หลวงพ่อทวด วัดไทรใต้ หน้าแก่ ( 11 )-ชัมภลพระเครื่อง - webpra
ขอพรเทพเจ้าแห่งโชคลาภ มหาเศรษฐีชัมภล "โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ" ร่ำรวยรับทรัพย์ทุกวัน

หมวด หลวงปู่ทวด ทั่วไป วัดอื่นๆ

หลวงพ่อทวด วัดไทรใต้ หน้าแก่ ( 11 )

หลวงพ่อทวด วัดไทรใต้ หน้าแก่  ( 11 ) - 1หลวงพ่อทวด วัดไทรใต้ หน้าแก่  ( 11 ) - 2
ชื่อร้านค้า ชัมภลพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อทวด วัดไทรใต้ หน้าแก่ ( 11 )
อายุพระเครื่อง 55 ปี
หมวดพระ หลวงปู่ทวด ทั่วไป วัดอื่นๆ
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ apol2025@yahoo.com
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 10 ม.ค. 2555 - 21:21.55
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 15 มิ.ย. 2556 - 13:09.54
รายละเอียด
สวย แท้ ดูง่าย อีกรุ่นของหลวงพ่อทวดที่น่าสะสม ชัดเจนทั้งประวัติการจัดสร้าง วัตถุประสงค์การจัดสร้างดี ปลุกเสกโดยหลวงพ่อทิม วัดช้างให้ และคณาจารย์สายนครสวรรค์ ปี 2506

***ประวัติวัดไทรใต้***
“วัดไทรใต้” เลขที่ 4 ถนนโกสีย์เหนือ ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เป็นวัดที่เก่าแก่ ก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2350 อยู่บนที่ราบสูงเชิงเขา ติดริมแม่น้ำปิง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2355 เดิมมีชื่อว่า วัดไทรทอง ต่อมา มีการสร้างวัดทางทิศเหนือของวัดไทรทอง ชื่อว่า วัดไทรเหนือ วัดไทรทองจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดไทรทองใต้ แต่ประชาชนเรียกว่า วัดไทรใต้ คำว่า ทอง หายไป วัดนี้เคยเป็นสำนักวิปัสสนามาก่อน และเคยเป็นที่ตั้งชั่วคราวของศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และสภาพเดิมเป็นชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ประชาชนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีวัดจึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ วัดสมัยก่อนๆที่ตั้งริมแม่น้ำจะมีต้นไทรจำนวนมาก ชุมชนแถวนี้สมัยก่อนอยู่ริมน้ำจึงมีต้นไทรมากมายจึงเป็นที่มาของวัดไทร
ปัจจุบันมีพระครูนิโครธธรรมวุฒิ เป็นเจ้าอาวาส

***ประวัติหลวงพ่อโต วัดไทรใต้***
"หลวงพ่อโต วัดไทรใต้" เป็นพระพุทธรูปประธาน ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดไทรใต้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัยตอนปลาย ทำด้วยทองสำริด เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านทั่วไป

หลวงพ่อโต มีประวัติความเป็นมาที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ย้อนหลังไปเมื่อ 100 ปีที่แล้วมา มีโยมชาวบ้าน ชื่อ เข็ม เลิศล้ำ เป็นญาติกับหลวงพ่อหล่อ หรือพระสมุห์ทองหล่อ อดีตเจ้าอาวาสวัดไทรใต้
นายเข็ม มีบ้านอยู่ที่บ้านหาดทรายงาม อยู่ห่างวัดไทรใต้ไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร คืนหนึ่งนายเข็มนอนหลับฝันไปว่า หลวงพ่อโต มาเข้าฝันบอกว่า "กูนอนอยู่ในป่าไผ่วัดดอนคา (อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์) มานานแล้ว กูอยากมาอยู่กับมึง" ครั้นนายเข็มตื่นขึ้นจำความได้ดี จนรุ่งเช้าจึงนำความฝันมาเล่าให้ลูกหลานฟัง หลังจากนั้นจึงได้ช่วยกันหาเกวียนได้ 3 เล่ม รวมผู้คนกว่า 20 คน เตรียมเสบียงอาหาร เดินทางไปวัดดอนคา เพื่อไปแห่รับพระกลับมาบ้านหาดทรายงาม ทั้งหมดพากันเดินล่องใต้ไปข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงสะพานเดชาติวงศ์ ซึ่งเป็นช่วงเดือน 5 หน้าแล้งมีน้ำน้อย เป็นบริเวณเส้นทางที่จะเดินทางผ่านไปยัง อ.ท่าตะโก และคิดกันว่าถ้าไปแล้วไม่ได้พระตามที่ฝันก็จะพาหันหาหน่อไม้กลับมาไว้กินไว้ขายกัน

