พระสมเด็จ เกลียวเชือก หลวงพ่อ ทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระสมเด็จ เกลียวเชือก หลวงพ่อ ทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี

พระสมเด็จ เกลียวเชือก หลวงพ่อ ทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี - 1พระสมเด็จ เกลียวเชือก หลวงพ่อ ทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี - 2พระสมเด็จ เกลียวเชือก หลวงพ่อ ทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี - 3พระสมเด็จ เกลียวเชือก หลวงพ่อ ทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี - 4พระสมเด็จ เกลียวเชือก หลวงพ่อ ทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จ เกลียวเชือก หลวงพ่อ ทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี
อายุพระเครื่อง 52 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 12 พ.ย. 2564 - 21:26.18
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 17 มี.ค. 2566 - 22:56.01
รายละเอียด
พระสมเด็จ เกลียวเชือก หลวงพ่อ ทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี

ผสมผงกะลาตาเดียว ปี 2515

รายละเอียดแบบเต็ม ๆ เวอร์ชั่นครับ

http://www.guaranteepra.com/webboard/show.php?Category=general_talk&No=216286

อริยสงฆ์แห่งบูรพาทิศ วัดบ้านงิ้ว
หลวงพ่อทรัพย์
ชาติภูมิ
พระครูธรรมธนวัฒน์ สถานะเดิมชื่อ ทรัพย์ ไพรวัลย์ เกิด ณ บ้านงิ้ว หมู่ที่ ๕ ต.หนองกะขะ อ.พานทอง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถอะ บิดาชื่อ นายพร้า มารดาชื่อ นางหมา ไพรวัลย์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๔ คน
การศึกษาเบื้องต้นที่วัดบ้านงิ้ว เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดหนองแช่แว่น ต.มาบโป่ง อ.พานทอง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยมี พระวินัยธรถัน วัดเครือวัลย์ อ.เมือง จ.ชลบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการเขียว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธมมธนิโก
หลังจากได้บวชเรียนแล้ว ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบโดยเคร่งครัด

การศึกษาของหลวงพ่อทรัพย์ เมื่ออุปสมบท
พ.ศ. 2475 สอบได้นักธรรมตรี ที่สำนักเรียนวัดบ้านงิ้ว
พ.ศ. 2484 สอบได้นักธรรมโท ที่สำนักเรียนวัดบ้านงิ้ว

หน้าที่การงาน และผลงาน
หลวงพ่อทรัพย์ ท่านเป็นพระนักพัฒนาและปฏิบัติโดยทุก ๆ วัน ท่านจะใช้เวลาทุกนาทีให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ไม่เคยปล่อยเวลาให้สูญเปล่าโดยไร้ค่า ทุก ๆ เช้าท่านจะปลุกพระและชาวบ้านบริเวณใกล้วัดที่หน้ากุฏิท่านด้วยประโยคที่ว่า "ตื่นแต่ดึก ฝึกแต่หนุ่ม ย่อมคุ้มเมื่อแก่ แลก็กว้าง ทางก็มี ไม่ตื่นแต่ดึก ไม่ฝึกแต่หนุ่ม ย่อมไม่คุ้มเมื่อแก่ แลก็ไม่กว้าง ทางก็ไม่มี" ด้วยประโยคนี้ที่ท่านกล่าวทุก ๆ วันผู้คนที่อยู่ใกล้บริเวณวัดที่ยังมีชีวอยู่จะจดจำได้ทุกวันสำหรับหน้าที่การงานต่าง ๆ ที่หลวงพ่อทรัพย์ท่านได้สร้างและปฏิบัติไว้นั้นพอที่จะค้นหาบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ได้ดังนี้
พ.ศ. 2477 เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดบ้านงิ้ว
พ.ศ. 2477 เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านงิ้ว
พ.ศ. 2477 เป็นพระครูปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดบ้านงิ้ว
พ.ศ. 2482 เป็นกรรมการศึกษา ประจำตำบลหนองกะขะ
พ.ศ. 2484 เป็นคู่สวด ตราตั้งที่ 23/2474
พ.ศ. 2484 เป็นฐานะนุกรม เจ้าคณะอำเภอ ตำแหน่งพระใบฏีกา
พ.ศ. 2502 เป็นพระครูประทวน พระครูทรัพย์
พ.ศ. 2514 เป็นพระครูสัญญาบัตร พระครูธรรมธนวัฒน์
พ.ศ. 2516 เป็นเจ้าคณะตำบลพานทอง เขต 1
พ.ศ. 2517 เป็นพระอุปัชฌาย์

