นางกวักมฤคทายวัน พิมพ์กลาง-โชคดี บารมี - webpra
ยินดีให้เช่า,รับเช่า,รับเหมา,จัดหา ฯลฯ พระเครื่องทั่วประเทศพระในร้านรับประกันแท้100%เก๊คืนเต็ม
นางกวักมฤคทายวัน พิมพ์กลาง - 1นางกวักมฤคทายวัน พิมพ์กลาง - 2
ชื่อร้านค้า โชคดี บารมี - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง นางกวักมฤคทายวัน พิมพ์กลาง
อายุพระเครื่อง 101 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า 6,500 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0934594985
อีเมล์ติดต่อ ChokhDeBarame@Gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 12 ธ.ค. 2561 - 16:38.10
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 12 ธ.ค. 2561 - 16:38.10
รายละเอียด
เมื่อนึกถึง "หัวหิน" ย่อมเห็นภาพของหาดทรายขาวและทะเลสีฟ้าคราม คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ และหากนึกถึง "วัดหัวหิน" ย่อมต้องเห็นภาพของอดีตพระเกจิอาจารย์สำคัญรูปหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นั่นคือ "พระครู วิริยาธิการี" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หลวงปู่นาค" สุดยอดแห่งพระเกจิอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญอย่างสูงด้านวิปัสสนาธุระ อีกทั้งทรงคุณวิเศษทางไสยเวทวิทยา เป็นที่เคารพนับถือของชาวหัวหิน ตลอดทั้งพุทธศาสนิกชนทุกระดับ

ท่านเกิดเมื่อปีพ.ศ.2400 เป็นบุตรของนายพ่วง นางสุ่ม พ่วงไป มีพี่น้องรวม 5 คน ท่านเป็นคนที่ 2 บ้านเดิมอยู่ที่บ้านลัดโพ จ.เพชรบุรี หัดเรียนเขียนอ่านอักขรสมัยที่วัดลัดโพ กับพระอธิการเมือง อยู่ 1 ปี แล้วย้ายไปอยู่กับพระอธิการสุก วัดหลักป้อม จ.สมุทรสงคราม เรียนทางพระปริยัติธรรมและบาลีอยู่หลายปี จนอายุย่าง 19 ปี จึงบรรพชา อายุ 21 ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดหลักป้อม ได้รับฉายา "ปุญญนาโค" เริ่มศึกษาวิปัสสนาธุระและรับการถ่ายทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อเอี่ยม วัดลัดด่าน และหลวงพ่อภู่ วัดบางกะพ้อม จนมีเกียรติคุณเลื่องลือด้านวิทยาคมอย่างยอดเยี่ยม

ปีพ.ศ.2464 ท่านได้ลาสิกขาออกมาช่วยครอบครัว และแต่งงานจนมีบุตร 1 คน ก่อนที่จะเลิกร้างกันไป และเกิดความเบื่อหน่ายทางโลกตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งที่วัดโตนดหลวง จังหวัดเพชรบุรี จำพรรษาอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนมาสร้างวัดวังก์พง ที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวบ้านหัวหินได้พร้อมใจกันสร้าง "วัดอัมพาราม" ขึ้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดหัวหิน" ขุนศรีเสละคาม (พลอย กระแสสินธุ์) กำนันโต และผู้ใหญ่กล่ำ เป็นตัวแทนชาวบ้านไปอาราธนาท่านมาเป็นเจ้าอาวาส เพราะเป็นที่เคารพเลื่อมใสของคนในท้องถิ่นนั้น

นับแต่นั้นมา ท่านได้พัฒนาวัดหัวหินจนกระทั่งมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมวัดอื่นๆ มีความมั่นคงสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

ผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า หลวงปู่นาคเป็นพระเกจิอาจารย์เรืองอาคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชศรัทธาเป็นพิเศษ พระองค์ทรงนับถือเสมอด้วยศิษย์กับครู ทุกครั้งที่เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จะทรงมานมัสการเสมอ พร้อมทั้งทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ท่านเข้าเฝ้าฯ ได้ตลอดเวลา แม้ในยามราตรี