เมื่อเดินทางมาถึงวัดดอนคา นายเข็มก็เดินเข้าไปในป่าไผ่ตามที่ปรากฏในฝัน เป็นที่น่าประหลาดใจที่ได้พบพระพุทธรูป 2 องค์ เป็นพระสมัยสุโขทัยตอนปลาย ทำด้วยทองสำริดสวยงามทั้งสององค์ ไม่มีรอยชำรุด นายเข็มเลือกพระองค์ที่เห็นตามในฝันเพียงองค์เดียว ส่วนอีกองค์ปล่อยไว้ตามเดิม ไม่ได้นำกลับมาด้วย
เล่าขานกันว่า พระพุทธรูปอีกองค์ที่เหลืออยู่มีชาวบ้านเข้าไปหาปลาเอาแหลนไปแทงปลาในสระน้ำ ข้างวัดดอนคา พบพระพุทธรูปจึงนำขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดดอนคา อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ชื่อว่าหลวงพ่อแหลน ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวท่าตะโก นับว่าพระพุทธรูปสององค์ คือ หลวงพ่อโตและหลวงพ่อแหลน ถือว่าเป็นพระพี่น้องกัน หลวงพ่อโตจะมีองค์โตกว่าหลวงพ่อแหลนเล็กน้อย
ในช่วงขากลับ คณะของนายเข็มได้อัญเชิญหลวงพ่อโตขึ้นเกวียนแห่มาตามทางและมาข้ามแม่น้ำเจ้า พระยา ปกติบริเวณนี้จะมีปลากระเบนชุกชุม พวกหาปลาจะไม่กล้าเข้าใกล้ ถ้าใครเข้าไปจะถูกปลากระเบนแทงขา
แต่เมื่อขบวนหลวงพ่อโตแห่มาลงตรงท่าน้ำ เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ไม่มีใครถูกปลากระเบนแทงเลย เมื่อข้ามฝั่งมาแล้วก็แห่หลวงพ่อโตย้อนแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามริมฝั่งผ่านวัด หัวเมือง(วัดนครสวรรค์) ผ่านตลาดปากน้ำโพ ผ่านวัดโพธาราม จนมาถึงวัดไทรทอง (ชื่อเดิมของวัดไทรใต้) ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง เป็นเวลาช่วงเย็นพอดี คณะของโยมเข็มจึงหยุดพักขบวนแห่ที่มีเป้าหมายว่าจะไปวัดหาดทรายงาม พอจะแห่ขบวนไปต่อปรากฏว่าวัวทั้งสองตัวที่เทียมเกวียนแห่อัญเชิญหลวงพ่อโต เกิดตื่นวิ่งหนีเข้าป่าหายไปไม่ยอมมาเทียมเกวียน นายเข็มและคณะจึงปรึกษากัน สรุปความว่า หลวงพ่อโตคงต้องการอยู่ที่วัดไทรทอง จึงอัญเชิญหลวงพ่อโตเข้าไปในอุโบสถวัดไทรทอง ยกขึ้นเป็นพระประธานมาจนถึงทุกวันนี้
วันที่อัญเชิญหลวงพ่อโตเข้าไปในอุโบสถวัดไทรทอง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 จึงเป็นวันที่ชาวบ้านวัดไทรทองหรือวัดไทรใต้ในปัจจุบัน จัดงานประเพณี มีการจัดขบวนแห่นำองค์หลวงพ่อโตออกแห่ พร้อมทั้งจัดงานสมโภชฉลองหลวงพ่อโตเป็นประเพณีประจำทุกปี โดยออกแห่ทางเหนือไปถึงวัดหาดทรายงาม บ้านของโยมเข็ม แล้วแห่ลงมาทางใต้ถึงวัดหัวเมือง (วัดนครสวรรค์) และแห่รอบตลาดปากน้ำโพให้ประชาชนได้สรงน้ำ สักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล

***ประวัติการสร้างวัตถุมงคล พศ.2506***
ในสมัย พระครูนิเทศธรรมวิศิษฐ์(มณี) เจ้าอาวาสวัดไทรใต้ ได้จัดพิธีเททองหล่อรูปหลวงพ่อโต ซึ่งจำลองมาจากองค์พระประธานในโบสถ์ พร้อมกับสร้างองค์หลวงพ่อทวด ซึ่งเป็นรูปหล่อโลหะขนาดเท่าคนจริง ขึ้นอีกหนึ่งองค์(ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพ่อทวดหลังโบสถ์) เพื่อให้ไว้เป็นที่สักการะบูชาและเป็นที่พึ่งแก่สาธุชนทั่วไป และในคราวเดียวกันได้จัดสร้างเหรียญหลวงพ่อโต, หลวงพ่อทวดเนื้อว่านและเนื้อโลหะหล่อหลังเตารีดหลวงพ่อทวด ฯลฯ และพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ได้นำถวายเหรียญหลังเตารีดและเนื้อว่านหลวงพ่อทวดที่ท่านนำมาจากวัดช้างให้ จำนวนหนึ่งด้วย พร้อมจัดพิธีพุทธาภิเษก โดยพระครูนิสัยโสภณ(หลวงพ่อทิม วัดช้างให้) และคณาจารย์อีกหลายองค์

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top