งานการปกครอง-เผยแพร่-ศึกษา
ท่านได้มีหลักในการดำเนินดังนี้
1. วางรูปงานในด้าน การปกครองสงฆ์
2. สร้างความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ
3. รักษาความสงบสุข และเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่คณะ
4. แสดงออกซึ่งความกตัญญู-กตเวที ต่อบูรพาจารย์
5. สนับสนุนงานคณะสงฆ์
6. รักษาผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ
7. ตั้งอยู่ในระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนาด้วยดี
8. สนใจต่อกิจการ ด้านการสังคมสงเคราะห์

งานสาธารณูปการ
หลวงพ่อทรัพย์ท่านมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาและรักษาวัดวาอาราม ให้เป็นที่พึ่งทางใจของสาธุชนทั่วไป และเพื่อจรรโลงพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสมกับเมืองไทยที่เป็นเมื่องพุทธ ปูชนียสถานและเสนาสนะที่เป็นถาวรวัตถุมีปรากฏให้เห็นจึงถึงปัจจุบันนั้น มีมากมายโดยท่านได้ชักชวนนำคนที่มีกำลังศรัทธาให้มาช่วยเหลือพอจะลำดับได้ดังนี้
1. สร้างกุฏิขึ้นในวัด และซ่อมแซม คิดเป็นราคาประมาณ 50,000 บาท
2. สร้างโบสถ์หลังเก่า ราคาประมาณ 80,000 บาท
3. สร้างศาลาการเปรียญ ราคาประมาณ 30,000 บาท
4. สร้างพระป่าเลไลย์ ราคาประมาณ 100,000 บาท
5. สร้างโบสถ์ (หลังใหม่) ราคาประมาณ 1,000,000 บาท
นอกจากงานด้านก่อสร้างท่านที่ได้บูรณะและปฏิสังขรณ์เสนาสนะในวัดของท่านแล้ว ท่านก็ยังได้ชักชวนสร้างสำนักสงฆ์ ขึ้นอีก 2 แห่ง คือ
1. สำนักสงฆ์ สันติวัน ตำบลหนองหงษ์ อำเภอ พานทอง จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันได้เลื่อนจากสำนักสงฆ์สันติวัน มาเป็นวัดหนองกาน้ำ
2. สำนักสงฆ์ ห้วยมะระ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันได้เลื่อนจากสำนักสงค์ห้วยมะระ มาเป็นวัดห้วยมะระ ด้วยเช่นกัน


