เหรียญมหามงคลพระทันตธาตุ พระนางเหมชาลา-เจ้าชายทนทกุมาร นครศรีธรรมราช-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน

เหรียญมหามงคลพระทันตธาตุ พระนางเหมชาลา-เจ้าชายทนทกุมาร นครศรีธรรมราช

เหรียญมหามงคลพระทันตธาตุ  พระนางเหมชาลา-เจ้าชายทนทกุมาร  นครศรีธรรมราช - 1เหรียญมหามงคลพระทันตธาตุ  พระนางเหมชาลา-เจ้าชายทนทกุมาร  นครศรีธรรมราช - 2เหรียญมหามงคลพระทันตธาตุ  พระนางเหมชาลา-เจ้าชายทนทกุมาร  นครศรีธรรมราช - 3เหรียญมหามงคลพระทันตธาตุ  พระนางเหมชาลา-เจ้าชายทนทกุมาร  นครศรีธรรมราช - 4เหรียญมหามงคลพระทันตธาตุ  พระนางเหมชาลา-เจ้าชายทนทกุมาร  นครศรีธรรมราช - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญมหามงคลพระทันตธาตุ พระนางเหมชาลา-เจ้าชายทนทกุมาร นครศรีธรรมราช
อายุพระเครื่อง 21 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 16 ธ.ค. 2561 - 20:56.24
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 10 พ.ค. 2564 - 19:15.38
รายละเอียด

เหรียญมหามงคลพระทันตธาตุ ปี2547 พระนางเหมชาลา-เจ้าชายทนทกุมาร วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช


อ้างอิงจาก...

http://thaprajan.blogspot.com/2016/02/blog-post_22.html


เรื่อง 'กา' รักษาพระบรมธาตุฯ นี้ ปรากฏอยู่ในตำนานการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าสืบต่อกันมาว่า ภายหลังจากที่เจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมาร ได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากพระเจ้ากรุงลังกา ได้แบ่งส่วนหนึ่งมาฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว (เมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) เพื่อรอกษัตริย์ผู้มีบุญญาธิการในอนาคตกาลมาสร้างเมืองใหม่และสร้างพระบรมธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ระหว่างนั้น มหาพราหมณ์ผู้ติดตามและคอยให้ความช่วยเหลือเจ้าหญิงและเจ้าชาย ได้ผูกกาพยนต์ (กา-พะ-ยน) เป็นฝูงกาที่ผู้มีวิทยาคมปลุกเสกให้มีชีวิตขึ้นด้วยไสยเวทย์ ทำหน้าที่เฝ้ารักษาพระบรมสารีริกธาตุไว้มิให้ได้รับอันตราย

เหตุที่เจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมาร แบ่งพระบรมสารีริกธาตุส่วนหนึ่งมาประดิษฐานไว้ ณ ดินแดนหาดทรายแก้วแห่งนี้ มีตำนานบอกเล่าความเป็นมาไว้ว่า..
ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 1 หลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จ มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมดใส่ในพระหีบทอง ประดิษฐานไว้ในศาลากลางพระนครกุสินารา จัดให้มีมหรสพสมโภชตลอด 7 วัน

ฝ่ายกษัตริย์จากแคว้นต่าง ๆ เมื่อทราบข่าวการปรินิพพานของพระพุทธองค์ ต่างก็ส่งราชทูตนำสาส์นมาขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุพร้อมทั้งยกกองทัพติดตามมาด้วย รวม 6 นครและมีพราหมณ์อีก 1 นคร

มัลลกษัตริย์ผู้ครองนครกุสินาราตรัสปฏิเสธทูตานุทูตทั้ง 7 พระนคร ไม่ยินยอมที่จะแบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุถวายแก่เจ้าองค์ใดเลย ฝ่ายทูตานุทูตทั้ง 7 พระนครนั้นก็มิได้ย่อท้อ เกิดเหตุโต้เถียงกันขึ้น จวนจะเกิดวิวาทเป็นสงครามใหญ่

ขณะนั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า "โทณะ" เป็นอาจารย์ของกษัตริย์เหล่านั้น ได้ยินการโต้เถียงกันอย่างรุนแรงขึ้น จึงออกไประงับข้อพิพาทดังกล่าวและประกาศว่าจะแบ่งปันพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กัน จะได้อัญเชิญไปบรรจุในสถูปทุก ๆ พระนครเพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาของมหาชน กษัตริย์และพราหมณ์ทั้ง 8 พระนครได้ฟังดังนั้น ก็ทรงเห็นชอบพร้อมกับมอบธุระให้โทณพราหมณ์แบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุ

ในครั้งนั้น มีพระเถระผู้ทรงอภิญญาสมาบัติ ทราบด้วยอนาคตังสญาณ (ญาณที่ล่วงรู้อนาคต) ว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในภาคกลางและภาคใต้ของชมพูทวีป (ตอนกลางและตอนใต้ของอินเดีย) และจะเคลื่อนเข้าสู่สุวรรณทวีป (ประเทศไทย) จึงกำบังกาย อัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว (พระทันตธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ออกจากจิตกาธาน (เชิงตะกอน) นำไปถวายพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกาลิงคะ ให้เป็นมิ่งขวัญแก่พุทธศาสนิกชนเพราะดินแดนส่วนนั้นมิได้รับแจกพระบรมสารีริกธาตุจากโทณพราหมณ์
พระเขี้ยวแก้วได้เสด็จเคลื่อนย้ายไปยังพระนครต่าง ๆ ในลุ่มน้ำมหานที จนกาลเวลาล่วงไป 800 ปีเศษ เสด็จมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองทันทบุรี เจ้าเมืองชื่อท้าวโกสีหราช มีพระอัครมเหสีชื่อนางมหาเทวี มีพระธิดาผู้พี่ชื่อ เจ้าหญิงเหมชาลา และพระราชโอรสผู้น้องชื่อ เจ้าชายทันทกุมาร

การเสด็จมาของพระเขี้ยวแก้ว ทราบถึงท้าวอังกุศราชแห่งเมืองขันธบุรี ได้ยกทัพกองทัพใหญ่มาตีเมืองทันทบุรีหมายจะช่วงชิง ท้าวโกสีหราชไม่ประสงค์จะให้พระเขี้ยวแก้วตกไปอยู่ในมือของพวกทมิฬเดียรถีย์ จึงรับสั่งให้เจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมาร ลอบหนีออกนอกเมืองพร้อมกับอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปถวายพระเจ้ากรุงลังกา ส่วนตัวพระองค์ได้นำทัพเข้ากระทำยุทธหัตถี แต่เนื่องด้วยพระชันษาย่างเข้าวัยชรา จึงเพลี่ยงพล้ำเสียทีแก่ท้าวอังกุศราช สิ้นพระชนม์บนคอช้างในที่สุด
ฝ่ายเจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมาร ได้ปลอมพระองค์เป็นพ่อค้าวาณิช ซ่อนพระเขี้ยวแก้วไว้ในพระเมาลีเหนือเศียรเกล้า โดยสารเรือสำเภากางใบเดินทางไปยังเกาะลังกา ระหว่างทางเรือถูกพายุซัดมาเกยฝั่งเมืองตะโกลา (อำเภอตะกั่วป่า บ้างก็ว่าเป็นเมืองตรัง)

เมื่อขึ้นบกที่เมืองตะโกลา ทรงทราบจากชาวเมืองว่า ที่หาดทรายแก้ว (นครศรีธรรมราช) มีพ่อค้าวาณิชเดินทางไปมาค้าขายระหว่างสุวรรณภูมิกับลังกาอยู่เป็นประจำ จึงดั้นด้นเดินทางบกต่อมาถึงหาดทรายแก้ว เพื่อรออาศัยเรือสินค้าเดินทางไปลังกาต่อไป ระหว่างนั้น ได้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วจากพระเมาลีลงฝังประทับไว้ที่หาดทรายแก้วเป็นการชั่วคราว
กาลนั้น มีพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ชื่อพระมหาเถรพรหมเทพ เหาะผ่านมา เห็นพระเขี้ยวแก้วที่ฝังไว้เปล่งรัศมีโชติช่วงสว่างไสว จึงแวะทำประทักษิณ พร้อมกับทำนายว่า ต่อไปเบื้องหน้า จะมีกษัตริย์ผู้มีบุญญาธิการ มาสร้างเมืองใหญ่ ณ หาดทรายแก้วแห่งนี้ และจะทรงสร้างพระบรมธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

