เหรียญ บารมี 90 หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์ -จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

เหรียญ บารมี 90 หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์

เหรียญ บารมี 90 หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์  - 1เหรียญ บารมี 90 หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์  - 2เหรียญ บารมี 90 หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์  - 3เหรียญ บารมี 90 หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์  - 4เหรียญ บารมี 90 หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์  - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ บารมี 90 หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์
อายุพระเครื่อง 27 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 13 ม.ค. 2561 - 20:45.29
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 24 เม.ย. 2561 - 14:17.39
รายละเอียด
เหรียญ บารมี 90 หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์

อีกหนึ่ง เหรียญนิยม ของ ท่านครับ

ยอดพระเกจิ เมืองสุพรรณ


เหรียญ รุ่นนี้ ออกแบบได้สวยงามมากครับ

ลองไปดู องค์ สวย ๆ ท้ายกระทู้นะครับ


พ.ศ.๒๔๙๑ เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี พระวิกรมมุนีศรีสุพรรณเขตสังฆปาโมกข์ (ผล อุปติสฺโส) ส่งพระมหาปลื้มมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และเป็นเจ้าคณะตำบลโคกครามด้วย เพราะเป็นคำสั่งจากพระผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ มหาปลื้มจึงไม่อาจหนีออกธุดงค์หลีกเร้นอย่างเช่นครั้งวัดกล้วย

พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูสุมนคณารักษ์ พัดยศพิเศษ จ.ป.ร.

หลวงพ่อเล่าถึงพัดยศนี้ให้ฟังว่า... “ตอนไปรับ เป็นพัดที่เด่นที่สุด มีประกายสว่างวาบพวยพุ่ง คนถือหน้าบานไม่ยอมวาง เหลืออยู่อันเดียวที่ยังไม่เก็บคืน หลวงพ่อเป็นพระวัดราษฎร์องค์แรกองค์เดียวที่ได้รับพัดยศ จ.ป.ร. นี้ หลังจากนั้น ก็มีข้อกำหนดไม่ให้วัดราษฎร์ได้รับพัดนี้...”

เมื่อครั้งที่มาจำพรรษาที่วัดสวนหงส์นั้น คุณจุน ศรีนาค เล่าให้ฟังว่า มีอุปสรรคปัญหาในเบื้องแรกพอสมควร คุณจุนชวนหลวงพ่อย้ายวัด หลวงพ่อตอบคุณจุนว่า... “อยู่ที่ไหนก็มีขวากหนาม ค่อย ๆ ถากถางไปก็หมด”

การสร้างวัด

นับแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๑ ที่หลวงพ่อยินยอมมาจำพรรษาและรับหน้าที่เจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ สภาพวัดในขณะนั้นกำลังร่วงโรย ชาวบ้านกำลังออกจากวัด หลวงพ่อจึงตั้งใจไว้ว่าจะสร้างวัดให้สำเร็จ แล้วเริ่มดำเนินการตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้ตลอดมา

หลวงพ่อเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า... “ที่หลวงพ่อมาอยู่วัดสวนหงส์นี้ จุดประสงค์ใหญ่ของหลวงพ่อ มิได้อยู่ที่การสอนกรรมฐาน อยู่ที่มาสร้างวัด การสอนกรรมฐานเป็นเรื่องพลอยได้ตามมาทีหลัง”

ในการสร้างวัด อุปสรรคส่วนหนึ่งอยู่ที่หลวงพ่อไม่จับปัจจัย จนนายอำเภอท่านหนึ่งทักท้วงเชิงเปรียบเทียบให้หลวงพ่อได้ยินว่า... “ถ้าไม่ยอมจับปัจจัย ก็สร้างโบสถ์ไม่เสร็จ”

และอุปสรรคอีกส่วนหนึ่งก็คือ การไม่ออกปากขอให้ญาติโยมมาทำบุญถวายปัจจัย โดยให้เหตุผลว่า... “การบอกบุญที่วัด จะบอกและเรี่ยไรเพียงที่ศาลานี้เท่านั้น นอกนั้นไม่ทำ หลวงพ่อต้องการให้ผู้ทำบุญ มาทำเอง ด้วยความเต็มใจ จะได้บุญมาก ได้บุญเต็ม และเขาจะเข้ามาในวัดด้วยความสบายใจ”

แม้ญาติโยมจะออกปากปวารณาเปิดทางให้ขอ ท่านก็จะไม่ยอมขอ เพราะครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าขึ้นไปกราบหลวงพ่อที่หอสวดมนต์ มีโยมผู้หญิงสองคน ดูจากเครื่องประดับก็คิดว่ามีฐานะ ทราบจากการสนทนาว่ามาจากต่างถิ่น ทั้งสองคน เอ่ยปากบอกหลวงพ่อว่า... “หลวงพ่อมีงานบุญงานก่อสร้างอะไรที่ต้องใช้ปัจจัยขอให้บอก” หลวงพ่อนิ่งเฉย เขาเอ่ยอีกเป็นคำรบสอง หลวงพ่อก็ยังนิ่งเฉย เมื่อเขาเอ่ยเป็นคำรบสาม ข้าพเจ้าได้ยินหลวงพ่อตอบไปว่า... “ญาติโยมแถบนี้เขาทำกันได้” แต่มิได้หมายความว่าหลวงพ่อรังเกียจที่จะรับปัจจัยทำบุญจากญาติโยมต่างถิ่น เพราะปกติไม่ว่าญาติโยมจะมาจากท้องถิ่นใด นำซองปัจจัยถวายหลวงพ่อร่วมทำบุญหรือถวายหลวงพ่อตามอัธยาศัย หลวงพ่อก็จะรับและให้พรเสมอเหมือนกันหมด เพียงแต่หลวงพ่อจะไม่ยอมเอ่ยปากขอปัจจัยทำบุญจากญาติโยมทุกคน

และที่สำคัญที่สุด ในยามปกติ ที่มิใช่งานประจำปีของวัด หรืองานทอดกฐิน งานบุญสำคัญ ๆ แล้ว ผู้ที่เข้ามาในวัดสวนหงส์ จะไม่มีโอกาสเห็นตู้รับบริจาคแม้แต่ใบเดียวในเขตวัดสวนหงส์

อุปสรรคทั้งสองประการนี้ หลวงพ่อยอมแก้ไขในเรื่องการจับปัจจัย เป็นความเสียสละอย่างยิ่งของพระกรรมฐาน แต่เพื่อที่จะสร้างวัดสวนหงส์ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับวัดที่ตั้งอยู่หน้าอำเภอ หลวงพ่อจึงยอมจับปัจจัยรับปัจจัยจากญาติโยม แต่ในเรื่องการออกปากบอกบุญเรี่ยไร หลวงพ่อไม่ยอมแก้ไขปรับเปลี่ยน จนถึงวันละสังขารของท่าน

งานสร้างวัดของหลวงพ่อ จึงดำเนินไปตามกำลังปัจจัยที่มีอยู่ มีปัจจัยก็ดำเนินการ ปัจจัยหมดก็หยุด ไม่ยอมเป็นลูกหนี้ ดังนั้น การสร้างวัดของหลวงพ่อปลื้ม จึงใช้เวลายาวนาน ค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะการทำพื้นที่ลุ่มของวัดที่น้ำท่วมถึง ขนาดว่าในฤดูน้ำหลาก การสัญจรภายในวัดทั้งหมดต้องใช้เรือพาย ส่วนผู้ที่มาทำบุญสามารถพายเรือมาเทียบที่ศาลาการเปรียญได้รอบด้าน... ให้เป็นที่ดอนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเพียรพยายามและความอดทน เพื่อเห็นผล นานถึงเกือบ ๕๐ ปี บริเวณพื้นที่ทั่ววัดจึงค่อย ๆ ดอนขึ้นมาทีละน้อย ๆ จนหลวงพ่อถึงกับออกปากว่า... “กว่าจะได้วัด ที่มีที่ดินกว้างขวางอย่างที่เห็นนี้ มันลำบากมาก”

เพราะสภาพของวัดตอนที่หลวงพ่อมาจำพรรษาแรก ๆ นั้น รอบหอสวดมนต์จะเป็นสะพานไม้ผุ ๆ แล่นต่อ ๆ กันไป เพื่อให้เป็นทางเดินได้ในยามหน้าน้ำหลาก สะพานนั้นสูงขึ้นมาจากพื้นประมาณสองช่วงความสูงของคน นั่นแหละ คือปริมาณพื้นน้ำทั้งหมดในวัดสวนหงส์ ที่หลวงพ่อทำให้กลับกลายเป็นผืนแผ่นดินได้อย่างที่เห็นในปัจจุบัน

โบสถ์

เป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญที่หลวงพ่อพยายามดูแลรักษา ให้สามารถใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา แม้ต้องซ่อมแซม ก็อนุรักษ์รูปแบบของโบสถ์เดิมไว้ ไม่อนุญาตให้สร้างโบสถ์ใหม่ ครั้งที่หลานชายของข้าพเจ้าบวชพระและมาขอพำนักที่วัดสวนหงส์หนึ่งสัปดาห์นั้น ภรรยาและลูก ๆ ของเขามาเยี่ยม เขาสั่งภรรยาของเขาว่า... “พาลูกไปไหว้พระในโบสถ์ไป โบสถ์วัดนี้ไม่เคยปิด ไม่ใส่กุญแจเหมือนวัดอื่น” เรื่องนี้เป็นเพราะพระเณรในวัด และศิษย์ฆราวาสที่ฝึกกรรมฐาน จะผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาใช้โบสถ์เป็นที่นั่งกรรมฐานกันเป็นประจำ โบสถ์วัดสวนหงส์จึงเป็นโบสถ์เปิด เอื้อประโยชน์ทั้งในด้านการทำสังฆกรรมและในด้านปฏิบัติธรรมกรรมฐาน แก่บรรพชิตและฆราวาสมาตลอด