มีผู้บันทึกนิสัย ปฏิปทา และศีลวัตรของท่านไว้ว่า เป็นผู้มีอัธยาศัยรักสงบ เยือกเย็นและสุขุม ประกอบด้วยความเมตตากรุณา มีเมตตาธรรมแก่คนทั่วไปโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ เป็นพระที่พูดน้อย เวลาจะตักเตือนหรือสั่งสอนใคร มักใช้คำพูดสั้นๆ ไม่เยิ่นเย้อ แต่เป็นคำที่เฉียบคม แฝงด้วยความหมายลึกซึ้งยิ่งนัก

บั้นปลายชีวิตหลวงปู่นาคเริ่มอาพาธด้วยโรคบวมตามข้อ ปีพ.ศ.2475 รักษาตัวเรื่อยมา อาการไม่หายขาด เพียงทุเลาได้เป็นครั้งคราว ก่อนที่จะมรณภาพเมื่อเวลา 15.53 น. วันที่ 24 กรกฎาคม 2477 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองยาวนานถึง 38 ปี (พ.ศ.2439-2477) มีอายุพรรษาได้ 43 พรรษา ได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2478 หลวงปู่นาคเป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งซึ่งสร้างพระเครื่องได้เข้มขลัง เนื่องจากสืบสายพุทธาคมมาจากเกจิทรงวิทยาคมหลายท่าน วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ขึ้นชื่อลือชาชนิดหนึ่งคือ "พระสมเด็จวัดมฤคทายวัน"

วัดมฤคทายวัน มีชื่อมาจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งตามพุทธประวัติเป็นที่พำนักของพระปัญจวัคคีย์ หลังจากเสื่อมศรัทธาในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และเป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา "พระธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จนพระโกณฑัญญะหนึ่งในพระปัญจ วัคคีย์ขออุปสมบท เป็นพระภิกษุรูปแรกของพระพุทธองค์ และครั้งแรกในพุทธกาล

วัดมฤคทายวัน ตั้งอยู่ติดกับวังไกลกังวล ซึ่งสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อเป็นที่ประทับในฤดูร้อน และเมื่อพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานมายังวังไกลกังวล ก็มักทรงสดับพระธรรมเทศนา และสนทนาธรรมกับพระภิกษุผู้มีศีลาจารวัตรงดงาม รวมถึง "หลวงปู่นาค ปุญญนาโค" ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมฤคทายวันในสมัยนั้น ซึ่งภายหลังได้ย้ายมาครองวัดหัวหิน นอกจากท่านจะมีศีลาจารวัตรงดงามแล้ว ท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในวิทยาอาคมเข้มขลัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียง

ราวปีพ.ศ.2462 รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ "หลวงปู่นาค" เป็นเจ้าพิธีในการสร้างพระพิมพ์สมเด็จมฤคทายวันขึ้น เป็นพระเนื้อผงทรงสี่เหลี่ยม คล้ายพระสมเด็จวัดระฆังฯ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เนื้อหามวลสารประกอบด้วยปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลัก ที่สำคัญคือ "ผงตรีนิสิงเห" อันเป็นผงวิเศษหลักในการสร้างพระสมเด็จ มาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) จนถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีอานุภาพนานัปการ ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี ผงตรีนิสิงเหนำมาผสมรวมกับมวลสารมงคลอื่นๆ แล้วใช้น้ำมันตั้งอิ้วกับน้ำมันลินสีดเป็นตัวประสาน เนื้อมวลสารที่เป็นปูนเปลือกหอยก็จะอมน้ำมันทำให้เนื้อขององค์พระแลดูชุ่มและนุ่ม ส่วนผงตรีนิสิงเหนั้นไม่อมน้ำมัน จึงปรากฏเป็นผงสีเหลืองนวลแทรกอยู่ในเนื้อขององค์พระ ลักษณะเหมือนถั่วตัดสวยงามมาก โบราณาจารย์บางท่านมักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระผงน้ำมัน" ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นต้นตระกูลของพระผงน้ำมันทีเดียว