ฝ่ายเจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมาร หลังจากที่เดินทางถึงลังกา ได้เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงลังกา ถวายพระเขี้ยวแก้วและกราบทูลเรื่องราวความเป็นมาให้ทรงทราบ พระเจ้ากรุงลังกาทรงดูแลรับรองเจ้าหญิงและเจ้าชายทั้งสองพระองค์เป็นอย่างดี ทรงจัดให้มีพิธีสมโภชพระเขี้ยวแก้วและรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์บนยอดบรรพตเพื่อประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วให้เป็นที่สักการบูชาของประชาชนสืบไป
ต่อมา เมืองทันทบุรีกู้อิสรภาพคืนกลับมาได้และสถานการณ์บ้านเมืองได้เข้าสู่ภาวะปรกติสุข เจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมารจึงทูลลากลับแผ่นดินเกิด พระเจ้ากรุงลังกาทรงมีพระราชสาส์นถึงเจ้าเมืองทันทบุรี ให้ต้อนรับอุปถัมภ์เจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมาร ผู้เป็นพระราชธิดาและพระราชโอรสของท้าวโกสีหราชซึ่งทิวงคตในการสงคราม และมีบัญชาให้มหาพราหมณ์อำมาตย์สี่คน ร่วมเดินทางเพื่อคอยดูแลให้ความช่วยเหลือ และทรงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุให้ 1 ทะนาน
เจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมารได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่รับพระราชทานมาจากพระเจ้ากรุงลังกาออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งนำมาบรรจุไว้ที่หาดทรายแก้วและก่อเจดีย์สวมครอบไว้ ณ รอยเดิมที่เจ้าหญิงและเจ้าชายเคยฝังพระเขี้ยวแก้วไว้ชั่วคราวก่อนหน้านี้ พระบรมสารีริกธาตุอีกส่วนหนึ่ง อัญเชิญกลับไปยังเมืองทันทบุรี จากนั้น มหาพราหมณ์ทั้งสี่ได้ประกอบพิธีไสยเวทย์ ผูกพยนต์เป็นกา 4 ฝูง เพื่อให้เฝ้ารักษาพระบรมสารีริกธาตุมิให้เกิดอันตราย คือ

กาสีขาว 1 ฝูง เรียกว่า 'กาแก้ว' เฝ้ารักษาอยู่ทางทิศตะวันออก
กาสีเหลือง 1 ฝูง เรียกว่า 'การาม' เฝ้ารักษาอยู่ทางทิศใต้
กาสีแดง 1 ฝูง เรียกว่า 'กาชาด' เฝ้ารักษาอยู่ทางทิศตะวันตก
และกาสีดำ 1 ฝูง เรียกว่า 'กาเดิม' เฝ้ารักษาอยู่ทางทิศเหนือ

การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์แต่โบราณของเมืองนครศรีธรรมราช จัดคณะสงฆ์เป็น 4 คณะและได้นำชื่อกาทั้ง 4 ฝูงมาตั้งเป็นชื่อของคณะสงฆ์แต่ละคณะ โดยยึดเอาแบบกาพยนต์ที่รักษาพระบรมธาตุเจดีย์ในตำนานมาเป็นนัย คือ คณะกาแก้ว คณะการาม คณะกาชาด และคณะกาเดิม