เมรุ

เป็นสิ่งก่อสร้างที่หลวงพ่อตั้งใจก่อสร้างเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนชาวบางปลาม้า หลวงพ่อเป็นผู้เลือกรูปแบบของเมรุด้วยตัวเอง โดยเดินทางไปดูตัวอย่างจากวัดต่าง ๆ และที่สุดก็ได้รูปแบบเมรุที่เหมาะใจหลวงพ่อจากวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมรุที่มีรูปแบบเรียบง่าย ส่วนประกอบตรงยอดเมรุ หากได้พิจารณาแล้ว จะแสดงข้อคิดหลักธรรมที่ลึกซึ้ง

งานบูรณะ ซ่อมแซม ก่อสร้างต่าง ๆ มีตามมาเรื่อย ๆ ... ถมที่ สร้างห้องสุขา แก้ไขและย้ายกุฏิ สร้างถนนในวัด ศาลาท่าน้ำ มณฑป ซ่อมหอระฆัง ซื้อที่ขยายบริเวณวัด ปลูกต้นไม้สร้างสวนป่า ฯลฯ

นับแต่วันแรกที่หลวงพ่อปลื้มมาจำพรรษา ณ วัดสวนหงส์ ตราบถึงปี พ.ศ.๒๕๔๐ มีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆที่ทยอยเกิดขึ้น จะเกิดขึ้นตามความจำเป็น รูปแบบสิ่งก่อสร้างส่งเสริมให้เห็นเด่นชัด ถึงความสมถะของผู้ดำเนินการควบคุมการก่อสร้าง โดยเฉพาะรอบบริเวณวัด หลวงพ่อจะรักษาต้นไม้ไว้เป็นป่าร่มรื่นล้อมวัด

และแล้ว...ด้วยกาลเวลาอันยาวนานเกินกว่า ๕๐ ปี สิ่งก่อสร้างแรก ๆ เริ่มทยอยกันชำรุดทรุดโทรม แต่สิ่งก่อสร้างหลังสุดคือเขื่อนริมน้ำ เพิ่งสำเร็จ จนหลวงพ่อต้องปรารภว่า... “การก่อสร้างวัดวาอาราม เมื่อสร้างใหม่ ๆ ก็ใหม่ดี หลวงพ่ออยู่วัดมานาน ได้อยู่ดู เห็นสิ่งที่ก่อสร้างมานั้น มันทรุดโทรม มีโอกาสได้เห็นความเสื่อมโทรม ได้เห็นหลักอนิจจัง”

ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นปีที่มีการซ่อมแซมวัดอย่างต่อเนื่อง หลายครั้งที่หลวงพ่อจะพาพระเณรไปช่วยกันเก็บเศษไม้ที่ไม่ใช้และทิ้งไว้ระเกะระกะมารวม ๆ กันไว้ เพื่อให้ช่างมาเลือกเอาไปใช้ได้อีกเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ จะได้ไม่ต้องเสียเงินไปซื้อหามาใหม่ให้สิ้นเปลือง

และก่อนที่จะอาพาธ (พ.ศ.๒๕๔๐) จนถึงขึ้นวางภาระในการสร้างวัดนั้น หลวงพ่อสั่งห้ามมีการก่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นในวัด แต่อนุญาตให้บูรณะของเก่าได้ เพราะเกรงว่าจะเกิดการติดขัดเรื่องปัจจัยในภายหลัง

แต่มีบางสิ่งที่หลวงพ่อต้องการจะให้รักษาไว้ ซึ่งหลวงพ่อได้กล่าวให้ข้าพเจ้าฟังว่า... “การทำสวนป่า เมื่อสมบูรณ์ เอาไว้ให้เป็นที่สัปปายะ สงบ ให้คนมาปฏิบัติธรรม อาจจะมีที่นั่งตามโคนต้นไม้ มีสิ่งก่อสร้าง ๔ อย่าง ที่หลวงพ่อขอไว้ โลงเก็บศพ (ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าคำว่าโลงนี้ ใช้อักษร ร หรือ ล แต่ในช่วงเวลานั้น ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าที่วัดสวนหงส์มีโรงเก็บศพ และเป็นข้อบกพร่องที่ข้าพเจ้าไม่ได้ถามจากหลวงพ่อในตอนนั้น) กุฏิหลวงพ่อ หอระฆัง กุฏิที่เป็นแพท่าน้ำแล้วยกขึ้นมาเป็นกุฏิบนบกมีช่อฟ้า ขออนุรักษ์เอาไว้”

เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๔๐ หลวงพ่อเริ่มอาพาธ ความทรงจำเริ่มไม่ดี ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอยู่ในช่วงรักษาตัว ท่านจึงวางภาระหน้าที่ภายในวัด แล้วมอบหมายให้รองเจ้าอาวาสพระอาจารย์ประสิทธิ์ ทำหน้าที่ดูแลแทน จากนั้นมา การบูรณะ ซ่อมแซม ก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัด ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๐ จึงอยู่ในความควบคุมดูแลและสั่งการของพระอาจารย์ประสิทธิ์ทั้งหมด

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top