พระมหาว่าน สมเด็จหลวงพ่อ ดำ หลวงพ่อขาว วัดเสนหา นครปฐม ปี 2506-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระมหาว่าน สมเด็จหลวงพ่อ ดำ หลวงพ่อขาว วัดเสนหา นครปฐม ปี 2506

พระมหาว่าน สมเด็จหลวงพ่อ ดำ หลวงพ่อขาว วัดเสนหา นครปฐม ปี 2506 - 1พระมหาว่าน สมเด็จหลวงพ่อ ดำ หลวงพ่อขาว วัดเสนหา นครปฐม ปี 2506 - 2พระมหาว่าน สมเด็จหลวงพ่อ ดำ หลวงพ่อขาว วัดเสนหา นครปฐม ปี 2506 - 3พระมหาว่าน สมเด็จหลวงพ่อ ดำ หลวงพ่อขาว วัดเสนหา นครปฐม ปี 2506 - 4พระมหาว่าน สมเด็จหลวงพ่อ ดำ หลวงพ่อขาว วัดเสนหา นครปฐม ปี 2506 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระมหาว่าน สมเด็จหลวงพ่อ ดำ หลวงพ่อขาว วัดเสนหา นครปฐม ปี 2506
อายุพระเครื่อง 61 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 20 พ.ค. 2563 - 21:04.08
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 09 พ.ย. 2563 - 19:09.50
รายละเอียด

หมด.ทุกคู่ ปิดรายการครับ


พระว่านยา สมเด็จสองพี่น้อง วัดเสน่หา ปี 2506

เก่าเก็บ...เดิม ๆ สวยเดิม ๆ พร้อมกล่องเดิม

มี 18 คู่ ครับ คู่ละ 850 บาท

เช่าแล้ว 18 คู่ ครับ









มวลสาร ที่ เหลือ จากการ สร้างพระชุดนี้ ทางวัดใน จังหวัดระยอง ได้มาขอมวลสารไปสร้าง ใน ปี 2512 ซึ่งด้านหลัง เป็น ยันต์ อุ ขนาดรุ่น 2 ออก ระยอง ราคา จะแพงกว่า แล้วครับ

(น.ส.ลานโพธิ์ ได้นำรายละเอียด ไปลง หลายฉบับติดต่อกัน ครับ )

ของดีจริง ครับ.




ของดีจริง..หายากแล้ว ครับ

พระว่านยา สมเด็จสองพี่น้อง วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม จัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาส พิธีพุทธาภิเษกงานหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของพระเทพเจติยาจารย์ ในวัที่ 13 เม.ย. 2506 ตรงกับวันเสาร์ แรม 5 ค่ำเดือน 5 (เสาร์ 5)

ผู้ดำเนินการจัดสร้างคือ พระเทพกิติเมธี (สิริ ฐานยุตโต) เจ้าอาวาสรูปที่ 4 แห่งวัดเสนหา เนื่องในโอกาสหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงปู่ใหญ่ (พระเทพเจติยาจารย์) หรือ หลวงพ่อวงศ์ วัดเสนหา ศิษย์เอกพระพุทธวิถีนายก หรือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันเสาร์ห้า ตรงกับ วันแรม 5 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งตรงกับ วันที่ 13 เมษายน พศ. 2506




มวลสารหลักที่ใช้สร้าง พระหลวงพ่อดำ-หลวงพ่อขาว ได้แก่ ว่านยา 108 ชนิด ที่มีคุณวิเศษ ไม่ซ้ำกัน อาทิ พระยาว่าน ว่านท้าวมหาพรหม ว่านแม่โพสพ ว่านนะโมพุทธายะ ว่านช้างผสมโขลง ว่านขุนแผน ว่านพิชัยดาบหัก ฯลฯ ดอกไม้ 108 ชนิด ที่ไม่ซ้ำกัน อาทิ ดอกปทุมบัวหลวง ดอกเสี่ยงทาย ดอกสาวตามชู้ ดอกว่านหางกระรอก ดอกรัก ไม่ลืม ดอกดาบนารายณ์ ดอกเสือหมอบ ฯลฯ แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ดอกว่านขันหมากเงิน-ขันหมากทอง ซึ่งต้องเก็บในวันเข้าพรรษา อย่างละ 9 ดอก นำไปบูชาที่หน้าพระพุทธรูปพร้อมกับสวดมนต์ปลุกเสกทุกวัน จนครบไตรมาส จึงจะนำมาใช้ได้




