พระสมเด็จ พระครูนิภาธรโศภณ (หลวงพ่อชี) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม จ.นครสวรรค์-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระสมเด็จ พระครูนิภาธรโศภณ (หลวงพ่อชี) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม จ.นครสวรรค์

พระสมเด็จ พระครูนิภาธรโศภณ (หลวงพ่อชี) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม จ.นครสวรรค์ - 1พระสมเด็จ พระครูนิภาธรโศภณ (หลวงพ่อชี) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม จ.นครสวรรค์ - 2พระสมเด็จ พระครูนิภาธรโศภณ (หลวงพ่อชี) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม จ.นครสวรรค์ - 3พระสมเด็จ พระครูนิภาธรโศภณ (หลวงพ่อชี) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม จ.นครสวรรค์ - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จ พระครูนิภาธรโศภณ (หลวงพ่อชี) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม จ.นครสวรรค์
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 06 ม.ค. 2565 - 21:27.01
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 07 พ.ค. 2565 - 22:06.47
รายละเอียด
พระสมเด็จ พระครูนิภาธรโศภณ (หลวงพ่อชี) อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม จ.นครสวรรค์

อีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ ลูกศิษย์เอกของ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ


....หาเท่าไหร่ ก็ไม่เจอครับ ในกูเกิ้ล...รับรองได้..

มีแต่ ประวัติ หลวงพ่อดำ ซึ่งเป็น พระลูกวัด ของวัดอินทาราม

ขนาดพระลูกวัด ท่านยังสร้างของดี ขนาดนี้...

หลวงพ่อดำ เป็นชาว จ.สิงห์บุรี มีนามเดิมว่า “ดำ หอมแสน” โยมบิดาชื่อ “กร่าง” โยมมารดาชื่อ “สี” ต่อมาหลวงพ่อดำได้รับการอุปการะจากตระกูล “พวงสมบัติ” โดยมี “ปู่แนม พวงสมบัติ” และ “แม่บุญ พวงสมบัติ” เป็นพ่อแม่บุญธรรม ภายใต้การเลี้ยงดูของคุณย่าพุก (ปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๖ อายุ ๙๖ ปี) และคุณยายไล้ พวงสมบัติ เมื่ออายุครบบวชจึงเข้าอุปสมบทที่วัดอินทาราม อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ โดยมี พระครูพยุหานุศาสก์ (หลวงพ่อชิต ชิตจิตฺโต) วัดยางขาว อ.โกรกพระ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิสิตคุณากร (หลวงพ่อกัน คงฺครตโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูนิภาธรโศภณ (หลวงพ่อชี) วัดอินทาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “รักขิตตธัมโม” แปลว่า “ผู้มีธรรมอันรักษาแล้ว”

พระภิกษุดำตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ท่านเรียนรู้พระปริยัติและศีลาจาริยาวัตรของภิกษุ แต่ทว่าท่านไม่ใคร่ใฝ่ศึกษาสอบนักธรรมต่างๆ ได้แต่เรียนเพื่อรู้และนำไปปฏิบัติเท่านั้น

นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ, พระกรรมฐานและวิทยาคมจากปู่แนม พวงสมบัติ, หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อชี วัดอินทาราม, หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร, หลวงปู่อินทร์ วัดเกาะหงษ์, หลวงปู่หุ่น วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ วิชาที่ได้รับจากหลวงพ่อเดิม คือ วิชาการสักยันต์, การเขียนยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์หน้าช้าง, วิชาการเข้ามีดหมอเทพศัสตรา

นอกจากนี้ท่านยังศึกษากับหลวงพ่อคร้าม วัดสะพานหิน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท หลวงพ่อคร้ามเป็นอาจารย์ผู้สอนวิธีทำกสิณและการลบผงปถมัง, ผงอิธะเจ เพื่อเป็นกุศโลบายสำหรับฝึกสมถกรรมฐาน

ทุกๆ วัน เมื่อว่างเว้นจากการรักษาคนไข้ หลวงพ่อดำจะขลุกอยู่กับการปฏิบัติพระกรรมฐาน นั่งนับประคำ การปั๊มพระและสุมไฟเผาพระ นั่งเพ่งเตโชกสิณอยู่ข้างๆ เตาเผาอยู่วันยังค่ำ