พระผงน้ำมันวัดมฤคทายวัน เป็นเนื้อผงปูนปั้น ผสมน้ำมันทั้งหมด มีหลากสีคือ ขาว, ดำ, แดง, เหลือง, ส้ม โดยสีขาวที่เรียกกันทั่วไปว่าเนื้อกระดูก เป็นเนื้อนิยมสูงสุด เนื่องจากมีความเชื่อว่ายากต่อการปลอมแปลง แต่ปัจจุบันเล่นรุ่นหลัง สามารถแยกเก๊-แท้ได้แล้ว โดยอาศัยเอกลักษณ์จากพิมพ์ทรงการตัดขอบและเนื้อหาที่ละเอียด หนึกนุ่ม ปกคลุมด้วยน้ำมันที่แห้งผาก ยากต่อการปลอมแปลง เนื้อสีอื่นจึงได้รับความนิยมตามมา โดยลำดับ พระมฤคทายวัน มีหลายพิมพ์เท่าที่วงการยอมรับไม่ต่ำกว่า 20 พิมพ์ หากนำมาเสนอทั้งหมด หน้ากระดาษคงไม่เอื้ออำนวย โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ดังนี้

พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ มี 2 ขนาด คือ ใหญ่, เล็ก พิมพ์ใหญ่แยกเป็นพิมพ์ลึก, ตื้น
พิมพ์สมเด็จ 3 ชั้น แบ่งเป็น 3 พิมพ์คือ ใหญ่, กลาง, เล็ก
พิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่พิเศษอกร่อง, พิมพ์อกร่อง, อกตัน
พิมพ์นางกวัก เป็นพิมพ์ที่มีมากที่สุดแบ่งได้ 4 ขนาดใหญ่พิเศษ (จัมโบ้) ใหญ่, กลาง, เล็ก, จิ๋ว
พิมพ์ชินราช แบ่งเป็น 3 พิมพ์คือใหญ่, กลาง, เล็ก
พิมพ์ 3 เหลี่ยม แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ ใหญ่, กลาง, เล็ก
พิมพ์พระศรีอาริย์ มีพิมพ์เดียว
พิมพ์ป่าเลไลยก์ มีพิมพ์เดียว
ทุกพิมพ์มีเอกลักษณ์เฉพาะคือ จะเป็น กรอบกระจก เช่นเดียวกับเกษไชโย และมีการตัดขอบสำเร็จในพิมพ์ ไม่มีการตัดนอกพิมพ์ เนื่องจากการสร้างแบบแม่พิมพ์ที่มาตรฐาน ซึ่งเชื่อว่าเป็นฝีมือช่างหลวง เป็นการสร้างแบบแม่พิมพ์ของช่างผู้มีความรู้ในเชิงช่างชั้นครู อย่างแท้จริง เลอเลิศทั้งอักขระเลขยันต์ประทับด้านหลัง นอกจากนั้นยังมีแบบหลังเรียบอีกด้วย

สมเด็จวัดมฤคทายวัน พิมพ์ปรกโพธิ์ นั้นได้รับความนิยมและมีราคามากที่สุด พุทธลักษณะแม่พิมพ์ ด้านหน้าองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิอยู่เหนืออาสนะ ด้านหลังเป็นโพธิบัลลังก์ ภายในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลัง เป็นยันต์ตรีนิสิงเห

พิธีพุทธาภิเษกจัดอย่างยิ่งใหญ่สมบูรณ์ ทั้งพิธีหลวงและพิธีพราหมณ์ รวมถึงพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นร่วมปลุกเสก และหลวงปู่นาคปลุกเสกด้วยตนเองอีกรอบหนึ่ง จัดเป็นสิ่งมงคลเมืองเพชร-พระสมเด็จมากพุทธคุณ เห็นชื่อชั้นแล้วบอกได้เลยว่าน่าสะสม

โดย ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ข่าวสด

ที่มา: www.aj-ram.com/view/สมเด็จวัดมฤคทายวัน หลวงปู่นาค ปุญญนาโค

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top