พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี)-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเกจิภาคอีสานใต้

พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี)

พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี) - 1พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี) - 2พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี) - 3พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี) - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี)
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานใต้
ราคาเช่า 450 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 02 พ.ย. 2563 - 21:23.05
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 02 พ.ย. 2563 - 21:23.05
รายละเอียด




ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
6 ส.ค. เวลา 22:28 • ปรัชญา


ขอแนะนำพระสุปฏิปันโน: 'พระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี)':
วันที่ ๘ สิงหาคมนี้เป็นวันเกิดของพระเดชพระคุณพระราชญาณโสภณ (จรัส เขมจารี) หรือหลวงปู่ห้วย จึงอยากแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก เผื่อแวะไปสักการะท่านในวันที่ ๘ สิงหาคม ณ วัดประชารังสรรค์ ห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่หาได้ยากยิ่งรูปหนึ่งในปัจจุบัน เพียงแต่คนอาจไม่ค่อยรู้จักเพราะท่านเป็นคนพูดน้อย แต่ปฏิปทาของท่านก็คือเป็นพระป่าหรือพระสายวิปัสสนาธุระ เจริญรอยตามหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลและหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตดีๆ นี่เอง


ติดตามได้ใน

https://www.blockdit.com/posts/5f2c219f6ff2c8183477b614



วัดหลวงสุมังคลาราม เป็นวัดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจ.ศรีสะเกษ ประชาชนชาวศรีสะเกษมีจิตศรัทธาต่อวัดมาก สังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ใจกลางเมืองศรีสะเกษ ปัจจุบันมีพระราชญาณโสภณ (สป.วิ.) (จรัส เขมจารี) ป.ธ.๓ น.ธ.เอก เป็นเจ้าอาวาส

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวัดหลวงสุมังคลารามเป็นศูนย์รวมแห่งการศึกษาพระปริยัติธรรมในสมัยโบราณ เพราะยังมีหนังสืออยู่ในตู้พระธรรมลายรดน้ำสมัยโบราณอยู่เป็นอันมาก ทั้งที่เป็นหนังสือสารคดีและหนังสือที่ใช้สำหรับศึกษาทางพระพุทธศาสนาในสมัยโบราณ ทางวัดเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี

หลวงปู่ห้วยเป็นพระเถระรูปหนึ่งของจ.ศรีสะเกษ ที่มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้นำพาชาวบ้านห้วยทับทันสร้างศาลาเรือนไม้ขึ้น ๑ หลัง ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธานประจำวัด เป็นที่กระทำกิจวัตรสวดมนต์เช้าเย็นของพระภิกษุสามเณร และยังใช้เป็นที่บำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ของชาวบ้านด้วย

หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจอบรมสั่งสอนประชาชนและพระภิกษุสามเณรในปกครองด้วยความเมตตาเป็นที่ตั้ง ท่านจึงมีสัทธิวิหาริก และอันเตวาสิกมากมาย ประกอบกับท่านวางตนเรียบง่ายสมถะ ชอบความสันโดษตามแบบศากยบุตร จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของเหล่าประชาชนที่ได้พบเห็น

ในฐานะที่เป็นเจ้าสำนักวัดประชารังสรรค์หลวงปู่ห้วยได้สร้างศรัทธาให้แก่หมู่ญาติโยม นำญาติโยมสร้างวัดประชารังสรรค์จากวัดเดิมที่เป็นเพียงสำนักสงฆ์มีกุฏิไม่กี่หลังให้เป็นวัดที่มีความสมบูรณ์ด้วยศาสนสมบัติที่สามารถใช้กิจทางพระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่ จึงนับได้ว่าเจ้าคุณจรัส เขมจารี เป็นพระเถระผู้สร้างประโยชน์ทั้งแก่ส่วนตนและสังคม ยังความเลื่อมใสศรัทธาให้แก่พุทธศาสนิกชนในเขตอำเภอห้วยทับทันเป็นอย่างมาก จนได้เรียกนามของเจ้าคุณว่า “หลวงพ่อห้วย” เพราะความที่เคารพรักศรัทธาท่านเจ้าคุณเปรียบเสมือนพ่อที่สร้างอำเภอห้วยทับทันมา

สำหรับเหตุผลที่ชาวศรีสะเกษเรียกพระญาณวิเศษ (จรัส เขมจารี) ว่า “หลวงปู่ห้วย” เพราะท่านอยู่อำเภอห้วยทับทัน เดิมเป็นศิษย์สายหลวงปู่ศรีผีย่าน วัดหลวง หลวงปู่ศรีส่งท่านมาอยู่ที่ห้วยทับทันประมาณ พ.ศ.๒๔๙๗ มื่ออยู่นานขนาดนั้นจึงกลายเป็นหลวงปู่ห้วยไปโดยอัตโนมัติ

ปัจจุบันท่านไปๆ มาๆ ระหว่าง ๒ วัด คือวัดหลวงในตัวเมืองศรีสะเกษกับวัดเดิมที่อำเภอห้วยทับทัน ส่วนใหญ่แล้วท่านชอบพำนักที่วัดเดิมในอำเภอห้วยทับทันมากกว่าวัดหลวง ด้วยที่นั่นสงบเงียบเหมาะกับจริตของท่านใครเดินทางผ่านอำเภอห้วยทับทันโดยเส้นทางสุรินทร์-ศรีสะเกษ สายเลียบทางรถไฟ สามารถแวะกราบท่านได้ง่าย "คุณเศษที่กล่าวขวัญกันคือท่านมีวาจาสิทธิ์ พูดถึงอะไรมักเป็นจริงจึงเป็นเหตุให้คนทั้งหลายยำเกรง"