การอาพาธ และ การมรณภาพ
ตามปกติแล้วหลวงพ่อทรัพย์ท่านเป็นผู้ที่สุขภาพแข็งแรงโรคภัยไข้เจ็บมีน้อยท่านไม่เคยอาพาธถึงกับเข้าโรงพยาบาลเลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเป็นเป็นผู้ที่มีความอดทนมากแม้แต่การอาพาธเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านก็ไม่ค่อยฉันยาและรักษาตัว ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2521 เวลาประมาณ 07.00 น. หลวงพ่อทรัพย์ท่านบอกศิษย์ใกล้ชิดว่าวันนี้ท่านปวดท้อง ท้องไม่ค่อยจะดี จนถึงเวลา 10.00 น. บรรดาลูกศิษย์เห็นหลวงพ่ออาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้นิมนต์หลวงพ่อพาไปส่งโรงพยาบาลชลบุรี ต่อมา อาการปวดท้องของหลวงพ่อท่านยังไม่ดีขึ้น ท่านได้บอกกับศิษย์ที่มาเฝ้าไข้ท่านว่าให้พาท่านกลับว่าให้พาท่านกลับวัดเถอะ ท่านไม่อยู่ที่โรงพยาบาลบรรดาลูกศิษย์ได้ขอร้องให้ท่านรักษาตัวให้หายเสียก่อนท่านได้ย้ำคำเดิมว่า ท่านไม่อยู่ ท่านจะไปวันนี้เมื่อท่านพยายามลุกจากเตียงอาการอาพาธของท่านก็ได้ทรุดหนักลงจนถึงเวลา 17.45 น. ของวันเดียวกันท่านก็ถึงแก่การมรณภาพท่ามกลางศานุศษย์และหมอซึ่งได้รับการรักษาเยียวยาอย่างสุดตามสภาวะของสังขารรวมอายุขัยได้ 75 ปี 54 พรรษา
หลังจากหลวงพ่อทรัพย์ท่านมรณภาพแล้ว กรรมการของวัดได้นำร่างของท่านมาให้ลูกศิษย์กราบไหว้และนำร่างหลวงพ่อเก็บใส่โลงไว้ที่กุฏิของท่านเป็นเวลานานหนึ่งปี จึงจะทำการฌาปนกิจในช่วงเวลาหนึ่งปีนี้ ทางคณะกรรมการได้เตรียมจัดงานและจัดทำหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพโดยท่านองคมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์ ในสมัยนั้นเป็นพระประธานฝ่ายฆราวาส ก่อนถึงวันงานฌาปนกิจศพของหลวงพ่อคณะกรรมการได้ทำการย้ายโลงท่านจากกุฏิไปไว้ศาลา เพื่อให้ศิษยานุศิษย์กราบไหว้ และไว้อาลัยท่านเป็นครั้งสุดท้าย
ขณะที่เปลี่ยนโลงใหม่โดยย้ายร่างท่านออกจากโลงเก่า เมื่อเปิดฝาโลงออกคณะกรรมการต่างตะลึง เพราะร่างของหลวงพ่อทรัพทย์ท่านไม่เน่าเปื่อยและมีพระธาตุเกาะขาวทั่วตลอดร่างของท่านทั้งกลิ่นเหม็นก็ไม่มี ที่พิเศษกว่านั้นคือ ผมเล็บของท่านได้งอกออกมาด้วย เมื่อเห็นดังนี้แล้ว คณะกรรมการวัดรีบประชุมปรึกษา และได้ข้อสรุปโดยได้ไปนิมนต์พระธรรมโกษาจารย์ เมื่อเดินทางมาถึงวัดบ้านงิ้วท่านได้พิจารณาร่างของหลวงพ่อทรัพย์ครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่าสมควรเก็บไว้ให้ลูกหลานบูชา
เมื่อร่างจริงเผาไม่ได้จึงต้องมีการเผาหลอกภายในวันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2522 ท่านองคมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้มาเป็นผู้จุดไฟพระราชทานได้เกิดเหตุการณ์ปาฏิหาริย์เกิดฝนตกฟ้าร้องอย่างรุนแรง โดยฝนตกอยู่แต่ในบริเวณวัดเท่านั้น และเมื่อคณะกรรมการวัดได้จุดธูปบอกกล่าวหลวงพ่อทรัพย์ ทั้งลมฝนและฟ้าจึงสงบต่างเป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้ที่มาร่วมงานในวันนั้น
นับแต่วันที่หลวงพ่อทรัพย์ท่านมรณภาพในปี พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบัน ผ่านมา 19 ปี สังขารของหลวงพ่อก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิมเป็นเรื่องแปลกที่ว่าบรรดา มด มอด และแมลงบางชนิดมิได้มารบกวน ทำลายชิ้นส่วนร่างกายของท่านเลยแม้แต่น้อย บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อจึงเชื่อว่าท่านเป็นอริยสงฆ์ได้อภิญญาบรรลุธรรมชั้นสูงแน่นอน
จากผลงาน และคุณความดีต่าง ๆ ของหลวงพ่อทรัพย์ได้เป็นที่ยกย่องและกล่าวขานกันมาเนิ่นนาน ไม่ว่าจะเป็นด้านปูชนีย์วัตถุและเป็นที่พึ่งทางใจโดยผู้เขียนจะขอนำข้อความที่ได้พิมพ์ไว้ในหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพของหลวงพ่อพอแต่สังเขปดังนี้
"วงการคณะสงฆ์อำเภอพานทอง ต้องสูญเสีย พระสังฆาธิการ ระดับเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาสพระอุปัชฌายะ ผู้เป็นกำลังสำคัญของของพระศาสนาไปรูปหนึ่ง คือพระครูธรรมธนวัฒน์ เมื่อครั้งท่านฉลองสัญญาบัตรพัดยศ คณะกรรมการจัดงานได้อาราธนาหลวงพ่อพระธรรมโกษาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดชลบุรีมาเป็นประธานแสดงพระธรรมเทศนา ตอนหนึ่งหลวงพ่อเจ้าคุณเทศน์ว่าชื่อ "พระครูธรรมธนวัฒน์" นี้เป็นสิริมงคลดีนัก หากญาติโยมจะทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เจิมรถ แต่งงาน ถ้าได้หลวงพ่อทรัพย์เป็นองค์เจิมสิ่งของดังกล่าวจะเกิดสรรพมิ่งมงคลยิ่งญาติโยมทั้งหลายได้รับฟังต่างก็ชื่นใจอนุโมทยาสาธุและปฏิบัติตามตราบเท่าถึงกาลมรณภาพ ฯลฯ
พระครูสุวรรณเมธากร
เจ้าคณะอำเภอพานทอง



การสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่ทรัพย์
การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อทรัพย์บางรุ่นบางพิมพ์มีการสร้างน้อยมาก โดยเฉพาะเนื้อผงแต่ละรุ่นจะมีการทิ้งช่วง พ.ศ.หลายปี เหตุเพราะไม่นิยมที่จะสร้างวัตถุมงคลให้บูชาท่านมักจะสั่งสอนไม่ให้ไปยึดติดกับวัตถุ แต่ว่าเหล่าลูกศิษย์ได้พยายามรบเร้าให้สร้าง ท่านบอกว่าท่านไม่อยากจะดัง เบื่อที่จะรับแขก อยากจะเอาเวลาไปทำประโยชน์อย่างอื่นมากกว่า เมื่อบรรดาลูกศิษย์รบเร้าและขอร้องท่านหลาย ๆ ครั้งเข้าท่านจึงยอมสร้างให้
แต่ว่าวัตถุมงคลของท่านในแต่ละรุ่นถ้าเป็นพระเนื้อผงแล้วจะมีไม่มากเพราะท่านมีความละเอียดมากในการหาผลพุทธคุณและกดพิมด้วยตนเองทุกครั้ง แม้แต่พระเนื้อดินท่านก็ได้พยายามรวบรวมดินเ้จ็ดป่าช้าผสมกับผงพุทธคุณ ดังนั้นวัตถุมงคลของท่านจึงมากไปด้วยอิทธิฤทธิ์และพุทธานุภาพ
โดยเฉพาะตะตกรุดโทนเมื่อท่านสร้างวัตถุมงคลท่านจะทำตะกรุดโทนควบคู่ไปด้วย แต่ว่าตะกรุดโทนของท่านผู้ที่เป็นฆราวาสน้อยคนที่จะได้ไว้ในครอบครอง เพราะท่านมักจะให้ตะกรุดโทนกับผู้ที่เป็นทหาร ขนาดลูกศิษย์ใกล้ชิดบางคนยังไม่ได้ตะกรุดโทนของท่านเหตุที่ท่านชอบให้ตะกรุดโทนกับทหารเพราะ ท่านบอกว่า พวกเค้าทำงานเสียสละเพื่อประเทศชาติก็ต้องให้ของดีเค้าชาวบ้านไม่จำเป็นต้องนำไปบูชา แค่พระเครื่องของท่านก็พอแล้วในขณะนี้ตะกรุดโทนของหลวงพ่อทรัพย์จึงเป็นของหายากยิ่งแม้ในเขตพื้นที่ยังมีให้เห็นน้อยส่วนด้านสนนราคาของตะกรุดโทน ยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึงกันใหญ่ เพราะผู้ที่มีไว้ในครอบครองต่างหวงแหนมาก ไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นเปลี่ยนมือง่าย ๆ เนื่องจากประสบการณ์นั้นมีมากมายโดยเฉพาะความเหนียวและแคล้วคลาดนั้นเยี่ยมจริงๆ ซึ่งผู้เขียนจะกล่าวในโอกาสต่อไปสำหรับวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่หลวงพ่อทรัพย์ท่านได้สร้างไว้ พอที่จะรวบรวมไว้ได้ก็มี ดังนี้
1. รูปถ่าย ขาว-ดำ หลังยันต์จารปากกา สร้างปี พ.ศ. 2489 ประมาณ 100 รูป