น้ำท่า 108 บาง ที่ไม่ซ้ำกัน อาทิ บางไทร บางเลน บางพระ บางอ้อม บางระกำ เป็นต้น ดอกไม้บูชาพระประธานในพระอุโบสถ คืนวันเข้าพรรษา และต้องนำมาถึงที่วัดเสนหาภายในคืนวันเข้าพรรษา 108 วัด ดอกไม้ที่พุทธศาสนิกชนนำไปบูชาพระประธานในพระอุโบสถเนื่องในวันมาฆบูชา และต้อง นำกลับมาที่วัดเสนหาภายในคืนวันมาฆบูชา 108 วัด น้ำในมหานที 9 สาย นำมา ทำน้ำมนต์ประพรม พระหลวงพ่อดำ-หลวงพ่อขาว

ตะไคร่น้ำ ที่พระบรมมหาเจดีย์ 9 แห่งดินโป่ง 9 แห่ง แร่ธาตุ 9 ชนิด อาทิ แร่สังขวานร เป็นต้น ผงวิเศษได้จากที่ต่างๆ กัน 11 ชนิด อาทิ ผงหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ที่หลวงปู่เฮี้ยง ใช้ในการผสมสร้างพระปิดตาของท่าน เป็นต้น ดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงพระธัมมจักฯ และที่ปรินิพพาน ผงวิเศษ 5 ชนิด ของ อ.ชุมไชยคีรี

น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่ต่างๆ 14 แห่ง อาทิ น้ำมนต์จากพิธี 25 พุทธศตวรรษ ที่ท้องสนามหลวง น้ำมนต์หลวงพ่อทิม วัดช้างให้ น้ำมนต์ในพระอุโบสถวัดพระแก้ว เป็นต้น ขี้เถ้าธูปจากกระถางบูชาในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 11 แห่ง อาทิ ศาลพ่อตาหินช้าง ศาลหลักเมืองปัตตานี หลวงพ่อทวดวัดช้างให้ เป็นต้น




นอกจากสิ่งของที่กล่าวมาข้างต้น ยังได้ดอกไม้ที่ในหลวงใช้บูชาพระแก้วมรกตในคืนวันจาตุรงคสันนิบาต เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2506 มาผสมด้วย

พิธีพุทธาภิเษก ได้จัดขึ้นถึง 3 วาระด้วยกัน

ครั้งที่ 1 นำว่านยาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ที่จะใช้สร้างพระสมเด็จหลวงพ่อดำ-หลวงพ่อขาว ทำพิธีพุทธาภิเษกด้วยพระปาติโมกข์ ในพระอุโบสถ ในวันจาตุรงคสันนิบาต วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2506

ครั้งที่ 2 นำว่านยาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดที่ผ่านการบดละเอียดเป็นผงแล้ว มาทำพิธีบวงสรวงเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งมวลให้ร่วมเทวาภิเษกเพื่อให้เป็น ทิพยวัตถุ โดยมีพระสงฆ์ 32 รูปเท่าอาการ 32 ของคน ร่วมทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ สวดชยันโต และทำพิธีกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์




ครั้งที่ 3 นำพระสมเด็จหลวงพ่อดำ- หลวงพ่อขาว ที่กดพิมพ์เรียบร้อย ลงทำพิธีพุทธาภิเษก ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2506 โดยมี พระเทพเจติยาจารย์ (วงศ์) หรือหลวงปู่ใหญ่ เป็นผู้จุดเทียนชัยเป็นปฐมฤกษ์

