พระแก้วรัตนาภรณ์ -จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ
พระแก้วรัตนาภรณ์  - 1พระแก้วรัตนาภรณ์  - 2
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระแก้วรัตนาภรณ์
อายุพระเครื่อง 32 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 25 ก.ค. 2562 - 21:03.25
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 04 เม.ย. 2568 - 14:29.38
รายละเอียด
นวเรศ วิมล
15 มกราคม 2023 ·
เมื่อครั้งอัญเชิญ
"พระแก้ว รัตนาภรณ์"
(หลักบุษบกมหาอุณาโลม)
ที่ "คนวังต้องห้าม" เป็นคน
ริเริ่ม,
ออกแบบ,
หามวลสาร,
ควบคุมการแกะพิมพ์,
ดูแลการกดพิมพ์,
นำเข้าพิธีปลุกเสก
ของ
"หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง"
ในหลายๆวาระ
ด้วยตนเอง
โดยการสนับสนุนจาก "ผู้ใหญ่" หลายๆท่าน
จนสำเร็จเรียบร้อยในที่สุด
******************************************************************************************************
หมายเหตุ, ปัจจุบัน ข้อมูลเรื่องราวของ "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) ที่ปรากฏในหลายๆสื่อ ค่อนข้างจะสับสนและคลาดเคลื่อนจากความที่เป็นจริงในหลายๆกรณีมาก
ก็ในฐานะที่ส่วนตัวของผมเป็นคนริเริ่ม,ออกแบบ,หามวลสาร,ควบคุมการแกะพิมพ์,ดูแลการกดพิมพ์ และนำเข้าพิธีปลุกเสกด้วยตนเอง
โดยมี "หลักฐานภาพถ่าย" ยืนยัน "ความที่เป็นจริง" อย่างเด่นชัด
จึงเห็นสมควรชี้แจงหลักๆคร่าวๆเบื้องต้น เพื่อยังความ "จริง ตามที่เป็นจริง" ให้ปรากฏสืบไป
อันมีว่า
1."พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) เป็นผลงานการออกแบบ,สร้างโดย "เนาว์ นรญาณ" หรือ "นวเรศ วิมล" โดยตรง โดยมีจุดประสงค์แน่ชัดก็คือ
"การเผยแพร่และบูรณะวัดพระพุทธบาทสี่รอย เชียงใหม่"
2."พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) ได้รับมวลสารมงคล 108 จากผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยนั้นเป็นหลายท่าน อาทิ อาจารย์อนันต์ สวัสดิสวนีย์ กรมศิลปากร,คุณสุธันย์ สุนทรเสวี สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม,อาจารย์ประโยชน์ ธรรมกรบัญญัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,อาจารย์สุวัฒน์ พบร่มเย็น วัดปากน้ำ,นายช่างธีรศักดิ์ ธรรมธาตรี (เล้ง เขาน้อย) เป็นต้น
3.เดิม กะจะสร้างถวายให้ "หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่" อธิษฐานจิต "ปลุกเสกเดี่ยว"
4.แต่ก่อนที่ "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) จะสร้างเสร็จ "หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร" ได้ "มรณภาพ"ลงไปก่อน
5.เลยจำต้องเปลี่ยนแผนไปเข้าพิธีของ "หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง" แทน
6. ในการนี้ "เจ้าประเวศ ณ ลำปาง" เมื่อได้ทราบเรื่องราวทั้งหมด "เจ้าประเวศ ณ ลำปาง จึงได้เมตตาอนุญาตให้นำ "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) เข้าพิธีได้โดยตรง ผ่านการประสานของ "ลูกศิษย์หลวงปู่สิม" ท่านหนึ่ง
7.ตอนแรก ส่วนตัวของผมกะจะขอนำเอา "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) ไปถวายให้ "หลวงพ่อเกษม" ปลุกเสกเดี่ยวเป็นการ "ส่วนตัว" แต่ "เจ้าประเวศ ณ ลำปาง" บอกว่า "เข้าพิธีใหญ่ดีกว่า" ประกอบกับในช่วงเดียวกัน "หลวงพ่อเกษม" ก็มา "เข้าฝัน" บอกผมด้วยว่า "พิธีใหญ่ เย็นใจกว่า" เลยได้อนุโลมตามนั้น