ผู้คนที่ผ่านไปพบเห็นท่านในสมัยนั้น เห็นเป็นเรื่องปกติตามวิสัย แต่ก็หามีใครรู้ไม่ว่า ท่านทำไปเพื่ออะไร เพราะในชีวิตของท่านไม่เคยออกจำหน่ายหรือโฆษณาสรรพคุณพระเครื่องเหล่านี้เลย ได้แต่ทำมาแล้วนำไปแจกเป็นการกุศลทั้งหมดทั้งสิ้น

พระเครื่องพระกสิณพิมพ์ต่างๆ ของหลวงพ่อดำ ส่วนใหญ่เป็นเนื้อดินเผาล้วน นอกจากนี้ยังมีเนื้อดินผสมผงปถมังและว่านยาต่างๆ ส่วนเนื้อผงอิธะเจมีจำนวนน้อยมาก
มวลสารที่ใช้ทำพระเนื้อดิน คือ ๑.ดิน ๗ โป่ง ๒.ดิน ๗ ป่าช้า ๓.ดิน ๗ ท่า ๔.ดิน ๗ เมือง ๕.ดินพระอุโบสถเก่าของวัดอินทารามและพระอุโบสถวัดอื่นๆ ๖.ไคลเสมา ๗.ว่านยาต่างๆ ๘.น้ำมันสักของหวงพ่อเดิม ๙.ดินเหนียวใจกลางนา ๑๐.น้ำมันมนต์ ๑๑.ผงอิธะเจ และ ลูกกลอนหลวงพ่อคร้าม ๑๒.ผงปถมัง

นอกจากนี้สันนิษฐานว่า ท่านได้มวลสารอื่นๆ จากหลวงพ่อกัน, หลวงพ่อคร้าม, หลวงพ่อชี, หลวงพ่อหุ่น และหลวงพ่อเดิมอีกด้วย
ท่านจะปลุกเสกผสมมวลสารปั้นดินเพ่งกสิณดิน (ปฐวีกสิณ) ในตอนกลางคืน ภายหลังที่ได้ทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว พอรุ่งเช้าท่านจะตื่นตั้งแต่ตี ๓ ทำวัตรสวดมนต์และปลุกเสกอีกหนึ่งคำรบ

หลังเพลจึงจะเริ่มกดพิมพ์พระ และเผาบริเวณหน้ากุฏิของท่าน พระเครื่องของท่านสามารถจำแนกแจกพิมพ์ตามที่ผู้เขียนและพระอาจารย์ฉลอง ผลปุญโญ พอรวบรวมได้ดังนี้ คือ พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม, พิมพ์พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์, พิมพ์พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑใหญ่, พระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทร์ ทั้งหมดนี้มีทั้งเนื้อผงอิธะเจล้วนๆ และเนื้อปฐวีกสิณ

ส่วนพิมพ์เอกลักษณ์อื่นๆ ได้แก่ พิมพ์พระร่วงกวาดลานวัด, พระลีลาลูกดิ่ง, พิมพ์รูปเหมือนหลวงพ่อเดิม, พิมพ์รูปเหมือนหลวงปู่หุ่น, พิมพ์หลวงพ่อโต วัดบางกระทิง, พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่, พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก, พระขุนแผนห้าเหลี่ยม, พระขุนแผนไข่ผ่าซีก ฯลฯ

สำหรับเรื่องพุทธคุณ เชื่อกันว่า มีแตกต่างกันออกไป เช่น พิมพ์ซุ้มกอกับนางพญาจะเด่นดังด้านเมตตามหานิยม แม่ค้าตลาดพยุหะคีรี นิยมบูชาติดตัวกัน, พระกสิณพิมพ์พระร่วง, พิมพ์หลวงพ่อโต บางกระทิง, พิมพ์หลวงพ่อเดิม ลูกศิษย์ที่เป็นทหารตำรวจนิยมบูชาติดตัว เพราะเชื่อกันว่า มีพุทธคุณด้านแคล้วคลาดปลอดภัยดี แต่พิมพ์ที่ท่านไม่ค่อยแจกให้ผู้ใด คือ พิมพ์พระสมเด็จ เนื้อผงอิธะเจ และพระขุนแผน เพราะท่านเกรงว่า ลูกศิษย์จะนำไปใช้ในทางที่มิชอบ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top