ล็อกเก็ต หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ยโสธร -จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ

ล็อกเก็ต หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ยโสธร

ล็อกเก็ต หลวงปู่สอ  วัดป่าหนองแสง ยโสธร   - 1ล็อกเก็ต หลวงปู่สอ  วัดป่าหนองแสง ยโสธร   - 2ล็อกเก็ต หลวงปู่สอ  วัดป่าหนองแสง ยโสธร   - 3ล็อกเก็ต หลวงปู่สอ  วัดป่าหนองแสง ยโสธร   - 4ล็อกเก็ต หลวงปู่สอ  วัดป่าหนองแสง ยโสธร   - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ล็อกเก็ต หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ยโสธร
อายุพระเครื่อง 18 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานเหนือ
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 24 ก.ย. 2560 - 20:34.43
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 26 มิ.ย. 2561 - 15:16.47
รายละเอียด
ล็อกเก็ต หลวงปู่สอ พันธุโล วัดป่าหนองแสง ยโสธร ที่ระลึกครบ7รอบ

84 ปี

พ.ศ.2548

สวยเดิมครับ

หนึง ในพระอริยเจ้า สายวิปัสนา



หลวงพ่อเจ็ดษัตริย์องค์จริง เป็นพระพุทธรูปคู่บารมีของหลวงปู่สอ พันธุโล วัดบ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุประมาณ ๘๐๐ ปี ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว หลวงปู่สอ ท่านได้มาเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๘ ในช่วงที่ท่านจำพรรษาอยู่วัดป่าอรัญญิกาวาส อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ก่อนหน้าที่จะได้รับพระพุทธรูปมา ประมาณพรรษาที่ ๒-๖ เวลาหลวงปู่สอนั่งสมาธิภาวนามักจะได้นิมิตเห็นงูใหญ่สีทองเท่าต้นเสามาหาที่ กุฏิ บางครั้งมาขนดตัวให้ท่านนั่งคล้ายพระนาคปรก มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านกำลังเดินรอบวัด ได้ยินเสียงดังขึ้นในอากาศว่า "สัญลักษณ์ของท่านอาจารย์นั้น จะตกทอดมาจากอากาศ บางทีอาจจะมีคนเก็บรักษาไว้ แล้วนำมาถวาย" หลวงปู่สอท่านเฝ้าสังเกตดูมาตลอดว่า อะไรที่ท่านจะได้รับตามนิมิตนั้น จนกระทั่งพรรษาที่ ๘ จึงมีสองสามีภรรยา ชื่อนายกำพล คนในอำเภอบ้านผือได้นำมาถวายในตอนเช้า ประมาณ ๙ นาฬิกา และหลวงปู่สอก็นำไปถวายให้หลวงตามหาบัวดูในตอนสายวันนั้น ซึ่งหลวงตามหาบัวบอกว่า "พระนี้เป็นของดีจริงๆ รักษาไว้ให้ดีนะ" หลังจากข่าวนี้แพร่ออกไปในหมู่พระเถระในสมัยนั้น ก็มีครูบาอาจารย์หลายรูปได้ชมและกราบไหว้ เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร และ หลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นต้น

พระพุทธรูปองค์นี้สามารถสื่อสารกับหลวงปู่สอได้ ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของท่าน ถ้าหลวงปู่ท่านอยากทราบอะไร หรือจะมีเหตุอะไรเกิดขึ้น ท่านก็มักจะกำหนดจิตกราบทูลถามเสมอ บางครั้งญาติโยมที่ไปกราบไหว้ ท่านก็ให้อธิษฐานยกพระพุทธรูปก็มีหลายคน

เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๐ พระครูสิทธิวราคม (นิคม) ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่สอ และประจักรในพุทธคุณของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ จึงขออนุญาตสร้างองค์จำลองไว้ ณ วัดเวฬุวัน แต่เนื่องจากใช้ทุนทรัพย์มาก จึงนิมนต์หลวงปู่สอ ไปที่บ้านเรือนไทยของคุณหญิง สุรีพันธ์ มณีวัต และได้ปรึกษาหารือท่านพระอาจารย์อุทัย (ติ๊ก) ฌานุตตโม เห็นสมควรร่วมกันสร้างขึ้น ประกอบกับในช่วง ปี ๒๕๔๐-๒๕๔๑ เป็นปีที่ประเทศไทยประสพภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและภาวะภัยแล้งอย่างหนัก หลวงปู่สอ จึงปรารภกับคณะศิษย์ว่า "ถ้าสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ จำลอง ครบ ๗ แห่ง จะช่วยให้สถานการณ์ต่างๆดีขึ้น" ดังนั้น จึงเกิดโครงการสร้างหลวงพ่อเจ้ดกษัตริย์ จำลองขึ้นซึ่งใช้ทุนทรัพย์กว่า ๒๐ ล้านบาท นอกจากนั้นในปี ๒๕๔๓ จึงได้มีการสร้างน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ เพื่อพระราชทานให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตอัญเชิญไปประดิษฐานที่เขื่อนภูมิพลและ เขื่อนสิริกิตติ์ด้วย

