-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระผงของขวัญ วัดจันทรังษี อ่างทอง (1)





ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระผงของขวัญ วัดจันทรังษี อ่างทอง (1) |
อายุพระเครื่อง | 54 ปี |
หมวดพระ | พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 18 ก.ย. 2564 - 21:19.31 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 24 ก.ค. 2566 - 13:25.48 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระผงของขวัญ วัดจันทรังษี อ่างทอง กำเนิดพระของขวัญ เดิมมีอยู่ว่า ท่านเจ้าประคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำได้เป็นผู้กำหนดให้ฤกษ์การสร้างพระอุโบสถของวัดจันทรังษี หลังจากที่ท่านวางศิลาฤกษ์ให้แล้วท่านได้ดำริไว้ว่า หากวัดจันทรังษีจะสร้างพระผงขึ้นเพื่อเป็นการหาทุนสร้างโบสถ ขอให้จำลองเอาจากแบบพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาแต่โบราณคู่วัดคู่บ้านของชาววัดจันทรังษี ซึ่งผู้คนในถิ่นนั้นเคารพนับถือกันหนักแน่นอยู่แล้ว เหตุที่เป็นดังนี้เนื่องจากท่านเจ้าอาวาสวัดจันทรังษีพระครูบัณฑิตานุรักษ์(แต้ม บัณฑิโต)เป็นศิษย์ของวัดปากน้ำแต่เดิม และได้กราบลาท่านมาครองวัดจันทรังษีถิ่นกำเนิด แต่โบสถ์ไม่ทันแล้ว พระมงคลเทพมุนีหลวงพ่อวัดปากน้ำก็มาสิ้น ท่านพระครูเจ้าอธิการวัดจันทรังษีเลยตัดสินใจสร้างพระชุดนี้ขึ้น โดยนำผงที่สร้างพระของขวัญในคราวแรกจำนวนหนึ่งและได้เสาะหาผงตามตำราลักษณะการสร้างพระผงวัดปากน้ำรวบรวมขึ้นไว้….และได้นำเส้นเกษาของหลวงพ่อปากน้ำมาผสม(โดยมีส่วนผสมของพระของขวัญวัดปากน้ำภาษีเจริญเป็นจำนวนมาก).สำหรับพิมพ์พระนั้นคุณสมพร สินธุวิชัยเป็นผู้แกะพิมพ์พระถวาย โดยการพิมพ์พระนั้นได้ทำการพิธีผสมผงกดพิมพ์และปลุกเสกโดยพระอาจารย์เถรานุเถรสายธรรมกายในคณะเนกขัมและในโบสถ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ กรรมพิธีการสร้างและปลุกเสกถูกต้องครบถ้วนเหมือนเมื่อครั้งหลวงพ่อปากน้ำสร้างพระของขวัญวัดปากน้ำทุกประการ พระผงของขวัญ วัดจันทรังษีมีสัณฐานอยู่ในรูปกลีบบัว ขอบโดยรอบยกสูงเป็นเส้นนูน ภายในตรงกลางจำลองเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่เหนืออาสนะเป็นรูปนูนเด่น จำลองจากรูปหลวงพ่อโยก ด้านหลังแบนเรียบ จารึกอักษรไทยว่าวัดจันทรรังษีเป็นส่วนลึกตามส่วนโค้ง มีอักษรขอมตอนต่อแถวว่า มะอะอุ หมายถึง พระรัตนตรัย.เนื้อหามีทั้งเนื้อออกขาวจนถึงขาวอมเหลือง หลวงพ่อโยกเป็นพระประธานในโบสถ์ของวัดจันทรังษี เป็นพระปูนปั้นสมัยอยุธยา โดยตอนแรกนั้นไม่มีพระอุโบสถ หลวงพ่อโยกไม่มีฐาน วางอยู่บนพื้นดิน ตากแดดตากฝน หลวงพ่อโยกนั้น ท่านศักดิ์สิทธิ์มาก ใครมาบลบานอะไรก็มักจะได้ โดยในตอนที่มาถวายของแก้บน เขาเล่ากันว่าหลวงพ่อท่านจะโยกซ้ายโยกขวาให้เห็น.สำหรับน้ำมนต์ของหลวงพ่อท่านก็ศักดิ์สิทธิ์ ใครเจ็บไข้ได้ป่วยนำน้ำมนต์ไปดื่มแล้วมักหายเจ็บหายไข้ ........................ พระผงวัดจันทรังษี สร้างขึ้นโดย หลวงพ่อแต้ม ปณฑฺโต วัดจันทรังษี จ.อ่างทอง ท่านเคยมาเล่าเรียนที่วัดปากน้ำภาษีเจริญและฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ดังนั้นเมื่อท่านกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทรังษีแล้วพบว่า วัดอยู่ในสภาพทรุดโทรมท่านจึงได้ดำริที่จะพัฒนาวัดให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น ท่านจึงนำความดังกล่าวไปปรึกษาพระครูอุปถัมถ์ธรรมกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ อันเป็นลูกศิษย์ และเป็นคนตำบลหัวไผ่เฉกเช่นเดียวกับหลวงพ่อแต้ม โดยนำผงที่สร้างพระของขวัญในคราวแรกจำนวนหนึ่งและได้เสาะหาผงตามตำราลักษณะการสร้างพระผงวัดปากน้ำรวบรวมขึ้นไว้ และได้นำเส้นเกษาของหลวงพ่อปากน้ำมาผสม(โดยมีส่วนผสมของพระของขวัญวัดปากน้ำภาษีเจริญเป็นจำนวนมาก) เพื่อขอผงวิเศษกลับไปสร้างพระพิมพ์และขออนุญาตนำพระที่สร้างขึ้นดังกล่าวมาเข้าพิธีปลุกเสกพระผงของขวัญวัดปากน้ำรุ่นสี่ด้วย สำหรับพิมพ์พระนั้นคุณสมพร สินธุวิชัยเป็นผู้แกะพิมพ์พระถวาย โดยการพิมพ์พระนั้นได้ทำการพิธีผสมผงกดพิมพ์และปลุกเสกโดยพระอาจารย์เถรานุเถรสายธรรมกายในคณะเนกขัมและในโบสถ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ เมื่อได้รับการปลุกเสกพระเครื่องจนครบไตรมาส หรือ ๑ พรรษาแล้ว จึงมีการนำพระเครื่องส่วนใหญ่มาเข้าพิธีพุทธาภิเษกเพิ่มเติมอีก ที่วัดกษัตราธิราชเสร็จแล้วจึงนำมาที่วัดจันทรังษีเพื่อออกแจกจ่ายแก่ผู้สนใจต่อไป ส่วนพระเครื่องอีกส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ที่วัดปากน้ำภาษีเจริญไม่ได้นำกลับมาด้วยนั้นได้นำเข้าพิธีปลุกเสกบรรจุวิชาธรรมกายอยู่ที่วัดปากน้ำ รวมระยะเวลานานถึง ๘ พรรษา ในด้านประสบการณ์ของพระวัดจันทรังษีก็คงจะมีมากมายไม่แพ้พระเครื่องจากสำนักวัดปากน้ำเช่นกันเป็นแต่ว่ารู้จักกันในวงแคบกว่าเนื่องจากมีการแจกจ่ายกันอย่างเงียบๆ ที่วัดจันทรังษีเท่านั้น พระผงของขวัญ วัดจันทรังษีมีสัณฐานอยู่ในรูปกลีบบัว ขอบโดยรอบยกสูงเป็นเส้นนูน ภายในตรงกลางจำลองเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่เหนืออาสนะเป็นรูปนูนเด่น จำลองจากรูปหลวงพ่อโยกเพราะถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่วัด ศิลปะการออกแบบและพิมพ์ทรงขององค์พระจะมีความคล้ายคลึงกับพระปากน้ำรุ่น 4 เป็นอย่างมาก เนื่องจากนายช่างผู้แกะพิมพ์เป็นคนเดียวกัน ด้านหลังแบนเรียบ จารึกอักษรไทยว่าวัดจันทรรังษีเป็นส่วนลึกตามส่วนโค้ง มีอักษรขอมตอนต่อแถวว่า มะอะอุ หมายถึง พระรัตนตรัย.เนื้อหามีทั้งเนื้อออกขาวจนถึงขาวอมเหลือง มีขนาดสูง 2.9 x 1.8 ซ.ม. |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...










อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments