระเครื่องออกมาเป็นอันมาก ทั้งได้พบพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งซึ่งบรรจุไว้ในปีบบัดกรี บนเพดานพระอุโบสถและเพดานหอสมเด็จฯ รวบรวมได้ทั้งสิ้นหลายพันองค์ และได้มอบให้แก่ทางราชการไปส่วนหนึ่ง

พระกรุวัดท้ายตลาดที่พบเป็นพระเนื้อผงใบลาน พิมพ์ต่างๆ แต่ละพิมพ์ล้วนสวยงามด้วยศิลปะเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังได้พบพระแบบเดียวกันที่วัดนางชี คลองบางหลวง และที่วัดหงษ์ บางกอกใหญ่อีกด้วย แสดงว่า"พระวัดท้ายตลาด"นั้นคงจะมีการบรรจุไว้ตามกรุต่างๆ หลายวัดด้วยกัน

พระวัดท้ายตลาด มีการค้นพบเมื่อครั้งกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฎพระพิมพ์เนื้อผง จำนวนมากมายถึง 89,000 องค์ และมีหลายแบบหลายพิมพ์ ทั้ง พระพิมพ์ปางอุ้มบาตร พระพิมพ์ปางประทานพร พระพิมพ์ปางปรกโพธิ์ข้างเม็ด ปางโมคคัลลาน์-สารีบุตร ฯลฯ ซึ่งปางต่างๆ ดังกล่าว ล้วนเป็นคติการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเกิดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น นอกจากนี้ พุทธลักษณะองค์พระนับเป็นการออกแบบที่ได้สัดส่วนงดงามและประณีต ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นฝีมือการสร้างในระดับ “ช่างหลวง” ที่สำคัญ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเหมือนอย่างโบราณกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยการสร้างพระพิมพ์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนา จึงทรงโปรดฯ ให้ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพระพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ในพระพุทธประวัติ (นับรวมกับแบบเดิม 8 ปาง เป็น 40 ปาง ประดิษฐานไว้ในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) จึงสันนิษฐานได้ว่าพระวัดท้ายตลาด น่าจะสร้างขึ้นโดยรัชกาลที่ 3 และด้วยเหตุผลประการสุดท้าย คือ การจะสร้างพระได้จำนวนมากมายถึง 8 หมื่นกว่าองค์นั้น สามัญชนคนธรรมดาทั่วไปคงจะเป็นไปได้ยากมากแน่นอน

พระกรุวัดท้ายตลาด ที่นิยมและเป็นที่รู้จักได้พบเห็นบ่อย ๆ มีดังนี้
1. พระวัดท้ายตลาด พิมพ์พระปิดตาขัดสมาธิเพชร
2. พระพิมพ์แม่พระธรณีเป็นมวยผม สี่เหลี่ยมใหญ่
3. พระพิมพ์แม่พระธรณีเป็นมวยผม ห้าเหลี่ยม
4. พระพิมพ์นางกวัก สี่เหลี่ยม
5. พระพิมพ์พุทธนางกวัก
6. พระพิมพ์ป่าเลไลยก์ใหญ่
7. พระพิมพ์ป่าเลไลยก์เล็ก
8. พระพิมพ์นาคปรกเต็มองค์
9. พระพิมพ์ครึ่งองค์
10. พระพิมพ์สังกัจจายน์
11. พระพิมพ์ซุ้มปราสาท
12. พระพิมพ์สมาธิแหวกม่าน
13. พระพิมพ์เล็บมือ
14. พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตร
15. พระพิมพ์ยืนห้ามสมุทร
16. พระพิมพ์ยืนถวายเนตร
17. พระพิมพ์ยืนรำพึง
18. พระพิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร
19. พระพิมพ์พระเจดีย์
20. พระพิมพ์มารวิชัย ข้างเส้น
21. พระพิมพ์มารวิชัย ข้างเม็ด
22. พระพิมพ์สมาธิเล็ก
23. พระพิมพ์สมาธิข้างกนก
24. พระพิมพ์หยดแป้ง
25. พระพิมพ์สมาธิบัวสองชั้น
26. พระกรุวัดท้ายตลาด พระพิมพ์ปางไสยาสน์ เป็นต้น

- พระสวยสมบูรณ์ตามภาพ
- จัดส่งให้ฟรีทั่วประเทศแบบ EMS หลังโอนเงินพร้อมโทรแจ้ง 1 วัน
- รับประกันความแท้ตามกฏ และ รับประกันความพอใจ
ท่านสามารถชมพระเครื่องรายการอื่นๆ ได้ที่
http://www.web-pra.com/Shop/CHOchatkaew

ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ และ อุปการะคุณค่ะ
08-5070-3999 คุณหนิง ร้านโช ฉัตรแก้ว
cho.chatkaew@gmail.com
ID LINE: kumkaow

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top