พระบารมีสิบทัศน์ ลพ.วรรณ วัดสามกระบือเผือก-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเกจิสายนครปฐม

พระบารมีสิบทัศน์ ลพ.วรรณ วัดสามกระบือเผือก

พระบารมีสิบทัศน์ ลพ.วรรณ วัดสามกระบือเผือก - 1พระบารมีสิบทัศน์ ลพ.วรรณ วัดสามกระบือเผือก - 2พระบารมีสิบทัศน์ ลพ.วรรณ วัดสามกระบือเผือก - 3พระบารมีสิบทัศน์ ลพ.วรรณ วัดสามกระบือเผือก - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระบารมีสิบทัศน์ ลพ.วรรณ วัดสามกระบือเผือก
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิสายนครปฐม
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 20 เม.ย. 2562 - 21:12.55
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 25 ธ.ค. 2565 - 19:56.57
รายละเอียด
พระมีขนาดกว้าง 3.5 ซ.ม. สูง 5.3 ซ.ม.

วันนี้ ได้ภาพ องค์ แบบธรรมดา จาก ชมรม พระเครื่องสามควายเผือก และพื้นที่ใกล้เคียงมาแสดงให้ชม ในแบบองค์ ธรรมดา

องค์ ของผม แบบพิเศษ ครับ รับรอง อาจจะมี ไม่มาก

เช่ามาจาก เจ้าของเดิม ที่บอกว่า เป็นพระ หลวงพ่อ วงศ์ วัดทุ่งผักกูด

((ยอมจ่ายแพง....))


เซียนใหญ่เคยตีเป็นหลวงพ่อวงศ์ วัดทุ่งผักกูดมาแล้วครับ

เอ่ยชื่อ วัดสามกระบือเผือก..รู้จักกันดี ครับ

เจ้าของ เหรียญตายที่ เหนียว สุด ๆ ...

เหรียญ พระอธิการชา วัดสามกระบือเผือก

คิงคอง หลวงตาอยู่ วัดสามกระบือเผือก

หลวงพ่อ วรรณ กับ หลวงพ่อ น้อย วัดธรรมศาลา มาเรียน วิชา กับ พระอธิการชา ด้วยกันครับ

......ของหายาก....หนึ่งเดียว

ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ วัดสามกระบือเผือก


พระพื้นที่ ครับ.......