ซึ่งมีเกจิอาจารย์ปลุกเสก คือ
1. หลวงพ่อคล้าย (พระครูพิศิษฐฯ) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
2. หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม
3. หลวงพ่อเฮี้ยง (ท่านเจ้าคุณพระวรพรตปัญญาจารย์) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
4. หลวงพ่อเจริญ (ท่านเจ้าคุณพระราชสมุทรเมธี) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
5. หลวงพ่อเงิน (ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมาภรณ์) วัดดอนยายหอม นครปฐม
6. หลวงพ่อสอน (ท่านเจ้าคุณกาญจนวัตรวิบูล) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี
7. หลวงพ่อถิร (ท่านพระครูรักขิตวันมุนี) วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
8. หลวงพ่อแดง (ท่านพระครูสุวรรณกิจ) วัดทุ่งคอก สุพรรณบุรี
9. หลวงพ่อรอด (ท่านปลัดรอด) วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
10. หลวงพ่อนาค วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
11. หลวงพ่อลำเจียก (ท่านพระครูสมณธรรมสมาทาน) วัดศาลาตึก
12. หลวงพ่อปาน (ท่านพระครูพรหมสุทธิ) วัดหนองปลาไหล นครปฐม
13. หลวงพ่อสำเนียง (ท่านพระครูสถาพรพุทธมนต์) วัดเวฬุวัน นครปฐม
14. หลวงพ่อสัมฤทธิ์ (ท่านพระครูพินิจสุวรรณภูมิ) วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
15. หลวงพ่อเทพ ปิยวณฺโณ สำนักสงฆ์โพธิ์ทองเทพาราม
16. ส ฐ. วัดเสนหา นครปฐม
17. อาจารย์ชุม ไชยคีรี เป็นเจ้าพิธี
อาจารย์นั่งบริกรรมและเจริญพระพุทธมนต์
1. หลวงพ่อนาค วัดระฆังโฆสิตาราม (ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก) ธนบุรี
2. หลวงพ่อวัดบุปผาราม (ท่านเจ้าคุณพระเทพปัญญามุนี) ธนบุรี
3. หลวงพ่อวัดสุทธจินดา (ท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์) นครราชสีมา
4. หลวงพ่อวัดเขาเต่า (ท่านเจ้าคุณพระภัทรมุขมุนี) ประจวบคีรีขันธ์
5. หลวงพ่อวัดบุปผาราม (ท่านเจ้าคุณพระกิตติวิมลเมธี) ธนบุรี
6. หลวงพ่อวัดราชประดิษฐ์ (ท่านพระครูจิตตานุรักษ์) พระนคร
โดยมีอาจารย์ชุม ไชยคีรี เป็นเจ้าพิธี ตลอดทั้ง 3 วัน 3 คืน

พระเครื่องทั้งหมดแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ 2 สี เรียกว่า พระว่านยาหลวงพ่อขาวและหลวงพ่อดำ


พระว่านยาหลวงพ่อขาวเป็นพระปางปฐมเทศนา ประทับนั่งบนฐานบัวสองชั้นข้างล่างมีอักษรไทยว่า หลวงพ่อขาว ส่วนพระว่านยาหลวงพ่อดำเป็นพระปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัวเช่นกัน และด้านล่างมีอักษรไทยว่า หลวงพ่อดำ

พระว่านยา สมเด็จสองพี่น้องนี้ มีอายุ 50 กว่าปีแล้วครับ ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จัก .. ถ้ามีโอกาสได้พบเจอที่ไหน ก็อย่าปล่อยให้หลุดมือนะครับ พระดี พระเก่า ราคาเบาๆ ครับ




เครดิต .. คอลัมน์ มุมพระเก่า อภิญญา หนังสือพิมพ์ข่าวสด

รายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.web-pra.com/shop/jeerasit/show/1304789

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top