พระสงฆ์ที่เป็นประธานหรือหัวหน้าของแต่ละคณะ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูกา คือ พระครูกาแก้ว พระครูการาม พระครูกาชาด และพระครูกาเดิม ตำแหน่งเทียบเท่าสังฆราชหัวเมืองหรือพระราชาคณะ เป็นสมณศักดิ์สำหรับสงฆ์ภาคใต้อันมีมาแต่โบราณกาล และได้ใช้ระเบียบแบบแผนนี้มาอย่างยาวนาน เมืองไชยา (สุราษฎร์ธานี) และเมืองพัทลุง ซึ่งมีพระบรมธาตุประดิษฐานอยู่ (หมายถึงพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพระธาตุบางแก้ว วัดเขียนบางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง) ก็รับเอาระเบียบเดียวกันนี้ไปใช้ด้วย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการปรับปรุงศาสนจักรให้ขึ้นตรงต่อส่วนกลางและจัดสมณศักดิ์เสียใหม่ สมณศักดิ์พระครูกาอันมีเกียรติและศักดิ์ศรีเทียบเท่าพระราชาคณะ จึงเปลี่ยนฐานานุกรมเป็นพระครู
นอกจากนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดฯ ให้มีตำแหน่งพระครูรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ เช่นเดียวกับพระครูการักษาองค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช คือ

พระครูปุริมานุรักษ์ เฝ้ารักษาพระปฐมเจดีย์อยู่ทางทิศตะวันออก
พระครูทักษิณานุกิจ เฝ้ารักษาพระปฐมเจดีย์อยู่ทางทิศใต้
พระครูปัจฉิมทิศบริหาร เฝ้ารักษาพระปฐมเจดีย์อยู่ทางทิศตะวันตก
พระครูอุตรการบดี เฝ้ารักษาพระปฐมเจดีย์อยู่ทางทิศเหนือ
นับจากปี พ.ศ. 854 ที่เจ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมารได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ หาดทรายแก้ว ภูมิประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา คลื่นได้ซัดพาเอาโคลนทรายขึ้นถมทับพระเจดีย์ กลายเป็นป่าดงไม่มีร่องรอยพระเจดีย์เดิมให้เห็น กาลเวลาล่วงเลยไปนับร้อยปี มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้อพยพผู้คนหนีภัยโรคระบาดมาตั้งเมืองใหม่ที่หาดทรายแก้ว
พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชปฐมกษัตริย์ ได้ทราบจากพระเถระชาวลังการูปหนึ่ง ถึงเรื่องราวการเดินทางของเจ้าหญิงเหมชาลา เจ้าชายทันทกุมารและพระบรมสารีริกธาตุที่ฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว ตลอดจนคำทำนายของพระมหาเถรพรหมเทพเกี่ยวกับกษัตริย์ผู้มีบุญญาธิการจะมาสร้างเมืองใหม่และสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ก็มีความโสมนัสยิ่งนัก ได้ออกสืบเสาะหาตำแหน่งที่พระบรมสารีริกธาตุฝังอยู่จนพบพระเจดีย์ แต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ ด้วยมีฝูงกาพยนต์ไล่จิกทำร้ายอยู่

ครั้งนั้น มีชายชาวเมืองชื่อจันที เข้าเฝ้าเล่าความให้ฟังว่า เมื่อบิดาตนยังมีชีวิตอยู่ ได้ศึกษาวิชาปราบหุ่นพยนต์ที่เมืองโรมวิสัย แล้วสักตำราไว้ที่ขา แต่ทางเมืองโรมวิสัยไม่ต้องการให้คนต่างด้าวรู้ตำรา จึงใช้หุ่นพยนต์มาตัดคอบิดาตนเสีย แต่ตนได้เคยเรียนวิชาจากศพของบิดา จึงรับอาสาปราบ กาพยนต์ก็สิ้นฤทธิ์ในที่สุด จากนั้น พระอินทร์มีเทวโองการถึงพระวิษณุให้ช่วยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช และอยู่ช่วยงานสร้างพระเจดีย์ใหม่จนแล้วเสร็จ ตามตำนานเล่าไว้เช่นนี้

อ่านเพิ่มเติมได้จาก


http://thaprajan.blogspot.com/2016/02/blog-post_22.html

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top