ไม่โดนใจ...ถือเสียว่า เป็นการเผยแพร่ ให้ รู้จักครับ เผื่อไปเจะเจอที่ไหน




ตำนาน....ความขลัง


ประวัติวัดสามกระบือเผือกมีผู้เฒ่าเล่าว่าเดิมนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่ออาจารย์โต เดินธุดงค์มาซึ่งไม่มีใครทราบว่าท่านมาจากไหน ได้มาปักกลดอยู่ที่บ้านสระน้ำหวาน ชาวบ้านมีความเลื่อมใสในปฏิปทาของท่านจึงนิมนต์ให้ท่านอยู่และพร้อมใจกันสร้างเสนาสนะเล็กๆ ให้เป็นที่อยู่อาศัยก็คงเหมือนกับสำนักสงฆ์ในปัจจุบันนี้ ซึ่งสำนักสงฆ์นี้อยู่ทางทิศเหนือของวัดสามกระบือเผือกในปัจจุบัน ห่างจากวัดประมาณ 3 กิโลเมตร ในระหว่างที่ท่านอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ บ้านสระน้ำหวานนี้ ก็มีเด็กชายชาเป็นลูกศิษย์คอยปรนนิบัติท่านอยู่ด้วย พร้อมกับเล่าเรียนหนังสือและวิชาการต่างๆ จากอาจารย์โต ควบคู่กันไปด้วย ต่อมาเด็กชายชาได้บรรพชาเป็นสามเณร จนกระทั่งอายุได้ 21 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ครั้นต่อมาอาจารย์โต ได้คิดที่จะย้ายวัดมาตั้งในที่ที่เหมาะสม จึงได้ย้ายวัดมาเป็นครั้งที่ 2 อยู่ทางทิศเหนือของที่ตั้งวัดปัจจุบัน ระยะห่างประมาณครึ่งกิโลเมตร (ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลสามกระบือเผือก) ต่อมาอาจารย์โตได้ชราภาพและมรณภาพลง เมื่อ พ.ศ. ใดไม่สามารถสืบได้ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันมอบให้พระภิกษุชาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา
------------------------------
เมื่ออธิการชาได้รับการแต่ตั้งเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ที่ตั้งวัดในสมัยนั้นยังไม่เหมาะสม จึงได้ทำการย้ายที่ตั้งวัดใหม่เป็นครั้งที่ 3 โดยย้ายข้ามคลองลงมาทางทิศใต้ และได้ทำการสร้างวัดใหม่คือ สถานที่ตั้งวัดสามกระบือเผือกในปัจจุบันนี้ เมื่อสร้างวัดและมีเสนาสนะพอสมควรแล้ว ก็มีนายหมวดอินทร์ เป็นผู้อุปการะวัด (คำว่า หมวด เป็นยศของข้าราชการในสมัยรัชกาลที่ 5) ในสมัยนั้นอุโบสถยังไม่มี พื้นที่เป็นป่ามีสัตว์ชุกชุม พระอธิการชาเป็นที่เคารพนับถือของนายหมวดอินร์มาก จึงได้ร่วมใจกันทำบุญ ขุดดินปั้นอิฐก่อสร้างโบสถ์พร้อมกับไพร่พลของท่าน บ่อที่ขุดดินนั้นมีชื่อว่า “หนองเตาอิฐ” การก่อสร้างโบสถ์ได้ทำเมื่อประมาณปี พ.ศ.2423 และในสมัยนั้นได้ขนานนามว่า “วัดอินทาราม” โดยเอานามของนายหมวดอินทร์มาตั้งเป็นชื่อวัด และได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2435
------------------------------
กาลต่อมา ได้มีพ่อค้าเกวียนเทียมควายสามตัวบรรทุกของเดินทางมาหลายเล่มเกวียน ผ่านมาทางทิศตะวันออกของวัดซึ่งมีลำคลอง มีน้ำไหลผ่าน และมีทางข้ามได้ เมื่อเดินมาถึงวัดนี้ได้หยุดพักร้อน ให้หญ้า ให้น้ำแก่ควาย และลงอาบน้ำแช่น้ำคลองข้างวัด จะเป็นด้วยเหตุใดไม่ทราบแน่ชัดจึงทำให้ควายทั้งสามตัวตายทั้งหมด ชาวบ้านละแวกนี้ซึ่งเป็นชนชาวลาว ก็เลยถือเอานิมิตรว่า ควายเผือกสามตัวเป็นมงคล ชาวบ้านจึงเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่จากวัดอินทารามเป็นวัดสามควายเผือกตั้งแต่นั้นมา
------------------------------
สมัยพระสมุห์วรรณเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่สาม ได้พิจารณาเห็นว่าชื่อ “วัดสามควายเผือก” เป็นชื่อที่ไม่ค่อยเหมาะสมนักเพราะมีผู้คนชอบเรียกผิดไป จึงได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดสามกระบือเผือก” แต่ชื่อโรงเรียนและตำบลยังคงไว้ตามเดิม บางครั้งชาวบ้านเรียกชื่อย่อว่า “วัดบ้านเผือก” ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าหมายถึงวัดสามกระบือเผือกนั้นเอง
------------------------------
หลวงปู่ชาท่านเป็นพระรอบรู้ในพระธรรมวินัยและเชี่ยวชาญในวิปัสสนากรรมฐาน และคันถธุระ ตลอดจนคาถาอาคม แพทย์แผนโบราณ หลวงปู่ท่านเป็นพระเปี่ยมด้วยความเมตตา ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดมีความทุกข์หรือต้องการความช่วยเหลือ หรือมีความต้องการใดๆ ท่านจะอนุเคราะห์ให้เสมอ โดยไม่ขัดศรัทธาของประชาชนในละแวกนั้น จะเห็นได้จากการที่ชาวตำบลสามควายเผือกเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาขอร้องให้หลวงปู่ชารักษาพยาบาล เสมือนท่านเป็นแพทย์ประจำตำบล โดยเฉพาะผู้ถูกสุนัขบ้ากัด หลวงปู่ชาท่านจะทำน้ำมนต์ เสกเป่า จนผู้ถูกสุนัขบ้ากัดหายเป็นปกติ
------------------------------
นอกจากความเจ็บป่วยที่หลวงปู่ชาได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวบ้านแล้ว ความอนุเคราะห์ในเรื่องอื่นๆ หลวงปู่ก็มิได้ขัดศรัทธาของชาวบ้านเลย เมื่อมีผู้มาขอให้ท่านหาฤกษ์ยามในงานมงคล เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ ท่านก็สนองตอบด้วยความเต็มใจ ดังนั้นทรายเสก ไม้มงคล พระยันต์ปิดหัวเสา จึงมีประชาชนมาขอท่านอย่างไม่ขาดสาย บางรายมีเคราะห์ ก็มาขอให้หลวงปู่อาบน้ำมนต์เสดาะเคราะห์ ท่านจึงเป็นที่อยู่ในหัวใจของชาวตลาดต้นสำโรง และชาวบ้านสามควายเผือก ตลอดจนชาวตำบลธรรมศาลา
------------------------------
หลวงปู่ชาท่านเป็นพระที่เรืองเดชด้วยอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ แก่กล้าด้วยวิชาอาคม ดังนั้นเครื่องรางของขลังของท่านจึงได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตะกรุดโทน และ ตะกรุดกระดูกแร้ง จึงมีประชาชนวนเวียนมาขอท่านอย่างไม่ขาดสาย มีความเชื่อว่า มีดปืนไม่ได้กินเลือด
------------------------------
ความโด่งดังรอบรู้ในด้านพระธรรมวินัยและเชี่ยวชาญในวิปัสสนากรรมฐาน และ คันถธุระ คาถาอาคม และวิชาการต่างๆ ดังได้กล่าวมาแต่ต้น จึงมีบุคคลทั่วไปมาฝากตัวเป็นศิษย์อย่างมากมาย ได้แก่ หลวงพ่อฉ่ำ หลวงพ่อวรรณ หลวงตาอยู่(ผู้สร้างพระเนื้อดินคิงคอง) หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ท่านได้บวชเป็นสามเณรโดยมีหลวงปู่ชาเป็นพระอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ ตลอดจนวิชาอาคมต่างๆ กับหลวงปู่ชา ตามคำแนะนำของพระครูปุริมานุรักษ์ (นวม) — ที่ วัดสามกระบือเผือก อ.เมือง จ.นครปฐม