8.พิธีใหญ่ของหลวงพ่อเกษมครั้งแรกที่ได้อัญเชิญ "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) เข้าร่วมก็คือพิธี "23 ตุลามหามงคล" เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2535
9.และภายหลังจากนั้น ส่วนตัวของผมก็ได้นำ "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) เข้าพิธีใหญ่ของหลวงพ่อเกษมอีกหลายครั้ง
10.เพราะเหตุที่ชื่นชมกับคติที่ว่า "ชาติเสือ ไม่ขอเนื้อใครกิน" การอธิษฐานจิตปลุกเสก "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) โดยหลัก "ทั้งหมด" จึงเน้นที่ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" เพียงองค์เดียว
11.แม้ภายหลัง จะมีการแบ่ง "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) เนื้อธรรมดาไว้บูชาเป็นการส่วนตัวจำนวนหนึ่ง และนำไปเข้าพิธีปลุกเสกเพิ่ม โดยพระคณาจารย์องค์ต่างๆในยุคนั้น ก็ไม่อาจจะถือเป็น "มาตรฐาน" ทั้งหมดได้ เพราะไม่ได้ "เสกทั้งหมด" นั่นเอง
12. ต่อมา เมื่ออัญเชิญ "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) เข้าพิธีอธิษฐานจิตใหญ่โดยหลวงพ่อเกษมเป็นที่พอใจแล้ว ก็อัญเชิญไปถวายยังวัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ดังเจตนารมย์ที่ได้ตั้งไว้แต่ต้น
13.ถ้าทราบไม่ผิด "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) ทั้งชนิดเนื้อพิเศษและเนื้อธรรมดาจำนวนประมาณ 2,000 องค์ ได้รับการบรรจุในพระเจดีย์ข้างวิหารพระพุทธบาทสี่รอยไปเรียบร้อยแล้ว
14. และเมื่อถวาย "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) แด่วัดพระพุทธบาทสี่รอยเสร็จ ก็ได้ตั้งจิตถวายกุศลแด่ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" เป็นการเฉพาะเจาะจง และก็ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ เมื่อ "หลวงพ่อเกษม" ได้มา "เข้าฝัน" อีกครั้ง (ตอนนั้น หลวงพ่อเกษมยังไม่มรณภาพ) และ "เป่าหัว" ให้ถึง "30 ครั้ง" ติดๆกัน ในสภาวะที่ "ตื่นรู้" อย่างแจ่มชัดที่สุด ราวกับไม่ใช่ความฝันแม้แต่น้อย
ซึ่งในเวลาต่อมา เมื่อนำเรื่องดังกล่าวไปเล่าให้คนที่สุสานไตรลักษณ์ฟัง ก็ได้รับการยืนยัน ความรวมว่า
"นั่นแหละ เวลาหลวงพ่อเกษมตั้งใจ (ถอดจิต เดินญาณ)ไปโปรดใครในความฝัน เรื่องและภาพจะชัดกว่าปกติ จนเสมือนหนึ่งได้เกิดเหตุการณ์นั้นจริงๆ ขณะที่กำลังตื่นอยู่ ไม่ผิดแล้ว"
15. สรุปสั้นๆง่ายๆในตอนท้ายสุดนี้ก็คือ "พระแก้ว รัตนาภรณ์" (หลังบุษบกมหาอุณาโลม) เนาว์ นรญาณ(นวเรศ วิมล)เป็นผู้ดำริ,ออกแบบ,ดำเนินการจัดสร้าง โดยเจาะจงถวายให้ "หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง" ได้ "ปลุกเสกเดี่ยว" (ทั้งหมด) แต่เพียง "องค์เดียว" เพื่อบูรณะและพัฒนา วัดพระพุทธบาทสี่รอย เชียงใหม่เป็นการเฉพาะ
จึงขอบันทึกความทรงจำนี้ไว้ให้ปรากฏสืบไปเมื่อหน้า ในวาระครบรอบ 27 ปีแห่งมรณกาลแห่งหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปางในวันนี้ (15 มกราคม พ.ศ.2566)ก่อนเลยครับผม
"สมณัง วันทามิ"

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top