ปัจจุบันแม้โครงการสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษริย์ จำลอง จะยุติไปแล้ว แต่ก็ยังมีวัดและผู้มีจิตศรัทธา รวมทั้งบริษัทเอกชนและหน่วยงานภาครัฐขออนุญาตสร้างไปประดิษฐานไว้ที่หน่วย งานอยู่เสมอ จนปัจจุบันมีจำนวนที่สร้าง ขนาดหน้าตัก ๑๙ - ๙๙ นิ้ว ประมาณ ๑๖๕ องค์

วัตถุมงคลหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
๑. พระกริ่ง รุ่นแรก สีมันปูหรือรมดำ สร้าง พ.ศ.๒๕๓๗ ประมาณ ๕,๐๐๐ องค์ (หมดไปนานแล้ว แต่อาจหาบูชาได้บ้างจากลูกศิษย์ที่ได้รับแจกจากหลวงปูสอ)
๒. เหรียญมันปูหรือรมดำ รุ่นแรก สร้าง พ.ศ.๒๕๓๗ ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ เหรียญ (หมดแล้วเช่นเดียวกัน)
๓. พระกรุ่งชุบทอง รุ่น ๒ (รุ่นแรกของโครงการ) สร้างพ.ศ.๒๕๔๑ พุทธาภิเษกในวันเททองหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ จำลององค์ใหญ่ ณ วัดเวฬุวัน
ตำบลนิคม ชุดแรก ๑๒,๐๐๐ องค์ ชุดที่สอง ๑๘,๐๐๐ องค์ รวมจำนวน ๓๐,๐๐๐ องค์ (ปัจจุบันหมดแล้ว)
๔. เหรียญรมดำ รุ่น ๒ (รุ่นแรกของโครงการ) สร้างพ.ศ.๒๕๔๑ ชุดแรก ประมาณ ๓๐,๐๐๐ เหรียญ ชุดที่สอง สาม และสี่ ประมาณครั้งละ ๓๐,๐๐๐ เหรียญ
รวม ๑๒๐,๐๐๐ เหรียญ


คำอธิษฐานบูชาพระพุทธสิริสัตตราช
(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)

(นะโม 3 จบ)

ยัมปะเนตัง พุทธะสิริสัตตะราชาติ สะวะหะเยนะ ปัญญาตัง,
ตะเมวะ อารัทธวิริเยนะ พันธุลัตเถเรนะ อาภุชังคะนิมิตเตนะ ลัทธัง,
มะยัมปะนะ อัตตะโน อัตตะโน วิภูติง อาสิงสะมานา สักกัจจัง อิมะเมวะ

พุทธะสิริสัตตะราชะ ปฏิมัง อภิปูเชมะ,
อิมัสสานุภาเวนะ มหานิสังโส, มหาโภโค,
มหาลาโภ นิรันตะระเมวะ อัมหากัง โหตุ


<< คำแปล >>

ก็พระพุทธรูปนี้ใด, ที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
ทราบทั่วกันโดยชื่อว่า พระพุทธสิริสัตตะราช
พระพุทธรูปนั้นแล, อันพระเถระผู้มีนามว่า
พันธุละ ผู้ปรารภความเพียร
ได้มาแล้ว โดยนิมิตซึ่งเกิดขึ้นจากการนั่งสมาธิ
ก็ข้าพเจ้าทั้งหลาย, หวังความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนฯ
จึงขอบูชาเป็นพิเศษ ซึ่งพระพุทธปฏิมานามว่า
พุทธสิริสัตตราช นี้แล โดยความเคารพ,

ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธสิริสัตตราชนี้,
ขออานิสงค์ใหญ่โภคะเป็นอันมาก ลาภมากมูล,
จึงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ตลอดนิจนิรันดร์กาลนั่นเทอญฯ

ประพันธ์โดย...พระเทพวรคุณ (สนาน สุเมโธ ป.ธ. ๙)
วัดป่าแสงอรุณ จ. ขอนแก่น



ข้อมูลเพิ่มเติมหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ >>> http://palungjit.org/threads/**อัศจรรย์-หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์-พระคู่บารมีหลวงปู่สอ-พันธุโล**.66694/

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top