........................................

อาจารย์ วรรณ คือ หนึ่งในพระเกจิ ที่ร่วมปลุกเสก เหรียญ พระอธิการชา อันโด่งดัง ยอดเหนียวครับ


นนครปฐม มีเกจิอาจารย์ดัง ๆ หลายรูป และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ พระอธิการชา วัดสามกระบือเผือก ตำบลต้นสำโรง อำเภอเมือง นครปฐม อยู่ด้วย




ในอดีต ว่ากันว่า หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก มักจะลองวิชากับ หลวงพ่อชา วัดสามกระบือเผือก เป็นประจำ และทั้งสองท่าน ก็ไม่มีใครด้อยกว่ากันเลย

แต่หลวงพ่อชาท่านเป็นพระที่รักสงบ แต่ถึงอย่างนั้นท่านหลวงพ่อชาท่านเป็นพระรอบรู้ในพระธรรมวินัยและเชี่ยวชาญในวิปัสสนากรรมฐาน และคันถธุระ ตลอดจนคาถาอาคม แพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อท่านเป็นพระเปี่ยมด้วยความเมตตา ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดมีความทุกข์หรือต้องการความช่วยเหลือ หรือมีความต้องการใดๆ ท่านจะอนุเคราะห์ให้เสมอ โดยไม่ขัดศรัทธาของประชาชนในละแวกนั้น จะเห็นได้จากการที่ชาวตำบลสามกระบือเผือกเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาขอร้องให้หลวงพ่อชารักษาพยาบาล เสมือนท่านเป็นแพทย์ประจำตำบล โดยเฉพาะผู้ถูกสุนัขบ้ากัด หลวงพ่อชาท่านจะทำน้ำมนต์ เสกเป่า จนผู้ถูกสุนัขบ้ากัดหายเป็นปกติ

สมัยท่าน วัตถุมงคลที่ท่านสร้างจะเป็นพวกตะกรุด และก็พระสมเด็จต่าง ๆ (สมเด็จว่ากันว่าท่านบรรจุกรุเอาไว้) หลวงพ่อท่านจึงพระที่เรืองเดชด้วยอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ แก่กล้าด้วยวิชาอาคม ดังนั้นเครื่องรางของขลังของท่านจึงได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตะกรุดโทน และ ตะกรุดกระดูกแร้ง จึงมีประชาชนวนเวียนมาขอท่านอย่างไม่ขาดสาย มีความเชื่อว่า มีดปืนไม่ได้กินเลือด

ลูกศิษย์ที่ดัง ๆ ของหลวงพ่อชา ได้แก่ หลวงพ่อฉ่ำ หลวงพ่อวรรณ หลวงตาอยู่(ผู้สร้างพระเนื้อดินลิงลม) หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ท่านได้บวชเป็นสามเณรโดยมีหลวงพ่อชาเป็นพระอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐานและคันถธุระ ตลอดจนวิชาอาคมต่างๆ กับหลวงพ่อชาไว้มากมาย จนรอบรู้แทบทุกอย่างจากหลวงพ่อชา ตามคำแนะนำของพระครูปุริมานุรักษ์ (นวม) ที่แนะนำหลวงพ่อน้อยเอาไว้

เหรียญนี้เป็นหนึ่งในเบญจภาคี เหรียญตายของนครปฐม โดยมีหลวงพ่อดัง ๆ ปลุกเสก ดังนี้

คณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกมีดังต่อไปนี้
1.หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม (หลวงพ่อคงเป็นญาติของหลวงพ่อชา) --> เป็นเหรียญที่หลวงพ่อคงปลุกเสกจริงแท้แน่นอน ยิ่งกว่าเหรียญรุ่นแรกของท่านเสียอีก
2.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
3.หลวงพ่อฉ่ำ วัดสามกระบือเผือก
4.หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด
5.หลวงตาอยู่ วัดสามกระบือเผือก ผู้สร้างพระลิงลมเนื้อดิน (คิงคอง)
6.หลวงพ่อวรรณ วัดสามกระบือเผือก
7.หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง
8.หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top