2. ผงรูปเหมือนรุ่นลองพิมพ์ (รุ่นแรก) หลังยันต์ มี 2 เนื้อคือ เนื้อผงว่านผสมกะลาตาเดียว (เนื้อออกโซนน้ำตาล) และ เนื้อดินเผา สร้างปี พ.ศ. 2502 ประมาณ 800 องค์
3. ผงรูปเหมือนรุ่นลองพิมพ์ (รุ่นแรก) หลังยันต์ พิมพ์พิเศษ ทารักปิดทาทอง และ เนื้อดำ จำนวนการสร้าง ไม่น่าเกิน 20 องค์ เพราะหายากมากไม่มีให้เห็น
4. ภาพบูชา ขาว-ดำ รุ่นแจกแม่ครัว สร้าง พ.ศ. 2504 ประมาณ 100 ภาพ
5. รูปถ่าย ขาว-ดำ หลังยันต์จารปากกา สร้างปี พ.ศ. 2504 ประมาณ 300 รูป
6. เหรียญรูปเหมือนกงจักร หลังยันต์ไม่มี พ.ศ. (รุ่นแรก) มีเนื้อทองแดง ทองแดงรมดำ สร้างปี พ.ศ. 2504 ประมาณ 5,000 องค์
7. พระผงรูปเหมือน รุ่น 2 มี 2 เนื้อ เนื้อผงผสมกะลาตาเดียว (เนื้อออกโซนสีขาว) เนื้อดินเผา สร้างปี พ.ศ. 2510 ประมาณ 600 องค์
8. พระสมเด็จใบโพธิ์ เนื้อว่านผสมกะลาตาเดียว (รุ่นแรก) สร้างปี พ.ศ. 2510 ประมาณ 130 องค์ (สร้างแจกพระสงฆ์ในวัด)
9. พระผงรูปเหมือนเนื้อผง ผสมกะลาตาเดียว หลังพัดยศ สร้างปี พ.ศ. 2514 มี 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ ประมาณ 2,500 องค์ และพิมพ์เล็กประมาณ 3,000 องค์
10. พระผงรูปเหมือนเนื้อผง ผสมกะลาตาเดียว หลังพัดยศ สร้างปี พ.ศ. 2514 พิมพ์พิเศษแจกกรรมการ ทารักทาทอง มีไม่เกิน 20 องค์ เนื้อผงกะลาด้านหลังฝังเม็ดมะกล่ำตาหนู มี 99 องค์ และ เนื้อผงผสมเกศาหลวงปู่ ด้านหลังฝังเม็ดมะกล่ำตาหนู มี ประมาณไม่เกิน 20 องค์
11. รูปถ่ายพัดยศ ขาว-ดำ หลังยันต์ จารปากกา สร้างปี พ.ศ. 2514 ประมาณ 1,000 รูป
12. รูปเหมือนพิมพ์เหรียญรูปไข่ไม่มีห่วง เนื้อเมฆพัตรหลังยันต์ สร้างปี พ.ศ. 2515 ประมาณ 10,000 องค์
13. กริ่งรูปเหมือน เนื้อทองเหลือง ผสมโลหะ สร้างประมาณปี พ.ศ. 2515 ประมาณ 4,000 องค์
14. พระสังกัจจายน์ เนื้อผงผสมกะลาตาเดียว เนื้อดิน สร้างปี พ.ศ. 2516 ประมาณ 500 องค์
15. สมเด็จเกลียวเชือก เนื้อผง ผสมกะลาตาเดียว สร้างปี พ.ศ. 2515 ประมาณ 3,000 องค์
ฯลฯ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top