“จรัส ศรีสุข” เป็นชื่อและนามสกุลเดิมของหลวงปู่ห้วย เกิดวันจันทร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่บ้านเมืองจันทร์ ต.เมืองจันทร์ อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ โยมบิดาชื่อนายมา ศรีสุข โยมมารดาชื่อนางผุย ศรีสุข ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง ๗ คน วัยเด็กเจ้าคุณได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านเมืองจันทร์ จบชั้น ป.๓ เพราะมีสอนเท่านั้น จึงออกจากโรงเรียนมาช่วยงานโยมบิดามารดาช่วยดูแลน้องๆ ในฐานะพี่คนโต

พ.ศ.๒๔๘๗ อายุได้ ๑๗ ปี จึงเข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดหลวงสุมังคลาราม เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจนกระทั่งสอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ.๒๔๙๑ เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี จึงได้รับการอุปสมบทขึ้นเป็นพระภิกษุในนามฉายาว่า “เขมจารี” โดยมีพระครูสิริสารคุณ (ศรี ฐิตธมฺโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาธวัช วิมโล เป็นพระกรรมวาจารย์ พระมหาหน่วย ขันติโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมาวัดหลวงสุมังคลาราม ต.เมืองใต้ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ คณะศิษย์ร่วมงานวันเกิดครบรอบอายุ ๘๘ ปี ณ วัดประชารังสรรค์ ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว นายเอนก ธัญนิพัทธ์ (เฮียเต็ก) นายสุธิโรจน์ อังคสกุลเกียรติ (เสี่ยหมา) และนายชัย หงส์ชัยมงคล ศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้จัดสร้าง “เหรียญหลวงปู่ห้วย หันข้าง แซยิด ๘๘ ปี” ประกอบด้วย เนื้อทองคำ สร้าง ๓ เหรียญ ไม่มีหมายเลข เนื้อเงินสร้าง ๑๐๐ เหรียญ เนื้อทองทิพย์สร้าง ๑,๐๐๐ เหรียญ ทั้ง ๓ เนื้อ มีหมายเลขและโค้ด ส่วนเนื้อทองแดงสร้าง ๕,๐๐๐ เหรียญถวายให้ หลวงปู่ไว้แจกทั้งหมด
พระนักเผยแผ่แห่ง “ศรีสะเกษ”
หลวงพ่อห้วยได้จัดตั้งศูนย์เผยแผ่พุทธธรรมวัดหลวงสุมังคลารามขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งนี้ เมื่อพ.ศ.๒๕๓๔ ท่านได้นำพาคณะศิษยานุศิษย์ตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาส่งเสริมพระพุทธศาสนาขึ้นในนาม “มูลนิธิวัดประชารังสรรค์จรัสเขมจารีนุสรณ์” ซึ่งในวาระทำบุญคล้ายวันเกิดทุกปี ท่านได้นำดอกผลมาเป็นทุนการศึกษาของพระภิกษุสามเณรที่สอบนักธรรมและเปรียญธรรมได้ และยังแบ่งส่วนหนึ่งเป็นทุนสนับสนุนนักเรียนเยาวชนที่ศึกษาธรรมะสอบธรรมศึกษาได้อีกด้วย แต่ละปีเฉลี่ย ๑๐๐,๐๐๐ บาท และรับภาระเป็นประธานมูลนิธิการศึกษาอำเภอห้วยทับทันอีกด้วย

นอกจากจะตั้งมูลนิธิและมอบทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรเด็กและเยาวชน แล้ว ยังรับภาระเป็นองค์อุปถัมภ์ในการเปิดขยายห้องเรียนสาขาพุทธศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ห้องเรียนศรีสะเกษ เปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ณ วัดหลวงสุมังคลาราม

จากผลงานที่เป็นรูปธรรมแล้วด้านการบริหารพระภิกษุสามเณรในปกครอง ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม งานช่วยเหลือสาธารณกุศลอื่นๆ หลวงพ่อได้ปฏิบัติให้การอุปถัมภ์และการสนับสนุนมาโดยตลอด คิดเป็นมูลค่าเงินประมาณ ๑๐ ล้าน ถึง ๑๓ ล้านของแต่ละปี จนได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอฝ่ายธรรมยุตปกครองพระภิกษุสามเณรในพื้นที่เขต อ.ห้วยทับทัน อ.อุทุมพรพิสัย อ.ปรางค์กู่ อ.ราษีไศล อ.เมืองจันทร์ อ.บึงบูรพ์ อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ และอ.ศิลาลาด เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙

พ.ศ.๒๕๕๐ เนื่องจากหลวงพ่อได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) จนมีอายุครบ ๘๐ ปีบริบูรณ์ แต่ยังมีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ (ธรรมยุต) ต่อไปอีก เพราะยังมีสุขภาพแข็งแรง สามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดได้อีกทั้งยังเป็นที่เคารพศรัทธาของคณะสงฆ์และประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ จึงได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเดิมต่อไปอีก ๓ ปีเฉพาะกรณี ตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๐ ตราตั้งที่ ๖/๒๕๕๐ แต่งตั้ง ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐

จากปฏิปทาที่สมถะและผลงานทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอันหลากหลาย หลวงพ่อได้รับการยกย่องเชิดชูจากคณะสงฆ์และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงขึ้น โดยลำดับ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พระราชทินนามโปรดเกล้าให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ สายวิปัสสนา ที่พระญาณวิเศษ (สป.วิ.)



พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top