พระสมเด็จ หลังพระคาถาชินบัญชร ปี 2553-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน

พระสมเด็จ หลังพระคาถาชินบัญชร ปี 2553

พระสมเด็จ หลังพระคาถาชินบัญชร ปี 2553 - 1พระสมเด็จ หลังพระคาถาชินบัญชร ปี 2553 - 2พระสมเด็จ หลังพระคาถาชินบัญชร ปี 2553 - 3พระสมเด็จ หลังพระคาถาชินบัญชร ปี 2553 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จ หลังพระคาถาชินบัญชร ปี 2553
อายุพระเครื่อง 14 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 31 พ.ค. 2562 - 21:03.56
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 08 มิ.ย. 2562 - 16:57.36
รายละเอียด
พระสมเด็จ หลังพระคาถาชินบัญชร ปี 2553


ทองแดงผิวไฟ...ได้มาใหม่อีกเหรียญ ครับ..




พระคาถาชินบัญชร (ชิ-นะ-บัน-ชอน หรือ ชิน-นะ-บัน-ชอน) ซึ่งเป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม

คำว่า "ชินบัญชร" ความหมายตามตัวอักษร แปลว่า "กรง ซี่กรงของพระชินเจ้า"

คำว่า "ชิน" ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า

คำว่า "บัญชร" ซึ่งแปลว่า กรง ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้

พระคาถาชินบัญชรบทเต็มนั้นมีทั้งหมด ๑๕ บท ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการบริกรรมคาถา หากท่านมีเวลาน้อย ไม่สามารถที่จะสวดพระคาถาชินบัญชรฉบับเต็มได้ ก็ขอให้สวดพระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ ซึ่งมี ๒ แบบ ดังนี้ แบบที่ ๑ "ชินะปัญชะระ ปะริตตัง มัง รักขะตุ สัพพะทา" ส่วนแบบที่ ๒ "วิญญาณสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ" แต่พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อซึ่งมี ๒ แบบ ไม่ใช่หัวใจพระคาถาชินบัญชร

ส่วนหัวใจพระคาถาชินบัญชร ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทอดออกมาเพื่อถวายเหนือหัวจุฬาลงกรณ์ (ร.๕) ในสถูปเจดีย์ เมื่อ ร.ศ.๘๙ ซึ่งมีทั้งหมด ๓๑ ตัว ดังนี้ "ชะ จะ ตะ สะ สี สัง หะ โก ทะ กะ เก นิ กุ โส ปุ เถ เส เอ ชะ ระ ถะ ขะ อา ชิ วา อา วะ ชิ สัง อิ ตัง" ทั้งนี้หากนำไปเปรียบเทียบหัวใจพระคาถาอื่นๆ หัวใจพระคาถาชินบัญชรทั้ง ๓๑ ตัว บางตัวก็เป็น คำแรกของแต่ละบท แต่บางตัวก็อยู่กลางบท ในขณะที่หัวใจพระคาถาอื่นๆ จะเป็นคำแรก

สำหรับพุทธคุณของพระคาถาชินบัญชร การใช้คำว่า ดีทุกด้าน หรือ ครอบจักรวาลนั้น อาจจะน้อยไป จึงมีการใช้คำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" กล่าวคือ ผู้ใดได้สวดภาวนา พระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้

๑.เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล

๒.ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ากล้ำกราย

๓.ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม

๔.เกิดลาภผลพูนทวี

๕.ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ

๖.ตลอดจนคุณไสย ต่าง ๆ

๗.ทำน้ำมนต์รดแก้สรรพโรคภัย

และ ๘.เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณ ตามแต่จะปรารถนา

นอกจากพระคาถาชินบัญชรจะขึ้นชื่อว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" ยังมีพระคาอีกบทหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" เช่นกัน คือ พระคาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก ที่ว่า "จิ เจ รุ นิ" ๔ คำนี้ โบราณเรียกว่า เป็นหัวใจพระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท โดยแต่ละตัวมีความหมายดังนี้

จิ หมายความว่า เจตสิก คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด

เจ หมายความว่า เจติสิก มีจำนวน ๕๒ มี ผัสสะ เวทนา มนสิการ โลภะ โทสะ โมหะ วิจิกิจฉา ศรัทธา สติ ปัญญา เป็นต้น

รุ หมายความว่า รูป คือ ธรรมชาติที่มีความเสื่อมสิ้นสลายไปเพราะปัจจัยที่ไม่ถูกกัน มีความเย็น ความร้อน เหลือบ ยุง ริ้น ไร เป็นต้น

นิ หมายความว่า นิพพาน คือ ธรรมชาติที่พ้นไปจากรูปนามขันธ์ ๕
สำหรับคนที่ไม่เคยส่องพระอาจจะอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า "ส่องพระแล้วเจออะไร" ลองหา พระสมเด็จรุ่น “คู่บุญ-คู่บารมี” มาสักองค์ แล้วส่องดูด้านหลังแล้วจะพบพระคาถาชินบัญชร ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า "ส่องพระเครื่องแล้วเจอพระธรรม" ซึ่งมีความคมชัดทุกตัวอักษร

พุทธานุภาพแห่งชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคล แก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ

พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านั้น จากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่างๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่า เป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้องเป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้

มีคติความเชื่อตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กลํ้ากราย ไปทางใด ย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใด ๆ สวด ๑๐ จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ




คอลัมน์ : ชั่วโมงเซียน
โดย : อ.โสภณ





มาจากหนังสือพิมพ์ : คมชัดลึก



................
................




ที่ระลึกในการ เลื่อนสมณศักดิ์สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส ปี 2553


สมเด็จพระธีรญาณมุนี สิริอายุ 62 พรรษา 42 (ในปีพ.ศ. 2553) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ, เจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) รองแม่กองธรรมสนามหลวง, กรรมการมหาเถรสมาคม

สําหรับ สมเด็จพระธีรญาณมุนี เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2490 บรรพชาครั้งแรก ณ พัทธสีมา วัดท่าตำหนัก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อปีจอ พุทธศักราช 2501 มีพระวินัยวงศาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

บรรพชาครั้งที่สอง ณ พัทธสีมา วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2509 โดยมีพระธรรมธัชมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์

เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อปีมะแม พุทธศักราช 2510 วันที่ 19 กรกฎาคม โดยมีพระธรรมธัชมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระวินัยวงศาจารย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิมลญาณโสภณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก, เปรียญธรรม 8 ประโยค

สมเด็จพระธีรญาณมุนี ได้สร้างคุณูปการไว้มากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาวัดเทพศิรินทร์ ด้วยการบูรณะพระอารามและเสนาสนะต่างๆ จำนวนมาก

และวันที่ 5 ธันวาคม 2553 รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนี

พระสมเด็จ หลังอัญเชิญพระคาถาชินบัญชรจารึกพิเศษ จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งเป็นการฉลองในโอกาสที่พระพรหมเมธี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนี ในวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2553 องค์นี้สวยมากผิวเดิมๆ น่าบูชาเก็บไว้

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top