พระผงน้ำมัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี พิมพ์นาคปรก-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระผงน้ำมัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี พิมพ์นาคปรก

พระผงน้ำมัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี พิมพ์นาคปรก - 1พระผงน้ำมัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี พิมพ์นาคปรก - 2พระผงน้ำมัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี พิมพ์นาคปรก - 3พระผงน้ำมัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี พิมพ์นาคปรก - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระผงน้ำมัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี พิมพ์นาคปรก
อายุพระเครื่อง 73 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 11 ก.ย. 2561 - 21:07.47
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 29 ต.ค. 2565 - 21:02.12
รายละเอียด
พระผงน้ำมัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จ.ลพบุรี พิมพ์นาคปรก

หนึ่งในยอดพระเกจิ อันดับต้น ๆ ของเมืองไทย


พระเนื้อผงน้ำมันออกที่วัดโคกหม้อ จังหวัดลพบุรี จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2480 ท่านได้สร้างไว้เมื่อครั้งไปช่วยบูรณะเสนาสนะที่วัดโคกหม้อ มีด้วยกันหลายพิมพ์ เนื้อผงน้ำมันสีเหลือง พระเครื่องของท่านพุทธคุณสูง ด้านเมตตามหานิยมแล้วยังได้แฝงไว้ด้านความคงกระพันชาตรีอีกด้วย


หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู จังหวัดลพบุรี
โดยวิถีชีวิตของ หลวงปู่จันทร์ ก่อนที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์นั้น คล้ายกับ หลวงพ่อหรุ่น "เก้ายอด" วัดอัมพวัน คือ เคยเป็นโจรหรือเสือมาก่อน
แต่แล้วเกิดสำนึกบาปและเหนื่อยหน่ายกับชีวิตเพศฆราวาส จึงตัดสินใจออกบวช จนกระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังเป็น "ยอดพระเกจิ" และมรณภาพ คาผ้าเหลืองในที่สุด เช่น เดียวกับหลวงพ่อหรุ่น
ก่อนจะกล่าวถึงประวัติของท่าน ขอนำเสนอความเป็นมาของวัดนางหนูให้ทราบกันพอสังเขป
วัดนางหนู ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี ด้านทิศตะวันออก เป็นอาณาเขาของหมู่ 8 ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีผู้เล่าสืบต่อกันมาว่า ยายหนู หรือ นางหนู เศรษฐินี เป็นผู้สร้าง จึงมีชื่อวัดมาแต่โบราณว่า "วัดนางหนู" ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการสังคายนาชื่อวัดให้ถูกต้องตามทำเนียบสงฆ์ วัดนางหนู จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดมุกสิกกาวาส"

โดยประวัติของ หลวงปู่จันทร์ เป็นชาวลพบุรีโดยกำเนิด เดิมชื่อ "จัน" หรือ "จันทร์" เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2395 ที่บ้านบางพุทโธ ตำบลตลุง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ไม่ปรากฎว่าบิดามารดามีชื่อเสียง เรียงนามอย่างไร
อุปนิสัยเป็นคนพูดจริงทำจริง และเจ้าชู้ด้วยความเจ้าชู้ของท่านในวัยหนุ่ม ทำให้ท่านชนะใจสาวงามแห่งบางพุทโธ สองสาวงามเป็นพี่น้องกัน คนพี่ชื่อนางสิน ส่วนคนน้องชื่อนางทรัพย์
กล่าวกันว่า ท่านร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆจากปู่ ซึ่งเป็นฆราวาสจอมขมังเวช อีกทั้งนิยมชมชอบการกินว่าน และอาบว่าน เพื่อให้ผิวกายคงทนต่อศาสตราวุธต่างๆ หรืออยู่ยงคงกระพันชาตรีนั้นเอง
บ้างก็ว่า ท่านเคยบวชที่วัดหลวงสุวรรณาราม หนึ่งพรรษาแล้วสึกออกมาประกอบอาชีพและเผชิญภัยต้องคดีแล้วกลับมาบวชใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่บ้างก็ว่าท่านก่อคดีฆ่าคนตายจนต้องหลบหนีอาญา บ้านเมืองไปก่อนที่จะกลับใจมาบวช
โดยระหว่างที่ท่านยังหลบหนีคดีอยู่นั้น ท่านได้ไปร่ำเรียนวิชาอาคมจากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ หากแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นท่านใดบ้าง มีบางท่านกล่าวว่า ท่านร่ำเรียนจาก หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จังหวัดอยุธยา
ด้วยความเป็นคนมีความสนใจเกี่ยวกับไสยเวทเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ท่านจึงดั้นด้นไปฝากตัวเป็นศิษย์สำนักต่างๆจนกระทั่งมีความสำนึกในบาปที่กระทำลงไป จึงตัดสินใจออกบวชเมื่อวัยกลางคน
หลวงปู่จันทร์ เข้าอุปสมบท ณ วัดบัว ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวัดนางหนู โดยมี พระสังฆภารวาหะมุนี (เนียม) วัดเสาธงทอง พระเกจิชื่อดังในยุคนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ได้นามฉายาว่า "จันทโชติ"
และจำพรรษาอยู่ ณ วัดบัว จนต่อมาเห็นว่าสภาพวัดนางหนู ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามชำรุด ทรุดโทรมมากเกือบจะร้างก็ว่าได้ และไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่เลย ท่านจึงได้ย้ายไปพำนักอยู่ที่วัดนางหนู
ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ ตลอดจนเสนาสนะต่างๆ จนมีความถาวรเป็นปึกแผ่นขึ้นมา
เมื่อท่านมาอยู่วัดนางหนู ท่านได้สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังหลายอย่างแจก แก่ลูกศิษย์ลูกหาที่สละแรงกาย และกำลังทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์วัด เป็นการตอบแทนน้ำใจแก่สาธุชนทั้งหลาย
หลังจากนั้นท่านได้รับตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาส วัดนางหนู และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคกลางในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้มีอาคมเข้มขลัง
จากชื่อเสียงที่ดังกระฉ่อนนี่เอง ทำให้ท่านได้รับเกรียรตินิมนต์เข้านั่งปรกในพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ เมื่อปี พ.ศ. 2481 และเป็นหนี่งในพระเกจิ 108 ที่ปลุกเสกพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน วัดสุทัศน์ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2485

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top